กว่าจะได้มาซึ่ง HA สำหรับงานจ่ายยาผู้ป่วยใน


ระบบยา

ดิฉันขอให้งานจ่ายยาผู้ป่วยในของกลุ่มงานเภสัชเล่างานที่ทำก่อนผ่านHAมาให้ทราบเพื่อเรียนรู้ร่วมกันและจะพบว่าคุณภาพไม่มีขาย   อยากได้ต้องทำเองค่ะ 

กว่าจะได้มาซึ่ง HA สำหรับงานจ่ายยาผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกสูติ-นรีเวช หู คอ จมูก ตา 

การพัฒนางานมีดังต่อไปนี้

1.การพัฒนาการตรวจสอบซ้ำในหน่วยและระหว่างหน่วยงานเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา

 

1.1  Prescribing  error   ประสานงานผ่านองค์กรแพทย์ของสถาบัน

  • จัดทำคู่มือรายการยาที่ให้ใช้อักษรย่อ / คำย่อได้
  • จัดทำคู่มือรายชื่อยาที่สร้างความสับสนในการสั่งเบิกยา
  • จัดทำคู่มือรายการยาของสถาบันบำราศนราดูรที่ต้องเขียนขนาดกำกับด้วย
  • ขอความร่วมมือในการเขียนสั่งใช้ยาให้ชัดเจนครบถ้วน
1.2   Transcribing  error  ประสานงานผ่านกลุ่มงานการพยาบาล
  • สั่งสำเนา  Docfor, s  order  sheet  พร้อมใบบันทึกการเบิกยา / เวชภัณฑ์ทุกครั้ง
  • ขอความร่วมมือในการคัดลอกคำสั่งการใช้ยาของแพทย์ให้ชัดเจนครบถ้วน
  • เริ่มโครงการการใช้โปรแกรมการเบิกจ่ายยาของ IPD เพื่อลดการคัดลอกคำสั่งใช้ยาของพยาบาลโดยมีหอผู้ป่วย 7/6 เป็นหอผู้ป่วยสาธิต และจัดทำแผนสำหรับการขยายการปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอื่นๆ ที่เหลือให้ครอบคลุมทุกตึก

1.3   Predispensing  error

  • ฝึกทักษะความชำนาญของเจ้าหน้าที่ในการจัดยา, การป้อนข้อมูลการสั่งซื้อยาใน คอมพิวเตอร์โดยมีการฝึกอบรมเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงาน  และมีการทดสอบความรู้ความชำนาญ  ทุกๆ  3  เดือน
  • จัดทำรายการคู่ยาที่มักเกิดความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลสั่งซื้อยาในคอมพิวเตอร์, การจัดยา

1.4   Dispensing error

  • ฝึกทักษะความชำนาญของเภสัชกร ในการตรวจสอบลักษณะของเม็ดยา  ชนิดยา  และชื่อของยา
  • จัดซื้อยาที่ง่ายต่อการตรวจสอบของเภสัชกร  เช่น ยาที่อยู่ในรูปแผงฟอยล์  ไม่จัดซื้อยาที่มี ลักษณะใกล้เคียงกัน
  • จัดทำรายการคู่ยาที่มีการเกิดความผิดพลาดในการจ่ายยา
 

2.การสำรองยาบนหอผู้ป่วย

  • มีการกำหนดจำนวน และรายการที่สามารถสำรองไว้ได้บนหอผู้ป่วย  โดยกำหนดให้มีการสำรองยาได้เฉพาะในกลุ่มยาที่ใช้ตามอาการ (prn), ยาที่ใช้ต่อเนื่อง, ยา Multidose และ ยาในกลุ่ม Antidote
  • จัดตั้งทีมเภสัชกรที่เกี่ยวเพื่อเป็นผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรู้เรื่องยา และการบริการจัดการยาบนหอผู้ป่วย
 

3.การควบคุมดูแลกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูง (High  alert  drugs)  และเคมีบำบัด

  • กำหนดแนวทาง และประสานงานกันระหว่างวิชาชีพทั้งแพทย์ พยาบาล  และเภสัชกร ใน การสั่งใช้ / จ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง ( High  alert  Drugs )  เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการบริหาร
  • จัดทำคู่มือรายการยาที่มีความเสี่ยงสูง ( High  alert  Drugs )  ของสถาบันซึ่งมีรายละเอียดของยารวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติเมื่อมีการสั่งใช้ยา
  • จัดทำ  สติกเกอร์  High  Alert  Drugs  เพื่อติดที่ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High  alert  Drugs) ทุกชนิดเพื่อเป็นการเน้นให้มีความระมัดระวังในการขนส่งยา, จัดจ่ายยา และ บริหารยาบนหอผู้ป่วย
  • จัดทำบัญชีรายการยาที่มีความเสี่ยงสูง  ที่ต้องใช้โดยเครื่อง  IV  Pump  
  • จัดทำ  Spill  Kit   พร้อมแนวทางการปฏิบัติเมื่อมีเคมีบำบัดตกแตก

4.ระบบการเฝ้าระวังยาที่เกิดอันตรกิริยาต่อกัน  (Drug  interactions)

  • มีระบบควบคุมการใช้ยาที่เกิดอันตกริยาต่อกันโดยมีระบบกระตุ้นเตือนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการสั่งใช้ยา
  • กำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับยาที่ผู้ป่วยที่ต้องใช้ต่อเนื่องและนำมาด้วยในการเข้ารับการรักษาที่สถาบัน เพื่อให้แพทย์ เภสัชกร   ได้พิจารณาถึงปัญหา Drug interaction ที่อาจเกิดขึ้นได้
 

5. การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จาการใช้ยา  (ADR)

  • มีศูนย์ ADR  (ของสถาบัน) ที่คอยติดตาม ป้องกัน และเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา  สำหรับผู้ป่วยในเภสัชกรจะไปซักถามอาการของผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยและ  เป็นผู้ประเมินความเป็นได้ว่าอาการไม่พึงประสงค์นั้นเกิดจากการใช้ยา
 

6.งานบริบาลเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยใน  (CSTHER) 

  • เป็นการบริบาลเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยในแบบสหวิชาชีพ โดยเริ่มต้นที่ผู้ป่วยเด็ก (HIV/AIDS)  และขยายไปทุก PCT
 

7.การให้คำปรึกษาเรื่องยาแก่ผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน  (Discharge  camseling)

  • เป็นการบริบาลเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยในด้านการใช้ยา  เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสมเมื่อกลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน โดยเลือกกลุ่มผู้ป่วยที่มีวิธีการใช้ยา หลากหลาย, ได้รับยาที่มีวิธีใช้เฉพาะ,  ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จาการใช้ยา, มีขนาดการกินยาต่างจากทั่วไป

 โดย ภญ.นิภาวรรณ  ธนาจันทาภรณ์ 

คำสำคัญ (Tags): #ระบบยา
หมายเลขบันทึก: 36666เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท