ข้อดีของการรักษาแบบเจาะ ก็คือ ผู้ป่วยหยุดงานสั้นลง เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องตัดไหม สามารถทำการรักษ


ผู้หญิงร้อยละ 80 ในผู้ชายร้อยละ 20
นิ้วล็อก (Trigger Finger)
[Update 4 พ.ค. 2547]

อาการฮิตในสาวออฟฟิศ นั่งทำงานอยู่ดีๆ เคยเป็นแบบนี้ไหม

นิ้วล็อก อาการเหมือนการง้างของไกปืนจะมีเสียงดังเวลางอหรือเหยียดนิ้วมือ จะงอหรือเหยียดนิ้วไม่ได้เลยจึงเรียกว่า โรคนิ้วล็อก การล็อกในท่างอและต้องการเหยียดนิ้วผู้ป่วยจะใช้มือด้านตรงข้ามมาแกะนิ้วมือที่ล็อกออกให้ตรง ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก นิ้วบางนิ้วจะล็อกในท่าเหยียดทำให้นิ้วมือนั้นงอไม่ได้เช่นกัน

ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริง มีแต่สันนิษฐานว่า จากการทำงานหนักหรือหิ้วของหนัก การล็อกเนื่องจากพังผืดไปรัดเส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้ว

อาการของโรคนิ้วล๊ฃ็อกจะพบในคนปกติที่แข็งแรง อาจจะเกิดร่วมกับข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ พบบ่อยในคนอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ในผู้หญิงร้อยละ 80 ในผู้ชายร้อยละ 20 ในเด็กเป็นแต่กำเนิดทำให้เหยียดนิ้วหัวแม่มือไม่ได้เต็มที่ จะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ พบได้บ่อยเหมือนกัน

นิ้วล็อกที่พบบ่อยที่สุดคือ นิ้วหัวแม่มือและนิ้วนาง นิ้วอื่นๆ ก็มีโอกาสเป็นได้ในมือทั้งสองข้างลักษณะต่างคนต่างเป็น ไม่มีการติดต่อไปเป็นที่นิ้วอื่น หรือติดต่อไปยังคนใกล้เคียงและไม่เป็นกรรมพันธุ์

อาการของนิ้วล็อก เมื่อเริ่มเป็นจะมีอาการฝืดๆ เวลางอหรือเหยียดนิ้ว ถ้ามีอาการรุนแรงนิ้วมือนั้นงอ แล้วติดในท่างอ หรือติดในท่าเหยียด

การรักษา

1. นิ้วล็อกมีอาการไม่มาก มีอาการปวดเล็กน้อย กำมือหรือเหยียดนิ้วจะมีอาการฝืดในช่วงเช้า หรือช่วงอากาศเย็นอาจจะมีอาการล็อกเป็นบางครั้ง แพทย์จะฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ อาการบวมของพังผืดและเส้นเอ็นจะลดลง นิ้วนั้นๆจะมีการเคลื่อนไหวได้สะดวก อาการฝืดหรือล็อกจะหายได้ชั่วคราว แต่ถ้าอาการล็อกเป็นมาก อาการนิ้วล็อกจะกลับมาเป็นอีก

2.ถ้านิ้วล็อกมีอาการเป็นมาก ปวดมาก งอหรือเหยียดนิ้วนั้นๆ ไม่ได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีประวัติได้รับการฉีดยาสเตียรอยด์มาแล้ว 1-2 ครั้ง อาการล็อกไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะแนะนำให้ทำการรักษาในขั้นตอนต่อไป

มีวิธีการรักษาอยู่ 2แบบ
แบบที่1 ทำการผ่าตัดในห้องผ่าตัดก็เพียงแต่ฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงหยุดงานนาน ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะกลัวการผ่าตัด กลัวจะทำให้นิ้วมือพิการ และไม่สามารถประกอบอาชีพได้ จึงยอมทนทุกข์ทรมานไม่ยอมผ่าตัด

แบบที่ 2 ทำการเจาะตรงบริเวณที่เส้นเอ็นนิ้วมือถูกพังผืดรัดอยู่ โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วใช้เครื่องมือสะกิดส่วนของพังผืดที่รัดออก ไม่ต้องทำในห้องผ่าตัด จะมีแผลเป็นรูเล็กๆ ในตำแหน่งที่เจาะ อาการล็อกก็จะหายไปทันที

ข้อดีของการรักษาแบบที่ 2 ก็คือ ผู้ป่วยหยุดงานสั้นลง เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องตัดไหม สามารถทำการรักษาในสถานที่ต่างๆ นอกโรงพยาบาลได้ และทำการรักษาผู้ป่วยจำนวนมากๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น

หลังการรักษานิ้วล็อก แบบที่ 2
มือข้างที่รักษาจะมีผ้ายืดพันอยู่ ประมาณ 1 สัปดาห์ ในช่วงนี้มือข้างนั้นจะถูกน้ำไม่ได้เลย แต่ผู้ป่วยจะต้องบริหารนิ้วมือ โดยการงอและเหยียดให้เต็มที่ตลอดเวลา

หลังการรักษา 1 สัปดาห์ แพทย์จะแกะผ้ายืดที่รัดมือออก แผลตรงที่เจาะจะหายดี เรียบร้อยแล้ว และถูกน้ำได้

การป้องกันนิ้วล็อก

แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยบริหารนิ้วมือต่อดังนี้

1.ใช้นิ้วมือด้านตรงข้าม ดัดนิ้วมือที่รับการรักษาให้งอได้เต็มที่

2.ใช้นิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือด้านตรงข้าม ดัดนิ้วมือที่รับการรักษาให้เหยียดได้เต็มที่

3.ใช้นิ้วหัวแม่มือ ด้านตรงข้าม นวดและคลึงแผลที่เจาะซึ่งจะเป็นไตแข็งและเจ็บนั้น จนอาการเจ็บปวดหายไป

ถ้าได้บริหารตามที่แนะนำทั้ง 3 ข้อ ดังกล่าว นิ้วมือนั้นๆ จะหายเป็นปกติในระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์

------------------------------------------
www.komchadluek.net/column/health/4/05/04.php
 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3694เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2005 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท