การปฏิบัติงานที่ดี (Good Practice)


การพัฒนากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ด้วยการนิเทศแบบโคชชิ่ง

ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานที่ดี  (Good  Practice)

1.)         ชื่อ   การพัฒนากิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ด้วยการนิเทศแบบโคชชิ่ง

2.)         รายละเอียด 

(1)       แนวคิด ความเป็นมา

ลูกเสือ-เนตรนารี เป็นกิจกรรมที่สงเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นทักษะชีวิต  สร้างเสริมให้ผู้เรียน

ได้พัฒนาตนเองด้วยกระบวนการลูกเสือที่ปลูกฝังการอยู่ร่วมกัน  กิจกรรมการเรียนรู้กลางแจ้งนอกห้องเรียน  ให้มีการพัฒนาตนเองได้ตามความถนัดของตนอย่างแท้จริง  สร้างระบบประชาธิปไตยด้วยระบบนายหมู่ โดยใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานร่วมกันให้ได้เพื่อน เถื่อนทาน  การสนุก สุขสม นักวิชาการหลายท่านที่ผ่านการฝึกอบรมลูกเสืออย่างเต็มรูปแบบจนได้เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่สมบูรณ์  ต่างก็ยอมรับว่า  กระบวนการลูกเสือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญที่จะเสริมสร้างเยาวชนไทยให้เป็นคนดี  ที่มีระเบียบวินัย  ให้เกิดทักษะชีวิตที่สมบูรณ์  แต่สถานการณ์ปัจจุบัน วิชาลูกเสือที่เป็นงานวิชาการ ที่เป็นเพียง ส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ที่มีผลการพัฒนาตนเองเพียงการไปร่วมกิจกรรม ผ่าน-ไม่ผ่าน และครูผู้สอนทุกระดับกลับไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนตามหลักสูตรอย่างแท้จริง

(2)       วัตถุประสงค์

1)            ใช้เทคนิคการนิเทศแบบโคชชิ่ง  เพื่อสร้างเสริมทักษะการสอนลูกเสือ ให้ครูที่เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือ สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมั่นใจที่จะจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมลูกเสือได้ตามระเบียบพิธีการลูกเสือ และตามข้อบังคับว่าด้วยหลักสูตรและวิชาพิเศษ

2)            ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือได้พัฒนาตนเองตามความสามารถเฉพาะทาง สู่การเป็นครูมืออาชีพ หรือเป็นวิทยากรที่มีวุฒิทางลูกเสือที่สูงขึ้น

(3)       กลุ่มเป้าหมาย

ข้าราชการครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

(4)       ขอบเขตในการดำเนินการ

การพัฒนาครูที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และครูที่ประสานงานขอรับการนิเทศให้ได้รับการเสริมทักษะการสอนและการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน ตามหลักสูตรลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ และลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

(5)       ขั้นตอนการดำเนินงาน 

1)            การพัฒนาครู ให้เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่สมบูรณ์ ด้วยกระบวนการนิเทศแบบโคชชิ่ง ตามระเบียบพิธีการตรวจขั้นที่ 5 ด้วยกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนให้ถึงผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม   กิจกรรมหลัก  คือ

1.1)  การบริหารงานในกองลูกเสือ ด้วยการให้ความรู้ แนะนำการจัดทำเอกสารงานธุรการ และการจัดหาสื่อ อุปกรณ์  แหล่งเรียนรู้ หลักสูตรลูกเสือ และแผนการสอน ให้มีขึ้นในสถานศึกษา

1.2)  การสอนตามระเบียบพิธีการลูกเสือ 5 ขั้น โดยการประชุมชี้แจง ทบทวนแนวปฏิบัติ สาธิตการสอน และให้ได้ปฏิบัติจริง

1.3)  การสอนระเบียบแถว (สำหรับลูกเสือสำรอง ) โดยการประชุมชี้แจง ทบทวนแนวปฏิบัติ สาธิตการสอน และให้ได้ปฏิบัติจริง

1.4)  การสาธิตการสวนสนาม  โดยการประชุมชี้แจง ทบทวนแนวปฏิบัติ สาธิตจัดกิจกรรมสู่การสอน และให้ครูได้ปฏิบัติจริง

1.5)  การประชุมายหมู่  โดยการประชุมชี้แจง ทบทวนแนวปฏิบัติ สาธิตการสอน และให้ได้ปฏิบัติจริง

1.6)   ให้ครูได้ประเมินตนเอง จากกิจกรรมทั้ง 5 โดยใช้เอกสาร “ คู่มื่อการตรวจขั้นที่ 5 ”ประกอบการพัฒนา 

2)            การพัฒนาครูที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือเฉพาะทาง

2.1) ครูที่ผ่านกระบวนการตามขั้นตอนที่หนึ่งที่ขอได้รับการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความ

        ชำนาญในทักษะลูกเสือที่สูงขึ้น เพื่อนำมาใช้ในสถานศึกษา โดยประสานงานส่งไป

        อบรมหลักสูตรต่อไปนี้

1)  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝึก และ ขั้นผู้อำนวยการฝึกอบรม

2) วิชาพิเศษเฉพาะทาง   วิชาการบันเทิง   วิชาบุกเบิก  วิชาแผนที่เข็มทิศ 

      วิชาสวนสนามระเบียบแถว 

  2.2)  ครูที่เสนอขอได้รับความช่วยเหลือ ให้นิเทศและแนะนำรูปแบบการจัดกิจกรรม การ

  อยู่ค่ายพักแรม  พิธีการส่งลูกเสือตามหลักสูตร  พิธีสวนสนาม  พิธีถวายราชสดุดี 

  การสาธิตการสอนด้วยการเปิด-ปิดประชุมกอง

       (6) ประสบการณ์ที่เกิดจากการนำไปใช้ และผลการดำเนินการ

                ได้ร่วมนิเทศครูทุกโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต1  และ เขต 2 ส่งผลให้ครูในสังกัดพัฒนาการสอนลูกเสือ-เนตรนารี ได้ตามหลักสูตรและตามระเบียบพิธีการลูกเสือที่กำหนด  และส่งผลให้ครู-ผู้บริหารโรงเรียน ส่วนหนึ่งสามารถพัฒนาผลงานสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการและมุ่งพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่สมบูรณ์

       (7) รูปแบบวิธีประชาสัมพันธ์เผยแพร่

1) เผยแพร่สู่สถานศึกษา ทางWeb Blog GOTOKNOW ; Todsapol ; Scouting for Boys

2) ส่ง สื่อ CD และ คู่มือการตรวจขั้นที่ 5 ให้โรงเรียนและครูที่อบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

นายทศพล  วงษ์เนตร   ศึกษานิเทศก์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1

หมายเลขบันทึก: 366694เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท