"กรรมการระดับเครือข่าย"ประชุมกลุ่มย่อยมหกรรมฯสงขลา


การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 กรรมการระดับเครือข่าย มหกรรมจัดการความรู้เรื่ององค์กรการเงินชุมชน 1 กรกฎาคม 2549

วันนี้พี่ภีมได้ส่งไฟล์ของ อ.ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่ทำหน้าที่เป็นคุณลิขิตจากการประชุมกลุ่มย่อยเวทีวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 มาให้หนูเคเอ็มแล้วยังเอ่ยปากชมอาจารย์ด้วยว่าเก่งจังเลย ส่งการบ้านมาให้ก่อนใครอื่น เดี๋ยวอ.เบียร์ (อ.นิสา พักตร์วิไล มรภ.วไลยอลงกรณ์ ปทุมธานี)น้อยใจ ส่งให้หนูเคเอ็มในวันประชุมเลยเดี๋ยวจะทะยอยบันทึกลงบล็อคนะคะ

วันนี้ขออนุญาตินำบันทึกของอ.ปัทมาวดี มาให้ได้อ่านกันก่อนนะคะ

การประชุมย่อยกลุ่มที่ 1:   กรรมการระดับเครือข่ายมหกรรมจัดการความรู้เรื่ององค์กรการเงินชุมชน1  กรกฎาคม  2549 

ผู้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

1.คุณสามารถ  พุทธา ประธานสภาเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชน . ลำปาง

2.คุณจำรัส  สนจิตร์คณะกรรมการอุดมการณ์  เครือข่ายสัจจะฯ .  ตราด

3.คุณกัญญา เจริญรัตน์ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านต.ในคลองบางปลากด .พระสมุทรเจดีย์   .สมุทรปราการ

4.คุณประชา วัฒนมงคลรักษ์รองประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ม.2  .ในคลองบางปลากด   .พระสมุทรเจดีย์ .สมุทรปราการ 

5.คุณวิทยา  นวลลม กรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ม.2  .ในคลองบางปลากด   .พระสมุทรเจดีย์   .สมุทรปราการ

6.คุณสายหยุด    คงยะฤทธิ์   นายทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน  หมู่ 9 หมู่บ้านเคหะชุมชนสงขลา .เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา

7.คุณวรรณี ศุภพันธุ์มณีเลขานุการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน หมู่ 3 บ้านท่าหว้า .กะหรอ

   เลขานุการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล

   เลขานุการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ กิ่ง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

8.คุณสมศักดิ์  สาริกา

  ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน บ้านท่าหว้า หมู่ 3

  ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบลกะหรอ   กิ่งอ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

 

ผู้ดำเนินการประชุม:   . พรเพ็ญ  ทิพยนา    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ .ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ผู้บันทึกการประชุม:   ปัทมาวดี  โพชนุกูล  ซูซูกิ     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ท่าพระจันทร์   กทม.

1.             คุณสามารถ  พุทธา 

ประธานสภาเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชน . ลำปาง

 เรื่อง       สภาเครือข่ายองค์กรออมทรัพย์ชุมชน .ลำปาง

·       สภาเครือข่ายฯ ประกอบด้วยกลุ่มสัจจะวันละบาท 30  กลุ่ม  มีการประชุมพูดคุยปัญหาชุมชน   มีการนำเงิน 20% ของแต่ละกองทุนมาตั้งเป็นงบกลางระดับจังหวัด  ถือว่าเป็นกองทุนพี่ช่วยน้อง  เป็นเงินให้เปล่า สำหรับกลุ่มใหม่ที่มีเงินทุนไม่เพียงพอ  โดยไม่ต้องใช้คืน   

·       ปัจจุบันเกือบทุกกลุ่มใช้กองทุนกลางนี้  เนื่องจากแต่ละเดือนใช้เงินมากน้อยไม่เท่ากัน

·       การอนุมัติพิจารณาจากความจำเป็น  โดยผู้ขอจะต้องส่งรายงานฐานะทางการเงิน   ส่งตัวแทนเป็นคณะกรรมการเครือข่าย และมีแผนงานว่าจะใช้เงินอย่างไร

·       ผลที่เกิดขึ้นของการมีสภาเครือข่ายฯ คือ ทำให้คณะทำงานตื่นตัว  ต้องรับผิดชอบ  และเกิดเวทีการเรียนรู้  คิดค้นยุทธศาสตร์ที่จะเดินต่อไป  เกิดความคุ้นเคยผูกพันจากการทำงานไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็ก  เกิดการเชื่อมโยงคนจากหลายพื้นที่ในจังหวัด

(ข้อสังเกตของผู้จดบันทึก (ซึ่งอาจจะเข้าใจไม่ครบถ้วน):  เข้าใจว่าทุกกลุ่มนำเงิน 20% เข้ากองทุน แต่เกือบทุกก็ใช้กองทุนกลางนี้   ไม่แน่ใจว่า  ปริมาณการนำเงินเข้ากองทุนกลางกับเงินที่ได้รับจากกองทุนกลางของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร    ถ้าเป็นการช่วยกลุ่มเล็กจริง  ปริมาณเงินที่กลุ่มเล็กส่งเข้ากองทุนกลางไม่ควรจะมากกว่าเงินที่กลุ่มเล็กได้รับจากกองทุนกลาง  (มิฉะนั้น กลุ่มเล็กเก็บเงินไว้เองจะดีกว่าส่งให้กองทุนกลาง)   เคยได้รับทราบว่าในกิจกรรมออมทรัพย์แบบเครือข่ายของบางพื้นที่   การต้องนำเงินเข้ากองทุนกลางทุกเดือนเป็นภาระของกลุ่มเล็กมากกว่า)

อ่านเรื่องราวประทับใจของท่านแรกก่อนนะคะ เพื่อให้บันทึกน่าอ่านมากขึ้นหนูเคเอ็มขออนุญาติตัดเป็นตอน ๆ คะ

หมายเลขบันทึก: 36867เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท