มหาวิทยาลัยจัดการความรู้เพื่อชุมชน(2)


งานชุกชุมจนตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน๊อตแต่ไม่มีความสำเร็จใด ๆเกิดขึ้น

แนวคิดและการจัดการ
1.นักศึกษา เป็นนักศึกษาตามแนวทางการจัดการความรู้ คือเรียนรู้พัฒนางานที่ตัวเองทำอยู่ให้ประสบผลเลิศ มี 2 ส่วนเป็นอย่างน้อยคือ 1)ส่วนราชการที่สนใจทำหน้าที่อำนวยการเรียนรู้หรือ  ลงลึกด้านวิชาการที่ตัวเองรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาเป็นผู้เชี่ยวชาญ มี 4 หน่วยงานหลักคือ พัฒนาชุมชน เกษตร กศน. และสาธารณสุข 2)ชุมชน เป็นผู้นำหรือผู้สนใจด้านต่าง ๆที่ต้องการพัฒนาอาชีพหรือบทบาทที่ตนเองรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น ประสบผลเลิศ
2.อาจารย์ มาจากอาจารย์ พนักงาน และนักจัดการความรู้ทุกด้านที่เกี่ยวข้อง (คนที่ทำงานสำเร็จในด้านนั้น ๆ)
3.ระบบ  (หลักสูตรและการจัดการ) จะต้องมีสภาวิชาการ หลักสูตรและสำนักวิชา(เชี่ยวชาญด้านใด)ที่ผสมผสานความรู้ฝังลึกและความรู้ชัดแจ้งสัดส่วน80:20 เข้ามาเป็นคณะกรรมการ ร่วมจัดทำหลักสูตรและเทียบเป็นสำนักวิชา ผมนึกถึงดร.ครูชบ ยอดแก้ว ดร.ประยงค์ รณรงค์ เป็นต้น
ทั้งหมดมาจากแนวคิดมาตรฐานชุมชน มาตราฐานผู้นำที่คุณอรษา โพธิ์ทองโดยกรมการพัฒนาชุมชนกำลังดำเนินการอยู่ซึ่งผมเห็นว่าสอดคล้องกับกรมส่งเสริมการเกษตรที่กำลังทำเรื่องโรงเรียนเกษตรกร รวมทั้งกศน.ที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้ตามอัธยาศัย และสาธารณสุขทำเรื่องส่งเสริมสุขภาพ ถ้าเราร่วมกันทำอย่างบูรณาการ ด้วยการสนับสนุนของผู้ว่าฯและอปท. เราก็จะสร้างคนด้วยการใช้การทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนเป็นเครื่องมืออย่างเชื่อมโยงครบวงจรโดยมีชุมชนเป็นฐาน ไม่ต้องต่างคนต่างทำซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้มีงานชุกชุมจนตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน๊อตแต่ไม่มีความสำเร็จใด ๆเกิดขึ้นเลยอย่างในปัจจุบัน
ระบบภายนอกเท่าที่สัมผัสค่อนข้างเอื้อ ปัญหาอยู่ที่ระบบภายในของมหาวิทยาลัยที่จะขยายกรอบคิด มองการศึกษาทั้งงานวิจัย บริการวิชาการแก่ชุมชน และการเรียนการสอนอย่างเชื่อมโยง ทำให้การศึกษาขยายขอบเขตจากความรู้เป็นความสามารถของคนทั้งแผ่นดิน

หมายเลขบันทึก: 3706เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2005 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท