แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ กับเศรษฐกิจพอเพียง


การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในแผนล่าสุดนี้ เสมือนสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ที่นับวันจะเจริญเพียงด้านวัตถุอย่างเดียว หากแต่ด้านจิตใจนั้นขาดการขัดเกลาจนกลายเป็นปัญหาสังคมหากยิ่งสั่งสมมากขึ้นก็ยิ่งกลายเป็นปัญหาเรื้อรังและยากต่อการรักษา

                   วันนี้นั่งฟังนายอำเภอเกริ่นๆถึงเรื่อง “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐” ว่าเน้นในเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ประเทศไทยต้อง เติบโตอย่างยั่งยืน ...เลยสนใจอยากหารายละเอียดเพิ่มเติม ว่าเนื้อหา แผนฯ ๑๐ มีรายละเอียดที่ว่า...อย่างไรบ้าง???

                  มีหลายส่วนที่น่าสนใจ ตั้งแต่

  • การพัฒนาคน
  • คนคุณภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจโต
  • จัดสมดุลสามทุนหนุนเศรษฐกิจโตแบบคุณภาพ หลายคนอาจสงสัยว่าสามทุน คือ ทุนอะไรบ้าง

ทุนแรกคือทุนทางเศรษฐกิจ

ทุนตัวที่สองได้แก่ทุนทางสังคม 

ทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  •  รัฐเอกชนต้องมีธรรมภิบาล
  • รัฐไม่ใช่แกนนำ ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม
  • ความสุขวัดได้

               ส่วนเรื่องของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ผ่านมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะเน้นความสำคัญที่ทุนเศรษฐกิจ ดังนั้นเงินงบประมาณส่วนใหญ่จึงกระจายไปสู่กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เป็นต้น แต่ในแผน ๑๐ ที่จะเกิดขึ้นและเริ่มใช้ในวันที่ ๑ ต.ค. ๔๙ นี้ ถูกปรับเปลี่ยนให้เน้นความสำคัญทางด้านสังคม รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวคิดในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

               การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในแผนล่าสุดนี้ เสมือนสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ที่นับวันจะเจริญเพียงด้านวัตถุอย่างเดียว หากแต่ด้านจิตใจนั้นขาดการขัดเกลาจนกลายเป็นปัญหาสังคมหากยิ่งสั่งสมมากขึ้นก็ยิ่งกลายเป็นปัญหาเรื้อรังและยากต่อการรักษา

                   ดังนั้น ปรัชญาแห่งแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแผนการพัฒนาชาติที่นำไปสู่ความยั่งยืน และเข้มแข็งทางสังคมด้วยปัจจัยหลักที่เกิดจาก การมีแต่พอประมาณ มีเหตุผล ภายใต้การสร้างความรู้ คู่คุณธรรม รวมถึงความเพียรพยายาม ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนในวิถีการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงการเมือง ในที่สุดอย่างมีความ สมดุล มั่นคง และ ยั่งยืน...

                  


...มีหลายท่านสนใจกันมาก เกี่ยวกับ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-10

สามารถ download  จากตรงนี้ครับ

 

http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=62

 

 

หมายเลขบันทึก: 36622เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • แผนออกมาดีครับน้องจตุพร
  • แต่การปฏิบัตินี่สิน่าเป็นห่วง จะทำตามแผนที่สวยหรูหรือเปล่าก็ไม่ทราบ

อาจารย์ขจิต (แฟนประจำชุมชน)

อาจารย์ครับ ผมอ่านแผนแล้ว รู้สึกดีมากครับ ที่ชูเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"  ส่วน การพัฒนาคน ก็คงต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อ การสร้างคนที่มีคุณภาพ หากมองในแง่ดี เราก็ดีใจครับ ที่เรามีแผนพัฒนาที่เห็นคุณค่าของคนครับ

อ่านบันทึกคุณจตุพร  ได้ความรู้เชิงนโยบายดีครับ

ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้างนะครับ

ผมสนในข้อ 6  ที่ว่าความสุขวัดได้ 

โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า  ความพอเพียง นั้น  เป็นคู่แฝด  กับความสุข    เพราะคนที่เกิดความรู้สึกพอเพียงจริงๆนั้น จะจับต้องความสุขแบบนั้นได้     

การทำให้สุขเกิดขึ้นในใจได้นั้น  ผมเชื่อว่าเป็น  ความรู้ปฏิบัติที่แฝงฝังในตัวคนอีกเหมือนกัน   (tacit knowledge)  

คนที่จับต้องความสุขเหล่านี้ได้  จึง สมควรที่เป็น "ทุน" ทางสังคม  ที่ชุมชนควรได้เรียนรู้จากเขาเหล่านั้น    ซึ่งคนเหล่านี้มีอยู่ในชุมชนอยู่แล้ว    เพียงแต่เรามองผ่านข้ามหัวเขาไปมา   

ถ้าเรามองหาทุนเหล่านี้เจอ   แล้วออกแบบเวทีเรียนรู้ให้แก่ชุมชนแบบปราณีต   (เน้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ปฏิบัติ   ความรู้ที่สร้างสุขในใจ)   แผนพัฒน์ 10 ก็น่าจะกลายเป็นเสือจริงๆเสียที  (เฉพาะในข้อนี้) 

อาจารย์ Thawat ครับ

            เมื่อเราผ่านคลื่นลูกที่ ๔  ลูกที่ ๕ มาแล้ว เราก็พยายามแสวงหาส่วนที่ขาดให้กับมนุษย์-สังคม สิ่งที่ขาดหายไปนั้น เราตั้งคำถามกันอยู่เสมอ ว่าความสุขอยู่ที่ไหน...ไม่แปลกที่คนตะวันตกพยายามแสวงหาความสุขโดยหันหลังให้กับความศิวิไลซ์ที่ตอบสนองทุกสิ่งได้ ยกเว้นความสุข พวกเขาเสาะหา "ความสุข" ที่แท้จริงของชีวิต ในที่สุด "ความพอเพียง" ทำให้ของลดอัตราเร่งชีวิตในวิถีทุนนิยมช้าลง สบาย เบาๆโล่งๆ

         ฉะนั้นวิถีตะวันออกอย่างพวกเราที่เน้น "ความพอเพียง" ถือว่าเป็นทุนให้กับตนเองในส่วนปัจเจก เป็นทุนให้กับสังคม ให้ภายนอกเข้ามาเรียนรู้ ...เชื่อมโยงไปสู่การออกแบบเรียนรู้ให้แก่ชุมชน แบบปราณีต  (ผมสนใจคำนี้) กระบวนการสุนทรียสนทนา หรือกระบวนการใดก็ตามที่ให้โอกาสคนได้แสดงศักยภาพภายใต้การยอมรับซึ่งกันและกัน เป็นสังคมเรียนรู้ ...อยากให้เกิดบรรยากาศแบบนี้ 

          ส่วน "ดัชนีชี้วัดความสุข" เป็น Tacit Knowledge จริงๆครับ เพราะ "วิถี" การแสวงหา ความสุขนั้นต่างกัน หากใครสามารถมีความสุขแบบง่ายๆ สุขในท่ามกลางวิกฤต สภาพปัญหา องค์ความรู้อย่างนี้คือ "ทุน" ที่น่าสนใจมากครับ

          พระมหากษัตริย์แห่งภูฏานตรัสในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ปี 2515) ว่า "Gross National Happiness is more important than Gross National Product" แปลง่ายๆ ว่า ความสุขมวลรวมประชาชาติ สำคัญกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ

             คำตรัสของกษัตริย์แห่งประเทศเล็กๆ ในหลืบของหิมาลัย กลายเป็นหัวข้อที่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะ "ความอับจน"ของการใช้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเพื่อบ่งชี้ความเจริญก้าวหน้าหรือความอยู่ดีกินดีของคนนั้นมีปัญหาของมันอยู่ในตัวเอง ความสุขกับความเจริญทางวัตถุไม่ได้เดินควงคู่ไปด้วยกัน ซึ่งก็รู้ๆ กันอยู่ แต่แก้ไม่ตก เรื่องจีเอ็นเอชจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่อภิปรายถกเถียงกันมาตลอดด้วยหวังว่าจะพัฒนาดัชนีชี้วัดออกมาให้ได้

          ประเด็น "ดัชนีชี้วัดความสุข" น่าสนใจ น่าจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Gotoknow เพื่อความเห็นที่หลากหลายมากขึ้น

           ขอบคุณอาจารย์ Thawat ครับ ที่ให้เกียรติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

             ผมได้ไปอ่าน บันทึกในชุมชนของอาจารย์ธเนศ ขำเกิด  ที่นำมาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแผนฯ ๑๐ เป็นบันทึกที่มีบทสรุปจากการประชุม น่าสนใจ

             ลองตามเข้าไปอ่านกันดู และจะได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโอกาสต่อไปครับ

 

                                                                   จตุพร

            ขออนุญาตนำข้อคิดเห็นของพี่ชายขอบ ในบันทึกของอาจารย์ธเนศ มาร่วมแลกเปลี่ยนในบันทึกของผมด้วยครับ เพราะมีบางประเด็น ที่น่าสนใจ (ที่เน้นข้อความ) เพราะที่ผ่านมาเกิดกระบวนการลักษณะนี้น้อย ...ทุกคน คนไทย ควรมีสิทธิในการกำหนดทิศทางร่วมกัน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้อคิดเห็น
ชายขอบ เมื่อ อ. 04 ก.ค. 2549 @ 02:17

     ในมุมมองของผมแล้ว แผนพัฒนาฯ ต้องเป็นกรอบให้กับนโยบายของรัฐบาลในแต่ละยุคสมัย แต่ที่ผ่านมาระดับนโยบายไม่เอาตามแผนพัฒนาฯ แต่ก็มองกลับไปอีกเช่นกันว่า การมีส่วนร่วมมากพอแล้วหรือยังในการยกร่างแผนพัฒนาฯในแต่ละฉบับ มากไปกว่านั้น ให้เขา(ทุกภาคส่วน)มีส่วนร่วมอย่างจริงใจ คือ แผนได้ตกผลึกจากกระบวนการมีส่วนร่วมนั้นจริง ๆ ไหม หรือเพียงเอา "กรอบมาบอกว่านี้นะคุณว่ากันอย่างไร" จากนั้นเมื่อว่ากันเสร็จแล้วก็ไม่ได้เอาจากที่ตกผลึกได้ไปปรับจากร่างฯอะไรเลย
     ผมพยายามจะนำเสนอว่า กระบวนการยกร่างแผนพัฒนาฯ กับ กระบวนการมีส่วนร่วม ภาพสวยแต่แยกส่วนกัน ใช่ไหม (เป็นข้อสังเกตแบบไม่ค่อยมีกึ่นของผม)
     ผมเชื่อว่าหากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการยกร่างจริง ๆ เขาจะนำไปใช้มากกว่าที่ผ่านมา อันนี้(ร่าง)แผนฯ 10 ผมเห็นกระบวนการมีส่วนร่วมมาก และผลลัพธ์ยังไม่แน่ใจ
     เชื่อมั่นว่าเราจะเอาจริงเอาจังกับแนวคิด "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" มากขึ้นในแผนฯ 10 นี้ และอยากเห็นแผนฯ 10 ชี้ชัดเลยว่าจะวัดการพัฒนาประเทศกันด้วยความสุข ไม่ใช่ เศรษฐกิจอย่างเดียว

รู้สึกดีที่สังคมไทยมีคนมีอุดมการณ์อยู่ไม่นอ้ยในฐานะพัฒนากรที่ทำงานอยู่กับชุมชนและกำลังจะท้อแท้เริ่มมีกำลังใจขึ้นมาอีกครั้งขอบคุณบทความดีๆที่สามารถสร้างพลังและอุดมการณ์

ในฐานะของเด็กมัธยมคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่จะได้เห็นผลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ในอนาคต ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการ นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับชีวิตประจำวันด้วยคนค่ะ ประเทศไทยจงเจริญๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ น้ำ ค่ะ

ให้กำลังใจคุณกัทลี และ น้องเด็กเชียงใหม่ ม.๕

เยาวชนคืออนาคตของชาติ หากชาติไทยเรามีเยาวชนที่มีคุณภาพ มีวิธีคิดที่ดีพร้อมคุณธรรม ชาติไทยก็จะรุ่งเรือง พัฒนาครับ

หนูอยากได้ข้อมูลที่เต็มรูปแบบของแผนที่10นี้จะไปหาที่คะ พอดีต้องเอาไปอ่านเพื่อทำข้อสอบในวันที่ 8 นี้ค่ะ กรุราตอบด้วยค่ะจะเป็นพระคุณอย่างสูง

ข่อยคือบักเสี่ยวเเม่ข่อยซื่อเปียก_พ่อข่อยซื่อฉลอง

...มีหลายท่านสนใจกันมาก เกี่ยวกับ...

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-10

สามารถ download  จากตรงนี้ครับ

 

http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=62

ขอถามหน่อยน่ะค่ะว่าปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาประเทศอย่างไรและแผนพัฒนาฯฉบับที่10นี้มีอิทธิพลอย่างไร

ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมาก..แต่แนวปฏิบัติคงยากนะคะ

ผมชอบคำนี้อะ

พระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์แห่งภูฏานตรัสในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ปี 2515)

"Gross National Happiness is more important than Gross National Product" แปลง่ายๆ ว่า ความสุขมวลรวมประชาชาติ สำคัญกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ

เมื่อฟังแล้วผมรู้สึกทันที่ว่าผมไม่ใช่สินค้า ไม่ใช่ต้นทุนของใคร แต่เป็นคนจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท