วิธีการนิรนัย/อนุมาน(Deductive Method) และวิธีการอุปนัย/อุปมาน(Inductive Method)


อนุมาน อุปมาน
วิธีการนิรนัย/อนุมาน(Deductive Method) และวิธีการอุปนัย/อุปมาน(Inductive Method) คืออะไร
ใครเคยสับสนกับคำว่า “นิรนัย” “อนุมาน” “อุปนัย” “อุปมาน” บ้างไหม ผู้เขียนเคยสับสนคำทั้งสี่คำนี้ เวลาอ่านตำราแต่ละเล่มจะใช้คำแตกต่างกัน  ถ้าใช้คำว่า  นิรนัย จะคู่กับ อุปนัย, ถ้าใช้คำว่า อนุมาน จะคู่กับ อุปมาน,  สรุปว่า นิรนัยหรืออนุมาน ก็คือ Deductive  ส่วน อุปนัย หรืออุปมาน ก็คือ Inductive  แต่ผู้เขียนคุ้นเคยกับคำว่าอนุมาน และอุปมาน มากกว่า  จะขอใช้คำทั้งสองคำนี้ในการคุยกันวันนี้  
พอจำคำศัพท์ได้จึงมาดูความหมาย ก็สงสัยว่าทำไมเราต้องรู้ความหมายของอนุมาน และอุปมาน  ถ้ารู้แล้วจะมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการวิจัยอย่างไร
การอนุมาน และการอุปมาน เป็นการแสวงหาความรู้ความจริงโดยใช้เหตุผลในการลงข้อสรุป  พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว(2529 : 6) ได้สรุปให้เข้าใจง่ายๆไว้ว่า  การสรุปโดยใช้เหตุผล เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้  ที่มาของความรู้ มาได้ 4 ทาง คือ 1.จากประสบการณ์  2.จากเหตุผล  3.จากผู้รู้ และ 4.จากการหยั่งรู้
การสรุปแบบอนุมาน เป็นการใช้เหตุผลจากทฤษฎี หลักการ ไปลงข้อสรุป  เขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
  
ยกตัวอย่าง
                                ดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอม       (ความรู้เดิม หรือประโยคอ้าง)
                                ดอกมะลิมีสีขาว                      (ความจริงย่อย)
                                ดอกมะลิมีกลิ่นหอม               (ข้อสรุป)
ดังนั้น ข้อสรุปแบบอนุมาน จะเป็นจริง ก็ต่อเมื่อความรู้เดิมหรือประโยคอ้างเป็นจริง  จึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงว่า ในการวิจัย หากเราอ้างทฤษฎี หลักการที่ไม่เป็นจริง จะทำให้การลงข้อสรุปในการวิจัยไม่เป็นจริง เพราะ การวิจัย คือการแสวงหาความรู้ความจริงที่เป็นระบบ ที่ให้ผลที่เชื่อถือได้
การลงข้อสรุปจากหลักการหรือความจริง ที่นำมาเป็นประโยคอ้าง ต้องเป็นประโยคที่เป็นความจริง ไม่เช่นนั้นการลงข้อสรุปก็จะผิดพลาดไปด้วย   เช่น
ผู้หญิงทุกคนชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม             (ความรู้เดิม หรือประโยคอ้าง)
สร้อยระย้าเป็นผู้หญิง                                  (ความจริงย่อย)
สร้อยระย้าชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม                     (ข้อสรุป)
จะเห็นได้ว่าข้อสรุปนี้ไม่ถูกต้อง เพราะความรู้เดิมที่นำมาอ้าง ที่ว่าผู้หญิงทุกคนชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม ไม่เป็นความจริง ผู้หญิงไม่ได้ชอบซื้อสินค้าที่มีของแถมทุกคน
การสรุปแบบอุปมาน เป็นการสรุปจากความจริงย่อย เป็นประโยคอ้าง เพื่อลงข้อสรุปเป็นความจริงใหม่ ถ้าประโยคอ้างเป็นจริง ข้อสรุปนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นจริง เขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
 

ยกตัวอย่าง
แม่ชอบชื้อสินค้าที่มีของแถม             (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง)
พี่สาวชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม          (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง)
เพื่อนผู้หญิงชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม  (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง)
ป้าชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม                  (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง)
ผู้หญิงชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม            (ข้อสรุป)
การลงข้อสรุปแบบอุปมานนี้จะเป็นจริง ก็ต่อเมื่อ ความจริงย่อยที่นำมาอ้างนั้นเป็นความจริง ถ้ามองเชื่อมโยงถึงการวิจัย การสรุปแบบอุปมาน น่าจะใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพค่อนข้างมาก ดังนั้น ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ จะต้องใช้ความระมัดระวังให้ได้ข้อมูลจากพื้นที่การวิจัยที่แน่ใจว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง มิฉะนั้นจะส่งผลต่อการสรุปผลการวิจัย  ถ้าข้อมูลที่ได้มามิใช่ข้อมูลจริงการสรุปผลก็จะผิดพลาดไปด้วย
ถ้ามีข้อคิดเห็นอื่นๆ ก็เขียนมาแลกเปลี่ยนกันนะคะ
 
อ้างอิง
พรศักดิ์  ผ่องแผ้ว(2529). ศาสตร์แห่งการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
 
 
 
 
คำสำคัญ (Tags): #อนุมาน อุปมาน
หมายเลขบันทึก: 370363เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เขียนแล้วอ่านเข้าใจง่ายดีครับ....

เป็นกำลังใจให้นะครับ

สรุป วิธีการนิรนัย/อนุมาน(Deductive Method) และวิธีการอุปนัย/อุปมาน(Inductive Method)

ก็คือ การใช้เหตุผล (Logic) ในการหาความรู้ หรือเปล่าครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ

แล้วทฤษฏีตามแนวคิดของ inductive Appraach คืออะไรค่ะ

ขอบคุณทุกท่านนะคะที่เข้ามาให้กำลังใจ ถ้าจะพูดถึงการสรุปโดยการอนุมานและการอุปมานแล้วทั้ง 2 วิธี ต่างก็เป็นการสรุปโดยใช้เหตุผลทั้งคู่ แต่ต่างกันตรงที่ว่า การอนุมานเป็นการสรุปความรู้ใหม่โดยการอ้างอิงหลักการหรือทฤษฎี แต่การอุปมานเป็นการสรุปจากเหตุการณ์ที่พบเห็นเชิงประจักษ์ โดยใช้ทฤษฎีเชิงประจักษ์(Empirical Theory)ค่ะ ว่างๆเข้ามาคุยกัยไหม่นะคะ

Thank you so much for ur explaination .... It's so clear :)

ขอบคุนมากมายคะ หาเรื่องราวแบบนี้อยุ่พอดี ^^ 

เปนกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุนที่สุดค่ะ กำลังเรียนเรื่องนี้พอดี ^^"

I^^ รู้มั้ยงงอยู่ ดีจัยที่มาเจอแล้ว

Thank you krub. Now I clearly understand deductive and inductive reasoning.

ัขอบคุณค่ะ งงๆค่ะแต่ก็พอเข้าใจ

ขอบคุณมากๆคะเรียนเรื่องนี้อยู่พอดี

ใครเป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรก

สงสัยมานานค่ะ พอได้อ่านแล้วเข้าใจเลยค่ะ เขียนสรุปได้เข้าใจง่ายมากเลยค่ะ ขอบคุณนะค่ะ

กระบวนการอุปมาน และกระบวนการอนุมาน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรค่ะ

วิธีอนุมาน อุปมานคนแรกที่พูดปาฐกถาให้คุณครูฟังคือมหาอำมาตย์โทพระยาเมธาธิบดี อธิบดีกรมวิชชาธิการ ..... ในการแสดงปาฐกถา เรื่อง “หัวใจวิธีสอน” ณสมัคยาจารยสมาคม เมื่อวันที่ ๑๔ เดือนสิงหาคมพระพุทธศักราช๒๔๗๔ครับ ได้กล่าวถึงลักษณะครูที่ดีโดยละเอียด และวิธีสอนนีแหละครับ

เห็นเลยนำมาฝากครับ คำพร สิงห์หาญ ครูมุกดาหาร

อุปมานคือความจริงจากส่วนย่อย มารวมสรุปเป็นส่วนใหญ่เพื่อนำไปใช้สรุปส่วนย่อยใหม่อีกต่อหนึ่ง

อนุมานคือความจริงจากส่วนใหญ่ที่ได้จากอุปมานนำมาสรุปส่วนย่อยที่กำลังพิจารณาอีกทีหนึ่ง

ตัวอย่าง อุปมาน เด็กชายก. ข. ค...... ถึง อ. มีอัณฑะจงสรุปเป้นอุปมานได้ว่า เด็กชายทุกคนต้องมีอัณฑะ

ตัวอย่าง อนุมาน เด็กชื่อ ฮ.มีอัณฑะดังนั้นเด็กคนนี้เป็นเด็กชาย

Will you help clarify the following, three elements of actg. Theory by Mcdonald1. encoding of phenomena to symbolic representation.2, combination according to rule.3. translation back to real - world phenomena. Help explain in Thai.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท