แนวความคิดในการจัดการระบบกฏหมายเพื่อลดปัญหาการขัดกันของกฏหมาย


ในปัจจุบันแนวคิดที่จะสร้างแนวปฏิบัติในทางการค้าระหว่างประเทศร่วมกันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น

         ในปัจจุบันคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจที่จะสร้างแนวทางการปฏิบัติในทางการค้าระหว่างประเทศร่วมกันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้เพราะในปัจจุบันรูปแบบของการค้านั้นมิได้เป็นการค้าที่มีต่อกันระหว่างคู่กรณีภายในประเทศอีกต่อไปแล้วแต่รูปแบบของการค้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการค้าที่มีองค์ประกอบของการค้าในทางระหว่างประเทศอีกทั้งคู่สัญญาก็มิได้จำกัดอยู่เพียงเอกชนกับเอกชนอีกต่อไปเพราะในบางกรณีนั้นคู่สัญญาในนิติสัมพันธ์นั้นเป็นนิติสัมพันธ์อันเกิดขึ้นระหว่างรัฐกับเอกชนและถึงแม้ว่ารัฐที่เข้ามีนิติสัมพันธ์ในทางการค้านั้นจะมีสถานะเป็นเพียงเอกชนเช่นเดียวกับคู่สัญญาซึ่งเป็นเอกชนก็ตามแต่เนื่องจากองค์ประกอบของนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นองค์ประกอบระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสัญชาติของคู่สัญญาต่างสัญชาติกัน,การเกิดขึ้นของสัญญาเกิดขึ้นในรัฐซึ่งมิใช่คู่สัญญาเป็นต้น

          ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นแน่นอนว่าต้องเกิดปัญหาตามมานั่นก็คือปัญหาการขัดกันของกฏหมายและแม้ในแต่ละรัฐจะมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันของกฏหมายมาใช้ก็ตามแต่พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันของกฏหมายนั้นก็เป็นแต่ตัวกฏหมายซึ่งได้บอกถึงการเลือกใช้กฏหมายภายในของรัฐเจ้าของสัญชาติของคู่สัญญาฝ่ายใดเท่านั้นแต่ก็มิได้มีบทบัญญัติหรือรายละเอียดในกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นดังนั้นเพื่อสร้างแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการตัดสินกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างกันในทางการค้าระหว่างประเทศ

          โดยแนวคิดพื้นฐานหลักจากการศึกษาจากบทความต่างๆจึงเห็นได้ว่าแนวคิดพื้นฐานที่นำมาใช้ในการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันในทางการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นมาจากหลักกฏหมายของพ่อค้า(Lex  mercatoria)ซึ่งมักเป็นแนวคิดที่ยึดถือกันในกลุ่มของพ่อค้าจนกลายเป็นจารีตประเพณีในทางการค้าระหว่างประเทศและต่อมาในปัจจุบันเพื่ต้องการแนวปฏิบัตินี้มีความชัดเจนจึงได้มีการทำข้อตกลงร่วมกันในรูปแบบของกฏหมายหรือความตกลงร่วมกันในแต่ละกรณีซึ่งตัวอย่างของกฎหมายพ่อค้าที่นิยมใช้ในกลุ่มประชาคมการค้าระหว่างประเทศก็คือ Incoterms(International Commericl Terms)ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นจากการตกลงร่วมกันของหอการค้าระหว่างประเทศ(International Chamber Of Commerce)หรือเรียกโดยย่อว่า ICCซึ่งเป็นองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศโดย Incoterms นั้นก็ถือเป็นกฏเกณฑ์ที่หอการค้าระหว่างประเทศได้เสนอออกมาเพื่อเป็นข้อกำหนดร่วมกันเพื่อให้นักธุรกิจเข้าใจสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของตนในเรื่องการส่งมอบสินค้าซึ่งเสนอออกมาในรูปแบบของคำย่อ

        ซึ่งจะเห็นว่าIncotermsนั้นเป็นเพียงข้อกำหนดในเรื่องการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นเรื่องของการส่งมอบวัตถุแห่งการซื้อขายระหว่างประเทศเท่านั้นนอกจากนี้ยังมีข้อตกลงอีกมากที่กลุ่มคู่ค้าระหว่างประเทศได้วางแนวทางปฏิบัติร่วมกันเพื่อสร้างแนวทางปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศร่วมกันและหากสนใจที่จะทราบถึงรายละเอียดของIncotermsหรือข้อตกลงอื่นๆของหอการค้าระหว่างประเทศได้ที่ www.ICC.orgซึ่งในเว็บไซต์จะรวบรวมข้อมูลในเรื่องดังกล่าวไว้สำหรับผู้ที่สนใจ

หมายเลขบันทึก: 36745เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วค่ะ ก็เห็นด้วยว่า การแก้การขัดกันแห่งกฎหมายเป็นงานที่สำคัญหากเราต้องการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท