การประชุมทีมงานนักวิจัย PAR อาหารปลอดภัยจ.กำแพงเพชร


เป็นการนำเสนอผลความก้าวหน้าของการวิจัยโดยทีมงานนักส่งเสริมฯและนักวิจัยชาวบ้าน
การประชุมคณะทำงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในโครงการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน (PARอาหารปลอดภัย)  จังหวัดกำแพงเพชรประจำเดือน มิถุนายน 2549  
            การประชุมคณะทำงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในโครงการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ประจำเดือนมิถุนายน 2549  ซึ่งได้ดำเนินการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิจัยจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และภาคีเครือข่าย  ในวันที่ 23  มิถุนายน  2549  ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

การประชุมเตรียมความพร้อมทีมงาน            
          ในภาคบ่ายของวันที่ 22  มิถุนายน  2549  ทีมงานจากส่วนกลางของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้เดินทางล่วงหน้า เพื่อมาพบกับทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเตรียมความพร้อมและกำหนดแผนการประชุมล่วงหน้า โดยการนำของ อ.ศักดา ทวิชศรี 

ประชุมเตรียมทีมงาน 22 มิ.ย.49

<div class="content">
การประชุมประจำเดือนมิถุนายน 2549 </div>
<div class="content">          วันที่ 23 มิถุนายน 2549  วันนี้มีนักวิจัยจากอำเภอ/กิ่งอำเภอ  จากส่วนกลางและภาคีเครือข่าย ประมาณ 25 คน   นอกจากนี้ยังมีทีมนักวิจัยที่เป็นเกษตรกรอีก 5  คน (จากตำบลนาบ่อคำ,ตำบลมหาชัย และตำบลคลองพิไกร) มาร่วมการประชุมฯ   เริ่มกระบวนการโดยคุณสายัณห์ ปิกวงค์ ซึ่งได้ทำหน้าที่คุณอำนวยเวทีการประชุม  ได้พูดคุย และทบทวนการปฏิบัติงานที่ผ่านมา   </div><div class="content" style="text-align: center">
การทักทายและทบทวน</div> <div class="content">  ·       การนำเสนอความก้าวหน้าเพื่อการ ลปรร.ระหว่างทีมนักวิจัย           
         
หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอความก้าวหน้า โดยเริ่มจากตำบลนำร่องของกรมฯ คือ  
1.      ตำบลนาบ่อคำ    2.      ตำบลมหาชัย และ  3.      ตำบลคลองพิไกรซึ่งทั้ง 3 ตำบล ได้มีการนำเสนอโดยใช้สไลด์ประกอบการอธิบายเพิ่มเติมในรายละเอียด และทั้ง 3 ตำบล มีทีมนักวิจัยที่เป็นชาวบ้าน มาร่วมนำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยในครั้งนี้ด้วย </div>
<div class="content">       </div><div class="content"></div><div class="content"></div><div class="content"></div><div class="content"></div><div class="content"></div><div class="content"></div><div class="content">

 </div> <div class="content">การนำเสนอผลความก้าวหน้าของการวิจัยโดยทีมงานนักส่งเสริมฯและนักวิจัยชาวบ้าน
                                </div>
<div class="content" align="left">           จากนั้นเป็นการนำเสนอความก้าวหน้าของแต่ละตำบล  ซึ่งแต่ละตำบลก็มีความก้าวหน้าที่แตกต่างกัน บางตำบลก็ได้โจทย์วิจัย และออกแบบแล้ว บางตำบลก็กำลังเริ่ม หรือบางตำบลก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร โดยมีการนำเสนอความก้าวหน้าตามลำดับ ดังนี้
1.   ตำบลคลองลานพัฒนา  อำเภอคลองลาน  โดยคุณอรวรรณ  เก่งสนาม
2.   ตำบลทาไม้   อำเภอพรานกระต่าย โดยคุณประสิทธิ์  อุทธา
3.   ตำบลลานดอกไม้  อำเภอเมืองกำแพงเพชร โดยคุณสมพร  จันทร์ประทักษ์
4.   ตำบลช่องลม อำเภอลานกระบือโดยคุณสนอง  ขวัญคำ
5.   ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง  โดยคุณสังวาลย์  กันธิมา
6.   ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี โดยคุณสุวรรณ  ตาคำ
7.   ตำบลยางสูง อำเภอขาณุวรลักษบุรี โดยคุณอารีรัตน์  ช่วงโพธิ
8.   ตำบลบึงทับแรต อำเภอลานกระบือ โดยคุณนิพิจ  พินิจผล
9.   อำเภอเมืองกำแพงเพชร โดยคุณสุบิน  แก้วเต็ม
10.    ตำบลพานทอง อำเภอไทรงาม โดยคุณนิตยา  บังคมเนตร   11.    ตำบลโกสัมพีนคร กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร โดยคุณบุญช่วย เข็มคง
12.     ตำบลทุ่งทอง อำเภอทรายทองวัฒนา โดยคุณปรารภ คันธวัน </div><div class="item"><div style="text-align: center"></div> <div class="item"><div style="text-align: center">
บรรยากาศการนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยฯ</div></div>
</div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt" class="MsoNormal">    </p><div class="content">    ·       การเพิ่มเติมองค์ความรู้และเสริมหนุนเพื่อความเข้าใจและสร้างกำลังใจ
          หลังจากการนำเสนอความก้าวหน้าของแต่ละตำบลแล้ว  ซึ่งดำเนินกระบวนการมาถึงภาคบ่าย ผมได้สรุปผลการปฏิบัติงานในภาพรวมทั้งหมด  รวมทั้งได้นำเสนอกรอบแนวคิดในการทำงาน และการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อทำความเข้าใจ และเสริมหนุนให้แก่เพื่อนนักส่งเสริมที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยในลักษณะนี้  ซึ่งเนื้อหาได้จัดทำเป็นสไลด์ มีเนื้อหาที่สำคัญๆ คือ
    
1.      ความก้าวหน้าของงานวิจัยฯ ในภาพรวม
    
2.      กิจกรรมที่ทีมงานจังหวัดได้ทำการเสริมหนุนทีมงานในพื้นที่
    
3.      แนวคิด / กระบวนการวิจัย PARจากบทเรียนของทีมงาน ซึ่งได้สรุปและนำเสนอเพิ่มเติมแนวคิด/กระบวนการวิจัย
          เหตุที่ต้องเพิ่มเติมในน 3 ประเด็นนี้  เนื่องจากหลังการสรุปความก้าวหน้ามา
2 ครั้งติดต่อกัน พบว่า การเพิ่มเติมในลักษณะนี้ได้สร้างความเข้าใจให้แก่ทีมงานในภาพรวมเป็นอย่างดียิ่ง และคิดว่าจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการประชุมนำเสนอผลความก้าวหน้าเป็นประจำทุก ๆ เดือน 
</div><div class="item"><ul><li><div class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">การแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะจากภาคีเครือข่าย</div></li></ul></div>          หลังจากนั้น เป็นการเสนอแนะ และให้ความคิดเห็นจากภาคี/ เครือข่ายนักวิจัย ทั้งจากส่วนกลางกรมส่งเสริมการเกษตร จากเขต 6 จังหวัดเชียงใหม่ และจากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร    ซึ่งต่างก็ได้ให้ข้อคิดและแนวทางในการนำไปปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวิจัยในพื้นที่ที่หลากหลาย <div style="text-align: center">
การเสนอแนะจากภาคีเครือข่ายฯ</div>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p><p> ·       การสรุปและเตรียมความพร้อมในการนำเสนอความก้าวหน้านำเสนอกรมส่งเสริมฯ
          ขั้นตอนสุดท้ายของการประชุมในวันนี้ ก็คือการหารือระหว่างทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด และตำบลวิจัยฯ นำร่องของกรมฯ คือ ตำบลนาบ่อคำ, มหาชัย และตำบลคลองพิไกร  ซึ่งมีกำหนดจะต้องไปนำเสนอความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน ณ กรมส่งเสริมการเกษตร ในวันที่ 27-28 มิถุนายน 2549 นี้ </p><p>          เลิกประชุมประมาณ 16  นาฬิกาเศษ และนัดหมายการประชุมครั้งต่อไป ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549</p><p>วีรยุทธ  สมป่าสัก</p>

หมายเลขบันทึก: 36870เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท