PAR หลักการ แนวคิด ทฤษฏี


PAR :การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เน้นการลงมือปฏิบัติการค้นหาปัญหาการจัดการศึกษาโดยเน้นให้ผ้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าร่วมปฏิบัติการด้วย

ใบความรู้ :เอกสารทางวิชาการเพื่อปฏิรูปการศึกษาของศุนย์ปฏิรูปการศึกษา เขตการศึกษา 10 อันดับที่ 4

SPAR อีกหนึ่งรูปแบบการวิจัยเพื่อปฏิรูปการศึกษา

โดย พิสุทธิ์ บุญเจริญ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม 8ว/นักวิชาการศึกษา 8ว.

บทนำ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 อันเป็นกฏหมายแม่บทในการบริหารและจัดการการศึกษาอบรมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ.2540 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 41) นั้นระบุถึงงานการวิจัยเพื่อพัฒนาไว้ใน มาตรา 24(4) ว่า “ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ และ มาตรา 30 ระบุว่า “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา “ มาตรา 67 ก็ระบุว่า “ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย “

กอปรกับศูนย์ปฏิรูปการศึกษา เขตการศึกษา 10 อันเป็นศูนย์ทางวิชาการที่สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 10 จัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานภายในตามพันธกิจของสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 10 ตามโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพในส่วนราชการสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 10 มีภารกิจ ข้อ 4 “ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนางานการปฏิรูปการศึกษาในพื้นที่เขตการศึกษา 10” ซึ่งผู้วิจัยได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1.เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิรูปการศึกษา เขตการศึกษา 10 มีอำนาจหน้าที่ตามข้อ (3) “ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนางานการปฏิรูปการศึกษาในพื้นที่เขตการศึกษา 10” (มีทั้งสิ้น 13 ข้อ)

2.เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิรูปการศึกษา เขตการศึกษา 10 ดังกล่าวนี้ มีอำนาจหน้าที่ตามข้อ (3) “ดำเนินการตามภารกิจของศูนย์ปฏิรูปการศึกษา เขตการศึกษา 10 ( มีทั้งสิ้น 6 ข้อ)

3.เป็น ประธานคณะทำงานทางวิชาการประจำศูนย์ปฏิรูปการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ข้อ (1) ปฏิบัติงานทางวิชาการ เช่น ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนางานการปฏิรูปการศึกษา เขตการศึกษา 10 (มีทั้งสิ้น 4 ประการ)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้วิจัยตระหนักดีถึงคุณค่า คุณประโยชน์ ความจำเป็นและความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนา [RESEARCH AND DEVELOPMENT] ในระดับโรงเรียน [ SCHOOL ACTION RESEARCH :เรียกโดยย่อว่า SAR] อันมีส่วนเกื้อกูลต่อการปฏิรูปการเรียนการสอนในโรงเรียนได้อย่างตรงจุด ตรงประเด็น ตรงปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และบรรลุตามเป้าหมายและนโยบายแห่งรัฐอย่างสูงยิ่ง

และในการนี้ผู้วิจัยเองเห็นว่าในปัจจุบันนี้วิทยาการด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนา[RESEARCH AND DEVELOPMENT]นี้มีความจำเป็นต่องานการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างสูงยิ่งและจากการศึกษาพบว่าการวิจัยเพื่อพัฒนาดังกล่าวนี้[RESEARCH AND DEVELOPMENT] มีหลากหลายรูปแบบ หลายแนวทาง หลากหลายแนวคิด ดังนั้นการที่จะนำเอาการวิจัยเพื่อพัฒนา[RESEARCH AND DEVELOPMENT] ไปใช้ได้อย่างมีคุณค่า และสมประโยชน์ได้นั้นจึงควรที่จักต้องทำการศึกษาทดลองหารูปแบบหรือสร้างรูปแบบเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่เขตการศึกษา 10 ที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสมเกิดคุณค่าและได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ต่องานการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของนโยบายแห่งรัฐและเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ต่อไป

ผู้เขียน (นายพิสุทธิ์ บุญเจริญ)จึงได้ทำการศึกษาเรื่องนี้.

 

i ความหมายคำสำคัญ [keywords]

i การวิจัย : ความหมาย

1. การวิจัย : เป็นวิธีการค้นคว้าหาความจริงโดยวิธีการอย่างมีระบบที่เชื่อถือได้ หรือวิธี การวิทยาศาสตร์นั่นเอง [Lehmann and Mehrens อ้างโดย ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา 2536 หน้า 9]

2. การวิจัย : เป็นการศึกษา ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีทางตรรกวิทยาอย่างมีระบบเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ๆหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเก่าๆและเพื่อวิเคราะห์ผลก่อน หลังของความสัมพันธ์ระหว่างกัน

การวิจัยทางสังคมเป็นวิธีการศึกษาวิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมเพื่อที่จะขยาย แก้ไขหรือพิสูจน์ความรู้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะช่วยสร้างทฤษฏีหรือใช้ในการปฏิบัติ [อำนวย ชูวงษ์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2519 หน้า 3]

 

3. วิจัย . การสะสม การรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา [อ.research] [พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530 โรงพิมพ์วัฒนาพานิช สำราญราษฏร์ 2531 หน้า 493]

4. RESEARCH : สืบเสาะ ค้นหาความรู้ วิจัย [S. Investigation]

[So Sethaputra NEW MODEL ENGLISH-THAI DICTIONARY สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด กทม.2534 หน้า 627]

5.การวิจัย : การศึกษา ค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างเป็นระบบ

: การศึกษา วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของสิ่ง ต่างๆ อย่างมีระบบ เพี่อพัฒนา โดยสูตร P = C-F [ (ผู้วิจัย ; นายพิสุทธิ์ บุญ เจริญ)

6.แล้วตัวคุณเองหละ ? ให้ความหมายของคำ “วิจัย” ว่าอย่างไร ?

................................................................................................

i ประเภทของการวิจัย

นักวิชาการด้านการวิจัยได้จำแนกประเภทของการวิจัยออกเป็นหลาย ประเภท หลายลักษณะ ดังเช่น

 

1. อำนวยวิทย์ ชูวงษ์ กล่าวว่าการแยกประเภทของการวิจัยนั้น สามารถ

แยกได้หลายประเภท โดยอาจแยกออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท

ดังนี้

1.การวิจัยแบบพื้นฐานหรือแบบบริสุทธิ์ [BASIC OR PURE RESEARCH] เป็นการ

ศึกษาค้นคว้าอย่างลึกซึ้งเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อสะสมความรู้ให้มากขึ้น

หรือเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

2.การวิจัยแบบประยุกค์ [APPLIED RESEARCH] เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำผล

การวิจัยไปใช้ปฏิบัติต่อไป [อำนวย ชูวิทย์ ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สำนักพิมพ์แพร่

พิทยา กทม.,2519 หน้า 3)

 

 

2. ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ แบ่งประเภทการวิจัยตามจุดมุ่งหมาย

ของการศึกษาค้นคว้าหาความจริง ได้ เป็น 3 ประเภท คือ

1.การวิจัยพื้นฐาน หรือการวิจัยบริสุทธิ์ [BASIC OR PURE RESEARCH] : มุ่งแสวงหาความรู้หรือความจริงที่เป็น กฏ สูตร ทฤษฎี

2.การวิจัยประยุกต์ [APPLIED RESEARCH] : มุ่งแก้ปัญหา

สามารถนำไปใช้กับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เช่น เด็กตกซ้ำชั้นมากก็วิจัยดู

สาเหตุของการสอบตกเพื่อครูและผู้บริหารจะได้แก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและสามารถ

นำผลการวิจัยไปใช้ในโรงเรียนอื่นๆได้อีก

3.การวิจัยเชิงปฏิบัติการ [ACTION RESEARCH] : เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะ

หน้าเป็นครั้งๆไป ผลของการวิจัยจะอ้างอิงไปใช้กลุ่มอื่นไม่ได้ เพราะมองในวง

เช่น วิจัยปัญหาบางอย่างที่ครูอยากรู้อยากพัฒนาในห้องเรียนที่ตนเองเป็นครูประ

จำชั้น ประจำวิชา เป็นต้น [ ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ เทคนิคการวิจัย

ทางการศึกษา สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ กทม.,2536 หน้า 9-10]

3. Lehmann and Mehrens อ้างโดย ล้วน สายยศและอังคณา

สายยศ ให้ความเห็นว่า ควรแยกการวิจัยทางการศึกษาออกเป็น 5 ชนิด คือ

1.การวิจัยเชิงประวัติศาตร์ [Historical Research] เป็นการค้นคว้าหาความจริง

ของสิ่งที่ผ่านพ้นมาแล้ว โดยอาศัยหลักตรรกวิทยาพิจารณาหาเหตุผลจนเป็นที่เชื่อถือได้

2.การวิจัยเชิงพรรณา [Descriptive Research] เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาความจริงของสถาน การณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร เช่น พวกสำรวจ การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษา พัฒนาการบางอย่างเป็นต้น

3.การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ [Correlational Research] การวิจัยแบบนี้มุ่งค้นคว้าและ/หรือวัด ขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างของสองหรือมากกว่าสองตัวแปรขึ้นไปเพื่อหวังใช้ในการ พยากรณ์

4.การวิจัยเปรียบเทียบผลเพื่อศึกษาเหตุ [Causal - Comparative Research]

การศึกษาแบบนี้ยังไม่เป็นการทดลอง เป็นเพียงการศึกษาผลที่ปรากฏมีอยู่แล้วว่ามีสาเหตุมา อย่างไร เช่น สาเหตุของการตกซ้ำชั้นของนักเรียนประถมศึกษา เป็นต้น บางทีเรียกการวิจัย แบบนี้ว่า EXPOST FACTO

5.การวิจัยประเภททดลอง Experimental Research] เป็นการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์เชิง เหตุผลของปรากฏการณ์ต่างๆ เน้นการศึกษาตัวแปรซึ่งจะมีทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ แหล่งเดิม หน้า 12-13)

 

4. กระผมเอง (นายพิสุทธิ์ บุญเจริญ) ขอจำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.การวิจัยเชิงประวัติศาตร์ [Historical Research]

2.การวิจัยเชิงพรรณา [Descriptive Research

3.การวิจัยประเภททดลอง Experimental Research]

4.การวิจัยเชิงปฏิบัติการ[ACTION RESEARCH]

5. (ตัวท่านเอง) แบ่งการวิจัยออกเป็น ......ประเภท คือ.......?......................

 

i การวิจัยเชิงปฏิบัติการ : ความหมาย

นักวิชาการด้านการวิจัยได้ให้ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้

ไว้หลากหลาย ดังเช่น

 

 

1. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ [ACTION RESEARCH] : การวิจัยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งช่วย

ให้ท่านสร้างความรู้ หรือความเข้าใจจากการปฏิบัติ การวิจัยเช่นนี้จะมีความเหมาะสมกับสถาน

การณ์ที่การวิจัยวิธีอื่นทำได้ลำบาก (กมล สุดประเสริฐ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของ

ผู้ปฏิบัติงาน 2540 หน้า 84)

 

2 ทัศนีย์ สิทธิวงศ์ นักวิชาการศึกษา สพข.11 ได้ประมวลคำนิยามของ

“การวิจัยในชั้นเรียน “ ไว้ดังนี้

คอเร่ย์ [Corey : 1953} ได้ให้ความหมาย [ACTION RESEARCH] ไว้ว่า หมายถึง

กระบวนการที่ผู้ปฏิบัติงานได้พยายามที่จะศึกษาปัญหาของพวกเขาโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างความถูกต้องรวมทั้งประเมินผลการตัดสินใจและการกระทำนั้น.

อุทุมพร จามรมาร : การวิจัยที่ทำโดยครู ของครู เพื่อครู และสำหรับครู เป็นการวิจัย

ที่ครูผู้ซึ่งต้องดึงปัญหาในการเรียนการสอนออกมา และครูผู้ซึ่งต้องแสวงหาข้อมูลเพื่อมาแก้ปัญ

หาดังกล่าวด้วยกระบวนการที่เชื่อถือได้ ผลวิจัยคือคำตอบที่ครูอีกนั่นแหละจะเป็นผู้นำไปใช้แก้

ปัญหาของตน

ชาตรี มณีโกศล : เป็นการศึกษารวบรวมและ/หรือการแสวงหาข้อเท็จจริง

โดยใช้ขั้นตอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปอันนำไปสู่การแก้

ปัญหาที่เผชิญอยู่ทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานในขอบข่ายที่รับผิด

ชอบ โดยผู้วิจัยสามารถดำเนินการได้หล่ยๆครั้ง จนกระทั่งผลการปฏิบัติงานนั้นบรรลุ

จุดประสงค์หรือแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ได้สำเร็จ วิธีการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ

การปฏิบัติงานในสาขาอื่นๆได้

ทัศนีย์ สิทธิวงศ์ : การวิจัยที่มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาคำตอบมาแก้ปัญหาพฤติ

กรรมของผู้เรียน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนางานในหน้าที่ของครูผู้ทำ

การวิจัยต่อไป (ทัศนีย์ สิทธิวงศ์ เอกสารทางวิชาการโครงการพัฒนาบุคลากรร่วม สพข. อีสานกับการพัฒนาศักยภาพ เอกสารอันดับที่ 5/2542 สพข.10 หน้า 151-152)

 

3. กระผมเอง (นายพิสุทธิ์ บุญเจริญ) : การศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน

ปัญหาและความต้องการในหน้าที่ของตน

 

4. สำหรับคุณเอง

การวิจัยเชิงปฏิบัติการหมายถึง.:...........................................................................

................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................

 

 

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียน : ความหมาย

[CLASSROOM PARTICIPATION ACTION RESEARCH :CPAR]

 

1.กระผมเอง (นายพิสุทธิ์ บุญเจริญ) : การศึกษาวิเคราะห์

สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการร่วมกันเพื่อพัฒนานักเรียน

ในชั้นเรียน.

 

 

2. สำหรับคุณเอง

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

หมายถึง.:...........................................................................

.............................................................................................................................

............................................................................................................................

 

 

 

i การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียน ; ความหมาย

[SCHOOL PARTICIPATION ACTION RESEARCH :SPAR]

[SCHOOL PARTICIPATION ACTION RESEARCH :]

 

1. กระผมเอง (นายพิสุทธิ์ บุญเจริญ) : การศึกษาวิเคราะห์

สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการร่วมกันเพื่อพัฒนา

โรงเรียน

 

 

2. สำหรับคุณเอง

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียน

หมายถึง.:..........................................................................................................

..........................................................................................................................

.........................................................................................................................

 

 

 

i ปัญหาและการวิเคราะห์

การดำเนินงานใดๆย่อมมี เป้าหมาย อยู่ที่ผลงานหรือผลของการปฎิบัติงาน

หากผลงานที่ปรากฏไม่ใช่หรือไม่ตรงกับสิ่งที่มุ่งหวัง ก็กล่าวได้ว่าการดำเนิน

งานนั้นไม่สำเร็จ หรือ เกิดปัญหาขั้น

 

ความหมาย

1 ปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คาดหวัง (หรือผลที่ต้องการ(หรือผลที่ต้องการ

ให้เกิด) กับสิ่งที่เป็นจริง (หรือผลที่เกิดขึ้นจริงๆ)

หรือกล่าวได้ว่า สภาพที่เกิดขึ้นจริงไม่ตรงกับสภาพที่ต้องการให้เกิด ซึ่งสามารถพิจารณารได้ว่า มีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่เป็นจริงหรือสิ่ง

ที่เกิดขึ้นจริงต่ำกว่าสิ่งที่เราคาดหมายไว้ ดังแสดงด้วยแผนภาพได้ดังนี้

................. สิ่ง(สภาพ) ที่คาดหวังต้องการให้เกิด (เป้าหมาย/เกณฑ์)

 

 


ปัญหา .................................. สิ่ง (สภาพ) ที่เกิดขึ้นจริง

(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ การวิจัยเชิงพัฒนาระดับโรงเรียน เอกสารการวิจัยทางการ ศึกษา อันดับที่ 162/2535 โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว 2536 หน้า 20)

2. ปัญหา[PROBLEM]หมายถึงส่วนต่างระหว่างเกณฑ์ [CRITERIA,MEAN,NORMหรือ SATISFACTION LEVEL]ที่ กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานกับสภาพจริง[FACT] ที่ปรากฏ ดังกำหนด เป็นสูตรขึ้นไว้ดังนี้

P = C - F

[ P คือ PROBLEM(ปัญหา) C คือ CRITERIA(เกณฑ์)

F คือ FACT(สภาพจริง)

นั่นคือ ถ้าความแตกต่างมีมากก็แสดงว่าสิ่งนั้นมีปัญหามาก แต่หากความแตกต่างมี น้อย ก็แสดงว่าสิ่งนั้นก็มีปัญหาน้อย

ดังนั้นจะเห็นว่าในการมองสภาพปัญหาตามสูตรดังกล่าว ผู้มองต้องศึกษาให้รู้ถึง ข้อมูล สารสนเทศหรือดัชนีถึง 3 ตัวคือ

1.ข้อมูล[DATA] หรือ สารสนเทศ [INFORMATION]หรือดัชนี [INDICATOR] ที่เป็นเกณฑ์ [CRITERIA,MEAN,NORMหรือ SATISFACTION LEVEL]ที่กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐาน

2.ข้อมูล[DATA] หรือ สารสนเทศ [INFORMATION]หรือดัชนี [INDICATOR] ที่เก็บมาได้

3.ค่าที่ได้จากการลบตัวเลขระหว่างเกณฑ์ (ในข้อ1)กับข้อมูลที่เก็บมาได้ในข้อ 2

4.แล้วนำค่าที่ได้จากข้อ 3 ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน [STANDARD LEVEL]ที่ตั้ง ไว้เป็นบรรทัดฐานแล้ว ก็จะทราบได้ว่า มีมาตรฐานระดับใด ( พิสุทธิ์ บุญเจริญ เอกสารทาง วิชาการโครงการพัฒนาบุคลากรร่วม สพข.9 10 และ11 สพข.อีสานกับการพัฒนาศักยภาพ เอกสารอันดับที่ 5-2542 สำนักพัฒนาการศึกษาฯเขตการศึกษา 10 โรงพิมพ์ หจก.อุบลกิจ ออฟเซทการพิมพ์ อุบลราชธานี 2542 หน้า 131-132)

3.ปัญหา[PROBLEM] (ตัวคุณเอง)หมายถึง...............................................................................................................................................................................................................................................

i บทบาทของการวิจัย

นักวิชาการด้านการวิจัยได้กล่าวถึงบทบาทการวิจัยไว้มากมายหลาย ประการดังเช่น

 

1. ดร.อนันต์ ศรีโสภา กล่าวไว้ว่า: ทุกคนยอมรับแล้วว่า การที่โลกมนุษย์เรานี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่าสมัยโบราณนั้นเป็น ผลมาจากการวิจัยแทบทั้งสิ้น

: การวิจัยเป็นเครื่องมืออย่างสำคัญที่สุดในการเพิ่มพูนความรู้ ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้า

: การวิจัยฃ่วยให้มนุษย์สามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้

: การวิจัยช่วยขจัดปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆให้หมดไป

: ความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์สิ่งต่างๆเป็นผลสืบเนื่องมาจากการวิจัยแทบ ทั้งสิ้นซึ่งยังผลให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น

สำหรับบทบาทการวิจัยในทางการศึกษานั้น ดร.อนันต์ ศรีโสภา กล่าวไว้ว่า

: ผลการวิจัยช่วยให้นักการศึกษาสามารถพิจาณาว่าจะจัดสภาพการเรียนการสอน อย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามจุดทุ่งหมายที่กำหนดไว้ได้

( อนันต์ ศรีโสภา หลักการวิจัยเบื่องต้น เล่ม 1 เอกสารโรเนียว 2520 หน้า 19)

 

 

2. ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ กล่าวไว้ว่า

: การวิจัยมีบทบาทและความสำคัญมากต่อการพัฒนาประเทศ การที่

ประเทศพัฒนาทั้งหลายสามารถพัฒนาประเทศจนกระทั่งบรรลุเป้าหมายและความ

สำเร็จมาได้จนถึงที่ปรากฏในปัจจุบันนั้น ก็เพราะผลของการวิจัยในด้านต่างๆ

: การวิจัยถือเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาประเทศในหลายๆกรณี

ดังที่เรียกกันว่า การวิจัยกับการพัฒนา [RESEARCH AND DEVELOPMENT

R&D นั่นเอง] ( มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เอกสารการสอนชุดวิชา สถิติ

วิจัยและการประเมินผลการศึกษา ชุดปรับปรุง โรงพิมพ์บริษัทประชาชน จำกัด กทม. 2539 หน้า 5)

3. บัญชา อึ๋งสกุล กล่าวว่า: การวิจัยเป็นเสมือนหัวใจของการพัฒนา ทั้งนี้เพราะวิทยาการต่างๆในสังคม ปัจจุบันได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ตามสภาวะของความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้าน

เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทดโนโลยี่ต่างๆที่มนุษย์ได้ศึกษาและพัฒนาขึ้นมาใน

ทุกๆด้าน ซึ่งการที่มนุษย์จะศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี่ใหม่ๆใดๆก็ตามย่อมต้องอาศัย

พื้นฐานของการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและทอลองเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ๆรวมทั้งการแก้

ปัญหาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (บัญชา

อึ๋งสกุล การวิจัยเพื่อพัฒนา เอกสารโรเนียว มปป. หน้า 1)

 

4. ผู้เขียนเอง : นายพิสุทธิ์ บุญเจริญ : มุ่งที่ให้การวิจัยมีบทบาทในการพัฒนานักเรียนผ่านกระบวนการเรียนการสอน

ให้นักเรียนมี คุณภาพชีวิต[QUALITY OF LIFE]ที่ได้มาตรฐานคุณภาพ

 

5. สำหรับคุณเอง มองบทบาทของการวิจัย ดังนี้

...........................................................................................................................

..........................................................................................................................

...........................................................................................................................

i ความจำเป็นที่ต้องทำการวิจัย

 

1. เพราะถูกกำหนดด้วยกฏหมาย

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ม.30 ระบุไว้ว่า

ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มี ประสิทธิ ภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในแต่ละระดับการศึกษา.

ม.67 ระบุไว้ว่า รัฐต้องส่งเสริม ให้มีการวิจัย ให้มีการวิจัย และพัฒนาการผลิตและการพัฒนา เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการ ศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย.

 

 

2. ผู้เขียนเอง ; นายพิสุทธิ์ บุญเจริญ มีภาระหน้าที่และมีส่วนรับผิดชอบในฐานะ

บุคลากรของ กระทรวงศึกษาธิการ ตระหนักดีว่า ตนเองรวมทั้งชาวกระทรวงศึกษาธิการ

ทั้งมวลต้องแปรงตัวบทกฏหมายใน มาตรา 30 และ 67 แห่ง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ

2542 ดังกล่าวนี้ไปสู่การปฏิบัติในการพัฒนาการศึกษาโดยใช้กระบวนการเรียนการสอน

ให้เกิดเป็นรูปธรรม จนเกิดมรรค เกิดผลให้จงได้.

3. ตัวคุณเอง มีความเห็นอย่างไร ?.................................................................

 

i 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3668เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2005 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ก็ดีนะครับ เพราะเรียนอยู่ ถ้ามีอะไรที่มากกว่านี้ก็ขอความกรุณาส่งเมล์มาให้ด้วยนะครับ แล้วจะมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร ก็ค่อยว่ากันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท