คนไทยควรเตรียมตัวอย่างไรกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


เป้าหมายจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558

การประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อปี 2546  ผู้นำอาเซียนเห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ภายในปี พ.ศ.2558 โดยมีเป้าหมายให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single market and single production base) มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี

แนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็น AEC ในส่วนของการค้าบริการ มีเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีการค้าไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้การค้าบริการของอาเซียนเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น ตามที่ปรากฎในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC Blueprint) สาระสำคัญของแผนงานประกอบด้วย

  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่อการค้าบริการภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับสาขาบริการสำคัญ 4 สาขา ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ, e-ASEAN (คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม) สุขภาพ และการท่องเที่ยว
  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่อการค้าบริการสาขา โลจิสติกส์ ภายในปี พ.ศ.2556
  • ลด/เลิก ข้อจำกัดต่อการค้าบริการสาขาอื่นๆที่เหลือภายในปี พ.ศ.2558

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีผลกระทบกับใครบ้าง ? ( ประชาชน ผู้ประกอบการ ประเทศชาติ ในด้าน เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ , ความมั่นคงของประเทศ,สังคม/สิ่งแวดล้อม)

ผลกระทบจะมีทั้งด้านบวก และด้านลบ

รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในผลกระทบที่เกิดขึ้น

ผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านบวก ก็ควรจะแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบ สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านลบ ควรจะได้รับการเยียวยาจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม แต่ท้ายสุดผู้ได้รับผลกระทบจะต้องพิจารณาและหาทางปรับการบริหารและจัดการของตัวเองเพื่อให้เปลี่ยนจากปัญหาให้เป็นโอกาส

ไม่ว่าจะมีการเปิดเสรีการค้าหรือไม่ ผู้ประกอบการและประชาชน ต่างได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบกันเป็นปกติอยู่แล้ว

ผู้ที่ไม่ประมาท รู้จักการเรียนรู้ และเตรียมการอย่างมีแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ย่อมสามารถยืนหยัดอยู่ในเวทีโลกได้อย่างมั่นคง

ขอให้คนไทยทุกท่านได้ทำการศึกษาและเรียนรู้เรื่องการเปิดเสรีการค้า และการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนอย่าจริงจัง และเตรียมการให้พร้อมเพื่อเป็นผู้ได้รับผลกระทบด้านบวก

โปรดแสดงความคิดเห็นหรือสอบถามข้อสงสัยได้ในเวทีนี้ครับ มาร่วมกันแสดงปัญญาเพื่อสร้างพลังให้กับคนไทยก่อนที่จะเป็นประชาคมอาเซี่ยนแบบสมบูรณ์ในปี 2558 ที่จะมาถึงในเร็วๆนี้

หมายเลขบันทึก: 368106เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผู้ประกอบการท่องเที่ยวพร้อมแค่ไหนกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ?

ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ให้บริการกับนักท่องเที่ยว และนักเดินทาง ทั้งคนในประเทศและคนจากต่างประเทศ ธุรกิจท่องเที่ยวหลักที่อยู่ในกรอบของการเจรจาการค้าประกอบด้วย

1.การบริการด้านโรงแรมและร้านอาหาร

2.ตัวแทนการท่องเที่ยวและการบริการจัดการท่องเที่ยว

3.การบริการมัคคุเทศก์ (ไม่มีข้อผูกพันเปิดตลาด)

4.การบริการท่องเที่ยวอื่นๆ

แนวทางการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจด้านบริการท่องเที่ยว

1.ไม่มีข้อจำกัดการให้บริการข้ามพรมแดน

2.ทยอยให้ต่าชาติ(สมาชิกในกลุ่มอาเซียน)ถือหุ้นได้ถึง 70% ภายในปี 2553

3.ให้คนต่างชาติ(สมาชิกในกลุ่มอาเซียน)เข้ามาทำงานได้มากขึ้น

การเตรียมความพร้อมในการไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ภาคเอกชน เร่งศึกษากฎเกณฑ์ ข้อตกลงรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงต่างๆอย่างเต็มที่ สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการกับภาครัฐอย่างใกล้ชิด

ภาครัฐ กำหนดทิศทางนโยบายด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจน เผยแพร่ความรู้ / ความคืบหน้าการดำเนินการให้ภาคเอกชนรับทราบเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมมาตราการป้องกันเหตุฉุกเฉินและมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบด้านลบ มีมาตราการและกลยุทธ์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบที่เป็นรูปธรรมและช่วยเหลือได้จริง มีกลยุทธ์และนโยบายสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านบวก ให้มีการต่อยอดเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้มากยิ่งขึ้นและนำผลประโยชน์โดยรวมให้กับประเทศชาติ

ประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวไทย

จุดแข็ง

1. แหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลาย ประกอบด้วย สถานที่ธรรมชาติ ทะเล ป่า เขา และสถานที่เกิดขึ้นโดยการจัดการของมนุษย์ ได้แก่สถานที่เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม โบราณสถาน และชุมชนต่างๆ ที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างแสดงถึงอารยะธรรมที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน

2.คนไทยมีความละเอียดอ่อน มีรอยยิ้มที่เป็นไมตรี และการให้อภัย เหมาะกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยว

3.บุคคลากรด้านการท่องเที่ยวมีประสบการณ์สูงและมีความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ

จุดอ่อน

1.การบริหารจัดการไม่เป็นระบบสากล โดยเฉพาะการทำงานเป็นทีมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

2.ทักษะด้านภาษายังไม่ดีเท่าที่ควรสำหรับมัคุเทศก์ที่เป็นนักศึกษาจบใหม่

3.ธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยมีขนาดเล็กเงินทุนต่ำเนื่องจากส่วนมากเป็นธุรกิจครอบครัว ขาดการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ

โอกาส

ผู้ประกอบการคนไทยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจการให้บริการด้านการท่องเที่ยว มากกว่าผู้ประกอบการชาติอื่นในอาเซียน มีโอกาสเข้าไปร่วมทุนหรือเข้าไปรับบริหารจัดการในประเทศอื่นๆในอาเซียน ตลาดใหญ่ขึ้น แต่การแข่งขันจะสูงขึ้น จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และพัฒนาธุรกิจของตัวเองให้มีบริการที่เหนือกว่าคู่แข่ง และมีโอกาสสร้างเครือข่ายเข้าไปในประเทศอาเซียนอื่นๆ

สำหรับผู้มีอาชีพการให้บริการท่องเที่ยว ที่มีทักษะและความรู้ในด้านการให้บริการที่เหนือกว่าชาติอื่นๆในอาเซียน มีโอกาสหางานที่เหมาะสมกับตัวเองได้มากขึ้น

อุปสรรค์

การบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ทำให้เกิดการแข่งขันในทางที่ผิด ใช้กลโกงและการตัดราคา ทำให้การบริการตกต่ำ การไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ และการเอาเปรียบแรงงานของผู้ประกอบการ เลือกจ้างแรงงานต่างชาติที่มีค่าจ้างถูกกว่า

ภาครัฐไม่เข้าใจกลไกของธุรกิจท่องเที่ยวอย่างแท้จริง และขาดความเอาใจใส่อย่างจริงจัง

โอกาส

ผู้ประกอบการคนไทยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจการให้บริการด้านการท่องเที่ยว มากกว่าผู้ประกอบการชาติอื่นในอาเซียน มีโอกาสเข้าไปร่วมทุนหรือเข้าไปรับบริหารจัดการในประเทศอื่นๆในอาเซียน ตลาดใหญ่ขึ้น แต่การแข่งขันจะสูงขึ้น จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และพัฒนาธุรกิจของตัวเองให้มีบริการที่เหนือกว่าคู่แข่ง และมีโอกาสสร้างเครือข่ายเข้าไปในประเทศอาเซียนอื่นๆ

สำหรับผู้มีอาชีพการให้บริการท่องเที่ยว ที่มีทักษะและความรู้ในด้านการให้บริการที่เหนือกว่าชาติอื่นๆในอาเซียน มีโอกาสหางานที่เหมาะสมกับตัวเองได้มากขึ้น

อุปสรรค์

การบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ทำให้เกิดการแข่งขันในทางที่ผิด ใช้กลโกงและการตัดราคา ทำให้การบริการตกต่ำ การไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ และการเอาเปรียบแรงงานของผู้ประกอบการ เลือกจ้างแรงงานต่างชาติที่มีค่าจ้างถูกกว่า

ภาครัฐไม่เข้าใจกลไกของธุรกิจท่องเที่ยวอย่างแท้จริง และขาดความเอาใจใส่อย่างจริงจัง

วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์

ปัญหาในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนเศรษฐกิจ  ค่อนข้างจะเป็นประเด็นใหญ่ที่ต่างก็พูดถึงกันมาก  ทั้ง ๆ ที่ ไทยเราเองก็มีทรัพยากร แหล่งธรรมชาติที่สวยงาม คนไทยก็มีใจรักในด้านบริการ แล้วอะไรล่ะที่ทำให้เกิดปัญหา ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้มีผลต่อทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยมากที่สุด และเพราะอะไร?

1. ปัญหาการกำหนดนโยบายของภาครัฐ ต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร  ความไม่ชัดเจน  หรือการนำนโยบายไปปฎิบัติ?

2. ปัญหาเรื่องของค่าแรงของไทย?

3. ปัญหาความรู้ความสามารถของคนไทย?

 

 

Which language would be the 'common'/official language?

How to control agricultural infections/over production/toxic chemicals/...?

Transport vehicles registration and control; 'common' traffic regulation?

...

 

สวัสดีครับ คุณวลัยลักษณ์

ขอบคุณที่ให้ความสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในบันทึกนี้ ขอตอบคำถามคุณวลัยลักษณ์ ตามนี้ครับ

1. ปัญหาการกำหนดนโยบายของภาครัฐ ต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร  ความไม่ชัดเจน  หรือการนำนโยบายไปปฎิบัติ?

คำตอบ: ทั้งสองอย่างครับ นโยบายไม่ครอบคลุม และไม่ชัดเจน แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเป็นแผนที่มีการบูรณาการนำเอาส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนขององค์กรรัฐ ภาคธุรกิจ และชุมชน กำหนดเรื่องของแผนการพัฒนาทุนมนุษย์ในแต่ละอาชีพโดยทำให้เกิดทุนมนุษย์ภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจอย่างสมดุล

สำหรับเรื่องการนำไปปฏิบัติก็เป็นปัญหาอย่างมากเพราะระบบและขนวบการปฏิบัติมักจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในการปฎิบัติ เรามักจะมีแผนมากมายแต่ไม่ครอบคลุมอย่างที่กล่าวในเบื้องต้น จึงทำให้ไม่มีการนำไปปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ได้ ในส่วนของภาครัฐมีส่วนของความเข้าใจของผู้ได้รับมอบหมายให้นำไปปฎิบัติ กำลังของหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะไม่มีงบประมาณที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม หรือไม่มีงบประมาณ ผู้บริหารมอบหมายงานแต่ไม่ได้ให้กำลังคนและงบประมาณที่เหมาะสม

2. ปัญหาเรื่องของค่าแรงของไทย?

จริงๆค่าแรงงานที่เรากำหนดกันเป็นสิ่งที่ผิดพลาด เพราะไม่ได้คำนึงถึงความจริง เรามีการกำหนดเฉพาะค่าแรงของแรงงานไร้ฝีมือ คิดว่าถ้าแรงงานต่ำจะทำให้ภาคการลงทุนในประเทศขยายตัว แต่ไม่ได้คิดถึงค่าครองชีพที่แท้จริง เศรษฐกิจของประเทศไม่ได้อยู่ที่แรงงานขั้นต่ำ  รายได้ของมนุษย์เงินเดือนมีความสำคัญกับแรงจูงใจ และเป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

3. ปัญหาความรู้ความสามารถของคนไทย?

คนไทยมีความสามารถแต่ขาดโอกาส คนมีโอกาสเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจและอิทธิพลต่อคนส่วนใหญ่ บังเอิญผมจะต้องออกไปข้างนอก จึงขอพอเท่านี้ก่อน และจะเข้ามาเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

 

สวัสดีครับ คุณวลัยลักษณ์

ขอต่อเรื่องที่ค้างไว้ครับ คำถามของคุณวลัยลักษณ์ดีมากครับ แต่ตอบยากเพราะถ้าตอบแบบสั้นๆไม่มีการอธิบายจะเกิดการเข้าใจผิดได้ ผมจึงขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมจากครั้งที่แล้ว

"ปัญหาในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนเศรษฐกิจ  ค่อนข้างจะเป็นประเด็นใหญ่ที่ต่างก็พูดถึงกันมาก  ทั้ง ๆ ที่ ไทยเราเองก็มีทรัพยากร แหล่งธรรมชาติที่สวยงาม คนไทยก็มีใจรักในด้านบริการ แล้วอะไรล่ะที่ทำให้เกิดปัญหา ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้มีผลต่อทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยมากที่สุด และเพราะอะไร?

1. ปัญหาการกำหนดนโยบายของภาครัฐ ต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร  ความไม่ชัดเจน  หรือการนำนโยบายไปปฎิบัติ?

ตอบ: นโยบายของภาครัฐ แบ่งออกเป็นดังนี้

1.1นโยบายระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนที่ 1-7 เน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รองรับการเติบโตของระบบทุนนิยม (เศรษฐกิจนำสังคม) และเป็นแผนที่กำหนดโดยภาครัฐเป็นหลักไม่ได้ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนมากนัก  

ตั้งแต่แผนที่ 8- ร่างแผนที่ 11 ที่กำลังจะนำออกใช้ในเดือนตุลาคม 2554 ได้มีการปรับแผนโดยเน้นเรื่องคนเป็นหลักให้ความสำคัญในด้านคนมากขึ้น นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมมากขึ้น เน้นความสำคัญด้านสังคมนำเศรษฐกิจ (ผมเห็นด้วยเพราะเมื่อสังคมเข้มแข็งเศรษฐกิจจะตามมาเอง)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนในภาพใหญ่เป็นภาพรวมของแต่ละประเทศ ผมอ่านร่างแล้ว คิดว่าแผนในภาพกว้างค่อนข้างดีแต่ยังมีเวลาในการเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังไม่ชัดเจน

1.2 แผนของแต่ละกระทรวง ปัจจุบันเป็นแผนที่ปรับเปลี่ยนตามรัฐมนตรี ไม่ได้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เป็นแผนหลัก อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

นอกเหนือจากนั้นแล้วก็ยังมีแผนของกรม และแผนของหน่วยงาน ต่างๆ มากมาย ที่ไม่รองรับซึ่งกันและกัน ต่างแผนต่างไปคนละทาง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน ดังนั้นจะหวังพึงแต่แผนของภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ เอกชนต้องมีแผนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคส่วนของธุรกิจ ขององค์กร และของชุมชนแต่ละชุมชนเอง โดยภาครัฐต้องเน้นที่แผนพัฒนาคนของภาครัฐเป็นสำคัญ ตั้งแต่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ (ทรัพยากรมนุษย์) เพื่อให้เน้นเรื่องการมีจริยธรรม คุณธรรม และการให้การสนับสนุนภาคเอกชนและชุมชนเป็นหลัก สร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในภาครัฐให้มีทุนสังคมมากๆ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าจะเกิดผลสำเร็จได้ภาคเอกชนต้องเป็นตัวขับเคลื่อน ภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน

การนำนโยบายไปปฎิบัติยิ่งเป็นปัญหาหนักเพราะเมื่อตัวแผนนโยบายเองมีปัญหา การนำไปปฎิบัติก็ยิ่งมีปัญหา เพราะปฎิบัติกันไปคนละทิศละทาง เสียเงินงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ กิจกรรมที่ควรจะได้รับการสนับสนุนก็ไม่ได้ งบประมาณถูกใช้ไปกับกิจกรรมที่ง่ายๆเพื่อให้เกิดผลงานว่าได้ทำแต่ไม่ได้คำนึงถึงผลของความสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง จึงทำให้คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ

2. ปัญหาเรื่องของค่าแรงของไทย?

เรื่องค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพียงการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ จริงๆการแก้ปัญหาเรื่องค่าจ้างที่เหมาะสมและถูกต้อง จะต้องทำให้เกิดสภาวิชาชีพบริการ เพื่อให้มีองค์กรที่มาขับเคลื่อนในการสร้างมาตราฐานแรงงานและกำหนดอัตราที่เหมาะสม ในแต่ละธุรกิจ

การกำหนดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำมีขึ้นเพื่อให้ประโยชน์ในการคำนวณค่าแรงให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคการผลิต ฝ่ายตัวแทนของผู้ประกอบการพยายามกดค่าแรงขั้นต่ำเพราะต้องการให้ทุนการผลิตต่ำ รัฐก็ไม่ต้องการให้ค่าแรงสูงเพราะกลัวว่าต่างชาติจะไม่มาลงทุน แต่ในความเป็นจริง แรงงานที่มีฝีมือถูกจ้างในราคาที่สูงกว่าแรงงานขั้นต่ำหลายเท่า อีกตัวที่เกี่ยวข้องกับค่าแรงขั้นต่ำคือการจ่ายค่าชดเชยของผู้ประกอบการที่เลิกจ้าง เป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบแรงงาน

3. ปัญหาความรู้ความสามารถของคนไทย?

คนไทยเป็นคนที่มีความสามารถในตัวเองสูง ส่วนของผู้ประกอบการ (เจ้าของ) ขาดการมองระยะไกล มองผลประโยชน์ของตัวเอง แข่งขันชิงดีชิงเด่นกันเอง ไม่ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน ขาดการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพ หวังผลระยะสั้น ขาดความจริงใจ ไม่เห็นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่ลงทุนด้านคน

มนุษย์เงินเดือน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เนื่องจากไม่ได้รับการตอบแทนที่เหมาะสมกับค่าครองชีพ ขาดความมั่นคงทางอาชีพ ไม่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมด้านการพัฒนาทุนมนุษย์จากผู้ประกอบการ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องร่วมมือกันทั้งสามฝ่าย ได้แก่ฝ่ายผู้ประกอบการ ฝ่ายมนุษย์เงินเดือน ฝ่านการศึกษา โดยต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

คนไทยเก่งและฉลาดแต่ขาดโอกาสในการเรียนรู้ และขาดการสนับสนุน คนไทยสู้ต่างชาติได้สบายถ้าได้รับการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

ปัญหาและอุปสรรค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่ระบบและกลไกของธุรกิจ SMEs และ MSEs ไทย ต้องแก้ที่ระบบและกลไกของภาคธุรกิจ  ทำให้ธุรกิจ SMEs และ MSEs ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมพอเพียงกับค่าครองชีพ ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มองเห็นอนาคตในอาชีพ

 

สวัสดีครับคุณวลัยลักษณ์และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมโชคดีที่ได้พบคุณกุลธิดา เลิศพงศ์วัฒนา เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้เรียนท่านเรื่องคำถามของคุณวลัยลักษณ์ และคำตอบของผม หลังจากนั้นคุณกุลธิดา ได้ให้ความกรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10  (พ.ศ.2550-2554) ก็ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังปรากฏในยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยเน้นให้คนไทยหรือทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ขณะที่ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย อาทิ การพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ คุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีความรู้ทางวิชาการ และสติปัญญาทางอารมณ์ที่เข้มแข็งสามารถศึกษาหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง การพัฒนากำลังแรงงานให้มีความรู้และสมรรถนะที่สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและบริการบนฐานความรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการพัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นพลังในการพัฒนาสังคม นอกจากนี้ทั้งนี้ แผนพัฒนาฯ ยังได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางไว้ชัดเจนในแต่ละภาคี ทั้งภาครัฐ  ธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันทางสังคมต่างๆ ได้แก่ ครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สื่อสารมวลชน องค์กรระหว่างประเทศ

 

ในทางปฏิบัติ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่อาจคุ้มครองให้ลูกจ้างที่ได้มีการพัฒนาทักษะและความสามารถจากการสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วระยะหนึ่งให้มีรายได้ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความจำเป็นพื้นฐานและการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว ขณะที่ รูปแบบของการจ้างงานแรงงานไทย โดยเฉพาะแรงงานในระดับ Unskilled ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสาขาการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labour Intensive) ซึ่งต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและมีการแข่งขันสูง ทำให้เกิดข้อจำกัดในการขึ้นค่าจ้าง โดยเฉพาะในส่วนของสถานประกอบการขนาดเล็ก อีกทั้ง ในประเทศไทย ยังไม่มีระบบหรือขาดเกณฑ์ระดับการประเมินสมรรถนะหรือเกณฑ์ตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดค่าจ้างตามระดับความรู้ ความสามารถ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการริเริ่มในการจัดทำระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณากำหนดกรอบและกลไกที่เกี่ยวข้อง คุณวุฒิวิชาชีพจะช่วยให้แรงงานได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม เหมาะสมตามระดับสมรรถนะและมาตรฐานอาชีพของตน ซึ่งแรงงานดังกล่าวสามารถพัฒนาสมรรถนะหรือศักยภาพของคนเองในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับค่าจ้างในอัตราที่สูงขึ้น

วันนี้ได้รับ e-mail จาก คุณพิมลพรรณเจ้าของธุรกิจนำเที่ยวที่เคยเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเพิ่มศักยภาพมัคคุเทศก์ไทยให้ก้าวทัน SME โดยมีผมเป็นผู้จัดทำหลักสูตรและเป็นวิทยากรหลัก

คุณพิมลพรรณกล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการกับ สสว ซึ่งเป็นโครงการที่ดี และมีข้อเสนอในทางสร้างสรรค์ จึงขอถือโอกาสนำมาเผยแพร่ ดังนี้

 

From: Kimeng [mailto:[email protected]]
Sent: Friday, March 11, 2011 8:40 PM
To: chanchot jombunud; Chayan Sukhumdecha; chaophraya TO; Chulaluck TO; Chaiyan TO; Pisit; Dome TO; Thannapat TO; Hui TO; Narumol TO; Parichart TO; Guide A
Subject: Re: Update อบรม Tour Operation ล่าสุด

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์และเพื่อนๆ

ขอบคูณค่ะอาจารย์ทียังนึกถึงพวกเรา ยังระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะ

พอดีมีโอกาศได้ไปสัมมนาเรื่อง medical tourism ของสสว ค่ะก็น่าสนใจดีค่ะ เขาหาผู้ประกอบการที่ต้องการ ทำเรื่อง medical tourism เพราะคาดว่าน่าจะมี ความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น เพราะมีคนแก่เยอะ คนอยู่นาน Wellness, check up, Medical treatment เป็นสิ่งจำเป็น ค่ะ และลูกค้าอาจ combine service พวกนี้เข้าไปในการท่องเทียวค่ะ

จุดประสงค์ของการประชุมคือ เขียน  ฺBusiness plan ก็มี format คลายๆกับของอาจารย์ค่ะ แต่เขาไม่ได้ให้ความรู้ เรื่อง กลยทธ์ มีการแบ่ง segment ให้เราได้เข้าใจ เบื้องต้น งานนี้ สสว มี consult ให้ด้วยค่ะ ถ้าใครเขียนแผนและส่งงานตาม step

ไม่แน่ใจว่าจะสามารถผลักดันผู้ประกอบการได้กี่รายน่ะค่ะ ส่วนของหนู คิดว่าน่าจะทำงานกับ partner อีก 2 ท่าน เรานัดประชุมเสาร์นี้ะค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดู ความคุ้มทุนก่อน เพราะ พวกโรงพยาลให้ค่า commission น้อย ขณะที่ wellness service จ่ายสูงกว่าค่ะ

จริงอย่างอาจารย์ว่าทุกประการ โครงการของรัฐ ที่ต้องการส่งเสริม มีมากแต่ในขั้นปฏิบัติ เหลือน้อยเต็มทน ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่สละเวลาเขียน email ถึงทุกคนนะ่ค่ะ ขอให้อาจารย์มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงค่ะ

พิมลพรรณ

สวัสดีครับคุณพิมลพรรณ และทุกๆท่าน

แสดงว่าได้รับเอกสารแนบที่ส่งไปแล้วใช่ไหมครับ  เรื่อง Medical Tourism มีอนาคตครับ ควรจะเข้าร่วมโครงการของเขาเข้าใจว่าฟรี แต่ถ้าเสียเงินก็คงต้องพิจารณาดูให้รอบครอบว่าเราสามารถและสนใจจะทำทัวร์ทางนี้หรือไม่ เพราะถ้าเสียเงินแต่นำมาใช้อะไรไม่ได้ก็เสียทั้งเงินและเวลา แต่ถ้าฟรีก็ควรจะเข้าไปร่วมในโครงการ ดีใจครับที่มีการรวมตัวกันได้ ขอให้โชคดีครับ ติดขัดอะไรหรือต้องการคำปรึกษาเรื่องใด ขอให้ติดต่อมาได้ตลอดเวลาครับ

รักและคิดถึง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

เรียนอาจารย์
ไม่ได้เสียเงินค่ะ สสว ต้องการให้เกิด การปฏิบัติการจริง เขาพยายามจะเชื่อมต่อคนที่มี potential ที่สามารถ เริ่มต้นได้ โดยเฉพาะบริษัททัวร์ และ โรงแรม แต่ บริษัททัวร์ ถึงจะมีฐานลูกค้าแต่ก็ขาดความเข้าใจเรื่อง product และ service ยังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่รู้จักเลยไม่ว่า จะเป็นเรื่อง process , Check supplier, liability , mixed tour service กับการรักษา ความเข้าใจของลูกค้า และสำคัญที่สุด เรื่องการแผนกาตลาดพูดกันน้อยมาก
หนูแค่นึกเล่นๆ ว่าส่วนที่เขาขาด  อาจารย์ ก็สอนไปเยอะ  วิทยากรเป็น นักวิชาการ ไม่เคยทำธุรกิจ แน่นอน เลยค่ะ รวมทั้ง consultant ของ สสว ไม่เข้าใจธุรกิจทัวร์เลย เหมือนที่อาจารย์ว่า เขาไม่เข้าใจองค์รวมของธุรกิจบริการ หากสสว มีวิทยากรอย่างอาจารย์ หรือ consult อย่างอาจารย์ หนูว่าภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะท่องเที่ยวคงได้ประโยชน์เยอะค่ะ อันนี้ไม่ได้ยกยอกันเองน่ะค่ะ หรือ ว่าคนที่เป็น consult ที่เราเห็น  ดูแล้ว หากเป็นอย่างนี้โครงการ หลายๆโครงการก็เป็นแบบตำน้ำ้ พริกละลายแม่น้ำค่ะ  หน่วยงานราชการไทย ไม่สามารถ qualify consult ได้ค่ะ  เราภาคเอกชนจึงต้องทำตัวเองให้พึ่งตัวเองได้ จะว่าไปแล้วก็ดีเมือนกัน น่ะค่ะ

คือพอดีข้อมูลเรื่องการประชุมหนูมีแต่ hard copy ค่ะ ใครอยากได้ก็บอกน่ะค่ะ จะ copy ส่งไปให้ค่ะ

ส่วนเรื่องของบรฺษัทตัวเอง  ก็พยายามเขียนแผนขึ้นมาใหม่ แต่ทำได้ช้ามากค่ะ  พอดีได้เข้าไปดูข้อมูลสถิติ ของการท่องเที่ยวค่ะ ตอนนี้มีตัวเลขถึงปี  2010 แล้วค่ะ เพื่อน ๆลองไป ดู ตัวเลข และ plot grap ใน excel ดูซิค่ะ

http://www.tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php

มันก็ทำให้เห็นไร อยู่น่ะ ก่อน focus ตลาดที่เราต้องการค่ะ

วันนี้แค่นี้ก่อนน่ะค่ะ
พิมลพรรณ

เราคือเเก็งลูกหมีผู้หิวโหยเเห่งคลอง6

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท