ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

ยินดีต้อนรับนิสิต ป.โท มหาจุฬาฯ ภาคพิเศษ สาขาพระพุทธศาสนา


     วันอาทิตย์ที่แล้ว (๖ มิถุนายน ๒๕๕๓) ผู้เขียนในฐานะอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีโอกาสต้อนรับนิสิตปริญญาโท สาขาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ รุ่นที่ ๒๒  ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๘  ท่าน และทั้งหมดกำลังเรียนอยู่ในช่วงเทอมสุดท้ายของการเรียนในห้อง (Take Course) ก่อนที่จะก้าวไปสู่การทำวิทยานิพนธ์ 

    

     รายวิชาที่ผู้เขียนกำลังทำหน้าที่ในการบรรยายเทอมนี้ คือ "พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่" (Buddhism and Modern Sciences)  ซึ่งรายวิชานี้ ประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้

แนวสังเขปรายวิชา

      ศึกษาลักษณะของศาสตร์สมัยใหม่ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิเวศวิทยา บนฐานแนวคิดพระพุทธศาสนา รวมทั้งประยุกต์ใช้ศาสตร์สมัยใหม่เพื่ออธิบายคำสอนทางพระพุทธศาสนา

วัตถุประสงค์โดยทั่วไป

      ๑. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ นิเวศวิทยา เป็นต้น

      ๒. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการแสวงหาความรู้และความจริง ตลอดจนหลักการและวิธีการเสนอ ทฤษฎีความรู้และการแสวงหาความรู้ในพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อศาสตร์สมัยใหม่และอิทธิพลของศาสตร์สมัยใหม่ที่มีต่อพระพุทธศาสนา ตามหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์และหนังสือต่าง ๆ

      ๓. เพื่อให้นิสิตสามารถนำวิชาการเหล่านั้นมาพัฒนาคุณภาพชีวิตและใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต และการพัฒนาสังคม

วัตถุประสงค์เชิงคุณธรรม

       ๑. เห็นคุณค่าภูมิปัญญาของมนุษย์ที่มีต่อพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่

       ๒. ยอมรับความแตกต่างของวิชาการแขนงต่าง ๆ ได้ โดยสามารถนำเอาวิชาการเหล่านั้นมาบูรณาการซึ่งกันและกันได้

       ๓. เกิดความสำนึกและรับผิดชอบร่วมกันในการที่จะใช้หลักการของศาสตร์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสังคมและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป

หัวข้อในการบรรยายในอาทิตย์ที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๓

พุทธสันติวิธีในฐานะเครื่องมือจัดการความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน

-สันติวิธีคืออะไร

-ความขัดแย้ง: ความหมาย ความสำคัญ สาเหตุ

-เครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง

-ท่าทีของพระพุทธศาสนาต่อความขัดแย้ง

หนังสืออ่านประกอบในหัวข้อบรรยาย

๑.     พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี,     ดุษฏีนิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

๒.     http://gotoknow.org/blog/buddhist-conflict-management?page=3

๓.     http://gotoknow.org/blog/forgiveness

๔.     http://gotoknow.org/blog/mediation

๕.     http://gotoknow.org/blog/peaceful-means

๖.     http://gotoknow.org/blog/peaceful-means/363744

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 365626เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2010 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (62)

ครูบุญส่ง

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ภายหลังไม่ได้สนทนาธรรมกันมานานแล้ว
  • หวังว่าครูคงสบายดีน่ะ  และหวังว่านิสิตป.โทภาคพิเศษจะอาศัยพื้นที่นี้มาสนทนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างกัน
  • ด้วยสาราณียธรรม

นมัสการพระคุณเจ้า

น่าสนใจมากเจ้าค่ะ  ขอเป็นกำลังใจให้นักศึกษาทุกท่าน  พี่ครูคิมสบายดีเจ้าค่ะ

กราบนมัสการ พระอาจารย์ ผศ.ดร.หรรษา ธมฺมหาโส ที่เคารพ

ศิษย์, ในฐานะที่เป็นนิสิตผู้ไฝ่หาความรู้เรื่องพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีพระอาจารย์เป็นผู้ชี้แสงสว่างคือปัญญาให้กับศิษย์

ศิษย์มีความปลาบปลื้มใจยิ่งนักที่ได้มีโอกาศได้ร่ำเรียนวิชา"พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่" โดยเฉพาะกับพระอาจารย์ที่มีความรู้และความสามารถเป็นอย่างมากอย่างพระอาจารย์ ถือได้ว่าเป็นบุญ และเป็น วาสนา แก่กระผมขอรับ

ขอขอบพระคุณพระอาจารย์หรรษาที่ได้กรุณาให้โอกาศกับพวกผมในการที่ได้เรียนวิชากับพระอาจารย์และได้เปิดโอกาศให้พวกกระผมได้มีพื้นที่ที่จะแสดงความคิดเห็นต่างๆบนเวทีอันทรงคุณค่าแห่งนี้ขอรับ

ด้วยความเคารพ

สานุ มหัทธนาดุลย์ (ประธานนิสิตปริญญาโทพุทธศาสตร์ภาคพิเศษรุ่น๒๒)

นมัสการพระอาจารย์ค่ะ

น้ำทิพย์ พรพัฒนานิคมรายงานตัวเจ้าค่ะ

โยมที่ส่งหัวข้อการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรมในการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์เองค่ะ อิอิ

นมัสการพระอาจารย์

วิชานี้ท่าทางสนุก หนังสืออ่านประกอบเพียบ อีกทั้งหัวข้อบรรยายในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ นี้ ทันยุค-ทันสมัย ทันเหตุการ์บ้านเมืองและสถานการณ์โลกในปัจจุบันจริงๆ จบ class นิสิตคงได้เรียนรู้อีกมากมาย...

หมายเหตุ: ขอขอบคุณครูคิมที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ

ครูคิม

ขอบคุณครูพี่คิมที่แวะมาเยี่ยม  ไม่ทราบว่าหายเหนื่อยจากการจัดงานค่ายผู้ใหญ่ใจดีแล้วหรือยัง   รักษาสุขภาพด้วยนะครูคิม

โยมสานุ

ขออนุโมทนา และขอบใจพวกเราเ่ช่นกันที่ไม่เปิดโอกาศให้พระอาจารย์ไม่หลบไปต่างประเทศ เพราะต้องทำหน้าที่ที่อาจารย์จำเป็นต้องกระทำคือ "เป็นกัลยาณมิตร" ของพวกเราทุกคน  อาจารย์มุ่งหวังว่า อาจารย์จะได้เรียนรู้ประสบการณ์ดีๆ จากพวกเราที่ผ่านสุขทุกข์ และพร้อมที่จะแบ่งปันสุขทุกข์ระหว่างกันในชั้นเรียน และทำกิจกรรมร่วมกัน

โยมน้ำทิพย์

ตามที่เคยบอกโยมว่า หัวข้อของโยมเหมาะมากที่จะขยายเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโท  สาราณียธรรม หรือสาราณียกถา เป็นหลักการคิด การพูด และการแสดงออกที่ทำให้มนุษย์ต้องหวนมาระลึกนึกถึงกันในเชิงบวก ไม่ว่าเราจะอยู่ใกล้หรือไกลกันเพียงใดก็ตาม อาจารย์มองว่า หลักการนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะป้องกันความขัดแย้งในเชิงลบของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม  ประเด็นคำถามคือ เพราะเหตุใด หรือจำเป็นเพียงใด ที่เราจะใช้หลักการนี้และหลักการนี้ ควรจะมีแนวทางในการปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร  อาจารย์ฝากให้โยมไปสานต่อด้วย

โยมจุฑาทิพย์

ขอบใจที่แวะเีวียนมาเยี่ยมเยียนมิได้ขาด  ช่วงไหนที่ไม่ได้ติดภาระกิจสำคัญ รบกวนโยมมาร่วมแลกเปลี่ยนกับพวกเรา  และอาตมาก็หวังเช่นกันว่า พวกเราจะได้ประโยชน์และสาระจากการแบ่งปันกันในครั้งนี้

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

นมัสการค่ะ ท่านพระมหาหรรษาโยมไม่ได้เรียนกับพระอาจารย์ในอาทิตย์แรกเพราะติดภารกิจงาน

ที่สำคัญต้องออกต่างจังหวัดรู้สึกเสียดายมากๆที่ไม่ได้เริ่มต้นฟังบรรยาย "พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่"

คงได้ความรู้ใหม่จากท่านอาจารย์มากมายกับเหตุการณ์ปัจจุบัน

นมัสการค่ะ

โยมชยานันต์

ชั่วโมงแรกของการบรรยายอาจารย์ได้ปู แนวคิดพื้นฐานสำหรับการเรียนวิชา "พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่" ว่า พระพุทธศาสนาเข้าไปสัมพันธ์กับศาสตร์ต่างๆ อย่างไร และเราจะสามารถบูรณาการ หรือหลอมรวมศาสตร์ต่างๆ กับพุทธศาสตร์อย่างไร จึงจะมีผลในเชิงบวกต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน การศึกษา การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข สงบ และสันติมากยิ่งขึ้น

ศาสตร์ต่างๆ สมัยนี้  ในหลายๆ สถานการณ์สอนให้เราแยกขาดจากสิ่งต่างๆ ขาดความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ เช่น มนุษย์ สังคม ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  การเรียนรู้วิชานี้ คือ การเรียนรู้ที่จะเชื่อม "แกนกลาง" สิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

นมัสการค่ะพระอาจารย์

วันนี้นิสิตได้เรียน"เรื่องสันติวิธี"นิสิตหลายท่านมีส่วนเสนอความคิดเห็น และพระอาจารย์มีส่วนช่วยกระตุ้นความคิด ความรู้สึกและให้แสดงทัศนะมุมมองในตัวเองเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม นิสิตเชื่อว่าความรู้และมุมมองของพระอาจารย์ที่หลากหลายที่ทุ่มเทสอนให้กับนิสิตนั้นมีส่วนสำคัญมากที่มองให้เห็นว่าสังคมไทยทุกวันนี้มีปัญหาและเกิดผลกระทบมากในทุกๆด้าน นิสิตทุกคนจะต้องทำความเข้าใจดังกล่าวและควรวางเข็มทิศให้กับชีวิตเพื่อเดินไปข้างหน้าได้อย่างถูกต้อง มีเหตุผล ไม่งมงายและไม่มองอะไรที่แคบเกินไปในยุคโลกาภิวัฒน์เวลานี้ ทุกคนควรให้ความรักความสำคัญสังคมมากขึ้นมีความสามัคคี เมตตาต่อกัน เพราะทุกคนเป็นเพื่อนร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน นิสิตเชื่อว่าการสอนของพระอาจารย์มีความสำคัญและศักยภาพสูงมากกับศาสตร์ต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้นิสิตทุกท่านได้มองเห็นและเรียนรู้เข้าใจทั้งทางโลกและทางธรรม

ขอบพระคุณพระอาจารย์ด้วยความเคารพเป็นอย่างสูงค่ะ

โยมชยานันต์ ค่ะ

อุทัย ภัทรสุข นิสิตปริญญาโท ปี ๒ พระพุทธศานา ภาคพิเศษ

กราบนมัสการพระอาจารย์

ได้ฟังการบรรยาย และร่วมอภิปรายในชั้นเรียนร่วมกับเพื่อนนิสิตในห้องทั้งสองครั้ง

เห็นว่าเป็นวิชาที่เปิดกว้าง ไม่ปิดกั้นความคิด หรือ ผูกขาดทัศนคติ สุดโต่งทางใดทางหนึ่ง

บทวิเคราะห์ว่าด้วย มายาคติต่อสันติวิธี ที่ว่า สันติวิธีไม่สามารถรับประกันผลสำเร็จได้

รวมทั้ง สันติวิธี ไม่สามารถกำหนดกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติการได้นั้น

สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และยอมรับความเป็นจริง

ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบันส่วนใหญ่จึงยังคงมีจุดยืนฝั่งตรงข้ามกับสันติวิธี

นั่นคือ สงครามคื่อสันติภาพ อำนาจคื่อสันติภาพ กองกำลังคือสันติภาพ จึงยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อยไป

กราบนมัสการ ด้วยความเคารพ และ ศรัทธา

อุทัย ภัทรสุข

นิสิตปริญญาโทปีที่ ๒

วิชาพระพุทธศาสนา ภาคพิเศษ

ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก แวะมาทักทายเจ้าค่ะ

โยมชยานันต์

อนุโมทนาที่โยมมองเห็นคุณค่าใน "ความแตกต่าง" ทางความคิดระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน และสิ่งที่สำคัญที่มากไปกว่านั้นคือ "การเคารพในความคิด และมุมมองของผู้อื่น" โดยไม่มองว่าผู้อื่นคือ "แม่มด" ด้วยเหตุนี้ กระบวนการ "ล่าแม่มด" จึงไม่เกิดขึ้น ประดุจ "ยุโรปในยุคมืด หรือ ยุคกลาง"

การเรียนรู้วิชาการนี้ คือ การพยายามบูรณาการ และประสานวิธีคิดและมุมมองเพื่อให้สอดรับกับปรัชญาแห่งการเรียนรู้ที่ว่า "โลกก็ไม่ช้ำ ธรรมก็ไม่เสีย" เป็นการเพิ่มศักยภาพ "ตานอก และใน" ในการมองเห็นของสรรพสิ่งตามความเป็นจริง เพื่อเราจะได้ไม่ทุกข์กับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบกาย และใจของเรา

อาทิตย์หน้า อาจารย์จะพยายามเพิ่มพื้นที่ของพระพุทธศาสนาใหมากขึ้น เพื่อเราจะได้มองเห็น และเปรียบเทียบกันให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ด้วยสาราณียธรรม

โยมอุทัย

บทสรุปของโยมนับสอดรับอย่างยิ่งกับแนวคิดของหลักการทางสันติวิธีที่เราเข้าใจ และมีท่าทีต่อการปฏิบัติ และแสดงออกเกี่ยวกับเรื่องนี้

  • ส้นติวิธีได้รับการตั้งข้อสังเกตต่อการนำไปปฏิบ้ติใน ๒ มิติใหญ่ คือ (๑) เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เมื่อนำหลักการนี้ไปกรอบ และหลักในการปฏิบัติ จะสามารถแก้ปัญหาได้จริง หรือ "สมเร็จผลตามที่เราคาดหวัง"  คำถามนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานของผู้ใช้ว่า เมื่อใช้หลักนี้แล้ว ปัญหาทุกอย่างจะสามารถแก้ไขได้ด้วยสันติวิธี   (๒) เมื่อเราตกลงใจที่จะใช้หลักการสันติวิธีแล้ว "เมื่อไร" จะสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยสันติวิธี คำถามนี้ตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่า สันติวิธีจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้โดยเร็ววัน

แต่ความจริงที่เกิดขึ้นก็คือ ในประวัติศาสตร์ของการใช้ "สันติวิธี" เราไม่สามารถ 'การันตี' หรือ 'ประก้น' ความสำเร็จของการใช้สันติวิธี และเวลาสำเร็จผลในการใช้สันติวิธีได้เลย

ในฐานะเป็นชาวพุทธ เราสามารถวิเคราะห์ได้จากตัวอย่างที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่าง "พระเจ้าวิฑูฑภะ และเจ้าศากยะ" ได้เป็นอย่างดี  คำถามคือ เพราะเหตุใด พระพุทธองค์จึงไม่สามารถเปลี่ยนความคิดของพระเจ้าวิฑูฑภะมิให้กระทำการในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเจ้าศายกะได้

เหตุผลสำคัญนอกจากเหตุผลว่าด้วย "กรรมเก่า" แล้ว ตัวแปรสำคัญก็คือ "ความเคียดแค้น" "ความชิงชัง" และ "ความเกลียดชัง" อย่างหาประมาณมิได้ที่ตัวเองได้รับการดูถูเหยียดยามจากเจ้าศากยะ  จนต้องเปรยวาจาต่อหน้าเหล่าทหารว่า "จะนำเลือดในลำคอของเจ้าศากยะมาล้างตั่งที่ตัวเองนั่งแล้วนางทาสีได้นำน้ำนมมาล้างด้วยเหตุที่มองว่าตัวเองเป็นลูกนางทาสี"

ฉะนั้น สังคมใดก็ตามที่เกิดความขัดแย้งแล้ว คู่กรณีไม่สามารถที่จะหาแนวทางในการเจรจา หรือหาทางออกเพื่อสมานใจของคู่กรณี หรือคู่กรณีมองว่าได้รับการปฏิบัติในเชิงลบอยู่ตลอดเวลา เมื่อนั้นความขัดแย้งดังกล่าวจะนำไปสู่ "ความเกลียดชัง" จากความเกลียดชังจะพัฒนาไปสู่ความรุนแรงในที่สุด

ด้วยเหตุนี้ หากเราไม่สามารถดับไฟแห่งความเคียดแค้น และชิงชัง ซึ่งอาจจะเกิดจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ การได้รับการปฏิบัติในเชิงดูหมิ่นและเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์ 

เมื่อนั่น  การหาช่องทางเพื่อทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ ย่อมเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา ดังเช่นพระเจ้าวิฑูฑภะรอจังหวะโดยการทำ "รัฐประหาร" พ่อของตัวเอง เพื่อนำกองทำอ้นทรงพลังเพื่อนำไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเจ้าศากยะ

ประวัตศาสตร์ และบทเรียนเหล่านี้ได้จากรึกอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฏก  คำถามมีว่า "ชาวพุทธ หรือผู้ที่สมมติตัวเองว่าเป็นชาวพุทธ ได้ใช้เวลาของตัวเองเข้าไปสืบค้น ศึกษา และนำมาวิเคราะห์เพื่อนเตือนสติของตัวเองมากน้อยเพียงใด  หรือว่าสุดท้ายแล้ว ลูกหลานของเราอาจจะอุทานว่า "พระสูตรนี้ดี แต่เสียดายว่า ปู่ย่าตายายของเราได้ฆ่ากันตายแล้ว จึงไม่ได้อ่าน"

สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างพระเจ้าวิฑูฑภะกับเจ้าศากยะ

       ประเด็นความขัดแย้งซึ่งเป็นที่มาของ “สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” (genocide) นั้น ไม่ได้ปรากฏมีเฉพาะกรณีของอดอร์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ที่ได้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชายยิว ๑๐ กว่าล้านคน หรือกรณีของนายสโลโบดัน มิโลเซวิค (Slobodan Milosevic) อดีตนายกรัฐมนตรีของโคโซโวที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซิร์บและมุสลิมกว่า ๓ แสนคน เป็นต้นเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวย้อนไปในสมัยพุทธกาลนั้น ปรากฏการณ์เช่นเดียวกันนี้ ได้ปรากฏขึ้นในประวัติศาสตร์ของสังคมอินเดียสมัยนั้นเช่นเดียวกัน แรงผลักดันที่ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาจากสาเหตุที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันคือ “ความเกลียดชัง”

       ประเด็นที่มาของการทำให้เกิด “ความเกลียดชัง” นั้น อาจจะมาจากตัวแปรที่ค่อนข้างหลากหลายเนื่องจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่แตกต่างกัน กรณีของพระเจ้าวิฑูฑภะ ที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเจ้าศากยะ มีปรากฏชัดอยู่ในคัมภีร์หลายแห่งด้วยกันคือ วิฑูฑภวัตถุ อรรถกถาวิฑูฑภวัตถุ อรรถกถาธรรมเจติยสูตร อรรกถาสุนทริยสูตร ปราภวสูตร และอรรกถาปราภวสูตร ซึ่งบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้อง(Stakeholder) กับเหตุการณ์นี้ ประกอบไปด้วยพระพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศล เจ้าศากยะ ทีฆการายนะ วิฑูฑภะ และนางวาสภขัตติยา

      ประเด็นที่น่าสนใจคือ พระพุทธเจ้าได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับสงครามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้อย่างไร และเพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่เข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ย (Mediation) เพื่อหยุดยั้งสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวข้องกับญาติของพระองค์ด้วย

        จากการวิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้ง (Conflict Analysis) ทำให้พบประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง  เริ่มจากการที่พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ต้องการสร้างความคุ้นเคย หรือเป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้า พระองค์จึงส่งทูตไปขอพระธิดาของเจ้าศากยะมาเป็นมเหสี เนื่องจากเจ้าศากยะไม่สามารถปฏิเสธการร้องขอดังกล่าว เพราะพระเจ้าปเสนทิ-โกศลนั้นทรงมีอิทธิพลทางทหาร และการเมืองระหว่างประเทศต่อกรุงกบิลพัสดุ์ ดังที่พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสว่า “พวกศากยะเป็นผู้ใกล้ชิด และอยู่ในอำนาจของพระราชาปเสนทิโกศล… ก็พวกศากยะย่อมทำการต้อนรับ ทำการอภิวาท ลุกขึ้นยืนรับ ทำอัญชลีกรรมและสามีจิกรรมในพระราชา ปเสนทิโกศล”

        ข้อเท็จจริงดังปรากฏชัดในขณะที่เจ้าศากยะสนทนากันในที่ประชุมว่า “พระราชาเป็นฝ่ายอื่น ถ้าพวกเราไม่ให้แล้วไซร้ ท้าวเธอจักทำให้เรา ฉิบหายได้” จึงมอบนางวาสภขัตติยาให้แก่ทูตแทนพระธิดาองค์ใดองค์หนึ่งของตัวเอง เหตุผลสำคัญมากประการหนึ่งที่เจ้าศากยะมีวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) ต่อประเด็นดังกล่าว ก็คือประเด็นปัญหาเรื่อง “ชาติพันธุ์” โดยมองว่า “ก็เมื่อว่าโดยสกุลแล้ว ท้าวเธอไม่เสมอกับเราเลย” ซึ่งเหตุผลประเด็นหลังนี่เองที่ทำให้เกิดสงครามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเจ้าศากยะ พระเจ้าวิฑูฑภะได้ประสบกับเหตุการณ์ที่สำคัญ ๔ ประการด้วยกัน เหตุการณ์ดังกล่าวได้กลายเป็นแรงผลักดันให้พระองค์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเจ้าศากยะ กล่าวคือ

      (๑) พระองค์สังเกตเห็นว่า เด็กคนอื่น ๆ มักจะได้รับของฝากจากญาติที่อยู่เมืองอื่น ๆ แต่พระองค์กลับไม่ได้รับของฝากจากเจ้าศากยะเลย จึงมีความสงสัยในสัมพันธภาพระหว่างพระองค์กับเจ้าศากยะ

      (๒) เมื่อพระองค์เดินทางไปเมืองกบิสพัสดุ์ เจ้าศากยะได้นำพระกุมารที่อายุน้อยไป อยู่ต่างจังหวัด เพราะเกรงว่ากุมารศากยะที่อายุน้อยกว่าจะต้องไหว้เจ้าชายวิฑูฑภะซึ่งเป็นบุตร นางทาสี

      (๓) ในขณะที่กำลังเสด็จกลับ มหาดเล็กคนลืมอาวุธจึงได้กลับเข้าไปในเมืองกบิลพัสดุ์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาเรื่องชาติพันธุ์จึงปรากฏขึ้น เมื่อมหาดเล็กได้ยินเสียงนางทาสีของเจ้าศากยะด่าพระเจ้าวิฑูฑภะว่า “นี้เป็นแผ่นกระดานที่บุตรของนางทาสีชื่อวาสภขัตติยานั่ง” และประเด็นสำคัญก็คือ นางทาสีได้นำน้ำนมไปล้างแผ่นกระดานที่พระกุมารนั่ง จึงนำเหตุการณ์ดังกล่าวไปเล่าให้ไพร่พลด้วยกันฟังจนทำให้สถานการณ์บานปลายออกไปอีก

      (๔) พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบความจริงดังกล่าว ก็พิโรธที่เจ้าศากยะมอบนางทาสีให้แก่พระองค์ จึงริบเครื่องบริหารทั้งหมดจากนางทาสีและบุตร และให้การดูแลทั้งคู่เท่าที่ฐานะของทาสและทาสีควรจะได้รับ

      จากเหตุการณ์ทั้ง ๔ ประการดังกล่าวนั้น ทำให้พระเจ้าวิฑูฑภะคิดแก้แค้นเจ้าศากยะ “เจ้าศากยะเหล่านั้น จงล้างแผ่นกระดานที่เรานั่งด้วยน้ำเจือด้วยน้ำนมก่อน แต่ในกาลที่เราดำรง ราชสมบัติแล้ว เราจักเอาเลือดในลำคอของเจ้าศากยะเหล่านั้น ล้างแผ่นกระดานที่เรานั่ง” ทีฆการายตนะซึ่งหาช่องทางในการที่จะแก้แค้นแทนพันธุลเสนาบดี ได้ใช้โอกาสที่ พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า นำเครื่องพระราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ ที่พระองค์ ฝากเอาไว้ไปให้พระเจ้าวิฑูฑภะ และอภิเษกพระเจ้าวิฑูฑภะเป็นพระราชาครองนครสาวัตถีแทน แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ไม่สามารถที่จะแย่งชิงพระราชสมบัติกลับคืนมาได้ เพราะเสด็จสวรรคตเสียก่อน

      เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะได้ครองพระราชสมบัติแล้ว จึงได้ยกทัพหลวงออกไปฆ่าเจ้าศากยะ แต่พระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วยกับการกระทำของเจ้าศากยะตั้งแต่ต้น ทรงใช้ความพยายาม ๓ ครั้งในการเข้าไปทำหน้าที่ในการเจรจาไกล่เกลี่ยพระเจ้าวิฑูฑภะไม่ให้ตัดสินพระทัยทำเช่นนั้น โดยเหตุผลที่พระพุทธเจ้าพยายามจะตรัสบอกก็คือ “ชื่อว่า เงาของหมู่พระญาติเป็นของเย็น” เนื่องจากความแค้นส่วนตนของพระองค์ที่ถูกเหยียดหยาม และดูหมิ่นจากเจ้าศากยะ จึงตัดสินพระทัยทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเจ้าศากยะ ไม่เว้นแม้กระทั่งทารกที่ยังต้องดื่มน้ำนมจากมารดาอยู่ และนำเลือดจากลำคอของเจ้าศากยะเหล่านั้นไปล้างแผ่นกระดานที่พระองค์ เคยประทับนั่ง

      ผู้วิจัยมองว่า ประเด็นที่พระเจ้าวิฑูฑภะทรงทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเจ้าศากยะนั้น มิได้เป็นแนวคิดที่ดำรงอยู่บนเหตุผลข้อใดข้อหนึ่งดังที่ได้นำเสนอแล้วในเบื้องต้น หากแต่เกิด จากการความแค้นส่วนตัวที่สะสมมาจากการที่พระองค์ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม

      โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความเกลียดชัง” ที่เจ้าศากยะมีต่อชาติพันธุ์ของพระองค์ ฉะนั้น เพื่อที่จะทำลาย “ที่มา” ของความเกลียดชังดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้พระเจ้าวิฑูฑภะต้องตัดสินใจทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเจ้าศากยะดังที่พระพุทธเจ้าได้สรุปสาเหตุสำคัญที่เจ้าศากยะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่า “คนใดหยิ่งเพราะชาติ หยิ่งพระทรัพย์ และหยิ่งเพราะโคตร ย่อมดูหมิ่นญาติของตน นั้นเป็นทางของ คนเสื่อม”

      เมื่อกล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าด้วยความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์ตามที่ปรากฏ ในสองประเด็นใหญ่นั้น พบว่า คำว่า “ชาติพันธุ์” นั้น เป็นประเด็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ง่ายที่สุด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า นอกจากชาติพันธุ์จะยึดโยงกับคำว่า “ศักดิ์ศรี” แล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์ทางรูปธรรมที่สามารถนำมาดูถูกและเหยียดหยามได้ง่ายด้วย

      ฉะนั้น ประเด็นปัญหาเรื่องการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้ จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน  และเป็นประเด็นปัญหาซึ่งยากต่อการแก้ไขด้วย เพราะรากเหง้าที่แท้จริงของประเด็นปัญหานี้มาจากข้อเท็จจริงที่ซ่อนอยู่ภายในใจของแต่ละบุคคล ดังนั้น หากจะกล่าวถึงแนวทางของการแก้ไขย่อมเป็นเรื่องยากที่จะแก้ในมิติใดมิติหนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นมิติของกายภาพ หรือจิตภาพ ก็ตาม

โยมอภิญญา

อนุโมทนาขอบใจมากที่แวะมาทัก มาคราวหลังอย่าลืมหาอะไรติดไม่ติดมือมาฝากพวกเราบ้างน่ะ โดยเฉพาะ การหาประเด็นมาแบ่งปันความประสบการณ์และความรู้ระหว่างกัน

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

นมัสการค่ะพระอาจารย์

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับมนุษยชาติและการเกิดความสันติสุขดูเหมือนแก้ไขยากในเมื่อทุกคนคิดแต่เรื่องศักดิ์ศรีที่ติดตามมา

และมีอิทธิพลมากความขัดแย้งไม่อาจจบสิ้นลงไปได้ในเมื่อความขัดแย้งใหญ่ๆเกิดขึ้นทางความคิดสิทธิและผลประโยชน์และการ

แข่งขันทางอำนาจซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกภัยคุกคามจากชีวิติและศักดิ์ศรีเป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัวล้วนมาจากการชิงดีและการกดขี่ทาง

เศรษฐกิจและการเมือง ล้วนเป็นภัยอย่างมหันต์ต่อมนุษยชาติทั้งหมด? "แล้วทุกคนกำลังดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง

ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยและปัญหาทางสังคมการเมือง เศรษฐกิจเป็นเรื่องสลับซับซ้อนสัญชาตญาณของความอยากและหวงแหน"

ดังที่สมมติฐานของเพลโตได้กล่าวว่า "ภายในตัวคนเราเอง คือภายในวิญญาณนั้นมีทั้งส่วนที่ดีกว่าและส่วนที่เลวกว่าคนเราจะเป็น

นายของตัวเองก็ต่อเมื่อส่วนที่ดีกว่าโดยธรรมชาติได้ส่วนที่เลวกว่าอยู่ภายใต้การควบคุมนี่ย่อมเป็นอันควรแก่การสรรเสริญแต่กลับจะ

ถือเป็นเรื่องอัปยศถ้าเมื่อใดเพราะเหตุชาติพันธุ์ที่เลว หรือเพราะอยู่ในหมู่คนเลว ส่วนที่ดีกว่ากลับถูกกลืนด้วยจำนวนฝูงชน คนใน

สภาวะเช่นนั้นได้ชื่อว่าตกเป็นทาสของตนเองและไม่รู้จักพอประมาณ"

กราบนมัสการพระอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูง และโปรดชี้แนะด้วยค่ะ

กราบนมัสการพระอาจารย์

ล้วนเป้นแนวความคิดที่ดี แต่ทำอย่างไร จึงจะรวมแนวความคิดเหล่านี้สู่การปฏิบัติ เพื่อความสามัคคี ให้เกิดขึ้นจริงในชาติ

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

-ขอบพระคุณค่ะ คุณครูบุญส่งทีให้ความสำคัญนิสิตปริญญาโทภาคพิเศษคุณครูมีประสบการณ์มากช่วยแนะนำความรู้ด้วยค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักอาจารย์ค่ะ

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

ท่านคุณครูบุญส่ง

เราควรจะหาโอกาสเพื่อหลอมรวมแนวคิดเหล่านี้ไปสู่แผนปฏิบัติแบบเป็นรูปธรรม ประเด็นคือ เราควรจะหาเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อ "คบคิด และตกผลึก"  ได้อย่างไร  เพื่อให้ทุกคนได้มีเวทีได้แสดงหลักการและแนวคิดดังกล่าว  อาตมาหวังว่า นิสิตปริญญาโทภาคพิเศษรุ่นนี้จะหาโอกาสร่วมกันเพื่อเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาอภิปรายและนำเสนอแนวทางดังกล่าวในวิชานี้ ในวาระ และโอกาสอันควร และเหมาะสม

กราบนมัสการพระอาจารย์

ติดไม้ติดมือมาฝากเจ้าค่ะ

ความรู้สึกของโยม สังคมไม่ค่อยจะสงบสุข ไม่ค่อยมีความสุข ต้องอยู่กันอย่างระมัดระวังตัว ไม่รู้อะไรจะเกิดเมื่อไหร่ ที่ผ่านมาแล้ว

ถ้าเปรียบก็เหมือนผลไม้เสีย เพราะเหตุปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นการเพาะปลูก โยมว่า คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ต้องสั่งสม

กันมาแต่เด็ก ต้องการให้นักเรียน ได้เรียนถึงศีลธรรมตั้งแต่อนุบาล มีวิชานี้สอดแทรกทุกชั้นเรียน น่าจะทำให้สังคม อยู่กันอย่างมี

ความสุขนะคะ นอกจากนั้น ทีวี ต้องสร้างสรรค์แต่สิ่งดี ๆ ที่เสริมสร้างสติปัญญา บางครั้งดูหนัง แล้ว ก็ประเภท โหด ๆ ร้าย ๆ อิจฉา ริษยา

ดูกันตั้งแต่ 5 ขวบ ไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ บางคนแยกแยะได้ บางคนเก็บสะสม ความคิดคน ความรู้คน พัฒนาการ

มาไม่เหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ อนาคตจะเป็นอย่างไร............ กราบนมัสการค่ะ

โยมรักกันไว้เถิด

อาตมาว่า ผลไม้ไม่น่าจะเสียน่ะ  ดูๆ แล้ว ผลไม้น่าจะมีพิษมีมากกว่า เพราะสภาพดินฟ้าอากาศ ปุ๋ย หรือน้ำที่รด มันเจือด้วยสารพิษ ฉะนั้น  เมื่อเรากินผลไ้ม้ที่มีพิษ  ย่อมได้รับพิษอาจจะโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์บาง ขาดวุฒิภาวะ จึงทำให้เราต้องทุกข์ทรมานดังที่บางท่านประสบพบพานอยู่ในขณะนี้

ต่อไปนี้ คงต้องสวมวิญญาณนักวิทยาศาสตร์โดยใช้ "ปัญญา" ในการวิเคราะห์ดินฟ้า อากาศ ปุ๋ยและน้ำเสียใหม่ ว่า มีพิษเจอปนหรือไม่  ก่อนจะนำไปรดต้นไม้แห่งชีวิต เพื่อให้กลายเป็น "ต้นไม้แห่งปัญญา" ต่อไป

กราบนมัสการค่ะ พระอาจารย์หรรษาพระอาจารย์เดินทางไปยุโรบ

นิสิตฟังการบรรยายของ รศ.ดร. ชัยวัฒน์ ท่านเก่งมากค่ะเหมือนดูหนัง

แต่ดูไม่จบค่ะ เพราะเวลาน้อย

เลยขอเชิญท่านมาบรรยายในวิชาสัมมนาพุทธศาสนาต่อค่ะ

คงจบแน่นอนเลยค่ะ(พระอาจารย์ไม่อยู่ดูเงียบเหงามากค่ะ)

นิสิตภาคพิเศษ

อาจารย์ชัยวัฒน์ คุปะตระกูลท่านเก่งมากในเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างพุทธกับวิทยาศาสตร์ เลยทำให้พวกเราได้มองเห็นแง่มุมที่น่าสนใจระหว่างศาสตร์ทั้งสอง ขอแสดงความดีใจกับพวกเราที่ได้พานพบอาจารย์เก่ง และได้รับประสบการณ์ที่ดีระหว่างการแลกเปลี่ยน และเชื่อว่าน่าจะเชื่อกับงานที่อาจารย์จะนำเสนอต่อไปเรื่อง "พุทธจักรวาลวิทยา"

ด้วยสาราณียธรรม

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

นมัสการค่ะ ขอขอบพระคุณพระอาจารย์เป็นอย่างมากค่ะที่นิสิตได้เรียนรู้

ความเป็นจริงและเป็นเรื่องของจักรวาลที่เร้นลับแต่นักวิทยาศาสตร์กลับ

ค้นหาได้เหมือนกับวิชาพระพุทธศาสนาที่นิสิตภาคพิเศษกำลังเรียรู้อยู่

ด้วยระบบด้านเทคโนโลยีที่มีความเจริญก้าวหน้าไม่หยุดยั้ง

สามารถอำนวยความสะดวกมนุษย์หลายๆด้าน(โลกจักรวาลจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น

ได้ค่ะโดยไม่ต้องสงสัยแต่ประการใดเลย)

ด้วยความเคารพค่ะ

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

โยมชยานันท์ และนิสิตภาคพิเศษทุกท่าน

ก่อนที่อาจารย์จะบรรยายเรื่อง "พุทธจักรวาลวิทยาล" นั้น  รบกวนพวกเราไปตามอ่านหนังสือที่เขียนโดยอาจารย์เองในเรื่องเดียวกันนี้  ซึ่งสามารถไปยืมได้ที่ห้องสมุดมหาจุฬาฯ และธรรมศาสตร์  หากพอมีเงินก็ขอให้ไปซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือมหาจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ได้เช่นกัน  เพื่อจะได้มีพื้นฐานทางความคิดในการแลกเปลี่ยนกันในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้

กราบนมัสการพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.ที่เคารพ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔กค.๕๓ ในวิชา "พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่" ได้รับฟังบรรยายจากอาจารย์ในหัวข้อ "พุทธจักรวาลวิทยา" ทำให้ตระหนักถึงปัญหา และคลี่คลายประเด็นต่างๆได้ดังนี้

๑. ข้อแตกต่างข้อใหญ่ระหว่างศาสตร์ต่างๆ กับพุทธศาสตร์ ;

ศาสตร์แขนงต่างๆ อาทิปรัชญา รวมถึงศาสตร์ด้านอื่นๆอีกมากมาย เช่น วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, รัฐศาสตร์, สังคมศาสตร์, ดาราศาสตร์,โหรศาสตร์ฯลฯ... เกิดควบคู่มากับการจินตนาการของมนุษย์ เพื่อหาคำตอบให้กับคำถามที่ตนสงสัยในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งก็เกิดจากความคิดและสติปัญญา, มันสมองของมนุษย์นั่นเอง...ทำให้เขาพัฒนาเอาความเชื่อ ตั้งเป็นหลักเกณฑ์ ทดสอบและสรุปผลออกมาเป็น ทฤษฏี และตั้งเป็น กฏ เพื่อยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางร่วมกันอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีข้อมูลใหม่ๆมาหักหานลบล้าง กฎ เดิมๆได้...เหล่านี้เป็นที่มาแห่ง "ศาสตร์แขนงต่างๆ" แต่ด้วยสาเหตุที่มนุษย์, มักติดยึดอยู่กับสัญชาติญาณแห่งตนได้แก่การหาความสุข และหนีทุกข์ ในระดับที่ตนมองตามสติปัญญาที่ตนมีคือระดับ โลกียสุขนั้น มนุษย์จึงมักจะติดกับดักของกิเลส (๓ตัวคือโลภะ, โทสะ และโมหะ) กอรปกับการยึดติดกับอุปาทาน และกามสุขอย่างที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะอำนาจแห่งความสุขนั้นเอง ทำให้ศักยภาพในการบรรลุถึงเป้าหลายสูงสุด (นิพพาน) ไปด้วยความมิดบอด (อวิชชา)...

เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั่นเอง พุทธศาสตร์จึงถือกำเนิดขึ้นโดยพระพุทธองค์ทรงนำเสนอความสุขรูปแบบใหม่ที่มนุษย์ในสมัยนั้นยังไม่เคยรู้จัก ความสุขนี้มีนามว่า "นิพพาน" ซึ่งเป็นความสุขชนิดที่ก้าวพ้นโลก กล่าวคือเมื่อมนุษย์อยู่ในโลกย่อมไม่เห็นโลก(ว่าทุกข์) ต่อเมื่อก้าวพ้นโลก ถอยออกมาดูจากมุมมองใหม่ ย่อมเห็นกองทุกข์ทั้งมวล...ความรู้ที่ได้จากพุทธศาสตร์จึงเป็นความรู้ระดับที่ใช้ปัญญาอย่างสูงสุด และความรู้นี้ย่อมเปรียบไม่ได้เลยกับศาสตร์อื่นๆทั้งมวล

๒. ประเด็นเรื่องความรู้ในระดับที่วิทยาศาสตร์มุ่งแสวงหานั้น เป็นความรู้ที่ไม่ตายตัว ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ ดังที่ ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญและเป็นกูรูในวงการวิทยาศาสตร์ไทยได้ให้ทัศนะในเรื่องดังกล่าวว่า "ภาระกิจหลักของวิทยาศาสตร์ คือการแสวงหาความรู้สูงสุดนั้น เป็นภาระกิจที่เป็นไปไม่ได้ (mission impossible) " ยกตัวอย่างเช่น หน่วยที่นักวิทยาศาสตร์ถือว่าเล็กที่สุดในปัจจุบัน คือ ควาร์ก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เองก็ ไม่รู้ ว่ามีหน่วยอื่นเล็กกว่าอีกหรือไม่ เพราะยังไม่มีเครื่องมือใดที่จะมีความสามารถเพียงพอที่จะเข้าไปตรวจวัดอนุภาคใดๆที่เล็กเกินกว่า ควาร์กได้ในปัจจุบัน...สรุปว่านักวิทยาศาสตร์ที่ว่ามีความล้ำหน้าสุดๆทางด้านเทคโนโลยีก็ยังมีภาวะของความ "ไม่รู้" ได้อย่างไม่น่าเชื่อ (ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงไร้ภาวะนี้แล้วโดยสิ้นเชิงด้วย "พระสัพพันยุตตญาณ" แต่ความรู้ระดับโลกียะดังกล่าวก็เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของมวลมนุษยชาติได้อย่างไม่มีใครปฏิเสธได้

๓. จากประเด็นข้างต้น ทำให้ผมเข้าใจและตระหนักถึง "ปัญหาที่พระพุทธองค์ทรงไม่ตอบ" (อพยากตปัญหา) ... ว่าทำไม มาลุงกยบุตรจึงสงสัย ? และทำไม พระพุทธเจ้าจึงไม่ตรัสตอบ ? จุดนี้เอง ข้ามพ้นปัญหาต่างๆที่ศาสตร์แขนงปรัชญาพยายามหาคำตอบเพื่อบรรลุ "ภาระกิจหลัก" (ที่เป็นไปไม่ได้) ซึ่งคำตอบที่ได้ไม่ได้อยู่ไกล หากแต่อยู่ใน "พระพุทธศาสนา" ของเรานั้่นเอง

๔. ขอสรุปตามความเข้าใจของผู้ศึกษาว่า พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาเดียวที่สามารถตอบคำถามให้กับทุกคำถามที่จะเกิดมีขึ้นจากมนุษย์โลกผู้เต็มไปด้วยความเคลือบแคลงสงสัยได้ หากแต่เพียงว่าพุทธบริษัท จะสามารถเปิดใจ, ใส่ใจ และเพียรพยายามเพื่อศึกษา เพื่อเสริมสร้างพละ๕ มีศรัทธาเป็นต้น และทำโยนิโสมนสิการ พิจารณาโดยแยบคายในคำสอนนั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด หรือบรรลุประโยชน์ตนได้มากน้อย เพียงใดเท่านั้นเอง ???

รบกวนพระอาจารย์ชี้แนะ, นำปัญญาแก่ศิษย์ด้วยขอรับ

สานุ มหัทธนาดุลย์ (นิสิตปริญญาโทพุทธศาสตร์ภาคพิเศษรุ่น๒๒)

ลืมลงชื่อขอรับ...

ศิษย์รักทุกท่าน

นี่เป็นข้อสอบแบบ Take Home Examination ขอให้ทุกท่านตอบปัญหาด้านล่าง โดยขอให้เป็นการตอบใน Blog นี้เท่านั้น อย่าส่งอาจารย์เป็นกระดาษ เพราะอาจารย์ต้องการจะรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกเอาไว้ยาวนานเพื่ออนาคตของลูกหลานของเรา

๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเรา ทั้งๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร (ที่มา)

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร

อย่าลืมว่า ทุกความเข้าใจ ทุกความเห็น หรือทุกคำตอบ จะมีคุณูปการแก่พี่น้องของเรา ญาติธรรมของเราใน Blog นี้ หรือคนอื่นที่จะแวะเวียนมาลิ้มรสแห่งธรรมของพวกเรา และเราจะได้หวานเมล็ดพันธุ์แห่งธรรมให้แก่ชาวโลกที่กำลังโหยหาอยู่ในขณะนี้

ด้วยสาราณียธรรม

อาจารย์หรรษา

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

นมัสการพระมหาหรรษาด้วยความเคารพค่ะ

งานเผยแผ่วิชาการเสร็จภารกิจแล้วกลับมาถีงเมืองไทยพระอาจารย์ยังปฺฎิบัติหน้าที่บุตรต่อมารดาอีก

โยมขอให้(โยมแม่ของพระอาจารย์หายเจ็บเท้าเร็วๆค่ะ)

นิสิตภาคพิเศษยื่นส่งโครงการวิยานิพนธ์วันนี้เป็นวันสุดท้ายเพื่อนๆ 12 คนส่งเรียบร้อยแล้วค่ะ

ก่อนหน้านี้นิสิตต้องเหน็ดเหนื่อยกับการยื่นเสนอส่งให้ทันเวลาแทบไม่ได้พักผ่อนหรือนอนกันเลย แต่ความพยายามอยู่ที่ไหน

ความสำเร็จอยู่ที่นั่น แต่นิสิตก็ต้องทำการบ้านหนักอีกเพื่อเตรียมตัวเข้าสอบเดือนกันยายน

สำหรับข้อสอบของพระอาจารย์ที่นิสิตต้องตอบไม่ทราบว่าต้องตอบเนื้อหาประมาณเท่าไหร่ค่ะพระอาจาย์ช่วย

กำหนดด้วยค่ะ จริงๆแล้วหลักธรรมพระพุทธเจ้ามีมากมายหลายประการ มนุษย์จะเป็นคนสมบูรณ์แบบและนำไปสู่มวลชน

เป็นคนดีของสังคมให้เกิดสันติสุขย่อมต้องใช้หลัก "สัปปุริสธรรม"

ชยานันท์ ศิษย์รัก

อย่าให้ถ้อย หรือหน้ากระดาษเป็น "ตัวขวางกั้นความคิดดีๆ ของพวกเรา" ขอเพียงได้นำหลัก "สาราณียธรรมกับการสร้างมนุษย์สัมพันธ์" ที่เราจะคุยกันวันอาทิตย์หน้า มาคุยกัน แลกเปลี่ยนกันบนกระดาษนี้ก่อนถึงวันนั้น น่าจะทำให้เกิดมุมมอง แนวคิด และแนวปฏิบัติที่หลากหลายและง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตและการทำงานของพวกเรา

เราอาจจะนำแนวคิดของเพื่อนๆ (ที่เขียนมาก่อน) มาขยาย หากเรายังไม่เห็นประเด็นต่างๆ ที่ชัดเจน ในขณะเดียวกัน หากเรามีหลายๆ มุม จะทำให้เกิดการเรียนรู้ และบูรณาการองค์ความรู้ที่ดีๆ ไปประยุกต์ใช้ต่อไป

 

ด้วยสาราณียธรรม

กราบนมัสการพระอาจารย์หรรษา ธมฺมหาโส ที่เคารพ

ผมเพิ่งได้มีโอกาศเปิดอีเมล์ดูและเพิ่งได้รับทราบข้อสอบ Take Home Examination ครับ...เนื่องจากวันพรุ่งนี้เช้า (พุธที่ ๒๑ กค.๕๓) ผมติดภาระกิจบนเที่ยวบินTG461/21JUL10 เดินทางไปประเทศออสเตเลีย ที่เมือง SYDNEY และกว่าจะเดินทางกลับมาถึงที่เมืองไทยในวันเสาร์ที่ ๒๔กค.๕๓ เวลา๐๖.๓๐น.เพื่อมาเรียนที่ มจร.ต่อเลยครับ...อย่างไรก็ดี ผมก็จะพยายามตอบคำถาม Take Home Examination ที่พระอาจารย์ตั้งไว้ให้เต็มความสามารถนะครับ (อาจมีปัญหาบ้างเล็กน้อยเรื่องเวลา และเรื่องแหล่งข้อมูลเพื่อศึกษาค้นคว้าเพราะไม่ได้อยู่บ้าน) ขออาจารย์โปรดเมตตาศิษย์ด้วย

สานุ มหัทธนาดุลย์ (นิสิตป.โทภาคพิเศษปี๒รุ่น๒๒)

โยมสานุ

ขอให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยการปฏิบัติธรรมในฐานะผู้ให้บริการบนสายการบินไทยอย่างเต็มกำลัง  ส่วนเนื้อหา Take Home Exam นั้น ขอให้คิดให้ตกผลึกอย่างรอบด้านแล้วย่อยความคิดเหล่านั้นออกมาเป็นตัวหนังให้พวกเราได้มีโอกาสสัมผัสความเป็นสานุผ่านตัวหนังสือ  อาจารย์จะรอคำตอบจากเรา

ด้วยสาราณียธรรม

๑. ที่มาจาก   พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๕.  จูฬยมกวรรค]
                 ๘.  โกสัมพิยสูตร
 
            ครั้งนั้น    ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง    ณ    ที่สมควรได้กราบทูลว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ขอประทานวโรกาส
ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพีต่างบาดหมางกัน    ทะเลาะวิวาทกัน    ใช้หอกคือปาก
ทิ่มแทงกันอยู่    ไม่ทำความเข้าใจกัน    ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน    ไม่ทำความ
ปรองดองกัน    ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน”
            ครั้งนั้น    พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า    “มาเถิด    ภิกษุ
เธอจงเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า    ‘พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
            ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่    แล้วได้
กล่าวว่า    “พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
            ภิกษุเหล่านั้นรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ถวาย
อภิวาทแล้ว    นั่ง    ณ    ที่สมควร
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    ได้ยินว่า    เธอ
ทั้งหลายต่างบาดหมางกัน    ทะเลาะวิวาทกัน    ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่    ไม่ทำ
ความเข้าใจกัน    ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน    ไม่ทำความปรองดองกัน    ไม่
ปรารถนาความปรองดองกัน    จริงหรือ”
            ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า    “จริง    พระพุทธเจ้าข้า”
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร    สมัยใด    เธอทั้งหลายต่างบาดหมางกัน    ทะเลาะวิวาทกัน    ใช้หอกคือปาก
ทิ่มแทงกันอยู่    สมัยนั้น    เธอทั้งหลายตั้งมั่นเมตตากายกรรม    ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม
และตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย    ทั้งต่อหน้าและลับหลังบ้าง
หรือไม่”
            ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า    “ข้อนี้ไม่เป็นดังนั้น    พระพุทธเจ้าข้า”
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    ได้ยินว่า    สมัยใด    เธอทั้งหลายต่าง
บาดหมางกัน    ทะเลาะวิวาทกัน    ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่    สมัยนั้น    เธอ
ทั้งหลายก็ไม่ตั้งมั่นเมตตากายกรรม    ไม่ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม    และไม่ตั้งมั่นเมตตา
มโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย    ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
โมฆบุรุษทั้งหลาย    เมื่อเป็นดังนี้    เธอทั้งหลายรู้อะไร    เห็นอะไร    จึงต่าง
บาดหมางกัน    ทะเลาะวิวาทกัน    ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่    ไม่ทำความเข้าใจกัน
ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน    ไม่ทำความปรองดองกัน    ไม่ปรารถนาความ
ปรองดองกันอยู่
            โมฆบุรุษทั้งหลาย    ข้อนั้นนั่นแลจักมีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์    เพื่อความทุกข์
แก่เธอทั้งหลายตลอดกาลนาน”

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต เพราะเมื่อเรามีเมตตาต่อกันทั้งทางกาย วาจา และใจ และเป็นอย่างนี้ทั้งต่อหน้าและลับหลังจะทำให้คนที่เราคบค้าสมาคมด้วยมีความเชื่อใจเราเพราะเรามีความจริงใจให้กับทุกคน

๓. ไม่ว่ายุคสมัยใดเราก็ต้องการความจริงใจ และไม่สามารถที่จะแทนที่ด้วยวัตถุได้

๔. ถ้าเราสร้างความมีเมตตาให้เกิดขึ้นในจิตใจของคนได้ โดยให้เขามองเห็นเพื่อนร่วมโลกคนอื่นว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตายกับเรา ยังว่ายวนอยู่ในสังสารวัฏร่วมกันกับเรา เขาก็คือเพื่อนเรานี่เอง การจะปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความมีเมตตาทางวาจาและกายก็เป็นผลพลอยได้ที่จะมีตามมาอย่างแน่นอน

อุทัย ภัทรสุข นิสิตปริญญาโท ปี ๒

การประยุกต์สาราณียธรรมกับการพัฒนามนุษย์สัมพันธ์

อุทัย ภัทรสุข

นิสิตปริญญาโท ปีที่ ๒

วิชาพระพุทธศาสนา ภาคพิเศษ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเรา ทั้งๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร (ที่มา)

คัมภีร์ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค โกสัมพิยสูตร ว่าด้วย ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีวิวาทกัน ได้แสดงที่มาของสาราณียธรรมไว้ดังนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณโฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นพวกภิกษุในกรุงโกสัมพีต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ไม่ทำความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน ไม่ทำความปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน สาราณียธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) ตั้งมั่นเมตตากายกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

(๒) ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

(๓) ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

(๔) บริโภคโดยไม่แบ่งแยก ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

(๕) เป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

(๖) เป็นผู้มีทิฏฐิโดยทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำบุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุมสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ไว้

ภิกษุทั้งหลาย ยอดอันเป็นส่วนสูงสุดเป็นที่ยึดคุมเรือนยอด แม้ฉันใด ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำบุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุมสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ไว้

สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ได้แสดงไว้อีกหลายแห่งในพระไตรปิฎก เป็นต้นว่า ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค สังคีติสูตร สังคีติหมวด๖ สารณียธรรม (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึง) ตลอดจนในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ สารณียวรรค ๑. ปฐมสารณียสูตร และ ๒. ทุติยสารณียสูตร เป็นต้น

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

มนุษย์เป็นสัตว์รู้คิด ( Man is a thinking animal ) อริสโตเติล ( Aristotle 384-322 B.C. ) ซึ่งเป็นนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกตะวันตกกล่าวไว้เช่นนั้น นั่นหมายความว่า ถึงแม้มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับสัตว์โลกทั้งหลาย แต่มนุษย์แตกต่างจากสัตว์โลกอื่นตรงที่มีความสามารถในการคิด

อริสโตเติลแบ่งวิญญาณมนุษย์เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่มีเหตุผล กับส่วนที่ไร้เหตุผล ซึ่งส่วนที่มีเหตุผล คือ กิจกรรมทางปัญญา ( intellect ) และเป็นสาเหตุให้มนุษย์มีความแตกต่างกับสัตว์ ในขณะที่ส่วนที่ไร้เหตุผล แบ่งออกเป็นเป็นวิญญาณพืช ( vegetative ) และวิญญาณสัตว์ ( animal soul ) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต เป็นพฤติกรรมทางกาย และอารมณ์ ที่มีพื้นฐานเช่นเดียวกับพืชและสัตว์

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Human being is social animal) ไม่ได้เร้นตัวโดดเดี่ยวลำพังตามป่าเขา แต่มนุษย์อยู่รวมกลุ่ม จากหน่วยย่อยที่สุดของสังคม คือ คู่ครอง ครอบครัว จนขยายออกหลายครัวเรื่อน เป็นชุมชน ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาค และระดับประเทศ ถึงระดับสากล นานาชาติในที่สุด

มนุษย์ดิ้นรน แสวงหา ปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นในการดำรงชีพ บนพื้นฐานสัญขาติญาณสัตว์ที่แฝงเร้นอยู่ภายใต้จิตสำนึก จากปัจจัยพื้นฐาน ความต้องการจะพัฒนามากขึ้น ๆ ตามลำดับ เป็นการแสวงหาความมั่งคั่ง เกียรติศักดิ์ เกียรติยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ การยอมรับในสังคม หรือ กล่าวโดยย่อ คือ โลกธรรมแปด ได้แก่ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข และ ทุกข์ มนุษย์จะทุ่มเทเวลาทั้งชีวิต ดิ้นรน กระทำทุกอย่าง ทุกวิถีทาง เพื่อแสวงหา และตอบสนองความต้องการเหล่านี้ กล่าวในทางธรรม คือ เพื่อสนองกิเลส ตัณหา ความอยากมี อยากได้ อยากเป็น ที่ครอบงำ วิญญาณสัตว์ใต้จิตสำนึกของตน

เหตุการณ์ความรุนแรง การใช้กำลัง อาวุธเข้าครอบครอง การ เข่น ฆ่า ทำลายล้าง การกล่าวเท็จ การบิดเบือนข้อเท็จจริง ปรากฎการณ์เลวร้ายนานาชนิดจึงปรากฎเห็นเป็นเหตุการณ์ปกติในทุกภูมิภาคของสังคมโลกมนุษย์ทุกวันนี้

ภัยอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ คือ ความอยากอันไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์

อาหาร การนอน ความกลัวภัย เมถุน คือ การเสพกาม ทั้งสัตว์และมนุษย์มีอยู่เหมือนกันหมด ธรรมนั่นเองที่ทำให้คนต่างจากสัตว์ คนที่ไม่มีธรรมหรือเสื่อมจากธรรม จึงเสมอกันกับสัตว์ ศาสนาและหลักจริยธรรมจึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์

เพื่อจัดการและแก้ไขความอยากที่เหมาะสม

เพื่อให้บุคคลเห็นเป้าหมายและตัวตนที่แท้จริง

เพื่อการปฏิบัติต่อตนเองและสังคมในทิศทางที่ถูกต้อง

เพื่อความสันติสุขส่วนบุคคลและสันติภาพของสังคม

การปฏิบัติตามหลักการสาราณียธรรม จึงย่อมมีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้าง ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต อธิบายความตามหลักองค์ธรรมโดยสังเขปดังนี้คือ

(๑) หลักเมตตากายกรรม คือ การทำความดีต่อกัน สนับสนุนช่วยเหลือทางด้านกำลังกาย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนรังแก ทำร้าย ให้ได้รับความทุกขเวทนา กระทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อกันและกัน

(๒) หลักเมตตาวจีกรรม คือ การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดด้วยความรัก ความปรารถนาดี พูดให้กำลังใจ ในยามที่มีใครต้องพบกับความทุกข์ ความผิดหวัง หรือความเศร้าหมองต่างๆ ไม่ซ้ำเติมในยามที่มีใครต้องหกล้มลง ไม่นินทาว่าร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดแนะนำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ พูดอย่างใดทำอย่างนั้น ไม่โกหกมดเท็จ

(๓) หลักเมตตามโนกรรม คือ การคิดดี การมองในแง่ดี มีความหวังดี และปรารถนาดี รัก และ เมตตาต่อกัน คิดในสิ่งที่สร้างสรรค์ ไม่อิจฉาริษยา ไม่คิดอคติ ไม่พยาบาท ไม่โกรธ แค้นเคือง ให้โอกาสและให้อภัยซึ่งกันและกัน

(๔) หลักสาธารณโภคี คือ การแบ่งปันผลประโยชน์ด้วยความยุติธรรม ช่วยเหลือ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เอารัดเอาเปรียบ และมีความเสมอภาค เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน

(๕) หลักศีลสามัญญตา คือ การปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อบังคับ หรือวินัยต่าง ๆ อย่าง เดียวกัน เคารพในสิทธิ เสรีภาพของบุคคล ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ ไม่อ้างอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถืออภิสิทธิ์ใด ๆ ทั้งปวง

(๖) หลักทิฏฐิสามัญญตา คือ มีความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน ปรับมุมมองให้ตรงกัน รู้จักแสงหาจุดร่วม และสงวนไว้ซึ่งจุดต่าง ไม่ยึดถือความคิดของตนเป็นใหญ่ รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ฯ

หากนำหลักสาราณียธรรมข้างต้นมาประยุกต์ปฎิบัติ แม้เพียงบางส่วน ย่อมนำพา ความสุข ความเจริญ ความสมานสามัคคี ความสัมพันธ์อันดีในการดำเนินชีวิต กับคนในครอบครัว ผู้คนรอบข้าง ผู้คนที่ทำงาน ตลอดจนสังคมภายนอกที่ต้องสัมผัสด้วยแน่นอน

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

หลักการสาราณียธรรมนี้ พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม สมัยพุทธกาล ซึ่งดูเหมือนมีความสลับซับซ้อนน้อยกว่ายุควัตถุนิยมในปัจจุบัน กระนั้นก็ตาม สมัยพุทธกาลนั้นใช่จะราบรื่นไร้ปัญหาเลยทีเดียวก็หาไม่ ปัญหาความยากจน การดิ้นรนแสวงหาปัจจัยสี่ในการครองชีวิต ก็ไม่แตกต่างกับชีวิตปัจจุบัน ปัญหาการแบ่งชนชั้นวรรณะ ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ความด้อยโอกาสในการศึกษา การประกอบอาชีพและรายได้ไม่ทัดเทียมกันในสังคม ยังมีอยู่เช่นเดิม การละเมิดหลักจริยธรรมพื้นฐานเบื้องต้น คือ การทุศีล ล้วนมีอยู่ด้วยกัน แม้ในอดีต กับปัจจุบัน

หากแต่ยุคปัจจุบันนี้ องศาความเข้มข้น ความรุนแรง ของการทุศีล ออกจะมากกว่าอดีตมากนัก เป็นต้นว่า การทำลายล้างชีวิต ประหัตประหารกันด้วยอาวุธสงคราม กระทำด้วยความอำมหิตโหดเหี้ยม การลักทรัพย์ ฉ้อโกง การทุจริต ฉ้อราษฎร์ บังหลวง การกล่าวคำเท็จ คำหยาบ เพ้อเจ้อ ส่อเสียด กระทำได้โดยปราศจากความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป กล่าวได้ว่า เป็นยุคที่ สังคมขาดสติ ไม่มีหิริ โอตตัปปะ ไม่รู้อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรจริง อะไรเท็จ อะไรควร ไม่ควร หลงใหลในอบายมุข และตกเป็นทาส ของ ลัทธิวัตถุนิยม ลัทธิบริโภคนิยม ฯ เป็นสภาพสังคมที่มีความแตกแยกทางความคิด สุดโต่งไปต่างทิศทาง แบ่งพรรค แบ่งพวก ถูกครอบงำด้วย โลภะจริต โทสะจริต และโมหะจริต คุกรุ่นไปด้วย ไฟริษยา อาฆาต พยาบาท วิหิงสา เบียดเบียน หมุนวนอยู่ในวัฎฎจักรของ กิเลส กรรม วิบาก เหมือนคนป่วยด้วยโรคมะเร็งร้าย ยากแก่การเยียวยา รักษา

อย่างไรก็ตาม หลักการสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ก็ยังมีองค์ธรรม มากเกินพอที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบ ๆ ข้าง ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเอง และผู้อื่นในสถานการณ์สังคมปัจจุบันได้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่หลักขององค์ธรรม แต่อยู่ที่สภาวะของบุคคลในสังคม ที่ดูเหมือนจะขาดแคลนองค์ธรรมของหลักสาราณียธรรมไปเสียเกือบจะทุกข้อ ทำอย่างไรจึงจะสามารถปรับเปลี่ยนทัศน คติ ให้มีศรัทธา ยอมรับ และ พร้อมจะประพฤติปฎิบัติตามหลักการขององค์ธรรมได้หรือไม่เท่านั้นเอง ปัญหาและความสำคัญจึงอยู่ที่วิธีการ กระบวนการจัดการ ว่าทำอย่างไร จึงจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมให้เป็นรูปธรรม เท่านั้นเอง (ซึ่งจะได้กล่าวในข้อถัดไป)

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร ?

หลักการสาราณียธรรม ๖ หากมองโดยภาพรวมแล้ว เป็นหลักที่ทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองและเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ไม่ว่าจะเป็นสังคมในระดับใด กลุ่มใด ต่างก็สามารถนำหลักธรรมนี้มาปรับใช้ได้ทั้งนั้น เพียงแต่สภาพการณ์ในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อน มีองศาความรุนแรงมากกว่า มีความแตกแยกทางความคิด แยกพวกแยกกลุ่ม คอยแต่จะเพ่งโทษฝ่ายตรงข้าม ถือมานะทิฏฐิ ไม่ยอมเจรจาปรับใจเข้าหากัน หรือ ที่กล่าวว่า ไม่ยอมรับหรือไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์ สังคมจึงสั่งสม เต็มมากไปด้วยปัญหา ความขัดแย้ง ความรุนแรง ดังที่เห็นและเป็นอยู่

กล่าวได้ว่า ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในกระแสโลกยุคโลกาภิวัตน์ ยุคไซเบอร์ ยุคนาโน ยุคเทคโนโลยีข่าวสาร ยุคเครือข่ายสังคมออนไลน์ ข่าวคราวทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้เพียงเสี้ยววินาที ไม่เพียงแต่ปัจจัยภายในประเทศเท่านั้น แต่ปัจจัยภายนอกนานาสากลประเทศ ล้วนมีบทบาท มีอิทธิพล ครอบงำเหนือ วิถีชีวิต แนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อ ของผู้คนในสังคมได้ทั้งสิ้น ทั่วโลกล้วนแก่งแย่งแข่งขัน ชิงไหวชิงพริบ ทางธุรกิจการค้า และ เทคโนโลยี เพื่อความมั่งคั่ง และความอยู่รอดของประเทศตน ดังนั้นสังคมปัจจุบันจึงให้ความสำคัญ และพุ่งเป้าไปยังบุคคลที่เรียกว่า “ผู้นำ” เพราะไม่เพียงแต่ได้รับการยกย่องว่าเก่งเท่านั้น แต่ควรเป็นผู้นำ ที่ให้ความสำคัญกับคำว่า ศีลธรรมจริยธรรมด้วย ถ้าหากผู้นำมีศีลธรรมจริยธรรม ที่ดีพอ ก็สามารถที่จะเป็นแบบอย่าง และชักนำให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตามได้ ซึ่งหลักการนี้ก็จะไปตรงกับหลักของสาราณียธรรมข้อที่ว่าด้วยหลักทิฏฐิสามัญญตานั่นเอง และเมื่อมีความเห็นที่ถูกต้องเป็น สัมมาทิฏฐิ แล้วไฉนเลย ปัญหาเรื่องความแตกต่างจะยุติลงไม่ได้ และหากผู้นำและผู้ตามทั้งหลายต่างปฏิบัติตนอยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมของศาสนาหรือกฏระเบียบของสังคมต่างๆ แล้ว การเบียดเบียนซึ่งกันและกันของกลุ่มต่างๆ ก็จะไม่มีปรากฏให้เห็น ที่สุดแล้วเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม ก็จะเกิดมีให้เห็นขึ้นจนพัฒนาเป็นการได้ประโยชน์ร่วมกันในที่สุด

สรุปว่าการที่จะนำหลักสาราณียธรรม ๖ มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมในปัจจุบันนั้น แม้ตามหลักการ ควรเริ่มที่ผู้นำ แต่การจะฝากความหวังให้แต่ ผู้นำ ฝ่ายเดียวคงไม่ได้ จึงควรเริ่มที่ตัวเองก่อนเป็นดีที่สุด หมายถึงว่าควรสร้างภาวะสาราณียธรรมให้เกิดขึ้นในจิตใจของตนเองก่อน แล้วแผ่ขยายออกไปจากสังคมเล็กๆ ในครอบครัว สู่ชุมชน โรงเรียน สถาบัน ฯ เป็นต้น จนถึงระดับใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง ระดับผู้นำประเทศ เป็นที่สุดนั้น ก็ต้องเริ่มจากสัมมาทิฏฐิเป็นหลัก แล้วแผ่ขยายออกไปให้ครอบคลุมหลักสาราณียธรรมทั้ง ๖ หากทำได้ดังนี้แล้ว ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ชาติ ศาสนา ภาษาต่างๆ ก็มิอาจที่จะเป็นอุปสรรคต่อความปรองดองของผู้คนในชาติ ตลอดจนมวลมนุษยชาติได้เลย

_______________________________

โยมอย่าหยุดยิ้ม และโยมอุทัย

มุมมองทั้งสองของโยมน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานการอ้างอิง ที่มา หรือบริบทของสาราณียธรรมในพระไตรปิฏก จึงทำให้เราได้เห็นว่า หลักสาราณียธรรมไปสัมพันธ์กับความทะเลาะ วิวาท และความปรองดองที่เกิดขึ้นในสังคมพระสงฆ์เมืองโกสัมพี และโดยเฉพาะเมืองไทยในขณะนี้

กรณีข้อพิพาททั้งสองยุค อาจจะดูแตกต่างกัน แต่สาระของหลักสาราณียธรรมนั้น สามารถประยุกต์ได้กับทั้งสองกรณี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความเพื่อให้สอดรับกับบริบทของวัฒนธรรมและสังคม

ขออนุโมทนาพวกเราอีกครั้ง

 

ด้วยสาราณียธรรม

ข้อ ๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเรา ทั้งๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร (ที่มา)

เพื่อให้การตอบคำถามข้อนี้ชัดเจนขึ้น และเป็นไปตามหลักการทางวิชาการ ผู้เขียนขอวางกรอบการตอบคำถามไว้ ๓ หมวดได้แก่ (๑) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสาราณียธรรม (๒) อานิสงค์ของการประพฤติตนตามหลักสาราณียธรรม ๗ ประการ (๓) สรุปสาระสำคัญ

๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสาราณียธรรม

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงนำเอาหลักสาราณียธรรมมาอธิบาย ไว้ในพระพุทธศาสนาก็ด้วยสาเหตุเนื่องจากการวิวาท บาดหมางขาดความสามัคคีกันของกลุ่มภิกษุในพระธรรมวินัย ดังมีข้อความปรากฎอยู่ในโกสัมพิยสูตร “พระสูตรว่าด้วยภิกษุชาวเมืองโกสัมพี” เรื่องมีอยู่ว่า. . .ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น พวกภิกษุในกรุงโกสัมพีต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทขาดความปรองดองกัน พระพุทธองค์จึงทรงรับสั่งเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตรัสสอนหลัก สารณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน, ธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี, หลักการอยู่ร่วมกัน มีอยู่ทั้งสิ้น ๖ ประการ ได้แก่

๑. เมตตากายกรรม ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมหมู่คณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๒. เมตตาวจีกรรม ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำ ตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๓. เมตตามโนกรรม ตั้งเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำ สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน

๔. สาธารณโภคิตา ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือ เมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำ มาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน (ข้อนี้ ใช้อัปปฏิวิภัตตโภคี ก็ได้)

๕. สีลสามัญญตา มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำ ตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ

๖. ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฏฐิดีงามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำ คัญอันจะนำ ไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา

หลักธรรมนี้ ใน ๓ ข้อแรกถือเป็นการนำเอาความเมตตา มาใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบกรรมดีของมนุษย์ แสดงออกให้เพื่อนมนุษย์รอบข้างกายโดยผ่านทางทวารทั้ง ๓ ได้แก่ กายทวาร (เมตตากายกรรม), วจีทวาร (เมตตาวจีกรรม) และ มโนทวาร (เมตตามโนกรรม) และอาศัยอีก ๓ ข้อที่เหลือเป็นคุณธรรมคือเครื่องช่วยขัดเกลาคุณภาพของระดับจิตใจจากหยาบไปสู่ละเอียดตามลำดับ ได้แก่การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (สาธารณโภคิตา) ซึ่งจัดอยู่ในระดับหยาบ , กฎระเบียบข้อห้ามไม่ให้ล่วงละเมิดทำกรรมชั่ว ซึ่งจัดอยู่ในระดับกลาง (สีลสามัญญตา) และ ข้อสุดท้ายด้วยการมีความเห็นที่ถูกต้องที่ชอบธรรมร่วมกัน (ทิฏฐิสามัญญตา) ซึ่งจัดอยู่ในระดับละเอียด

สำหรับคุณธรรมข้อ ทิฏฐิสามัญญตา นี้พระพุทธองค์ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นธรรมข้อที่เนื่องด้วยความเห็นชอบคือปัญญาซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนาได้ให้ความสำคัญที่สุด เปรียบเหมือนยอดที่คุมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ ดังมีข้อความในพระไตรปิฎกว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยอดอันเป็นส่วนสูงสุดเป็นที่ยึดคุมเรือนยอด แม้ฉันใด ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำบุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุมสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ไว้”

๑.๒ อานิสงค์ของการประพฤติตนตามหลักสาราณียธรรม ๗ ประการ

๑.๒.๑ สารณียะ ทำให้เป็นที่ระลึกถึงกัน

๑.๒.๒ ปิยกรณ์ ทำให้เป็นที่รัก

๑.๒.๓ ครุกรณ์ ทำให้เป็นที่เคารพ

๑.๒.๔ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน

๑.๒.๕ เพื่อความไม่วิวาทกัน

๑.๒.๖ เพื่อความสามัคคีกัน

๑.๒.๗ เอกีภาพ เพื่อความเป็นอันอันเดียวกัน

สำหรับอรรถประโยชน์ประการอื่นๆ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้แก่พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากอีกด้วยว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสมาทานสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ แล้วประพฤติเถิด การประพฤตินั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่เธอทั้งหลายตลอดกาลนาน”

นอกจากองค์ธรรมของสาราณียธรรมทั้ง ๖ ประการดังกล่าวมาแล้ว ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ยังทรงตรัสถึงสาราณียธรรม แก่หมู่ภิกษุ จำนวนมากที่กลับจากบัณฑบาตรและเกิดความบาดหมาง ทะเลาะ วิวาทกัน โดยทรงแสดงนัยที่แตกต่างออกไปในรายละเอียด ดังปรากฏใน “ภัณฑรสูตร” พระสูตรว่าด้วยภิกษุเกิดความบาดหมางกัน มีองค์ธรรมถึง ๑๐ ประการ ดังนี้

. . .ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย. . .

(๒) เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ. . .

(๓) เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี. . .

(๔) เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ. . .

(๕) เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูง และ งานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้. . .

(๖) เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟัง และผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์ อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย. . .

(๗) เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มี ความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่. . .

(๘) เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้. . .

(๙) เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้. . .

(๑๐) เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๑.๓ สรุปสาระสำคัญ

สรุปความว่า ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงหยิบยกมาสั่งสอนนั้นเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งประโยชน์โดยตรงแก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง และประโยชน์นั้นขยายผลออกมาสู่บุคคลรอบข้างได้ด้วย และยังพัฒนาประโยชน์ออกสู่วงกว้างคือ ครอบครัว สังคม ชุมชน ประเทศ ระหว่างประเทศ และมนุษยโลกได้ในที่สุด หรือหากพิจารณา “โลก” จากมุมมองทางพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นปรากฏการณ์ของ พัฒนาการเชิงบวกและสร้างสรรค์ของมนุษย์ในการส่งต่อภาวะความดีงามแห่งจิต จากภายในตัวมนุษย์เอง (สังขารโลก, โลกคือสังขาร) ถ่ายทอดให้สัตว์โลกที่เป็นสังคมรอบข้างของมนุษย์ (สัตว์โลก,โลกคือหมู่สัตว์) และ แพร่กระจายออกสู่วงกว้างได้ในที่สุด เป็นเอนกอนันต์ (โอกาสโลก, โลกคือแผ่นดิน)

สาราณียธรรม ในบริบทนี้จึงทำหน้าที่เป็นเสมือนใบไม้ใบหนึ่งที่ประกอบไปด้วยอรรถประโยชน์มากมายแก่มวลมนุษยชาติ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของมนุษย์ว่า มนุษย์ มองเห็นคุณค่าของใบไม้ธรรมะของพระพุทธองค์ว่าเป็นหลัก “พุทธธรรม” หรือมองเห็นว่าเป็นได้แค่ “ขยะสกปรกที่ไร้คุณค่า” ที่รอการกำจัดด้วยการกวาดทิ้งไปในที่สุด !

********************************

ข้อ ๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

ผู้เขียนได้วางกรอบเพื่อตอบคำถามข้างต้นออกเป็น ๓ หมวดดังนี้คือ (๑) ความเป็นมาและบทบาทของมนุษย์ในสังคม (๒) ความสำคัญของ ความเมตตา ต่อสังคมมนุษย์ (๓) สรุปสาระสำคัญ

๒.๑ ความเป็นมาและบทบาทของมนุษย์ในสังคม

นับตั้งแต่มนุษย์ได้ถือกำเนิดเกิดมาในโลกมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ผู้เดียวได้ เราจึงต้องปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่น ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินบทบาทของมนุษย์ อันมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับบุคคลที่เราเกี่ยวเนื่องด้วย ได้แก่ การเป็นลูกที่ดีต่อพ่อแม่, เป็นศิษย์ที่ดีต่อครูบาอาจารย์, เป็นเพื่อนที่ดีต่อบรรดามิตรสหาย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนเรียน เพื่อนที่ทำงาน ฯลฯ, เป็นมนุษย์ที่ดีต่อบรรดาสรรพสัตว์น้อยใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน หรือ สัตว์ต่างๆที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมโลกกับเราก็ตาม, เป็นสามีภรรยาที่ดีต่อคู่ครอง, เป็นเจ้านายที่ดีต่อลูกจ้าง, เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อศาสนา, เป็นประชาชนที่ดีต่อประเทศชาติ, เป็นมนุษย์ที่ดีต่อโลก ฯลฯ

บทบาทของมนุษย์ที่มีไม่ว่าจะเป็นบทบาทต่อตนเองหรือบทบาทต่อสังคมในขั้นต่างๆดังที่ได้กล่าวแล้วนั้นย่อมต้องอาศัยคุณลักษณะของธรรมที่ดี ที่งาม ที่เป็นพื้นฐานของความรู้สึก หรือ จิตสำนึก ที่มีในตนนั่นก็คือ ความรัก ความปรารถนาที่ดีต่อผู้อื่น การแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขอย่างทั่วหน้า ซึ่งคุณธรรมนี้เราเรียกว่า “ เมตตา ”

๒.๒ ความสำคัญของ ความเมตตา ต่อสังคมมนุษย์

เนื่องจากโลกมนุษย์มีความกว้างใหญ่ไพศาลอันมาก ทำให้มนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มีความต่างกันในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิศาสตร์, ด้านสังคมศาสตร์, ด้านเชื้อชาติ, ด้านภาษา, ด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่, ด้านศาสนา และ ความเชื่อ, ด้านการปกครอง ฯลฯ ความแตกต่างของมนุษย์ดังกล่าวทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกันในหลายๆด้านโดยสิ้นเชิง ตรงจุดนี้เองที่ทำให้ “ ความเมตตา ” ซึ่งเป็นคุณธรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกๆคนจำเป็นต้องมีเพื่อความสงบสุขของมวลมนุษยชาติ เป็นคุณธรรมที่ช่วยค้ำจุนโลกนี้ให้ดำเนินไปได้ด้วยดี

การที่มนุษย์จะส่งผ่านความรู้สึกที่ดี ในที่นี้คือ “เมตตา” ออกไปสู่โลกภายนอกในรูปแบบของการทำกรรมตามทางพระพุทธศาสนานั้น หากจำแนกตามทวาร คือทางที่ทำกรรม หรือทางแสดงออกของกรรมจะได้ ๓ ทางได้แก่ กรรมที่ทําทางกาย (กายกรรม), กรรมที่ทำทางวาจา (วจีกรรม) และ กรรมที่ทำทางใจ (มโนกรรม) ดังนั้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ จำเป็นต้องทำปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ใน ๓ ทางนี้ พระพุทธเจ้าถือว่า การกระทำทางใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ใน “จักขุปาลเถรวัตถุ” ความว่า

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าคนมีใจชั่ว ก็จะพูดชั่วหรือทำชั่วตามไปด้วย เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมติดตามเขาไป เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น . . .ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรือทำดีตามไปด้วย เพราะความดีนั้น สุขย่อมติดตามเขาไปเหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น

จากพุทธวจนะดังกล่าว แสดงหลักการให้เห็นว่า พฤติกรรม ของบุคคลที่แสดงออกมาได้แบ่งเป็น ๒ ลักษณะคือ แสดงออกมาในลักษณะที่ชั่ว และดี ซึ่งมีวิบากที่ชั่ว และดี เป็นลักษณะที่ติดตามตัวเองไปตามลำดับ และหลักการดังกล่าวก็สนับสนุนให้คนทำความดีโดยเริ่มจากที่จิตใจก่อนเป็นสำคัญ เพราะพฤติกรรมดังกล่าวทั้ง ๓ มีกายกรรมเป็นต้น ย่อมทำงานเป็นกระบวนการที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ เริ่มที่ใจ สำเร็จที่ใจ มีใจเป็นหัวหน้า เมื่อเริ่มต้นจากการมีพฤติกรรมทางความคิดให้ดีแล้ว พฤติกรรมอื่นๆ ที่ปรากฏออกมาย่อมดีตาม เช่น เมื่อคิดดีไม่คิดร้าย พยาบาท และมีความเห็นที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็ย่อมเป็นผู้ที่เจรจาชอบเป็นปกตินิสัย คือพูดอย่างมีเหตุผล พูดจาไพเราะเป็นปิยวาจา และพูดแต่ความจริง เป็นสัจจวาจา ไม่พูดปด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ เป็นต้น และมีการกระทำทางกายที่ดีชอบตามไปด้วย เช่นการมีกิริยามารยาทที่ดี ไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ ไม่อยากได้ของที่มีผู้หวงแหน และไม่ประพฤติผิดลูกเมียของผู้อื่น เป็นต้น

๒.๓ สรุปสาระสำคัญ

มนุษย์ทุกคน เกิดมาเพื่อแสวงหาความสุข ด้วยกันทั้งสิ้น สิ่งที่มนุษย์ต้องการก็คือความสุข ไม่ว่าจะเป็นความสุขทางด้านกาย หรือความสุขทางด้านจิตใจ ดังนั้นเมื่อมีผู้ที่ปราถนาดีต่อตัวเราโดยการมอบความรักและความเมตตาแผ่มาสู่เรา การส่งผ่านความเมตตามานี้จึงถือเป็นพลังทางด้านบวก จากจิตสู่จิต เป็นภาวะที่สามารถรับรู้กันได้ โดยผ่านสายใยของสัญชาติญาณมนุษย์ และเมื่อความเมตตานี้ถูกถ่ายทอดผ่านกระบวนการทางองค์ธรรมที่ทำให้เป็นเหตุให้นึกถึงกัน หรือเป็นหลักที่เรียกว่า สา-ราณียธรรมนั้น จึงเป็นพลังเชิงบวกในการสรรค์สร้างความสัมพันธ์แก่คนรอบข้างที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนอื่นเอาไว้เปรียบเสมือนพลังแม่เหล็กที่ดึงดูดโลหะที่มีคุณสมบัติด้านดีเอาไว้เข้าด้วยกัน และพลังดังกล่าวก็ทำงานโดยอัตโนมัติด้วยตัวของมันเองตลอดเวลา ทำให้เกิดกัลยาณธรรมงอกเงย และเติบโตอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน พลังด้านบวกนี้คลอบคลุมบทบาททุกบทบาทที่มนุษย์มีได้แก่

๒.๓.๑ บทบาทด้านการทำงาน ได้แก่เพื่อนร่วมงาน (มิตร), ผู้บังคับบัญชา และกับผู้ใต้บังคับบัญชา (กรรมกร)

๒.๓.๒ บทบาทด้านครอบครัว ได้แก่สามี ภรรยา, บุตร ธิดา และ มารดา บิดา

๒.๓.๓ บทบาทด้านการดำเนินชีวิต ได้แก่ครูบาอาจารย์ และ พระภิกษุ หรือผู้บำเพ็ญพรหมจรรย์ เป็นต้น

พลังดังกล่าวยังสามารถเปลี่ยนความบกพร่องทางด้านลบให้กลายมาเป็นพลังทางด้านบวกได้อีกด้วย เปลี่ยนมิตรเทียมให้เป็นมิตรแท้ เปลี่ยนผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาที่แข็งกร้าว ให้เป็นอ่อนโยน, เปลี่ยนสามี ภรรยา ที่ทะเลาะวิวาทกันให้เข้าใจซึ่งกันและกัน ฯลฯ ด้วยคุณลักษณะของสาราณียธรรมนี่เองที่ทำให้บุคคลมีความระลึกถึงกัน มีความรักต่อกัน เคารพซึ่งกันและกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหตุให้เกิดความสมัคสมานสามัคคีและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้สังคมมีความสงบสุข เป็นสังคมในอุดมคติที่น่าอยู่ของมวลมนุษย์

********************************

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

ผู้เขียนขอวางกรอบเพื่อตอบคำถามไว้ ๒ หมวดดังนี้ (๑) มุมมองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของหลักธรมตามธรรมชาติ (๒) หลักสาราณียธรรมนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม ?

๓.๑ มุมมองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของหลักธรมตามธรรมชาติ

พระธรรมคือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี คุณลักษณะ ๖ ประการ คือ ๑.สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ๒.สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ๓.อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล ๔.เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู ๕.โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา ๖.ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

เมื่อพิจารณาคุณลักษณะ ๖ ประการข้างต้นแล้ว พบว่า หลักพุทธธรรม นี้สามารถนำมาใช้ได้ ทุกยุคและทุกสมัย ไม่ว่ายุคเกษตรกรรม หรือยุควัตถุนิยม (เพียงแต่อาจมีลักษณะของการประยุกต์เอาหลักการนั้นมาใช้ในรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกาล-เวลาและสถานที่) มีคุณลักษณะที่ไม่ล้าสมัย และทนต่อการพิสูจน์ทุกเมื่อ เมื่อน้อมมาปฏิบัติเมื่อใดก็จะได้ผลเมื่อนั้น หลักสาราณียธรรมจึงเป็นหลักธรรมที่แสดงหลักการของการประพฤติดีของบุคคลในสังคมที่หวังผลให้สังคมนั้นมีความสงบสุข ทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจที่ใสสะอาด ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างรับสัมผัสถึงคุณธรรมที่หอมฟุ้งกระจายออกมาจากผู้ยึดถือหลักการนี้ มีความระลึกนึกถึงกันเป็นเหตุใกล้ และมีความสามัคคี และสร้างความสงบสุขให้กับสังคมเป็นเหตุไกล...แต่กับคำถามที่ว่าหลักสาราณียธรรมจะเพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม จะได้หาคำตอบกันในลำดับต่อไป

การมองโดยอาศัยภาพรวม (Hollistic) ทำให้มนุษย์เห็นภาพอย่างกว้างๆได้ดี แต่หากเรามองสรรพสิ่งโดยพิจารณาถึงรายละเอียดปลีกย่อยเข้าไปในเนื้อใน (Reductionism) เราจะเห็นองค์ประกอบย่อยต่างๆ เข้ามาร่วมสัมพันธ์กันอยู่มากมาย องค์ประกอบเหล่านี้จะทำงานประสานสอดคล้องและเป็นกระบวนการอยู่อย่างต่อเนื่อง ไหลอยู่อย่างไม่ขาดสาย อย่างเป็นเหตุและเป็นผลกัน มีความเป็นไปปรากฎให้เห็นได้นานาประการสุดแต่เหตุปัจจัยทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในกระบวนธรรมนั้นเองและทั้งที่เนื่องด้วยภายนอก เมื่อมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดเป็นเหตุขึ้นแล้วก็ย่อมก่อให้เกิดผลเป็นความเปลี่ยนแปลงขึ้น (ทางพระพุทธศาสนาเรียกกระบวนการนี้ว่า “ปฏิจจสมุปบาท” )

ดังนี้ เมื่อเรามีมุมมองเกี่ยวกับธรรมชาติทั้งแบบภาพรวม และแบบองค์ประกอบย่อย จะทำให้เราเข้าใจ ธรรมชาติ ดีชัดขึ้นว่า “ทุกสิ่งย่อมสัมพันธ์กันตามเหตุปัจจัย” หลักธรรมต่างๆของศาสนาก็เช่นกัน ย่อมมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันกับหลักธรรมอื่นๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่นหลักสาราณียธรรมนี้ ก็ไม่สามารถยืนอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยไร้สัมพันธ์ภาพ กับหลักการอื่นได้ อุปมาเหมือนการสร้างสะพานทอดลงไปในน้ำทะเลที่มีคลื่นลมเชี่ยวกราดอยู่เป็นนิจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์คือสะพานที่ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล และทนต่อการใช้งานเป็นเวลาที่นานที่สุด...วิศวกรย่อมต้องอาศัยความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์เพื่อสังเคราะห์เอาตัววัตถุดิบต่างๆที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดกับงาน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกปูนชนิดพิเศษที่ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล, โครงสร้างที่แข็งแรงขึ้น, เสาเข็มชนิดพิเศษสำหรับใช้กับน้ำทะเล, สีชนิดพิเศษที่ทนต่อสภาวะอากาศที่แปรปรวน ฯลฯ รวมถึงใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาตร์เพื่อคำนวณหา ตัวแปรและค่าต่างๆที่สมดุลย์กัน ตลอดจนใช้วิศวกรรมศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ในการปฏิบัติลงมือทำตามแผนการที่ได้วางไว้เป็นขั้นเป็นตอน สะพานที่ดีจึงจำเป็นต้องมี องค์ประกอบร่วมต่างๆ ประชุมรวมตัวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

๓.๒ หลักสาราณียธรรมนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิง

บวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม ?

หลักธรรมต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน ย่อมไปเกี่ยวข้องกับหลักธรรมอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม และทั้งในแง่ของการส่งเสริม และสนับสนุนซึ่งกันและกัน หรือในแง่ของการเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อกัน หลักธรรมต่างๆจะมีลักษณะที่สัมพันธ์กันในกรณีดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น

ในสถานการณ์ปัจจุบัน โลกมีวิวัฒนาการทั้งในเชิงบวก และเชิงลบจนเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ คือยุควัตถุนิยม กล่าวคือมนุษย์มีพัฒนาการในด้านวัตถุอย่างยิ่งยวด ซึ่งสวนกระแสกับพัฒนาการทางด้านจิตใจ ดังนี้หากจะพัฒนาคุณภาพความเป็นมนุษย์ จำเป็นจะต้องพัฒนาคุณภาพทางด้านจิตใจซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับมนุษย์สมัยพุทธกาลเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว...ผู้เขียนจึงมีทัศนะว่า หลักสาราณียธรรมเพียงหลักธรรมเดียวจึงไม่เพียงพอ ต่อการนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม หรือหากเพียงพอจริงๆ ก็คงมีกำลังน้อย และให้ผลในวงแคบ ไม่สามารถให้ผลในวงกว้างได้มากเท่าที่สังคมคาดควังเอาไว้ เหมือนสะพานริมทะเลที่มีเพียงปูนชนิดพิเศษ แต่ขาดแล้วซึ่งองค์ประกอบเสริมต่างๆ ที่จำเป็น ทำให้เป็นเพียงแค่ปูนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นสะพานได้ ดังตัวอย่างที่ได้ยกไว้แล้วนั้น

สำหรับหลักธรรมต่างๆที่มีลักษณะที่เกื้อหนุนกับหลัก สาราณียธรรม แบบสอดรับสัมพันธ์กันนั้น มีอยู่มากมายแต่ก็พอจะนำยกให้พอเห็นเป็นตัวอย่าง เป็นรูปธรรมได้บ้าง คือหลักธรรมเพื่อความสัมพันธ์ในสังคม ดังนี้

๓.๒.๑ อัคคิ ๓

๓.๒.๒ ฆราวาสธรรม ๔

๓.๒.๓ ประมาณ ๔

๓.๒.๔ มิตรเทียม, มิตรแท้ ๔

๓.๒.๕ ทิศ ๖

๓.๒.๖ กัลยาณมิตรธรรม ๗

๓.๒.๗ เบญจศีล, เบญจธรรม, บุญกิริยาวัตถุ๑๐, กุศลกรรมบถ ๑๐ ฯลฯ

หากมนุษย์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมปัจจุบันมีการพัฒนาตน เริ่มที่จิตใจก่อน สามารถนำหลักพุทธธรรม โดยมี “หลักสาราณียธรรม” เป็นที่ตั้งในการนำมาพัฒนาจิตใจตนเอง และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคมแล้ว ย่อมได้สังคมที่สงบสุขในที่สุด

********************************

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร?

ระบบครอบครัวของสังคมไทยในอดีตเป็นระบบเปิดกว้าง เป็นครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ เป็นชุมชนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันมาก มีความเป็นธรรมชาติสูง ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์มีน้อยกว่าปัจจุบัน ระบบและปัจจัยดังกล่าวมีลักษณ์ที่เอื้อให้สุขภาพจิตของผู้คนในสังคมดีกว่าในปัจจุบัน

ยุคสมัยเปลี่ยนไป สังคมก็เปลี่ยนตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วิทยาศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น เป็นปัจจัยแปรผันกับระดับสุขภาพจิต และสุขภาพของมนุษย์ในระดับบุคคลอย่างมีนัยสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ยิ่งความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์หรือวัตถุมีมากขึ้นเท่าใด ระดับสุขภาพจิตและสุขภาพของมนุษย์กลับ ลดระดับลง จิตใจต่ำทราม สุขภาพก็เสื่อมถอยลง

เมื่อมองดูในระดับที่มนุษย์ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง(ครอบครัว, ชุมชน และสังคม) พบว่าความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตรที่สอดรับกับหลักการทางพุทธธรรมในข้อ “สาราณียธรรม” นั้นหายไปพร้อมกับสายสัมพันธ์แบบเดิม... เมื่อเป็นเช่นนั้น หลักสาราณียธรรม จึงจำเป็นต้องถูกนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับรูปแบบของวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของมนุษย์ ผู้เขียนขอแสดงทัศนะเพื่อเรียกคืนและสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์กันในสังคม เป็นข้อๆ ดังนี้

๔.๑ พัฒนาที่ตัวเองก่อน – ทำที่บ้าน โดยฝึกให้ตนเองคิดชอบ, พูดชอบ และทำชอบให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองเสียก่อนและพัฒนาไปในระดับครอบครัว

๔.๒ พัฒนาเยาวชน – ทำที่โรงเรียน จัดวิชาจริยธรรม, พุทธศาสนา ฯลฯ เข้าในระบบการศึกษาโดยวางเป็นมาตรฐาน และไม่เพิกถอนวิชาเหล่านี้ออกจากหลักสูตร เพราะเด็กในวันนี้ก็คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เป็นพัฒนาการในระดับชุมชน

๔.๓ พัฒนาสังคม – ทำที่องค์กร พัฒนาโดยตรงที่สังคมอันเป็นภาพฉายเรื่องความสัมพันธ์ในทางลบ สังคมในบริบทนี้ได้แก่ ระบบทางการเมืองโดยพัฒนาที่ตัวผู้นำ หรือผู้แทนประชาชน รวมความถึงภาครัฐและเอกชน รูปแบบและวิธีการทำได้มากมายเช่น สร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงพุทธขึ้น และประกวดให้รางวัลแก่องค์กรณ์นั้นๆเพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อองค์กรอื่น, จัดให้มีองค์กรณ์ตัวอย่างด้านการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างหัวหน้าต่อหัวหน้า, หัวหน้าต่อลูกจ้าง และลูกจ้างต่อลูกจ้าง, การรณรงค์ให้มีกิจกรรมทางด้านการสร้างความสามัคคี ฯลฯ

นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาโดยจัดให้มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เข้าไปบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างจริงจัง เพราะถือเป็นสื่อทางเทคโนโลยีที่เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารของผู้คนในยุคนี้ในการแสดงออกซึ่งความดีงามและความชั่วร้ายได้อย่างเห็นภาพเป็นรูปธรรมที่สุด คนสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำความดีและชั่ว ในรูปแบบใหม่ (ตัวอย่างเช่นการสร้างความสามัคคีกัน ปัจจุบันผู้คนสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีทาง Internet ในการแสดงเจตจำนงค์บริจาคทาน คือการแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน ( สาธารณโภคิตา) , ในทางตรงกันข้ามความสะดวกสบายดังกล่าวอาจเป็นเครื่องมือของกลุ่มมิจฉาชีพในการทำอทินนาทาน (ลักขโมย) ได้โดยง่ายเช่นกัน ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้มงวดกับกฏหมายและข้อบังคับ และเอาผิดกับผู้ที่ทำผิดอย่างเอาจริงเอาจัง

สาราณียธรรม จึงเป็นหลักการคิด การพูด และการแสดงออกที่ทำให้มนุษย์ต้องหวนมาระลึกนึกถึงกันในเชิงบวก และเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะป้องกันความขัดแย้งในเชิงลบของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมดังวาทะของท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า

ทำสิ่งใด ด้วยกายา เมตตาพร้อม พูดนอบน้อม เอ่ยวจี มีเหตุผล

คิดแง่ดี มีน้ำใจ ให้ทุกคน มีลาภผล มิหวงไว้ แบ่งให้กัน

ประพฤติดี ตามกฎ กำหนดไว้ รู้จักใช้ ความคิด จิตสร้างสรรค์

หากคุณธรรม หกข้อนี้ เกิดมีพลัน ย่อมระลึก ถึงกัน ตลอดไป.

********************************

โยมสานุ

  • แม้จะต้องบินไปแดนไกลถึงออสเตรเลีย แต่โยมก็ให้คำตอบที่ทรงคุณค่าแก่พวกเราและผู้อ่านเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ของสาราณียธรรม
  • น่าสนใจประเด็นที่โยมบอกว่า "ลำเพียงเพียงสาราณียธรรมคงไม่เพียพอที่จะเป็นหลักการและเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในสังคมได้ จำเป็นต้องมีหลักการร่วมอื่นๆ เข้ามาบูรณาการ เพื่อให้สาราณียธรรมไม่รู้สึกโดดเดี่ยว อีกทั้งเพื่อเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" ประเด็นนี้อาจจะมีผู้แสดงความเห็นเพิ่มเติม
  • เคยมีพระภิกษุถามพระพุทธเจ้าว่า หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีเยอะเหลือเกินจะรักษาอย่างไรไหว คำตอบคือ "รักษาจิตอย่างเดียวก็เพียงพอ"  แต่คำถามคือ "รักษาสังคม" ไม่ใช่เรื่องง่าย หากการรักษาจิตของแต่ละคนไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งาน
  • ด้วยเหตุนี้ จึงมีการตั้งคำถามกันตลอดระหว่างนักการศาสนากับนักสังคมที่ว่า "เมื่อคนดีแล้ว สังคมจะดีเอง" และ "เมื่อสังคมดีแล้ว คนจะดีเอง" ตกลงอะไรคือบทสรุปที่น่าจะเป็นไปได้ในประเด็นนี้
  • พระอาจารย์ขอฝากพวกเราได้ต่อยอด และแบ่งปันต่อไป
  • รอความคิด และแง่คิดดีๆ จากพวกเราทุกคน
  • ด้วยสาราณียธรรม

กราบนมัสการ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโสที่เคารพครับ

ขออนุญาตเสริมประเด็นในคำถามที่ว่า "ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า" ...

แท้จริงแล้วหลัก สาราณียธรรม นั้น ผลอยู่ ๗ ประการ ดังที่ได้ตอบไว้ในหัวข้อ ๑.๒ อานิสงฆ์ฯ...โดยมี ทิฏฐิสามัญญตา เป็นยอดดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า. . .“ภิกษุทั้งหลาย ยอดอันเป็นส่วนสูงสุดเป็นที่ยึดคุมเรือนยอด แม้ฉันใด ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำบุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุมสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ไว้”

ดังนั้นหลักการของสาราณียธรรม ทั้ง ๖ ประการนี้ หากผู้ใดยึดถือและนำไปปฏิบัติก็ย่อมจะได้รับผลทั้ง ๗ ประการนั้นด้วยจึงควรต้องตอบคำถามข้างต้นใหม่ว่า "หลักสาราณียธรรมนี้ เพียงพอที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม" เพียงแต่หากมีหลักธรรมอื่นๆร่วมทำหน้าที่ในการสนับสนุนก็ย่อมเกิดผลในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้นครับ

เป็นคำตอบสุดท้ายครับ ขออภัยในความ "ด้อยปัญญา" ของกระผมด้วย

สานุ มหัทธนาดุลย์

๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมาอธิบายแก่พวกเราทั้ง ๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร (ที่มา)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๘. โกสัมพิยสูตร

โมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนี้ เธอทั้งหลายรู้อะไร เห็นอะไร จึงต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ไม่ทำความเข้าใจกันไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน ไม่ทำความปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกันอยู่ โมฆบุรุษทั้งหลาย ข้อนั้นนั่นแลจักมีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่เธอทั้งหลายตลอดกาลนาน”

สาราณียธรรม ๖ ประการ

[๔๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รักทำให้เป็นที่เคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน สาราณี ยธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๒ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รักทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ทำให้เป็นที่รักทำให้เป็นที่เคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก ๑ ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ ความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๕. เป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๖. เป็นผู้มีทิฏฐิโดยทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม ๒ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รักทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกันภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รักทำให้เป็นที่เคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม

และ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๔. สีสปาวนวรรค

ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สีสปาวัน ๑. สีสปาวนสูตร

[๑๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน” ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงมิได้บอก สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว

คือ เราได้บอกว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เพราะเหตุไร เราจึงบอก เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

สิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้มีมากมายมีความกว้าง ความลึก ละเอียด สุขุมลุ่มลึก เรียกว่าอาจิณไตย รู้ได้เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่คือควรคิดเพราะปัญญาสำหรับคนธรรมดาไม่ถึง แต่พระพุทธเจ้าจะบอกกล่าวอบรมสั่งสอนบุคคลที่สมควรได้รองรับพระธรรมได้กล่าวแล้วสูญเปล่า เพราะกล่าวกับคนไม่เชื่อเกิดมีความเห็นผิดทำให้เขาเป็นพระพุทธก็ไม่ทรงกล่าว แต่พระพุทธจะกล่าวย้ำซ้ำ ๆ สำหรับบุคคลที่เหมาะสมจะรับธรรมนั้น ให้เห็นความสำคัญอย่างยิ่งยวดในธรรม เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เพื่อความยิ่ง เพื่อพระนิพพาน อย่างเช่น สาราณียธรรมก็เป็นธรรมสูตรหนึ่งที่ทรงสั่งสอนก็เพื่อเกิดความสามัคคีของหมู่ คณะ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เกิดสันติสุขของหมู่คณะ

บุคคลพึ่งฟังอย่างตั้งใจ ฟังสิ่งที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน แล้วฟังซ้ำเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ฟังอีกเพื่อให้เกิดปัญญา เกิดศรัทธาน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง เผยแผ่ออกไปยังประโยชน์เพื่อมหาชนทั้งหลาย

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

หลักการสาราณียธรรมปรากฏในข้อ ๔ คือ การแบ่งปันในส่วนของตนอันชอบธรรม ๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก ๑ ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม

โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ ความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

สาธารณโภคี สำหรับปัจจุบัน หมายถึงการรู้จักแบ่งปันทรัพย์สินที่ตนหามาได้ ด้วยความชอบธรรมให้แก่ผู้ต้องการในโอกาสอันสมควร การรู้จักแบ่งปันทรัพย์สินหรือสิ่งของของตนให้กับบุคคลที่ขาดแคลนนั้นเป็นการกระทำที่ช่วยให้เกิดความรักใคร่ ตัวอย่างของสาธารณโภคีคือ การให้เพื่อยืมสิ่งของเครื่องใช้การบริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของให้กับผู้ประสบภัยต่าง ๆ การบริจาคเงินแก่ผู้ที่ขาดแคลน การให้สิ่งของแก่ผู้ที่หิวโหยเป็นต้น อันนำสู่การสังคมภาพของประเทศ ตัวอย่างดังนี้

ระบอบประชาธิปไตยใน 3 รูปแบบ

ระบอบบุญนิยมสาธารณะโภคี

๑. บุญนิยม (Booniyomism) เป็นระบบที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นระบบที่เกิดจากการ ลด ละ เลิก กิเลส ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน แรงงานและผลิตผลที่เกิดจากแรงงาน มอบให้ระบบ ทำให้ทรัพย์กรของระบบเพิ่มขึ้นตลอดเวลา (วงกลมตรงกลาง) คนในระบบไม่รู้สึกถึงความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เป็นระบบก่อให้เกิดความเข้มแข็ง ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แข็งแกร่งมาก วงกลมเล็กที่อยู่รอบๆ วงกลมทรัพยากร คือภาพตัวแทนของคน หรือองค์กร มีขนาดเท่ากัน หมายถึงไม่ความแตกต่างกันทางฐานะ และโอกาส

ระบบบุญนิยม "สาธารณะโภคี" เป็นระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองโลกุตระ ไม่มีการสะสมสมบัติเป็นของส่วนตน กินใช้และเป็นอยู่ด้วยการประหยัดมัธยัสถ์ รับประทานอาหารมังสวิรัต ละเว้นอบายมุขทั้งปวง นับถือศีลด้วยกายวาจา และใจ เจริญสติด้วยมรรคองค์ 8 ขยันขันแข็งทำงาน สามัคคี มีพลัง มีความเป็นธรรมในระบบ ชุมชนอยู่กันด้วยความอบอุ่นร่มเย็น แรงงานและผลิตผลที่เกิดจากแรงงานมอบไว้ให้เป็นของส่วนกลาง ที่เรียกว่าสาธารณะโภคี

ระบบนี้จะเข้มแข็ง และมั่นคงขึ้นตลอดเวลา

ระบอบทุนนิยม

๒. ทุนนิยม (Capitalism) เป็นระบบที่มีคู่โลกมานา มีการแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจกัน เอารัดเอาเปรียบกัน มีคอร์รัปชั่น ทั้งคอร์รัปชั่นซึ่งหน้า คอร์รัปชั่นผ่านกฎหมาย ผ่านนโยบาย ทำให้เกิดการปล้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย มือใครยาวสาวได้สาวเอา ทำให้เกิดความแตกต่างทางฐานะความเป็นอยู่มาก คนมั่งมีก็มั่งมีเหลือล้น ที่ยากจนก็ ยากจนอย่างเหลือหลาย ทรัพยากรของระบบต่างถูกแย่งชิงกันตลอดเวลา ทรัพยากรของระบบจึงเสื่อม เสียหาย และลดน้อยลงตลอดเวลา วงกลมที่อยู่รอบๆ วงกลมทรัพยากร คือภาพตัวแทนของคน หรือองค์กร มีหลายขนาด มีขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก มีความแตกต่างกันมาก หมายถึงมีความแตกต่างกันทางฐานะ และโอกาสมาก

ระบบนี้จะอ่อนแอ เอารัดเอาเปรียบกันตลอดเวลา

ระบอบกองทุนนิยม

๓. กองทุนนิยม (Fundism) เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่คนทั่วไปไม่ทราบ ธุรกรรมของระบบนี้คือการซื้อขายหุ้น ซื้อขายพันธบัตร ซื้อขายอนุพันธ์ (ตลาดล่วงหน้า) เป็นธุรกรรมของการซื้อขายกระดาษ เป็นธุรกรรมอบายมุข เป็นอบายมุขที่กองโตที่สุดในโลก ทำให้ระบบเสียหายรุนแรง ปี 2000 คือจุดเริ่มต้นความเสียหายของโลกยุคปัจจุบัน เป็นต้นเหตุให้เงินท่วมโลก แต่โลกจนลงทุนนิยมจะตกเป็นของกองทุนนิยม ระบบตลาดเงินและตลาดทุนจะผันผวนมาก ทำให้กองทุนกลายมาเป็นเจ้าของทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทุนสำรองฯที่อยู่ตามธนาคารกลางของประเทศต่างๆ คือเงินของ "กองทุนนิยม" เป็นส่วนใหญ่

วงกลมใหญ่ ที่ซ้อนอยู่บนวงกลมขนาดต่างๆ (ทุนนิยม และบุญนิยม) ที่อยู่รอบๆ วงกลมทรัพยากร คือภาพตัวแทนของ "กองทุนนิยม" มีขนาดใหญ่

ระบบนี้จะก่อให้เกิดการทำลายทุนนิยม ทำให้เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของประเทศ ของภูมิภาค และของโลก เสื่อมทรุดลงตลอดเวลา ความเสียหายจาก ทุรกรรมของ "กองทุนนิยม" ปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก อเมริกา เกิดหนี้เสีย และตามมาด้วยหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นในปี 2009 เหตุการณ์เดียวกันนี้กำลังเกิดขึ้นในยุโรป จีน และรัสเซีย ด้วยความผิดปกติดังกล่าว จะทำให้ "ทุนนิยม" ที่มีอยู่เดิม ปั่นป่วน เสื่อม และ เสียหาย ตลอดเวลา แต่ "บุญนิยมสาธารณะโภคี" จะยืนแกร่ง ต้านได้ทุกสภาพการณ์ที่เลวร้ายของเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโลก

จากรายการ "โลกาภิวัฒน์ สู่ท้องไร่ ท้องนา" ทีวีช่อง 13 สยามไท (15/5/2553)

เปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ระหว่างระบบบุญนิยมสาธารณะโภคี กับระบบทุนนิยม เพื่อความเข้าใจที่เป็นรูปธรรม >>

๑. ต้นทุนแรงงาน

๑.๑ ชุมชนสาธารณะโภคี มีสมาชิกญาติธรรม 500 ท่าน ญาติธรรม 20 เปอร์เซนต์ หรือ 100 ท่าน รับค่าเแรงขั้นต่ำ รับค่าแรงไว้ 2,000 บาทต่อเดือน ส่วนเกินนำเข้าส่วนกลาง เป็นสาธารณะโภคี ญาติธรรม 80 เปอร์เซนต์ หรือ 400 ท่าน ไม่รับค่าเแรงเฉลี่ยได้ว่า 500 ท่าน รับค่าแรง 400 บาทต่อท่านต่อเดือนคิดเป็นค่าแรงของระบบ เท่ากับ 200,000 บาทต่อเดือน (500 x 400)หรือคิดเป็นค่าแรงของระบบ เท่ากับ 2.40 ล้านบาทต่อปี

๑.๒ เปรียบเทียมกับองค์กรทุนนิยม ที่มีกำลังคน 500 ท่านเท่ากัน เงินเดือนเฉลี่ยต่อท่านอย่างต่ำ 20,000 บาท ต่อเดือนคิดเป็นค่าแรงของระบบ เท่ากับ 10 ล้านบาทต่อเดือนคิดเป็นค่าแรงของระบบ เท่ากับ 120 ล้านบาทต่อปี

๒. ต้นทุนทางการเงิน

สมมุติว่า หมุนเงิน 50 ล้านบาทต่อปีเท่ากัน...

๒.๑ ชุมชนสาธารณะโภคี มีการสนับสนุนการเงินระหว่างชุมชนด้วยกันเรียกกองทุน ว่าเป็นกองบุญ เรียกเงินกู้ ว่าเป็นเงินเกื้อ เรียกดอกเบี้ย เป็นดอกบุญ ค่าใช้จ่ายทางการเงินเท่ากับ 0 (ศูนย์)

๒.๒ เปรียบเทียมกับองค์กรทุนนิยม ที่หมุนเงิน 50 ล้านบาทเช่นกันอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 5 เปอร์เซนต์ ค่าใช้จ่ายทางการเงินเท่ากับ 2.50 ล้านบาทต่อปี ต้นทุนรวมชุมชนสาธารณะโภคี ค่าแรง+ต้นทุนการเงิน= 2.40+0 = 2.40 ล้านบาทต่อปี องค์กรทุนนิยม ค่าแรง+ต้นทุนการเงิน= 120+2.50 = 122.50 ล้านบาทต่อปี ทุกวันนี้ ชุมชนอโศกมีทั้งกสิกรรมสาธารณะโภคี และอุตสาหกรรมสาธารณะโภคี ต้นทุนการผลิตใดๆ ของระบบบุญนิยมสาธารณะโภคีต่ำกว่าระบบทุนนิยมชุมชนสาธารณะโภคี สามารถขายสินค้าที่ เท่าทุน ต่ำกว่าทุน หรือแจกฟรี ดังตัวอย่างเรื่องต้นทุนค่าแรงและต้นทุนทางการเงิน ทำให้ชุมชนสาธารณะโภคีสามารถขายสินค้าต่ำกว่าทุนทั่วไป หรือขาดทุนจากทั่วไปได้มากกว่า 100 ล้านบาท สมมุติประเทศใดมีการประยุกต์ระบบนี้ไปใช้ ประเทศนั้นจะมีระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง แข็งแกร่งที่สุดในโลก

________________________________________

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=598958

บทความที่เกี่ยวข้อง ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระดับสูง: http://bit.ly/4Msq7r

http://twitter.com/kajorn

http://twitter.com/indexthai

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

จากหลักการนี้ควรมีการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคมตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคปัจจุบันเป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากมากขึ้นกว่าเดิมยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำมาปฏิบัติให้เกิดผลสำหรับตนเองและผู้อื่นให้เป็นสังคมขนาดเล็ก ๆ ครอบครัว องค์กรต่าง ๆ แล้วขยายวงกว้างออกสู่สังคมระดับประเทศ ขยายออกไปทั่วโลก เพื่อให้ได้รู้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่ามีอย่างนี้ ได้เกิดความรู้ เกิดปัญญา เกิดศรัทธา นำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดความสุขสงบ แล้วจะเกิดสันติสุขทั่วกัน เพราะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นคำสัตย์ เป็นจริงตลอดกาล ไม่ล้าสมัย

โดยใช้หลักการสาราณียธรรมและกุศลกรรมบถสิบ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ (๑) เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ (๒) เว้นขาดจากการ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ (๓) เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม (๔) เว้นขาดจากการพูดเท็จ (๕) เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด (๖) เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ (๗) เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ (๘) ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา (๙) ความมีจิตไม่พยาบาท (๑๐) ความเห็นชอบ (ที.ปา.อ. ๘๔/๓๔)

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร

บุคคลที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต้องกลับทบทวนการบริหารจัดการ แล้วแสวงหาแนวรวมจากบุคคล องค์กรในสังคมทุกภาคส่วนอย่างจริงใจมีบรรยายความเป็นกัลยามิตร ไม่แบ่งฝ่าย ไม่แบ่งกลุ่ม ไม่แบ่งสี มีแต่คนไทยด้วยกันทุกคน ไม่ใช้อคติลำเอียงเกลียดชัง ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะโลภ ระดมความคิดเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกัน แตกต่างทางความคิดได้ แสวงหาจุดร่วมกันได้ (สงวนจุดต่าง) โดยใช้หลักการสาราณียธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาคิดทบทวนในสมาคมองค์ปาฐกถา

อริสโตเติ้ล นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของกรีกได้กล่าวไว้ว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Human being is social animal)" เพราะมนุษย์มีการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นหมวดหมู่ มิได้ใช้ชีวิตอยู่เพียงคนเดียวตามลำพังแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์ต้องทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ตลอดเวลา ต้องพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน และแต่ละชีวิตต่างก็ต้องการที่จะเสริมสร้างความสุข ความมั่นใจ และความปลอดภัยให้กับตนเองอยู่เสมอ สังคมจึงเป็นแหล่งรวมศูนย์ทางความคิดที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมา เพื่อแสวงหาคำตอบทุกๆ อย่างให้กับตนเอง

สังคมในทุกระดับชั้นเป็นแหล่งรวมคนหลายๆ คนเข้าด้วยกัน ซึ่งในจำนวนผู้คนเหล่านั้น แต่ละคนต่างก็มีชีวิต มีจิตวิญญาณ มีความรู้สึกนึกคิดและมีจุดหมายปลายทางที่แตกต่างกัน ออกไป และด้วยเหตุนี้เองบางครั้งจึงทำให้สังคมต้องเกิดปัญหาหรือมีความสับสนวุ่นวายขึ้น อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านความคิดของแต่ละคน ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่สังคมมีปัญหาขึ้นจะเป็นด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ผู้ที่จะทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้หมด สิ้นไปได้ก็หาเป็นใครที่ไหนไม่ หากแต่เป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกๆ คนนั่นเอง ที่จะต้องสามัคคีร่วมใจกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมของตนเองให้ดีและมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

ปลวกซึ่งเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็กๆ แต่ในความเล็กนั้น ปลวกกลับสามารถที่จะสร้างจอมปลวกอันเข้มแข็งใหญ่โตเท่าภูเขาลูกเล็กๆขึ้นมาได้ ซึ่งลมฝนและพายุไม่สามารถจะทำลายลงได้ ทั้งนี้ก็เพราะปลวกเป็นสัตว์ที่รู้จักช่วยเหลือกัน รู้จักความสามัคคี ทำงานกันเป็นทีม และมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน้าที่อยู่ตลอดเวลา

ความสามัคคีจึงเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จทั้งปวง ความสามัคคีจึงเป็นแหล่งพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ และเป็นสิ่งที่สมาชิกในสังคมทุกๆ คนควรที่จะตระหนัก เอาใจใส่ และสร้างสรรค์ขึ้นให้มากที่สุด

ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสหลักธรรมอันจะเป็นแนวทางในการ เสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมเอาไว้ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งอยู่ในหมวดธรรมที่เรียกว่า "สาราณียธรรม 6 " ซึ่งมีความหมายว่า หลักธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นหลักธรรมที่จะเสริมสร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นต่อกันและกันอยู่เสมอในยามที่ระลึกถึงกัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสามัคคีมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นด้วย

หากสังคมใดต้องการที่จะเสริมสร้างความสามัคคีและความ เป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้น ก็ควรที่จะต้องนำเอาหลักธรรมธรรมทั้ง 6 ประการ ไปใช้อยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ

1. เมตตามโนกรรม หมายถึง การคิดดี การมองกันในแง่ดี มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน รักและเมตตาต่อกัน คิดแต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ต่อกัน ไม่อิจฉาริษยา ไม่คิดอคติ ไม่พยาบาท ไม่โกรธแค้นเคืองกัน รู้จักให้โอกาสและให้อภัยต่อกันและกันกันอยู่เสมอ

2. เมตตาวจีกรรม หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี รู้จักการพูดให้กำลังใจกันและกัน ในยามที่มีใครต้องพบกับความทุกความผิดหวังหรือความเศร้าหมองต่างๆ โดยที่ไม่พูดจาซ้ำเติมกันในยามที่มีใครต้องหกล้มลง ไม่นินทาว่าร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดแนะนำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ พูดอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ไม่โกหกมดเท็จ

3. เมตตากายกรรม หมายถึง การทำความดีต่อกัน สนับสนุนช่วยเหลือกันทางด้านกำลังกาย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนหรือรังแกกัน ไม่ทำร้ายกัน ให้ได้รับความทุกขเวทนา ทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อกันอยู่ตลอดเวลา

4. สาธารณโภคี หมายถึง การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรมช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เอารัดเอาเปรียบ และมีความเสมอภาคต่อกัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันอยู่เสมอ

5. สีลสามัญญตา หมายถึง การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับหรือวินัยต่างๆ อย่าง เดียวกัน เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่อ้างอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถืออภิสิทธิ์ใดๆ ทั้งปวง

6. ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึง มีความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน ปรับมุมมองให้ตรงกัน รู้จักแสงหาจุดร่วมและสงวนไว้ซึ่งจุดต่าง ของกันและกัน ไม่ยึดถือความคิดของตนเป็นใหญ่ รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เสมอ

หลักธรรมทั้ง 6 ประการข้างต้น เป็นหลักธรรมสำหรับการเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้นในสังคม อันจะนำมาซึ่งความสุข ความสันติ ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าทั้งทั้งหลายทั้งปวง ดั่งพระพุทธวจนะบทที่ว่า "สมคฺคยานํ ตโป สุโข ความสามัคคีของหมู่คณะเป็นเหตุนำความสุขมาให้"

สังคมที่เราอยู่ในปัจจุบันนี้คงจะมีความสงบสุขและน่า อยู่มากกว่านี้ยิ่งนัก ถ้าหากว่าสมาชิกในสังคมแต่ละคนได้นำเอาหลักธรรมที่กล่าวข้างต้นมาใช้ แต่ที่สังคมดูเหมือนมีปัญหา มีความแตกแยก และวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นเพราะว่าทุกคนละเลยหลักธรรมเหล่านี้ และกระทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ ขาดความรักความเมตตา อิจฉาริษยากัน นินทาว่าร้ายกัน เบียดเบียนและรังแกกัน เห็นแก่ตัว ถืออภิสิทธิ์ อ้างอำนาจบาตรใหญ่ และมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ต่างคนต่างก็ถือความคิดของตนเป็นใหญ่อยู่ตลอดเวลา

คนไทยได้ชื่อว่าเป็นคนที่ใจดีมีความรักความเมตตา ใจบุญสุนทาน ยิ้มเก่ง โอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นนิสัยปกติทั่วไปของคนไทยเกือบทุกคน และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทย ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของไทยเลยก็ว่าได้

สังคมคนไทยคงจะมีความสงบสุข มีความเจริญก้าวหน้า มีความอบอุ่นและน่าอยู่มากกว่าทุกวันนี้มากมายนัก ถ้าหากว่าคนไทยทุกคน เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และรู้จักการให้อภัยกันอยู่ตลอดเวลา สำรวจกิเลสของตนเองว่ามีอะไรมากน้อยเพียงใด รัก โลภ โกรธ หลง รู้ให้เท่าทันแล้ว เรามาร่วมมือกันพัฒนาสังคมของเราให้มีความอบอุ่นและน่าอยู่กันเถอะ โดยการเสริมสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นในสังคมของเราแล้วเราจะได้พบกับสันติภาพและความอบอุ่นที่เราแต่ละคนต่างก็ปรารถนาและใฝ่ฝันหากันอยู่ตลอดมา

โยมสานุ

พอหรือไม่พอนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานที่ เวลา และบุคคลหรือเปล่า ถึงกระนั้น หากเราใส่ใจต่อวิธีการให้มาก แทนที่จะเน้นเป้าหมายอะไรบางอย่าง อาจจะทำให้ความสัมพันธ์ยั้งยืน แนบแน่น และเป็นไปเพื่อสร้างสรรค์จรรโลงสิ่งงามให้เกิดแก่ตัวเอง และสังคมได้

โยมกชกร

ขอบใจมากสำหรับการขยายพื้นที่ของคำว่า "สาธารณโภคี" ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ทั้งบุญสาธารณโภคี ชุมชนสาธารณโภคี และกองทุนสาธารณโภคี แต่เพราะเราไปแนบสนิท และแนบแน่นกับ "ทุนนิยม" เราจึงมองแต่แต่วัตถุ และให้ความสำคัญแก่แย่งชิงการยึดครองวัตถุ จนลืมคุณค่าของการแบ่งปันทั้งวัตถุ และความต้องการอื่นๆ ให้แก่เพื่อนมนุษย์และสังคมอย่างเท่าเทียมและเพียงพอ  จนเป็นที่มาของความขัดแย้งและความรุนแรงดังที่ปรากฎในปัจจุบันนี้

๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเรา ทั้งๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร (ที่มา)

พระสุตตันตปิฎก อังคตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 535

สาราณิยาทิวรรคที่ ๒

๑. ปฐมสาราณียสูตร

ว่าด้วยสาราณียธรรม ๖ ประการ

[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ๖ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา

ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณีย-

ธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุแบ่งปันลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรมได้มา

โดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งหลายผู้มีศีล แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย

เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นไปพร้อมเพื่อ

สมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้

ก็เป็นสาราณียธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 536

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำ

ออกไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหม-

จรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๕ ประการนี้แล.

จบปฐมสาราณียสูตรที่ ๑

สาราณิยาทิวรรคที่ ๒

อรรถกถาปฐมสาราณียสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสาราณียสูตรที่ ๑ แห่งสาราณียาทิวรรค

ที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สาราณียา ได้แก่ ธรรมที่ควรให้ระลึกถึงกัน. บทว่า

เมตฺตํ กายกมฺมํ ได้แก่ กายกรรมที่พึงกระทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา.

แม้ในวจีกรรม และมโนกรรมทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็แลเมตตากายกรรมเป็นต้นเหล่านี้ ตรัสไว้ ด้วยสามารถแห่งภิกษุ-

ทั้งหลาย. แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย ก็นำไปใช้ได้. อธิบายว่า สำหรับภิกษุทั้งหลาย

การบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตร ด้วยเมตตาจิตชื่อว่า เมตตากายกรรม.

สำหรับคฤหัสถ์ทั้งหลาย กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การเดินทางไป เพื่อไหว้พระ-

เจดีย์ เพื่อไหว้โพธิพฤกษ์ เพื่อนิมนต์พระสงฆ์ การเห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้เข้า

ไปสู่บ้าน เพื่อบิณฑบาต แล้วลุกขึ้นต้อนรับ การรับบาตร การปูลาดอาสนะ

และการตามส่ง ชื่อว่า เมตตากายกรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 537

สำหรับภิกษุทั้งหลาย การบอกสอนอาจารบัญญัติ การบอกกรรม-

ฐาน การแสดงธรรม การบอกพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก (แก่

ภิกษุ สามเณร) ด้วยเมตตาจิต ชื่อว่า เมตตาวจีกรรม. สำหรับคฤหัสถ์

ทั้งหลาย ในเวลาที่กล่าวคำเป็นต้นว่า พวกเราจักไปเพื่อไหว้พระเจดีย์

พวกเราจักไปเพื่อไหว้โพธิพฤกษ์ พวกเราจักกระทำการฟังธรรม พวกเรา

จักกระทำการบูชาด้วยประทีป ระเบียบ และดอกไม้ พวกเราจักสมาทานซึ่ง

สุจริต ๓ พวกเราจักถวายสลากภัตรเป็นต้น พวกเราจักถวายผ้าจำนำพรรษา

วันนี้พวกเราจักถวายปัจจัย ๔ แก่พระสงฆ์ ท่านทั้งหลายจงนิมนต์พระสงฆ์แล้ว

จัดแจงของขบฉันเป็นต้น พวกท่านจงปูลาดอาสนะ พวกท่านจงตั้งน้ำดื่ม

พวกท่านจงต้อนรับนำพระสงฆ์มา พวกท่านจงให้พระสงฆ์นั่งบนอาสนะที่

ปูลาดแล้ว เกิดอุตสาหะ กระทำไวยาวัจกิจ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตาวจีกรรม.

สำหรับภิกษุทั้งหลาย การลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ กระทำการปฏิบัติสรีระก็ดี

กระทำวัตรที่ลานพระเจดีย์ เป็นต้นก็ดี นั่งบนอาสนะที่สงัดแล้วคิดว่า ภิกษุ

ทั้งหลายในวิหารนี้ จงมีความสุข ไม่มีเวร ไม่มีทุกข์ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตามโน-

กรรม. สำหรับคฤหัสถ์ทั้งหลาย การคิดว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงอยู่

เป็นสุข ไม่มีเวร ไม่มีทุกข์ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตามโนกรรม.

บทว่า อาวิ เจว รโห จ ความว่า ทั้งต่อหน้า และลับหลัง

ในสองอย่างนั้น การถึงความเป็นสหาย (การช่วยเหลือ) ในจีวรกรรมเป็นต้น

ของภิกษุใหม่ทั้งหลาย ชื่อว่า กายกรรมต่อหน้า. ส่วนวจีกรรมทุกอย่าง

แม้ต่างโดยการถวายน้ำล้างเท้าแก่พระเถระเป็นต้น ชื่อว่า กายกรรมต่อหน้า.

การช่วยเก็บงำ สิ่งของทั้งหลายมีฟืนเป็นต้น ที่ภิกษุใหม่และพระเถระ

ทั้งสองฝ่ายเก็บไว้ไม่เรียบร้อย ไม่ทำให้เสียหาย ในภัณฑะเหล่านั้น ดุจเก็บงำ

ของที่ตนเก็บไว้ไม่ดีให้เรียบร้อยฉะนั้น ชื่อว่า เมตตากายกรรมลับหลัง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 538

การกล่าวยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระ ท่านติสสเถระ ดังนี้ ชื่อว่า

เมตตาวจีกรรมต่อหน้า. ก็และเมื่อจะสอบถามถึงพระเถระผู้ไม่อยู่ในวิหาร

การกล่าวคำน่ารักอย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระของเราไปไหน ท่านติสสเถระ

ของเราไปไหน เมื่อไรจักมาหนอ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตาวจีกรรมลับหลัง.

ส่วนการลืมตา อันสนิทสนมด้วยสิเนหา มองดูด้วยใบหน้าอันแจ่มใส

ชื่อว่า เมตตามโนกรรมต่อหน้า. การมุ่งดี (เอาใจช่วย) ว่า ขอท่าน

เทวเถระ ท่านติสสเถระ จงไม่มีโรค ไม่มีอาพาธ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตา-

มโนกรรมลับหลัง.

บทว่า ลาภา ได้แก่ ปัจจัยที่ได้มา มีจีวรเป็นต้น. บทว่า ธมฺมิกา

ได้แก่ ลาภที่เกิดขึ้นด้วยภิกขาจริยวัตรโดยธรรม สม่ำเสมอ โดยเว้นมิจฉา-

อาชีวะ ต่างโดยโกหก (หลอกลวง) เป็นต้น. บทว่า อนฺตมโส ปตฺต

ปริยาปนฺนมตฺตมฺปิ ความว่า โดยที่สุดแม้เพียงภิกษา ๒-๓ ทัพพี ที่เนื่อง

แล้วในบาตร คืออยู่ติดกันบาตร.

ในบทว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี นี้ การแบ่งปันมี ๒ อย่าง คือ

การแบ่งปันอามิส ๑ การแบ่งปันบุคคล ๑. ในสองอย่างนั้น

การแบ่งปันโดยคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้เท่านี้ ไม่ให้เท่านี้

ดังนี้ ชื่อว่า แบ่งปันอามิส.

การแบ่งปัน โดยคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้แก่ภิกษุรูปโน้น ไม่ให้รูปโน้น ดังนี้

ชื่อว่า แบ่งปันบุคคล.

ภิกษุผู้ไม่หวงลาภบริโภค โดยไม่กระทำทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี.

ลักษณะของผู้บริโภคร่วมกัน ในบทว่า สีลวนฺเตหิ สพฺรหฺมจารีหิ

สาธารณโภคี นี้ มีดังนี้ ภิกษุได้อาหารใด ๆ ที่ประณีต ไม่ยอมให้แก่คฤหัสถ์ทั้ง

หลายโดยมุ่งเอาลาภต่อลาภ (ทั้ง) ไม่บริโภคด้วยตนเอง และเมื่อจะรับ ก็รับด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 539

คิดว่า จงเป็นของสาธารณะกับหมู่สงฆ์ ย่อมเห็นเสมือนเป็นของสงฆ์ ที่จะต้อง

ตีระฆังให้มาบริโภคร่วมกัน. ถามว่า ก็ใครบำเพ็ญสาราณียธรรมนี้ให้บริบูรณ์ได้

ใครไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ? ตอบว่า ผู้ทุศีล ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ไม่ได้ ก่อน

เพราะภิกษุผู้มีศีลทั้งหลาย จะไม่ยอมรับสิ่งของของผู้ทุศีลนั้น. ส่วนภิกษุผู้มีศีล

บริสุทธิ์ไม่ยอมให้วัตรด่างพร้อย ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้. ในการบำเพ็ญ

สาราณียธรรมให้บริบูรณ์ได้นั้น มีธรรมเนียม ดังนี้.

ก็ภิกษุใดตั้งใจให้ของแก่มารดาก็ดี แก่บิดาก็ดี แก่อาจารย์และ

อุปัชฌาย์เป็นต้นก็ดี ภิกษุนั้น (ชื่อว่า) ย่อมให้สิ่งที่ควรให้ (แก่คนที่ควรให้)

แต่ไม่ชื่อว่า มีสาราณียธรรม มีแต่เพียงการปฏิบัติผู้ที่ควรห่วงใย. เพราะว่า

สาราณียธรรม ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่พ้นจากปลิโพธิ (ความห่วงใย) แล้ว.

ก็ผู้ที่จะบำเพ็ญสาราณียธรรมนั้น เมื่อจะให้โดยเจาะจง ควรให้แก่ภิกษุไข้

ผู้พยาบาลภิกษุไข้ ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดินทาง และภิกษุ

ผู้บวชใหม่ ยังไม่รู้การรับสังฆาฏิ และการรับบาตร ครั้นให้แก่ภิกษุเหล่านี้แล้ว

ยังมีของเหลือ นับจำเดิมแต่อาสนะแห่งพระเถระไป ภิกษุใดจะรับเท่าใด

ควรให้ภิกษุนั้น เท่านั้น โดยไม่ให้องค์ละเล็กละน้อย. เมื่อไม่มีของเหลือ

ออกไปบิณฑบาตอีก ควรให้ส่วนที่ประณีตนั้น ๆ จำเดิมแต่อาสนะแห่งพระ-

เถระไป (ตัวเอง) บริโภคส่วนที่เหลือ.

เพราะมีพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ ดังนี้ ถึงจะไม่ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลก็ควร.

ก็สาราณียธรรมนี้ บำเพ็ญได้ง่าย ในบริษัทที่ศึกษาดีแล้ว เพราะในหมู่บริษัท

ที่ศึกษาดีแล้ว ภิกษุใดได้ (อาหาร) มาจากที่อื่น ภิกษุนั้นจะไม่ยอมรับ

ถึงแม้จะไม่ได้มาจากที่อื่น ก็จะรับแต่พอประมาณเท่านั้น ไม่รับจนเหลือเพื่อ.

ก็สาราณียธรรมนี้ เมื่อภิกษุจะให้ของที่ตนไปบิณฑบาตได้มาบ่อย ๆ อย่างนี้

จะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ ต้องใช้เวลา ๑๒ ปี ต่ำกว่านั้นบริบูรณ์ไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 540

เพราะถ้าเธอบำเพ็ญสาราณียธรรมในปีที่ ๑๒ วางบาตรที่เต็มด้วยอาหาร

ไว้บนอาสนศาลา แล้วไปอาบน้ำ และพระสังฆเถระ มาถามว่า นี่บาตร

ของใคร ? เมื่อเขาตอบว่า บาตรของผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม ก็จะกล่าว

ว่า จงนำเอาบาตรนั้นมา แล้วเลือกฉันบิณฑบาตนั้น จนหมดทุกอย่าง

ตั้งบาตรเปล่าไว้. ครั้นภิกษุนั้นมาเห็นบาตรเปล่า ก็จะเกิดโทมนัสว่า ภิกษุ

ทั้งหลายฉันเสียหมด ไม่เหลือไว้ให้เราเลย. สาราณียธรรมจะแตก ต้องบำเพ็ญ

ใหม่อีก ๑๒ ปี คล้ายกับติตถิยปริวาส. ภิกษุนั้น เมื่อสาราณียธรรมด่างพร้อย

คราวเดียว ต้องบำเพ็ญใหม่อีก. ส่วนภิกษุใด เกิดโสมนัสว่า เป็นลาภของ

เราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เพื่อนสพรหมจารี ไม่สอบถามถึงอาหารที่อยู่ใน

บาตรของเราแล้วฉัน ดังนี้. สาราณียธรรม ของภิกษุนั้น ชื่อว่า สมบูรณ์แล้ว.

ก็ภิกษุผู้มีสาราณียธรรมบริบูรณ์อย่างนี้ ย่อมไม่มีความริษยา ไม่มีความตระหนี่

ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย หาปัจจัยได้ง่าย

แม้ของที่เขาถวายแก่เธอผู้มีสาราณียธรรมสมบูรณ์ ย่อมไม่สิ้นไป. เธอย่อม

ได้สิ่งของมีค่า ในฐานะที่เธอจำแนกแจกสิ่งของ เมื่อประสบภัย หรือความ

หิวโหย เทวดาทั้งหลายย่อมช่วยเหลือ. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็น

ตัวอย่าง.

เรื่องพระติสสเถระ

เล่ากันมาว่า พระติสสเถระ ชาวเลณคิรีวิหาร อยู่อาศัยบ้านชื่อ

ว่ามหาขีระ. พระมหาเถระ ๕๐ รูป เดินทางไปไหว้นาคทีปเจดีย์ เที่ยว-

บิณฑบาตในขีรคาม ไม่ได้อะไรเลย จึงพากันออกไป. พระติสสเถระเข้าไป

เห็นพระเถระเหล่านั้น จึงถามว่า ท่านขอรับ ท่านได้ (อาหาร) แล้วหรือ ?

พระเถระเหล่านั้นตอบว่า คุณพวกเราไปมาแล้ว. ท่านรู้ว่า พระเถระเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 541

ไม่ได้อาหาร จึงกล่าวว่า ท่านขอรับ ขอพวกท่านจงรออยู่ในที่นี้แหละ

จนกว่าผมจะกลับมา. พระเถระเหล่านั้นกล่าวว่า คุณ ! พวกเรามีถึง ๕๐ รูป

ยังไม่ได้แม้แต่เพียงน้ำล้างบาตร. ท่านพระติสสเถระกล่าวว่า ท่านขอรับ

ขึ้นชื่อว่าภิกษุผู้เป็นเจ้าของถิ่น ย่อมเป็นผู้สามารถ ถึงแม้จะไม่ได้ภิกษา ก็

ย่อมรู้ช่องทางภิกษาจาร. พระเถระทั้งหลายคอยอยู่แล้ว พระติสสเถระเข้าไปสู่

บ้านแล้ว มหาอุบาสิกา จัดขีรภัตร (ไว้คอยท่า) ในหมู่บ้านใกล้ ๆ นั่นเอง

ยืนมองดูพระเถระอยู่แล้ว พอพระเถระมาถึงประตูเท่านั้น ก็ถวายอาหาร

จนเต็มบาตร ท่านถือเอาบาตรนั้น ตรงไปยังสำนักของพระเถระทั้งหลาย

แล้วกล่าวกับพระสังฆเถระว่า นิมนต์รับเถิดขอรับ. พระเถระคิดว่า พวกเรา

จำนวนเท่านี้ ยังไม่ได้อะไรเลย ภิกษุรูปนี้ ถือเอาบาตรไป กลับมาเร็วแท้

นี้อะไรกันหนอ ดังนี้แล้ว มองหน้าพระเถระที่เหลือทั้งหลาย. พระติสสเถระ

รู้โดยอาการที่มองหน้านั่นแหละ กล่าวว่า ท่านขอรับ บิณฑบาต ผมได้มา

โดยชอบธรรม ขอท่านทั้งหลายอย่ารังเกียจเลย นิมนต์รับเถิด แล้วถวาย

บิณฑบาตแก่พระเถระทุกรูป พอแก่ความต้องการ ส่วนตนเองก็ฉันจนอิ่ม.

ครั้นในเวลาเสร็จภัตกิจ พระเถระทั้งหลายถามท่านว่า คุณ ! คุณ

บรรลุโลกุตรธรรมเมื่อไร ? ท่านตอบว่า ท่านขอรับ ผมยังไม่มีโลกุตรธรรม

พระเถระทั้งหลายถามว่า อาวุโส คุณได้ฌานหรือ ? ท่านตอบว่า ท่านขอรับ

ถึงฌานผมก็ยังไม่ได้. พระเถระทั้งหลายถามว่า หรือคุณมีปาฏิหาริย์ ? ท่าน

ตอบว่า ผมบำเพ็ญสาราณียธรรมขอรับ ตั้งแต่เวลาที่ผมบำเพ็ญสาราณียธรรม

บริบูรณ์แล้ว แม้หากจะมีภิกษุทั้ง ๑๐๐,๐๐๐ รูป อาหารที่อยู่ในบาตร

ก็ไม่หมดสิ้น. พระเถระเหล่านั้น กล่าวว่า สาธุ สาธุ ท่านสัตบุรุษ ข้อนี้

สมควรแก่ท่านแล้ว ดังนี้. เท่าที่เล่ามานี้เป็นตัวอย่างในข้อว่า อาหารที่อยู่ใน

บาตรไม่หมดสิ้นไปก่อน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 542

ก็พระติสสเถระองค์เดียวกันนี้แหละ ไปสู่ที่ถวายทาน เพื่อมหาบูชา

ในเจติยบรรพต ชื่อว่า คิริกัณฑะ แล้วถามว่า ในการให้ทานนี้ มีอะไรเป็น

ของประเสริฐที่สุด. คนทั้งหลายตอบว่า มีผ้าสาฏก ๒ ผืนขอรับ. พระเถระ

กล่าวว่า ผ้าสาฏกคู่นี้จักถึงแก่เรา อำมาตย์ได้ยินคำนั้นแล้วไปกราบทูลพระราชา

ว่าภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งกล่าวอย่างนี้. พระราชาตรัสว่า ภิกษุหนุ่มมีความคิดอย่าง

นี้ (แต่) ผ้าสาฏกเนื้อละเอียดเหมาะแก่พระมหาเถระทั้งหลาย แล้วทรงวางคู่

ผ้าสาฏกด้วยทรงดำริว่า เราจักถวายแก่พระมหาเถระทั้งหลาย. เมื่อท้าวเธอ

ถวาย (ผ้า) ในภิกษุสงฆ์ผู้ยืนอยู่ตามลำดับ ผ้าสาฏกที่วางไว้บนก็ไม่ติดพระ-

หัตถ์ ผ้าผืนอื่นกลับติดพระหัตถ์ แต่ในเวลาทรงถวายแก่ภิกษุหนุ่ม ผ้าสาฏก

ทั้งสองผืนนั้น กลับติดพระหัตถ์ ท้าวเธอทรงวางไว้บนมือของภิกษุหนุ่มแล้ว

ทรงมองดูหน้าอำมาตย์ นิมนต์ให้ภิกษุหนุ่มนั่ง ถวายทาน ทรงละภิกษุสงฆ์

แล้ว ประทับในสำนักของภิกษุหนุ่ม ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณท่าน

บรรลุธรรมนี้ เมื่อไร ? เธอไม่ทูลคุณธรรมที่ไม่มีอยู่โดยอ้อมค้อม แต่กลับ

ทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร โลกุตรธรรมของอาตมภาพไม่มี. พระ-

ราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนพระคุณเจ้าก็ได้พูดไว้แล้วมิใช่

หรือ ? ภิกษุหนุ่มตอบว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถูกแล้ว อาตมภาพ

บำเพ็ญสาราณียธรรม เริ่มแต่เวลาที่อาตมภาพบำเพ็ญสาราณียธรรมบริบูรณ์

แล้ว ในที่ที่เขาแจกสิ่งของ (ทุกแห่ง) ของมีค่ามากจะตก (แก่อาตมภาพ).

พระราชตรัสว่า สาธุ สาธุ พระคุณเจ้า ผ้าสาฏกคู่นี้สมควรแก่พระคุณเจ้า

แล้ว เสด็จหลีกไป. เรื่องที่เล่ามานี้ เป็นตัวอย่างในข้อว่า ในที่ที่เขาแจก

ของกัน ของมีค่าจะตก ( แก่ผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม).

ก็ชาวบ้านผู้อาศัยอยู่ในภารตคาม ไม่ทันได้บอกกล่าวแก่พระนาคเถรี

รีบหนีไป ในเพราะพรหมติสสภัย. ในวันรุ่งขึ้น พระเถรีพูดกับภิกษุสาว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 543

ชื่อว่าจัณฑาลติสสะว่า บ้านเงียบเหลือเกิน เธอทั้งหลายจงไปตรวจสอบดูก่อน

ภิกษุณีสาวเหล่านั้นไปแล้ว รู้ข้อที่คนทั้งปวงหนีไป จึงกลับมาบอกแก่

พระเถรี. พระเถรีฟังแล้วจึงพูดว่า พวกเธออย่าคิดถึงข้อที่คนเหล่านั้นหนีไป

เลย จงทำความเพียรในอุเทศ การสอบถาม และโยนิโสมนสิการของตนไว้

เถิด ดังนี้แล้ว ในเวลาภิกขาจาร ห่มจีวรแล้ว (รวม) ๑๒ รูปทั้งตัวเอง

ได้พากันไปยืนอยู่ที่โคนต้นไทร ใกล้ประตูบ้าน. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ ได้

ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุทั้ง ๑๒ รูป แล้วกล่าวว่า ข้าแต่คุณแม้เจ้า ขอท่าน

อย่าไปที่อื่นเลย นิมนต์มาที่นี้แห่งเดียวเป็นประจำ. ก็ (ในที่นั้น ) มีพระ

เถระองค์หนึ่ง นามว่า นาคะ เป็นน้องชายของพระเถรี. ท่านคิดว่า

ภัยใหญ่ (เหลือเกิน) เราไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ เราจักไปฝั่งโน้น

รวมเป็น ๑๒ รูปทั้งตัวท่านเองออกจากที่อยู่ของตน ๆ มาสู่ภารตคามด้วยคิด

ว่า เราจักไปเยี่ยมพระเถรี. พระเถรีได้ทราบว่า พระเถระมา จึงไปยังสำนัก

ของพระเถระเหล่านั้น เเล้วถามว่า มีเรื่องอะไรหรือ พระคุณเจ้า ? พระ

เถระแจ้งพฤติการณ์นั้นแล้ว. พระเถรีพูดว่า วันนี้ นิมนต์ที่พวกท่านอยู่ใน

วิหารนี้ (สัก) วันหนึ่ง รุ่งขึ้นค่อยไป. พระเถระทั้งหลาย ได้ไปยังวิหารแล้ว.

ในวันรุ่งขึ้น พระเถรีไปบิณฑบาตที่ควงไม้ แล้วเข้าไปหาพระเถระ

พูดว่า นิมนต์พวกท่านฉันบิณฑบาตนี้. พระเถระไม่พูดว่า จักสมควร ดังนี้

แล้วยืนนิ่งเสีย. พระเถรีกล่าวว่า พระคุณท่าน บิณฑบาตนี้เป็นของชอบ

ธรรม ขอท่านทั้งหลายอย่ารังเกียจเลย จงฉันเถิด ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า

จะเหมาะหรือพระเถรี ? พระเถรีนั้นหยิบบาตร (ของพระเถระ) แล้วโยนไปใน

อากาศ. บาตรได้ลอยอยู่บนอากาศ. เพราะเถระกล่าวว่า ดูก่อนพระเถรี ภัตที่

ลอยอยู่บนอากาศสูง ๗ ชั่วลำตาล เป็นภัตตาหารสำหรับภิกษุณีเท่านั้น ดังนี้

แล้ว กล่าวต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าภัย จะไม่มีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เมื่อภัยสงบแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 544

เราผู้กล่าวอริยวงศ์ ถูกจิตกล่าวเตือนอยู่เนือง ๆ ว่า ท่านผู้ถือบิณฑบาตเป็น

วัตรผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจะฉันภัตตาหารของภิกษุณี แล้วปล่อยให้เวลาล่วง

ไปหรือดังนี้ จักไม่สามารถจะอยู่ต่อไปได้ ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย ขอท่าน

ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.

ฝ่ายรุกขเทวดาก็คิดว่า ถ้าพระเถระจักฉันบิณฑบาตจากมือของพระ

เถรีแล้วไซร้ เราจักไม่ให้ท่านกลับ ถ้าไม่ฉัน เราจักให้ท่านกลับ ยืนดูการ

เดินไปของพระเถระ แล้วลงจากต้นไม้ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณ

เจ้าจงให้บาตรแก่ข้าพเจ้า แล้วรับบาตร นำพระเถระไปยังควงไม้นั่นแหละ ปู

อาสนะ ถวายบิณฑบาต ให้พระเถระที่เสร็จภัตกิจแล้ว กระทำปฏิญญา

(รับคำ) บำรุงทั้งภิกษุณี ๒ รูป ทั้งภิกษุ ๑๒ รูป อยู่เป็นเวลาถึง ๗ ปี.

นี้เป็นตัวอย่างในข้อว่า เทวดาทั้งหลาย ย่อมขวนขวาย. เพราะในเรื่อง

(ที่เป็นตัวอย่าง) นั้น พระเถรีได้บำเพ็ญสาราณียธรรมมาจนครบบริบูรณ์.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น ดังต่อไปนี้

บรรดากองอาบัติทั้ง ๗ กอง ผู้ใดมีสิกขาบทขาดในตอนปลาย หรือ

ตอนต้น ศีลของผู้นั้นชื่อว่าขาด เหมือนผ้าขาดที่ชาย ส่วนผู้ใดมีสิกขาบท

ขาดที่ท่ามกลาง ศีลของผู้นั้น ชื่อว่า ทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุ (ตรงกลาง)

ผู้ใดมีสิกขาบท ๒-๓ สิกขาบทขาดตามลำดับ ศีลของผู้นั้น ชื่อว่า ด่าง

เหมือนแม่โคมีสีดำสีแดงเป็นต้น สีใดสีหนึ่ง โดยมีสีตัดกันปรากฏที่หลังหรือ

ที่ท้อง. ผู้ใดมีสิกขาบทขาดในระหว่าง ๆ ศีลของผู้นั้น ชื่อว่า พร้อย

เหมือนแม่โคที่มีจุดแพรวพราว สลับกันในระว่าง ๆ. ส่วนผู้ใดมีสิกขาบททั้ง

หมดไม่ขาดเลย ผู้นั้น ชื่อว่ามีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย. แต่ว่า

สิกขาบทเหล่านี้นั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า ภุชิสฺส (เป็นไท) เพราะกระทำ

ความเป็นไท โดยพ้นจากความเป็นทาสของตัณหา. ชื่อว่า วิญญูปสัตถะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 545

(อันวิญญูชนสรรเสริญ) เพราะวิญญูชนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรง

สรรเสริญ. ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะตัณหาและทิฏฐิ ไม่ลูบคลำ

(ไม่เกาะเกี่ยว) และเพราะใคร ๆ ไม่สามารถปรามาสได้ว่า ท่านเคยต้องอาบัติ

ชื่อนี้มา และท่านเรียกว่า ชื่อว่า สมาธิสังวัตตนิกา เพราะยังอุปจารสมาธิ

หรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไป.

บทว่า สีลสามญฺญคโต วิหรติ ความว่า เป็นผู้มีปกติเข้าถึง

ความเป็นผู้เสมอกันด้วยภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ในทิศาภาคเหล่านั้น ๆ อยู่. เพราะ

ว่า ศีลของพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมเป็นศีลเสมอกันด้วยศีลของพระอริยะ

เหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ผู้อยู่ในระหว่างแห่งมหาสมุทรบ้าง ในเทว-

โลกนั่นแหละบ้าง เพราะฉะนั้นในมรรคศีล (ศีลในองค์มรรค) จึงไม่มีความ

แตกต่างกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า สีลสามญฺญคโต วิหรติ นี้ไว้

โดยทรงหมายเอา ศีลของพระโสดาบันเป็นต้นนั้น.

บทว่า ยายํ ทิฏฺฐิิ ได้แก่สัมมาทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า

อริยา คือไม่มีโทษ. ทิฏฐิ ชื่อว่า นิยยานิกา เพราะเป็นเหตุนำสัตว์ออก

ไปจากภพ. บทว่า ตกฺกรสฺส ความว่า ได้แก่ ผู้ที่ทำอย่างนั้น. บทว่า

ทุกฺขกฺขยาย ความว่า เพื่อสิ้นสรรพทุกข์. บทว่า ทิฏฺฐิิสามญฺญคโต

ความว่า เป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกันอยู่.

จบอรรถกถาปฐมสาราณียสูตรที่ ๑

ในสาราณียธรรม ๖ (สาราณิยสูตรที่ ๒) อังคุตตรนิกายปัญจก-ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ข้อ ๒๘๒) พระพุทธเจ้าได้ตรัส ถึงองค์ประกอบของ ธรรมะอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน (หรือการรู้รักสามัคคี) ว่า ได้แก่๑. การมีพฤติกรรมทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา (เมตตากายกรรม)๒. การมีพฤติกรรมทางวาจาที่ประกอบด้วยเมตตา (เมตตาวจีกรรม)๓. การมีพฤติกรรมทางใจที่ประกอบด้วยเมตตา (เมตตามโนกรรม)๔. การแบ่งปันเฉลี่ยลาภที่ได้มาโดยชอบ (สาธารณโภคี)๕. การพัฒนาตนให้มีศีลที่บริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนพรหมจรรย์ (ศีลสามัญญตา)๖. การพัฒนาตนให้มีทิฏฐิที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เสมอกับเพื่อนพรหมจรรย์ (ทิฏฐิสามัญญตา)สาราณียธรรม ๖ ประการ สะท้อนให้เห็นถึง มิติ ๖ ด้านของความระลึกถึงกันด้วย "ความรัก" ที่เป็น"สาราณียะ" ซึ่งประกอบไปด้วยความปรารถนาดีต่อกันทั้งทางกาย วาจา ใจ ขณะเดียวกันก็มี "ความรู้" ความเข้าใจ ในวิธี การแก้ปัญหา หรือแก้ทุกข์ อย่างถูกต้องเสมอกัน (ทิฏฐิสามัญญตา) มีแนวทางการประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นไป เพื่อการแก้ปัญหา โดยเสมอสมานกัน (ศีลสามัญญตา) และก็มีการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (สาธารณโภคี)ในพระสูตรเดียวกันนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสขยายความถึงคุณลักษณะ ๗ ประการ ที่เกิดขึ้นจากสาราณียธรรม คือ๑. สาราณียะ (การระลึกถึงกัน) โดยปรกติเรามักจะระลึกถึงแต่ตัวเองด้วยการยึดเอาตนเป็นศูนย์กลาง หรือที่ตั้ง ถ้าเราลอง "ระลึกถึง" คนอื่นโดยเอา "ใจเขามาใส่ใจเรา" บ้าง จินตนาการว่า หากเราต้องเป็นคนๆ นั้น ต้องมี บทบาท หน้าที่ ซึ่งถูกกำหนด ด้วยเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ มากมายแบบเดียวกับคนๆ นั้น เราจะมีอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และมีพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ อย่างไรบ้างหากตำรวจหรือฝ่ายผู้บริหารบ้านเมือง "ระลึกถึง" หัวอกของชาวบ้านที่มาเดินขบวนประท้วงในเรื่องต่างๆ ว่าคนเหล่านี้ ได้เผชิญกับปัญหาภาวะบีบคั้นอะไรมาบ้าง อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ซึ่งถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขข้อจำกัด จนมีอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่นำไปสู่การมีพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ แบบนั้นๆ ได้อย่างไร และถ้าเราเป็น ฝ่ายชาวบ้าน ที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะ เงื่อนไขอย่างนั้น เราจะถูกกำหนดให้มีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจน มีพฤติกรรม ทางกาย วาจา ใจ แบบเดียวกัน อย่างนั้นๆ หรือไม่ในทำนองเดียวกัน ฝ่ายชาวบ้านก็ลอง "ระลึกถึง" หัวอกของฝ่ายตำรวจหรือผู้บริหารบ้านเมือง ที่ต้องทำหน้าที่ เผชิญกับม็อบต่างๆ ว่าบุคคลเหล่านั้น อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ ของสังคม ซึ่งถูกกำหนดด้วยเงื่อนไข ให้ต้องแสดง บทบาทอย่างไร ทำไมจึงมีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด และมีพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ แบบนั้นๆ ถ้าหากเราเป็นตำรวจ หรือเป็นผู้บริหารบ้านเมืองที่ตกอยู่ภายใต้ภาวะเงื่อนไขอย่างนั้น เราจะถูกกำหนดให้มีความรู้สึกนึกคิด และ มีพฤติกรรม ทางกาย วาจา ใจ แบบเดียวกันนั้นๆ หรือไม่การ "ระลึกถึงกัน" ด้วยท่าทีที่ถูกต้อง (สาราณียะ) เช่นนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่ความ "รู้รักสามัคคี" ตามนัยแห่ง หลักสาราณียธรรม๒. ปิยะกรณะ (การปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสม) เมื่อมีการ "ระลึกถึงกัน" ด้วยท่าทีที่ถูกต้อง ความ"เข้าอกเข้าใจ" ในเงื่อนไขข้อจำกัดที่เป็นตัวกำหนดภาวะความบีบคั้นให้แต่ละฝ่ายมีพฤติกรรม เช่นนั้นๆ ก็จะเป็นพื้นฐาน ที่นำไปสู่ การประพฤติ ปฏิบัติต่อกันด้วยความเมตตาทั้งความเมตตาทางกาย (เมตตากายกรรม) ความเมตตาทางวาจา (เมตตาวจีกรรม) และความเมตตาทางใจ (เมตตามโนกรรม)๓. ครุกรณะ (เคารพในสิทธิและเงื่อนไขข้อจำกัดของกันและกัน) ความรู้สึกนึกคิด ที่ประกอบด้วย พื้นฐานของ ความเมตตา ทั้งทางกาย วาจา ใจ จะช่วยให้แต่ละฝ่าย เกิดท่าทีในการประพฤติปฏิบัติต่อกัน ด้วยความเคารพ ในสิทธิหน้าที่ ตลอดจนเงื่อนไขข้อจำกัดของกันและกัน เพราะมีความตระหนักรู้ว่า หากเรา ต้องตกอยู่ ภายใต้เงื่อนไข ข้อจำกัด และภาวะบีบคั้นแบบเดียวกับฝ่ายนั้นๆ เราก็คงจะมีบทบาท ของพฤติกรรม ทางกาย วาจา ใจ เช่นนั้นๆ เหมือนกัน๔. สังคหะ (หาข้อสรุปในทิศทางที่เกื้อกูลต่อข้อจำกัดของแต่ละฝ่าย) ความเคารพในสิทธิ และเงื่อนไข ข้อจำกัด ของกันและกัน จะนำไปสู่การปรึกษาหารือเพื่อหาข้อยุติร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ในทิศทางที่เกื้อกูล ต่อเงื่อนไขข้อจำกัด ของแต่ละฝ่าย โดยต่างฝ่ายอาจจะไม่ได้อย่างที่ตนต้องการทั้งหมด แต่ก็ไม่สูญเสียทั้งหมด อย่างที่ตนเกรงกลัวด้วย จะมีการเฉลี่ยประโยชน์ เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุดโดยภาพรวม (สาธารณโภคี)๕. อวิวาทะ (ปล่อยวางทิฏฐิ ไม่ทะเลาะกัน) เมื่อได้ข้อสรุปในทิศทางที่เป็นไปเพื่อความเอื้ออาทรเกื้อกูลต่อกัน ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ของแต่ละฝ่ายแล้ว การปล่อยวางทิฏฐิ ความยึดมั่นถือมั่น ที่เคยคิดจะเอาชนะกัน ให้ได้ดังกล่าว ก็จะเป็นไปโดยง่ายขึ้น ตลอดจนจะมีความเคารพต่อมติของการประชุม และเคารพในกฎกติกา ที่เกิดจากการปรึกษาหารือ ด้วยความ ถ้อยทีถ้อยอาศัยจนเกิดข้อยุติโดยธรรม หรือเกิดความ "ยุติธรรม" ดังกล่าว๖. สามัคคียะ (สร้างความสมัครสมานสามัคคี) การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนวิธีแห่งสาราณียธรรม ตามขั้นตอนที่กล่าวมา จะนำไปสู่การสร้างความสมัครสมานสามัคคี ของผู้คนในสังคม เพราะเป็นกระบวนวิธี ที่ช่วยให้เกิดการอบรม กล่อมเกลา ทางสังคม (Socialization) ที่นำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อปรับทิฏฐิความเห็น ให้สอดประสานกัน มากขึ้น มีความเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น (ทิฏฐิสามัญญตา) ขณะเดียวกัน การหันหน้า เข้าหากัน มากขึ้น เช่นนี้ จะส่งผลให้เกิดแบบชีวิต ของวัฒนธรรม ในการแก้ปัญหา ด้วยกระบวนวิธี แห่งสันติธรรม เสมอสมาน สนิทเนียนยิ่งๆ ขึ้น ด้วย (ศีลสามัญญตา)๗. เอกีภาวะ (ก้าวไปพร้อมกันอย่างเป็นเอกภาพ) ผลของ "ความรัก" ที่คลี่คลายพัฒนาไปสู่ความ "รู้รักสามัคคี" ตามนัยแห่งสาราณียธรรมที่กล่าวมาโดยลำดับ จะนำไปสู่ความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวกัน ของสังคม ซึ่งผู้คน จะอยู่ร่วมกัน อย่างอบอุ่น มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน เคารพกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกัน และสังคมที่ก้าวไป พร้อมกัน อย่างเป็นเอกภาพเช่นนี้ จะสามารถปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างกว้างไกลไพศาลเพื่อแก้ไขปัญหา ต่างๆ ของมนุษย์ ตลอดจนจะสรรสร้างให้เกิด สภาพสังคมสิ่งแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาจิตใจ ของผู้คน ในสังคมนั้นๆ ให้เกิดความเจริญงอกงามยิ่งๆ ขึ้นความ "รู้รักสามัคคี" ที่ประกอบไปด้วยมิติของ "ความรู้" มิติของ "ความรัก" และมิติของ "ความสามัคคี" ตามนัย แห่งสาราณียธรรมนี้ จึงเป็นเรื่องที่มีคุณค่าความสำคัญอย่างยิ่งที่ควรช่วยกันพัฒนาให้เกิดมี เกิดเป็นขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในสังคมปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มจะเกิดความขัดแย้ง รุนแรงกันมากขึ้นๆ เพราะการแย่งชิง ทรัพยากรในโลก ที่เริ่มร่อยหรอลงๆ อันเนื่องมาจากลัทธิบริโภคนิยม ที่เสริมสร้างให้ผู้คนบริโภคกัน อย่างไม่รู้จัก ประมาณ ในโลก ทุกวันนี้(ดอกหญ้า อันดับที่ ๑๐๕ ม.ค.-ก.พ.๒๕๔๖)

ดังกล่าวข้างต้นคือความเป็นมาและความสำคัญของสาราณียธรรม

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่าง ไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

การสร้างสัมพันธไมตรีตามหลักสาราณียธรรม

สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง หมายถึง มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสัมพันธ์ไมตรี ระหว่างประเทศได้ ดังนี้

1. เมตตากายกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตา ในประเทศเพื่อนบ้านต่อ

การประยุกต์สาราณียาธรรมกับการพัฒนามนุษย์สัมพันธ์

จันทร์จิรา จันทร์มณี

ป.โท ปีที่ ๒ ภาคพิเศษ

สาขาพระพุทธศาสนา

๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำหลักสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเรา ทั้งๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร (ที่มา)

คัมภีร์ พระสุตตันตปิฎก อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค สามคาสูตร

ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน

อานนท์ สาราณียธรรม (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก

ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่ วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

ในหัวข้อเหล่านั้น สาราณียธรรม ๖ ประการ คือ

ภิกษุในธรรมวินัย

๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ

ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ

๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ

ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย

ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็น

สาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ

ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๖. มีอริยทิฏฐิ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ

ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำ

ภิกษุทั้งหลาย ยอดอันเป็นส่วนสูงสุดเป็นที่ยึดคุมเรือนยอด แม้ฉันใด ทิฏฐิ

อันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำบุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุมสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ไว้

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

หลักการทางพระพุทธศาสนาสามารถก่อให้เกิดประโยชน์สุขที่แท้จริงต่อบุคคล สังคม และสันติภาพของโลก โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ตามหลักสาราณียธรรม หลักธธรรมข้อนี้ก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันของมนุษย์อย่างสันติภาพได้ ด้วยการคิด การพูด การแสดงออก และการแบ่งปันที่เปี่ยมล้นด้วยการมีเมตตา การสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีในการทำงาน ในครอบครัว และการดำเนินชีวิต เพื่อการช่วยเหลือบุคคลรอบข้าง เพื่อการช่วยเหลือสังคม และประเทศชาติ

ดังนั้นการปฏิบัติตามหลักการสาราณียธรรม จึงย่อมมีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้าง ทั้งในการทำงาน ในครอบครัว และการดำเนินชีวิต เมื่อได้นำหลักสาราณียธรรมมาประยุกต์ใช้ก็ย่อมนำพา ความสุข ความสามัคคี ความสมานฉันท์ ซึ่งนำไปสู่ความสันติสุขได้

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

หลักการสาราณียธรรมนี้ พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม สมัยพุทธกาล ซึ่งดูเหมือนมีความสลับซับซ้อนน้อยกว่ายุควัตถุนิยมในปัจจุบัน ในสมัยพุทธกาลนั้นก็มีปัญหาเช่นกัน ปัญหาความยากจน ปัญหาเรื่องที่อยู่ที่ทำกินซึ่งเป็นปัจจัยสี่ ซึ่งไม่ต่างกับปัจจุบัน ปัญหาความยากจนก็ยังมีอยู่ ปัญหาที่ทางด้านปัจจัยสี่ ปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคม ความด้อยโอกาสในการศึกษา การประกอบอาชีพ

ในปัจจุบันที่เป็นยุคของวัตถุนิยม เมื่อสังคมมีการแก่งแย้งกันเพื่อความอยู่รอด ความรุนแรงในสังคมมีมากขึ้น ทำให้สวนทางกับหลักสาราณียธรรม เพราะขาดจิตสำนึกที่ดีไป หากพิจารณาในหลักธรรมข้อนี้แล้ว ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบ ๆ ข้าง ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเอง และผู้อื่นในสถานการณ์สังคมปัจจุบันได้

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร

หลักการสาราณียธรรม ๖ หากมองโดยภาพรวมแล้ว เป็นหลักที่ทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองและเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ไม่ว่าจะเป็นสังคมในระดับใด กลุ่มใด ต่างก็สามารถนำหลักธรรมนี้มาปรับใช้ได้ทั้งนั้น เพียงแต่สภาพการณ์ในปัจจุบันมีปัญหาซับซ้อน จึงก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น สังคมเสื่อมไปในทางด้านศีลธรรมอันดีงาม ซึ่งสวนทางกับกระแสโลกที่มุ่งพัฒนาสู่เข้าก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ในคณะที่มนุษย์ไม่ได้พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น หากมีการสุขกระตุ้นให้มนุษย์ทุกคนพัฒนาจิตใจ สังคมก็จะสันติสุขได้ และเชื่อว่าหลักสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ได้เช่นกัน

นาย ชัยเนตร ระวีวรรณ

นิสิตป.โทพุทธศาสตร์ คฤหัสถ์ (ภาคพิเศษ) ปี๒ รุ่น๒๒...

๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเรา ทั้งๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร(ที่มา)

สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น เหมือนใบไม้ในป่า มีเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ได้นำเอามาสั่งสอน สิ่งที่สอนเป็นเหมือนใบไม้ในกำมือ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดูแลรักษาจิตใจ ให้อยู่เหนือความทุกข์ต่างๆให้เรียนรู้จนเข้าใจ แล้วนำเอาไปปฏิบัติ เพื่อป้องกันไม่ให้ความทุกข์ ความวุ่นวายใจ ความกังวลใจ

พระจุนทะได้เห็นความแตกแยกขัดแย้ง และระส่ำระสายในหมู่สาวกของนิครนถ์นาฏบุตร ที่ขัดแย้งกันในคำสอนของศาสดาของตนเอง จึงได้เข้าไปเล่าเหตุการณ์ให้พระอานนท์ฟัง แสดงความเป็นห่วงความมั่นคงแห่งพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักที่ทำให้สามัคคีกัน ๖ ประการ (สาราณียธรรม) คือ

๑.ทำอะไรในระหว่างเพื่อนนักบวชก็ทำด้วยเมตตา

๒.พูดอะไรระหว่างเพื่อนนักบวชก็พูดด้วยเมตตา

๓.คิดอะไรในระหว่างเพื่อนนักบวชก็คิดด้วยความเมตตา

๔.มีลาภอะไรเกิดขึ้นก็แบ่งปัน ไม่บริโภคคนเดียว

๕.มีศีลคือระเบียบเสมอกัน

๖.มีทิฏฐิคือความเห็นเสมอกันตรงกัน (ม.มู.(ไทย)๑๒/๕๓๑/๕๕๔)

นี่คือความหวังดีของพระจุนทะ จนทำให้พระพุทธเจ้าแสดงแนวทางแห่งการระงับความขัดแย้ง และให้เกิดสามัคคีไว้ พระพุทธเจ้าทรงสอนสำหรับพระสงฆ์ก่อน ว่าพระสงฆ์จะต้องอยู่ด้วยหลัก ๖ ประการนี้ ถ้าอยู่ด้วยหลัก ๖ ประการ มีน้ำใจประสานกลมกลืนพร้อมที่จะร่วมมือกันมีเมตตาต่อกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตาช่วยเหลือเอาธุระต่อกัน ทางวาจาก็พูดด้วยน้ำใจรักกันในจิตใจก็คิดปรารถนาดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันมีของอะไร หรือได้รับสิ่งใดมาก็มาแบ่งปันกันในการรักษาสถานภาพของสังคมก็รักษาระเบียบวินัย มีศีลเสมอกัน ไม่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่กัน และปฏิบัติตามกฎกติกาของส่วนรวม มีความเชื่อมั่นยึดถือ ตลอดจนเข้าใจร่วมกันในความจริงที่เป็นธรรมชาติเพียงเท่านี้ก็อยู่อย่างเป็นสุขและพัฒนาบนฐานแห่งความสัมพันธ์ที่ดีงามมั่นคง โดยมีความระลึกถึงกันมีน้ำใจประสานร่วมมือต่อกันโดยใช้หลักสาราณียธรรม

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมองและแสดงออกทางความคิดโดยการพูด เพื่อแสดงความรู้สึก ความต้องการ และความคิดเห็นต่างๆ การแสดงออกจึงเป็นเรื่องธรรมชาติจึงต้องการเสรีภาพในการคิด การพูด และการเขียน เสรีภาพนี้ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด และถือเป็นสิทธิมนุษย์ชนประการหนึ่ง นอกจากการพูดนั้นจะทำให้เกิดความเสียหายความคิดและความเชื่อของแต่ละบุคคลมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสภาพแวดล้อม จึงถือเป็นเรื่องยากที่ทุกคนจะมีความคิด ความเชื่อไปในทางเดียวกัน จึงต้องยอมรับและเคารพในความคิดที่แตกต่างหลากหลาย และการรับฟังความคิด ความเห็นที่แตกต่างกันการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์บุคคล ตราบเท่าที่ไม่เป็นการละเมิดต่อคนอื่น เช่น การหมิ่นประมาทหรือการละเมิดกฎหมายการใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาหรือข้อขัดแย้งระหว่างกัน ควรใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เพราะการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น โดยการใช้เหตุผล จะนำมาซึ่งข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับกันโดยไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคมรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีสติสัมปชัญญะ ปราศจากอคติ และมีความอดทนต่อความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตนการเคารพรับฟังการคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตาทำให้มีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้าง ถ้านำหลัก

สาราณียธรรมมาใช้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก

สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง หมายถึง มีความปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสัมพันธ์ไมตรีระหว่างกันได้ ดังนี้

๑. เมตตากายกรรม ประกอบด้วย เมตตาต่อหน้าและลับหลังหมายถึงการรับแสดงออกซึ่งความเป็นมิตรทางกายที่ดีต่อกันอย่างเปิดเผย

๒.เมตตาวจีกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา เกิดความรักความสามัคคีเกิดความระลึกถึงกันในทางที่ดีก่อให้เกิดประโยชน์ความสงบสุข

๓.เมตตามโนธรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาคือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กันและกัน หมายถึง มีจิตใจปรารถนาดีต่อมิตรไม่คิดหวาดระแวงซึ่งกันและกันให้คำแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์

๔.แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคเครื่องมือการเกษตร ตลอดจนวิทยาการความรู้ต่างๆ

๕.รักษาความประพฤติ(ศีล) เสมอกันต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

๖. มีความเห็นร่วมกันไม่วิวาทเพราะมีความเห็นผิดกัน ได้แก่ ต้องยอมรับในกฎกติการะหว่างกันที่กำหนดไว้ ไม่กระทำตนเสมือนว่าเป็นการฝ่าฝืนมติของต้องพึ่งพาซึ่งกัน

ถ้าในสังคมใช้หลักธรรมนี้ทั้งในที่ทำงาน ปฏิบัติต่อครอบครัว และการดำเนินชีวิต ก็จะประสบกับความสำเร็จในชีวิต

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

พฤติกรรมการบริโภควัตถุนิยมได้ฝังรากลึกลงในวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย เสมือนหนึ่งเป็นปัจจัยที่ห้า ถ้าใครไม่ใช้ก็ถือว่าตกยุค ไม่ทันสมัย ซึ่งรูปแบบรูปทรงของสินค้าที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาได้สร้างความพึงพอใจอย่างสูงสุด โดยสามารถแตะต้องสัมผัสได้บ่งบอกถึงรสนิยมที่หรูหรา ชีวิตที่ภูมิฐาน และสร้างความภาคภูมิใจแก่ผู้เป็นเจ้าของได้จนไม่อาจจะปฏิเสธว่าไม่มีความต้องการจะบริโภคสินค้านั้นทั้งกลุ่มคนที่มีอำนาจซื้อ และไม่มี ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจึงเจริญเติบโตอยู่บนพื้นฐานความอ่อนแอทางจิตใจของคนไทยผู้บริโภคเมื่อความต้องการที่ไม่สิ้นสุดของคนไทย ความต้องการซื้อได้รับการตอบสนองความต้องการขายที่ต้องการกำไรสูงสุด ก็ก่อให้เกิดดุลยภาพของตลาดคนไทยต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาซื้อสินค้าตอบสนองความต้องการของตนเช่นการซื้อรถยนต์ที่มีราคาแพงสำหรับชาวต่างชาติผู้ขายที่เป็นเจ้าของสินค้า ก็มีแต่ร่ำรวยยิ่งขึ้นซื้อมากเท่าไรก็ยิ่งรวยมากขึ้นเท่านั้น ในภาพรวมประเทศไทยก็มีแต่ยากจนลงหลักธรรมในการอยู่ร่วมกันมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยกัน และต้องมีส่วนรับผิดชอบทั้งความเสื่อมความเจริญร่วมกัน เป็นธรรมดาเมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันมากขึ้นหลักธรรมที่นำมาใช้สำหรับอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้แก่

สังคหวัตถุธรรม

สังคหวัตถุธรรม แปลว่า ธรรม หรือข้อปฏิบัติสำหรับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ที่จะก่อให้เกิดความสงบสุข ทุกฝ่ายต้องรู้จักเฉลี่ยแบ่งปันประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์สุขอันไพบูลย์ของคนส่วนใหญ่ ทุกฝ่ายจะต้องมีคุณธรรมสำคัญ ๔ ประการ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา

๑. ทาน คือ การให้ แสงความโอบอ้อมอารี ได้แก่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยวัตถุสิ่งของ การยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวมการสงเคราะห์ดูแลกันตามกำลัง ตามความจำเป็น

๒. ปิยวาจา คือ คำพูดที่ชวนให้เกิดความรัก ความชื่นใจ ได้แก่ พูดด้วยเจตนาดี มุ่งประโยชน์ สานประโยชน์ ต่อกัน

๓. อัตถจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์ ได้แก่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ การอนุรักษ์สาธารณสมบัติ การสร้างสรรค์สาธารณประโยชน์ การช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่สาธารณชน โดยไม่เห็นแก่ตัว

๔. สมานัตตตา คือ วางตนเป็นกลาง ได้แก่ มีความยุติธรรมเที่ยงตรงมีน้ำใจต่อกัน รู้จักให้โอกาสให้อภัยต่อกัน หากคนในสังคมใดโดยเฉพาะสังคมไทย ยึดถือปฏิบัติ ย่อมจะได้รับความสงบสุข

สาราณียธรรม

สาราณียธรรม คือ ธรรมะข้อปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความรัก ความเคารพยกย่อง และช่วยให้คิดถึงกันและกันอย่างจริงใจ เป็นหลักธรรมสำคัญที่เป็นไปเพื่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน เพื่อการไม่ทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน เพื่อความสามัคคีกัน และเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

๑. เมตตากายกรรม ช่วยเหลือผู้อื่นทางกาย ด้วยความปรารถนาดี คือช่วยด้วยแรงกายเต็มตามกำลังความสามารถ

๒. เมตตาวจีกรรม ช่วยเหลือผู้อื่นทางวาจา ด้วยความปรารถนาดี คือช่วยด้วยการพูดไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติมผู้อื่น

๓.เมตตามโนกรรม ช่วยเหลือผู้อื่นทางใจด้วยความปรารถนาดี คือเอาใจช่วย คิดช่วย ไม่มุ่งเอาแต่ได้ ไม่คิดร้ายมุ่งร้ายกัน

๔. สาธารณโภคี แบ่งปันสิ่งของที่ตนได้มาโดยชอบธรรมแก่ผู้อื่น ให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์จากทรัพย์สิ่งของของตนบ้าง ซึ่งก็คือการรู้จักเฉลี่ยประโยชน์แก่คนรอบข้าง แก่สังคม

๕. สีลสามัญญตา มีความประพฤติดีงามเท่าเทียมผู้อื่น หมายถึง เคารพกฏเกณฑ์กติการะเบียบแบบแผน ในที่นี้ ได้แก่การปฏิบัติตามกฎหมาย ศีลธรรม วัฒนธรรม จารีตขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม ตลอดถึงการรู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้อภัย ไม่มุ่งแต่จะเอาชนะกันอย่างเดียวกัน

๖. ทิฏฐิสามัญญตา มีความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นในสังคม การยอมรับความแตกต่างทางความคิด ไม่เป็นเหตุก่อให้เกิดความแตกแยก เพราะการที่คนในสังคมมีความหลากหลายทางความคิด

สาราณียธรรมทั้ง ๖ ประการนั้น เป็นหลักธรรมพื้นฐานของสังคม ที่จะเชื่อมประสานรอยร้าว สร้างความรักความผูกพันของคนในสังคมให้แนบแน่น เป็นแกนกลางของความสมานฉันท์สามัคคี ปลูกรักปลูกไมตรีมีความร่วมมือร่วมใจ สร้างความราบรื่นในการทำงานร่วมกัน สร้างความเข้าใจอันดีและความสามัคคี ก่อให้เกิดความรักใคร่และความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มผลผลิต และเป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งหลักของมนุษย์สัมพันธ์คือ การตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยใช้หลักปฏิบัติที่ว่าเมื่อเราต้องการสิ่งใด ผู้อื่นก็มีความต้องการสิ่งนั้นเช่นกัน ส่วนในด้านจิตใจก็ให้ยึดหลักที่ว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา การใช้หลักธรรมดังกล่าวนี้จะเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม

หลักธรรมที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคมต้องนำหลัก สังคหวัตถุธรรม และสาราณียธรรม ควบคู่กันไป จึงเหมาะสำหรับสังคมยุควัตถุนิยมในยุคปัจจุบัน

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความผูกพันกันในระหว่างเครือญาติกันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เนื่องจากการที่สังคมไทยเป็นสังคมเกษตร จึงจำเป็นต้องอาศัยแรงงานของคนในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ครอบครัวของคนไทยแต่เดิมเป็นครอบครัวใหญ่มีพ่อแม่ลูก หลานปู่ ย่า ตา ยายหรือญาติอื่นๆ รวมอยู่ด้วยเป็นสายสัมพันธ์ทางระบบเครือญาติ เกิดความผูกพัน ห่วงใยดูแลทุกข์สุขกันเป็นสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นที่ต้องอุปการะเกื้อกูลกันสังคมในชนบท ขนาดของชุมชนมีขนาดเล็ก จึงทำให้คนในชุมชนรู้จักมักคุ้นกัน ค่าครองชีพต่ำ คือสามารถอยู่หากินได้ดีกว่าชุมชนเมือง ยังสามารถพึ่งอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ความเจริญและเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังไม่ทั่วถึง มีการรวมตัวกันง่ายกว่าชุมชนเมือง ซึ่งมีกลุ่มอาชีพผลประโยชน์แตกต่างกัน ส่วนสังคมเมือง มีความสะดวกสบายในด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสารมากกว่าชนบท มีการพึ่งพาอาศัยกันน้อยกว่าในชนบท ชาวเมืองมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาสังคมน้อยกว่าชนบท มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมด้วยฐานะทางเศรษฐกิจตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าชนบทสังคมเมืองมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดเล็ก ครอบครัวเดี่ยว สมาชิกในครอบครัวมักจะประกอบอาชีพแตกต่างกัน การทำบุญที่วัดเป็นเพียงแหล่งประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น ไม่ได้เป็นศูนย์รวมจิตใจเหมือนกับสังคมชนบทพฤติกรรมของชาวเมืองจะยึดกฎหมาย เป็นหลัก เศรษฐกิจในสังคมเมืองจะมีความยุ่งยากมาก ต่างคนต่างอยู่ไม่ค่อยพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคมจึงมีน้อยมาก เพราะทุกคนต้องดิ้นรนประกอบอาชีพหารายได้เพื่อพึ่งพาตนเอง หลักสาราณียธรรมเป็นหลักการใหญ่ที่ก่อให้เกิดเอกภาพหรือภราดรภาพ หลักสาราณียธรรม แปลว่าธรรมเป็นเครื่องระลึกถึงกัน เป็นหลักการที่จะทำให้เกิดความประสานพร้อมเพียงสามัคคีและผนึกร่วมกันเป็นเอกภาพหลักธรรมนี้มีสาระสำคัญที่สอนว่า สังคมประชาธิปไตยจะต้องมีเครื่องผูกพันคนให้มีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกัน เพราะการที่แต่ละคนจะอยู่ได้ด้วยดีและเอาศักยภาพของตนมาร่วมสร้างสรรค์สังคมประชาธิปไตยได้นั้นคนเหล่านั้นจะต้องมีความสามัคคีรู้จักร่วมมือกันและอยู่ร่วมกันด้วยดี การร่วมมือกันและอยู่ร่วมกันด้วยดีนั้นมีลักษณะการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งเน้นความมีเมตตาปรารถนาดีหวังประโยชน์สุขต่อกันอันจะโยงไปหาหลักการพื้นฐานคือการที่คนเราจะต้องใช้ปัญญา คือ จะต้องใช้ปัญญานั้นบนพื้นฐานของเมตตา หมายความว่าใช้ปัญญาโดยมีเมตตาประกอบ หลัก สาราณียธรรม มี ๖ ประการคือ

๑. เมตตากายกรรม คือ จะทำอะไรก็ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายความว่าทำด้วยความรัก ด้วยไมตรีด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีความช่วยเหลือกัน มีการร่วมมือกัน มีความพร้อมที่จะประสานงานกัน

๒.เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา โดยเจรจากันด้วยเหตุผล โดยใช้ปัญญา ไม่ใช้โทสะเป็นตัวนำฉะนั้นต้อพูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีจิตสำนึกในผลประโยชน์สุขร่วมกัน ต้องการสร้างสรรค์

๓. เมตตามโนกรรม คือ จะคิดอะไรก็คิดต่อกันด้วยเมตตา นั่นคือ การมีความหวังดีต่อกัน ปรารถนาดีต่อกันโดยการคิดพิจารณาวินิจฉัย คิดวางแผนต่าง ๆ โดยมุ่งทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน สร้างสรรค์สังคมและมีไมตรีต่อกันอย่างแท้จริง

๔. สาธารณโภคี หมายถึง การมีกินมีใช้ร่วมกัน หรือมีการแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันหรือการมุ่งช่วยเหลือและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะโดยการไม่เห็นแก่ตัวเป็นต้น

๕. สีลสามัญญตา หมายถึง มีศีลเสมอกัน คือมีความประพฤติดี รักษาระเบียบวินัย รักษากฎกติกาของสังคม มีความสุจริตกายวาจาที่เสมอกัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม

๖. ทิฐิสามัญญตา หมายถึง มีทิฐิ มีความเห็น มีความเชื่อมั่น ยึดถือในหลักการอุดมการณ์และอุดมคติร่วมกันหรือสอดคล้องกันคนในสังคมประชาธิปไตยจะต้องมีความเห็นความเข้าใจและความเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตยร่วมกัน เช่น การยอมรับระบอบประชาธิปไตย การเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ การเข้าใจเรื่องเสรีภาพ ภราดรภาพหรือเอกภาพ

ถ้าอยู่ด้วยหลัก ๖ ประการแล้วแต่ละคนที่เป็นสมาชิกของสังคมก็จะระลึกถึงกัน มีน้ำใจประสานกลมกลืนพร้อมที่จะร่วมมือกัน มีเมตตาต่อกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตาช่วยเหลือเอาธุระต่อกัน ทางวาจาเราก็พูดด้วยน้ำใจรักกัน ในจิตใจเราก็คิดปรารถนาดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันมีของอะไร หรือได้รับสิ่งใดมาก็มาแบ่งปันกัน ในการรักษาสถานภาพของสังคมเราก็รักษาระเบียบวินัย มีศีลเสมอกัน ไม่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่กัน และปฏิบัติตามกฎกติกาของส่วนรวม เราก็มีความเชื่อมั่นยึดถือและเข้าใจหลักการสำคัญของประชาธิปไตยร่วมกัน ตลอดจนเข้าใจร่วมกันในความจริงที่เป็นธรรมชาติของโลกและชีวิตที่จะรองรับความเป็นมนุษย์ของเราไว้ด้วยกัน เพียงเท่านี้ก็อยู่เป็นสุขและเกิดการพัฒนาบนฐานแห่งความสัมพันธ์ที่ดีงามมั่นคง โดยที่แต่ละคนมีความระลึกถึงกันมีน้ำใจประสานร่วมมือต่อกันเกิดความสามัคคี สังคมก็ยึดเหนี่ยวเกาะกุมกันอยู่ให้เกิดภาวะที่เรียกว่า การนำหลักสาราณียธรรมมาปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมไทยในยุคปัจจุบัน

ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน : สาราณียธรรม ๖

      ทำสิ่งใด ด้วยกายา เมตตาพร้อม
พูดนอบน้อม เอ่ยวจี มีเหตุผล
คิดแง่ดี มีน้ำใจ ให้ทุกคน
มีลาภผล มิหวงไว้ แบ่งให้กัน

ประพฤติดี ตามกฎ กำหนดไว้
รู้จักใช้ ความคิด จิตสร้างสรรค์
หากคุณธรรม หกข้อนี้ เกิดมีพลัน
ย่อมระลึก ถึงกัน ตลอดไปฯ

๑.เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเราทั้ง ๆ ที่มีใบไม้จำนวนในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไน้มามองให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร

เพราะธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคราพกัน ช่วยเหลือกันและสามัคคีพร้อมเพียงกันมี ๖ อย่าง

๑.ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตาในเพื่อน

๒.ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อน

๓.ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อน

๔.แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม

๕.รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอเพื่อน

๖.มีความเห็นร่วมกันได้

๒.หลักการสาราณียธรรม เช่นการคิด พูด แสดงออกและการแบ่งปัน ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร

สร้างได้เพราะการคิด พูด แสดงออกและการแบ่งปัน ด้วยความเมตตาย่อมส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและยังทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งที่ดีๆ ให้แก่สังคม ซึ่งส่งผลมาให้แก่เราที่อยู่ในสังคมและคนรอบข้าง

๓.ในสถานการณ์ปัจจุบันหลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักกการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรมแต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีควมสลับซับซ้อนมากกว่า

ปัจจุบันนี้หลักกการนี้เพียงพอแล้วสำหรับในสังคมปัจจุบัน เพียงแต่ว่าบุคคลที่อยู่รอบข้างเราจะเข้าใจหลักธรรมทางศาสนามากน้อยเพียงใด และมีความซื่อสัตย์เท่าใด ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยพุทธองค์คงจะไม่มีปัญหาเนื่องจากสมัยพุทธกาลวัตถุความเจริญการดำรงชีวิตไม่ยากลำบากเหมือนในปัจจุบัน ที่ทุกคนต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อ ชื่อ เสียง เกียรติ เพื่อความอยู่รอด

๔.ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่อง ความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับการสารณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม คำถามคือเราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมได้อย่างไร

เราสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับความเป็นไปของสังคมได้ โดย

๑.หลักธรรมของกายกรรม มีเมตตาต่อเพื่อนโดยอาสาช่วยหลือเรื่องการออกแรงงานด้วยความเมตตา

๒.นำหลักของวจีกรรม ด้วยการพูดดีให้กำลังใจต่อเพื่อนและคนรอบข้างโดยไม่มีจิตริษยา

๓.มีความคิดที่เป็นกลางสร้างสรรค์มากกว่าทำลาย

๔.รู้จักแบ่งปันน้ำใจและอาหารแก่เพื่อนและคนรอบข้าง

๕. ต้องมีศีลประจำใจเพื่อเป็นการปลูกฝังให้รู้จักดีชั่ว

๖.มีความเห็นที่สอดคล้องกับเสียงข้างมาก

ทองแสง

๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมาอธิบายแก่พวกเราทั้ง ๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร (ที่มา)

ตอบ ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค โกสัมพิยสูตร กล่าวถึง สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณโฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นพวกภิกษุในกรุงโกสัมพีต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ก่อให้เกิดเอกภาพหรือภราดรภาพ หลักสาราณียธรรม แปลว่าธรรมเป็นเครื่องระลึกถึงกัน เป็นหลักการที่จะทำให้เกิดความประสานพร้อมเพียงสามัคคีและผนึกร่วมกันเป็นเอกภาพ ซึ่งเน้นความมีเมตตาปรารถนาดีหวังประโยชน์สุขต่อกันอันจะโยงไปหาหลักการพื้นฐานคือการที่คนเราจะต้องใช้ปัญญา คือ จะต้องใช้ปัญญานั้นบนพื้นฐานของเมตตา หมายความว่าใช้ปัญญาโดยมีเมตตาประกอบ หลักของความเป็นเอกภาพที่เรียกว่า สาราณียธรรม มี 6 ประการคือ

1. เมตตากายกรรม คือ จะทำอะไรก็ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายความว่าทำด้วยความรัก ด้วยไมตรีด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีความช่วยเหลือกัน มีการร่วมมือกัน มีความพร้อมที่จะประสานงานกัน

2. เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา โดยเจรจากันด้วยเหตุผล โดยใช้ปัญญา ไม่ใช้โทสะเป็นตัวนำฉะนั้นต้อพูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีจิตสำนึกในผลประโยชน์สุขร่วมกัน ต้องการสร้างสรรค์

3. เมตตามโนกรรม คือ จะคิดอะไรก็คิดต่อกันด้วยเมตตา นั่นคือ การมีความหวังดีต่อกัน ปรารถนาดีต่อกันโดยการคิดพิจารณาวินิจฉัย คิดวางแผนต่าง ๆ โดยมุ่งทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน สร้างสรรค์สังคมและมีไมตรีต่อกันอย่างแท้จริง

4. สาธารณโภคี หมายถึง การมีกินมีใช้ร่วมกัน หรือมีการแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันหรือการมุ่งช่วยเหลือและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะโดยการไม่เห็นแก่ตัว เป็นต้น

5. สีลสามัญญตา หมายถึง มีศีลเสมอกัน คือมีความประพฤติดี รักษาระเบียบวินัย รักษากฎกติกาของสังคม มีความสุจริตกายวาจาที่เสมอกัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม

6. ทิฐิสามัญญตา หมายถึง มีทิฐิ มีความเห็น มีความเชื่อมั่น ยึดถือในหลักการอุดมการณ์และอุดมคติร่วมกันหรือสอดคล้องกันคนในสังคมประชาธิปไตยจะต้องมีความเห็นความเข้าใจและความเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตยร่วมกัน เช่น การยอมรับระบอบประชาธิปไตย การเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ การเข้าใจเรื่องเสรีภาพ ภราดรภาพหรือเอกภาพ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป พระพุทธเจ้าทรงสอนสำหรับพระสงฆ์ก่อน ว่าพระสงฆ์จะต้องอยู่ด้วยหลัก 6 ประการนี้ ถ้าอยู่ด้วยหลัก 6 ประการแล้วแต่ละคนที่เป็นสมาชิกของสังคมก็จะระลึกถึงกัน มีน้ำใจประสานกลมกลืนพร้อมที่จะร่วมมือกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตา ทางวาจาเราก็พูดด้วยน้ำใจรักกัน ในจิตใจเราก็คิดปรารถนาดีต่อกัน ตลอดจนเข้าใจร่วมกันในความจริงที่เป็นธรรมชาติของโลกและชีวิตที่จะรองรับความเป็นมนุษย์ของเราไว้ด้วยกัน เพียงเท่านี้ก็อยู่เป็นสุขและพัฒนาได้ดีแน่ บนฐานแห่งความสัมพันธ์ที่ดีงาม

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

ตอบ สาธารณโภคี ที่จะเกิดเป็นบุญนิยมนั้น จะต้องเป็นคนที่มีคุณลักษณะ หรือมีพฤติกรรม ๕ ข้อ ดังนี้ 1. พึ่งตนเองได้ 2. สร้างสรรค์ 3. ขยัน อดทน 4.ไม่เอาเปรียบใคร 5. ตั้งใจเสียสละ

และเราจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไร? เราสามารถนำความสงบสันติมาสู่สังคมได้ด้วยการสร้างสันติภาวะในใจของเรา และโน้มนำหลักคำสอนของพุทธองค์เกี่ยวกับ 6 วิธีแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนมาใช้ในสภานการณ์ปัจจุบัน ดูแลหมอกในตัวเรา ทุกครั้งในเวลาที่ฝนตกและอากาศเย็น หมอกจะจับตัวที่กระจกรถของเราทำให้เราไม่สามารถมองเห็นทางได้ เช่นสิ่งที่จะละลายหมอกในตัวเราได้ คือ ลมหายใจ การตามลมหายใจเข้าออก และการยิ้ม เป็นการทำให้กายและใจของเราสงบสันติ เราอาจมีความกลัว ความโกรธ ความกังวล ซึ่งเป็นพลังงานแง่ลบที่ทำลายสิ่งต่างๆ แต่ถ้าเรามีพลังแห่งลมหายใจ เรามีความสามารถการตระหนักรู้ลมหายใจเข้าและออก เราจะสามารถแปรเปลี่ยนพลังงานแง่ลบและบำรุงหล่อเลี้ยงตัวเราให้สดชื่น ชัดเจน และมีความสงบสันติได้ 6 วิธีแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนอย่างสันติสุข

1.ตระหนักว่าเราอยู่ร่วมในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน เราอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกัน เรียกได้ว่า พุทธบริษัท ประกอบด้วย พระภิกษุ พระภิกษุณี ฆราวาสหญิง ฆราวาสชาย สิ่งแวดล้อมเดียวกัน ถ้ามองให้กว้างไปกว่านั้น เราอยู่บนพื้นโลกเดียวกัน อยู่ใต้หลังคาเดียวแผ่นฟ้าเดียวกัน ต่างมีความรับผิดชอบในการดูแลซึ่งกันและกัน

2.แลกเปลี่ยนสิ่งของ สิ่งที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมกัน ในการดำรงชีวิตอยู่เราจำเป็นต้องมีปัจจัยสี่ ในสังคมปัจจุบันควรมองว่าทุกคนเป็นสมาชิกของสังคม ทุกคนควรได้รับปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้มีชีวิตอยู่ได้

3.เคารพกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันกฎในการอยู่ร่วมกันช่วยให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย สิ่งนี้เรียกว่าศีลหรือวินัย

4.การใช้วาจาแห่งความรักความเมตตามีคำกล่าวว่า “คำพูดเป็นสิ่งที่ไม่ต้องหาซื้อหา เราต้องใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่เป็นการทำร้ายใคร” คำพูดนี้พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะคำพูดล้วนมาจากความคิดเห็น หลายครั้งเราพูดโดยไม่มีความตระหนักรู้ซึ่งสร้างความทุกข์ให้กับตัวเราเองและผู้อื่น

5.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อกันและกันจะเห็นได้ว่าในตัวบุคคลเพียงแค่คนเดียวสามารถมีทัศนติและความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมมีความคิดที่ต่างกัน ฉะนั้นการแลกเปลี่ยนจึงเป็นสิ่งสำคัญ

6.การยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น การไม่บังคับข่มขู่ให้ผู้อื่นคิดตามเรา และมีการตัดสินใจร่วมกันการอยู่อย่างมีความสุขหรือไม่ที่ต้องปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ แต่หากผลการออกเสียงมีความใกล้เคียงกัน เรายังไม่สามารถตัดสินใจได้และต้องหาวิธีการเริ่มต้นใหม่ นี่คือวิธีการของประชาธิปไตย

ด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้ชุมชนพุทธศาสนาสามารถดำรงอยู่ได้จนทุกวันนี้ คำสอนของพระพุทธองค์เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาก และเราสามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้ได้

Peace in oneself, Peace in the world ความสงบสันติในตัวเรา คือ ความสงบสันติในโลก

ถ้าเรามีความสามัคคีกลมกลืนในตัวเราเอง เราจะสามารถนำความสงบสันติมาสู่ครอบครัว สังคมและโลกได้

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

ตอบ พระพุทธเจ้าเคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่เชื่อว่าคนดี บัวพ้นน้ำ อยู่ในยุคไหนก็เป็นดี ฟังธรรมเข้าใจแจ่มแจ้งโดยง่าย ตรงกันข้าม บัวใต้น้ำ อย่างไรเสียก็ไม่เข้าใจ ยุคสมัย ก็คงไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมความดีในบุคคลผู้ประเสริฐได้ เพราะฉะนั้นหลักธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ล้าสมัย ยังคงทันสมัยตลอดกาล ในการสร้างความดีให้กับตนเอง หลักการสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ก็ยังคงนำ

มาใช้ได้สำหรับผู้มีปัญญาในโลกปัจจุบัน

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร

ตอบ การสร้างสัมพันธไมตรีตามหลักสาราณียธรรมซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสัมพันธ์ไมตรีระหว่างกันได้

1. เมตตากายกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตา เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันแลกัน

2. เมตตาวจีกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเตตา เกิดความรักความสามัคคีเกิดความระลึกถึงกันในทางที่ดีก่อให้เกิดประโยชน์ความสงบสุข

3. เมตตามโนธรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาหมายถึง มีจิตใจที่ดีงามต่อกัน

4. แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมแก่มิตรประเทศ ได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค

5. รักษาความประพฤติ(ศีล) เสมอกัน

6. มีความเห็นร่วมกันเราต้องยอมรับในกฎกติกาไม่กระทำตนเสมือนว่าเป็นการฝ่าฝืนมติของสังคม

ซึ่งถ้าทุกคนนำหลักสาราณียธรรม ๖ มาปรับใช้กับตนเองก็จะนำพาสังคม และประเทศชาติให้เกิด

ความสันติสุขต่อไปได้

พระพุทธเจ้าเลือกสาราณียธรรม 6 มาสอนเพราะพระพุทธเจ้าทรงมีหลักธรรมอันมากมายแต่พระพุทธเจ้าเลือกหลักธรรมที่เหมาะแก่จริตของบุคคลหรือเหตุการณ์นั้นๆ ถ้าเปรียบใบไม้ในป่ามีจำนวนมากมายแต่ถ้าจะใช้หลักธรรมที่เหมาะสมก็ต้องเลือกธรรมที่เหมะสมเปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือ

ที่มาจาก โกสัมพีสูตร

สาราณียธรรม 6 หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ถือว่าเป็นธรรมที่เป็นพลังในการสร้างความสามัคคี มีอยู่ 6 ข้อ คือ

1. กายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา คือ การกระทำทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา เช่นการให้การอนุเคราะห์ ช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ไม่รังแกทำร้ายผู้อื่น

2. วจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา คือ การมีวาจาที่ดี สุภาพ อ่อนหวาน พูดมีเหตุผล ไม่พูดให้ร้ายผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

3. มโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา คือ ความคิดที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นการคิดดีต่อกันไม่คิดอิจฉาริษยาหรือไม่คิดมุ่งร้ายพยาบาท หากทุกคนคิดแล้วปฏิบัติเหมือนกันความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นในสังคม

4. สาธารณโภคี คือ การรู้จักแบ่งสิ่งของให้กันและกันตามโอกาสอันควร เพื่อแสดงความรักความหวังดีของผู้ที่อยู่ในสังคมเดียวกัน

5. สีลสามัญญตา คือ ความรักใคร่สามัคคี รักษาศีลอย่างเคร่งครัดเหมาะสมตามสถานะของตน มีความประพฤติสุจริตปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของหมู่คณะ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น

6. ทิฏฐิสามัญญตา คือ การมีความเห็นร่วมกัน ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบ

ธรรม 6 ประการ ที่ผู้ใดได้ประพฤติจะเกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกื้อกูลกันไม่ทะเลาะวิวาทกัน อันจะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีกันตลอดไป

2.ตอบ สาราณิยธรรม 6 เป็นธรรมที่ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

ในการทำงานในฐานะข้าพเจ้าเป็นครูนั้นต้องทำงานร่วมกับเพื่อนครูด้วยกันประมาณ 70 คน ทั้งที่อายุมากกว่าน้อยกว่า ทั้งครูจีน ครูต่างชาติ มีนักเรียนที่ต้องดูแลทั้งในห้องที่เราประจำชั้นในห้องของข้าพเจ้ามี 46 คน ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าสาราณ๊ยธรรมทำให้ลดการขัดแย้งในหมู่ครูด้วยกัน มีเมตตากันทั้งทางด้านร่างกาย วาจา ใจ ทำให้มีการให้อภัยกันเวลาทำงานผิดพลาดหรือล่วงเกินกัน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักเรียนก็จะมีความสุขใจมากขึ้น สร้างความสามัคคีในโรงเรียนมากขึ้น

ในด้านครอบครัว ข้าพเจ้าคิดว่าสาราณ๊ยธรรมก็เป็นหลักธรรมที่ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีความรักความสามัคคีกัน รู้ในบทบาทหน้าที่ของตน สร้างความอบอุ่นในครอบครัวและเมื่อครอบครัวอบอุ่นแล้วสังคมก็จะดีขึ้น

ในการดำเนินชีวิตนั้น ชีวิตความเป็นจริงเราไม่สามารถอยู่ในสังคมได้เพียงลำพังจะต้องพบปะผู้อื่นเสมอการใช้ชีวิตประจำวันต้องมีเมตตากับผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจา ใจ รู้จักแบ่งบันสิ่งของให้ผู้อื่นบ้างตามสมควร เช่นบริจาคสู้กันหนาวให้กับชาวเขาที่อยู่ในภาคเหนือ เป็นต้น ศีลเป็นการรักษา กาย วาจา ให้เป็นปกติ เคารพในตนเองและผู้อื่น เช่น การรักษาศีล 5 สามเณรรักษาศีล 10 เป็นต้น ถ้าทำการรักษาศีลก็จะทำให้ตนเองและผู้อื่นมีความสุข สังคมก็สงบ และมีความสามัคคีด้วย

3.ตอบ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นยุคเกษตร หรือยุควัตถุนิยม หลักสาราณิยธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมในการสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคีที่ดีต่อกันนั้นยังคงนำมาใช้ได้เสมอเพียงพอทำให้มนุษย์มีความสามัคคีกัน ไม่ว่าสังคมจะเป็นเช่นไร สภาพสังคมยังคงมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งในสังคมต้องการความรัก ความเมตตาซึ่งกันและกัน ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ต้องการความสงบ รักตนเองและผู้อื่น หลักธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของจริงพิสูจน์ได้ มีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว

4. ตอบ ในสังคมไทยตอนนี้เกิดการทะเลาะวิวาทกันในประชาชนมีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นกลุ่ม ๆ ต่างขั้วกัน มีเสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อน้ำเงิน เสื้อหลากสี มีมุมมองทางประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน ผู้นำกลุ่มขาดการนำหลักสาราณิยธรรม 6 ประการมาใช้เพื่อสร้างความสามัคคี่ของคนในชาติ ต่างฝ่ายก็มีผลประโยชน์ของตนเอง ขาดความเมตตาทางกาย วาจา ใจ มีการใช้ความรุนแรง มีการกล่าวว่าร้ายกันทุกฝ่าย คิดทำร้ายกันตลอดเวลา ไม่เคารพตนเองและผู้อื่น ไม่รู้จักแบ่งบัน ตัดน้ำตัดไฟ หรือทำร้ายทหาร ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ทำผิดกฏหมาย กีดขวางการจรารจร จะเห็นได้ว่าแต่ละกลุ่มไม่ได้นำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติ ถ้าทุกฝ่ายนำหลักสาราณิยธรรมไปศึกษาและปฏิบัติกันแบบจริงจังและจริงใจและประชาชนทุกฝ่ายย่อมเกิดความสามัคคี สงบสุขได้ สังคมสงบสุข

สุข ม่วงเงิน พุทธศาสนา รุ่น 22 ภาคพิเศษ

พรชัย ภาคพิเศษรุ่น ๒๒

นายพรชัย ไพศาลสุทธิเดช เลขประจำตัวนิสิต ๕๒๐๑๔๐๕๐๘๕ นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาคพิเศษ รุ่น ๒๒

๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเรา ทั้งๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร (ที่มา)

พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาสในหัวข้อ สาราณียธรรมแก่เหล่าภิกษุที่ทะเลาะวิวาทและบาดหมางกันมีปรากฎในพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์มหาจุฬา เล่มที่ ๑๒ หน้า ๕๓๑-๕๓๓ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค] ๘. โกสัมพิยสูตร มีใจความว่า

โมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนี้ เธอทั้งหลายรู้อะไร เห็นอะไร จึงต่าง

บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ไม่ทำความเข้าใจกัน

ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน ไม่ทำความปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความ

ปรองดองกันอยู่

โมฆบุรุษทั้งหลาย ข้อนั้นนั่นแลจักมีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์

แก่เธอทั้งหลายตลอดกาลนาน”

ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ

เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ

ความเป็นอันเดียวกัน ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำ

บุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุม

สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ไว้

ภิกษุทั้งหลาย ยอดอันเป็นส่วนสูงสุดเป็นที่ยึดคุมเรือนยอด แม้ฉันใด ทิฏฐิ

อันไกลจากกิเลสที่เป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรมนำบุคคลผู้ทำตามนั้นออกไป เพื่อ

ความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชั้นยอดที่ยึดคุมสาราณียธรรม

๖ ประการนี้ไว้

สาราณียธรรม ๖ หมายถึง ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพ นับถือช่วยเหลือกันและกันและสามัคคีพร้อมเพรียงกัน อันจะทำให้คนสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขได้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการคือ

๑. เมตตากายกรรม หมายถึง การกระทำโดยทางกาย ที่ประกอบด้วยความเมตตาต่อผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง การกระทำโดยทางกาย ที่ประกอบด้วยความเมตตานั้นได้แก่การไม่ประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่น หรือกระทำการใด ๆ โดยทางกายหรือใช้กำลังทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน

๒. เมตตาวจีกรรม หมายถึง การกระทำโดยทางวาจาที่ประกอบไปด้วยความเมตตาต่อผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง การกระทำโดยทางวาจา ได้แก่ การไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยวาจา เช่นไม่พูดจาให้ร้ายผู้อื่น ไม่ใช้คำพูดทำร้ายผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย ด้วยการโกหก ให้ผู้อื่นเสียหาย การใช้คำพูดส่อเสียด ถากถาง เยาะเย้ยหรือกล่าวโทษผู้อื่นโดยไม่เป็นความจริง

๓. เมตตามโนกรรม หมายถึง การกระทำทางใจหรือความคิดที่ประกอบด้วยความเมตตา อันได้แก่ การคิดที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง การคิดถึงผู้อื่นในทางที่ดี ย่อมส่งผลให้การกระทำทางกาย วาจา ทางวาจาดีไปด้วย จึงส่งผลให้หมู่คณะมีความสุขความเจริญตามไปด้วย

๔. สาธารณโภคี หมายถึงการรู้จักแบ่งปันทรัพย์สินที่ตนหามาได้ ด้วยความชอบธรรมให้แก่ผู้ต้องการในโอกาสอันสมควร การรู้จักแบ่งปันทรัพย์สินหรือสิ่งของของตนให้กับบุคคลที่ขาดแคลนนั้นเป็นการกระทำที่ช่วยให้เกิดความรักใคร่ ตัวอย่างของสาธารณโภคีคือ การให้เพื่อยืมสิ่งของเครื่องใช้การบริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของให้กับผู้ประสบภัยต่าง ๆ การบริจาคเงินแก่ผู้ที่ขาดแคลน การให้สิ่งของแก่ผู้ที่หิวโหยเป็นต้น

๕. สีลสามัญญตา หมายถึง การรักษาศีลให้สม่ำเสมอ หรือเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ การรักษาศีลให้เสมอกับคนอื่น ๆ ศีลในพระพุทธศาสนามีหลายระดับ เช่น ศีลของคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน) ศีลของเพศบรรพชิต เป็นต้น

๖. ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึงการมีความเห็นร่วมกับคนอื่นในทางที่ถูกต้อง ไม่ขัดแย้งกับเพื่อนด้วยมิจฉาทิฏฐิของตน รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสอน โดยได้ตรัสกล่าวแด่เหล่าภิกษุและพุทธสาวกทั้งหลายว่า หลักธรรม และความรู้ทั่วจักรวาลนี้ ไม่มีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไม่รู้ แต่พระพุทธองค์นั้นจะหยิบและนำมาสั่งสอน แต่สิ่งที่ทำให้ลด ละ เลิก ในอกุศลทั้งปวง สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นจะมีเพียง ๒ เรื่อง คือ ความทุกข์ และหนทางนำไปสู่ความพ้นทุกข์เท่านั้น ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น ทุกหมวด ทุกหลักธรรม เปรียบเสมือนถนนสายต่างๆ ที่มุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายคือ ความพ้นทุกข์ (นิพพาน)นั่นเอง และหลักธรรม สาราณียธรรมเป็นธรรมที่เป็นอมตะ สามารถนำมาใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เมื่อมีเหตุการณ์ที่เหมาะสม จึงควรนำมาประพฤติปฏิบัติ

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

หลักธรรมในหัวข้อสาราณียธรรมนี้ จะประกอบไปด้วยคำว่า เมตตานำหน้า ถึง ๓ ข้อ คือ เมตตากาย-วจี-มโน กรรม มีคำที่กล่าวไว้ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ฉะนั้น เมื่อใจมีเมตตา จะถูกสั่งออกมาให้แสดงออกทาง กาย และวาจา เมื่อมีการคิดดี พูดดี และแสดงออกมาทางการกระทำที่ดี ก็จะทำให้สังคมดีตามเป็นเหตุและเป็นปัจจัย ซึ่งกันและกัน ส่วนในข้อที่ ๔ คือ การมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปันในสิ่งของ หรือทรัพย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สุจริต ให้แก่ เพื่อนผู้ยากไร้ ผู้ซึ่งเป็น เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บและตาย อยู่ในวัฏฏะนี้ เพื่อแบ่งเบา ความทุกข์ยาก และช่วยเหลือ ตามความเหมาะสม ข้อที่ ๕ การถือศีลให้เป็นปรกติ คือ ศีลคือความปรกติ ฉะนั้น เราควรที่จะถือปรกติ ไม่สร้างความไม่ปรกติ ซึ่งการถือศีล ๕ เป็นศีล ที่ชาวพุทธ ควรจะน้อมนำไปปฏิบัติให้เป็นปรกติ ตลอดเวลา ข้อสุดท้าย คือ ข้อ ๖ การมีทิฏฐิที่ถูกต้อง ดังคำที่เราชาวพุทธ ได้ยินได้ฟังกันอยู่บ่อยๆ ว่า จะต้องเป็นคนมีสัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นถูกต้อง ข้อนี้เป็นข้อที่มีความสำคัญมาด เพราะถ้าเราเป็นมิจฉาทิฎฐิ เสียแล้ว ก็จะทำให้ตกไปสู่โลกที่ชั่ว ในอริมรรค มี องค์ ๘ พระพุทธเจ้าได้ นำ ข้อ สัมมาทิฏฐิ ขึ้นเป็นอันดับแรก เพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เหมือนกับเข็มทิศ ถ้าเราจะไปเหนือ แต่ไปผิดทาง ไปทิศใต้โดยไม่รู้ตัว และก็ยังเข้าใจว่า มาถูกทางแล้ว จึงเป็นสิ่งที่อันตรายมาก และเป็นอันตรายต่อตัวเอง และบุคคลรอบข้าง

ในหลักสาราณียธรรม เป็นหลักธรรมที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกับอย่างปรกติสุข และช่วยเหลือเอื่อเฟื้อต่อกันและกัน แด่ทุกคนรอบข้าง และเป็นหลักธรรมที่เป็นคุณต่อตนเอง โดยการปูพื้นฐานจากการช่วยเหลือผู้อื่น เป็นพื้นฐานด้วย การให้ทาน และสูงขึ้นไป คือ การรักษา ศีล (เป็นการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรยิ่งๆขึ้นไป และ เมื่อถือศีลแล้ว ก็จะเป็นบาทนำไปสู่ การเจริญภาวนา ให้เกิดปัญญา เพื่อความเห็นที่ถูกต้อง คือ สัมมาทิฎฐิ เป็น หลักข้อแรกของอริมรรค มีองค์ ๘ เมื่อปัญญาบารมีแก่กล้า ก็จะเข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน ฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่า ด้วยหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ทุกหัวธรรม มีจุดมุ่งหมายคือ พระนิพพานทั้งสิ้น เพียงแต่เราจะมีความสามารถเข้าใจ หลักการได้อย่างถ่องแท้ และนำไปปฏิบัติตามได้หรือไหม

ในบทความที่กล่าวมานี้ จะทำให้เราเข้าใจได้ว่า หลักธรรม “สาราณียธรรม ๖” เป็นหลักธรรมที่ทำให้มีความเคารพ นับถือช่วยเหลือกันและกันและสามัคคีพร้อมเพรียงกัน อันจะทำให้คนสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขได้ โดยเริ่มต้น จากตัวของเราก่อนคือ ใจของเรามีความสุข เพราะได้ช่วยเหลือคนอื่น โดยการแสดงออกมาทาง กาย และวาจา จนสามารถแผ่รังสีแห่งความมีเมตตาให้แก่บุคคลรอบข้าง เมื่อตัวเรามีความสุขแล้ว จึงทำให้ครอบครัวมีความสุข มีความเข้าใจกัน เห็นใจกัน และค่อยทีค่อยอาศัย เมื่อครอบครัวมีความสุข ก็จะทำให้เพื่อนบ้านมีความสุข และเป็นมิตรต่อเรา สุดท้ายก็จะทำให้สังคมชุมชน มีความสุข สุดท้ายก็จะทำให้ประเทศมีความสุขด้วย และทำให้ประเทศไทย กลับมาเป็น สยามเมืองยิ้ม ได้อย่างเต็มภาคภูมิใจ เพราะใจเรามีความสุข จะแสดงออกมาทางหน้าตา และกริยามารยาท ดังคำที่ว่า ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ ความสุข ความเป็นคนมีใจโอบอ้อมอารี และมีน้ำใจ จะถูกแสดงออกมาจากใจที่บริสุทธิ และพร้อมที่จะช่วยเหลือบุคคลรอบข้างอย่างแท้จริง

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

มีคำกล่าวว่า พระธรรม เป็น สิ่งที่เป็นอมตะแท้แน่นอน ทนต่อกาลเวลา สามารถพิสูจน์ได้ ไม่จำกัด กาล และเวลา (อะกาลิโก เอหิปัสสิโก) ในยุคไหน สมัยไหน ได้ชื่อว่าเป็นบุคคล ตัวตน มีอุปาทานขันธ์ ก็มีกิเลสเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นคนยุคไหน สมัยไหน จะเป็นพระราชา จนถึงยาจก ไม่พ้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร แต่ใจคน ซิที่แตกต่างไป คือ ใจคนเรา เหมือนน้ำ คือ ชอบไหลไปสู่ที่ต่ำเสมอ ฉะนั้น เราเป็นลูกศิษย์ของตถาคต จะต้องปฏิบัติตาม หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ ทรงให้หลักการ และแนวทาง เอาไว้ให้แล้ว เราควรที่จะปฏิบัติตาม อย่างไม่ ลังเลหรือสงสัย

ยุคเกษตรกรรม และยุควัตถุนิยม จะมีข้อแตกต่างกันเพียง เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเครื่องที่ช่วยอำนวยความสะดวกทางด้านร่างกายมากขึ้นเท่านั้น การติดต่อและสื่อสารจะทำได้ง่ายและรวดเร็ว ฉะนั้น เราควรที่จะนำข้อดี ของการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ให้ถูกต้อง และเหมาะสม เราจะได้ประโยชน์จากความทันสมัย ในด้านข้อมูลข่าวสาร และอินเตอร์เน็ตที่ช่วยเราได้มาก ดังเช่น ข้อมูลที่เราใช้ค้นหา ความหมายของ สาราณียธรรม สามารถหาข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ก็ได้ความหมายแล้ว แต่ถ้าเราได้รู้แค่ความหมาย แต่ไม่เข้าใจ ไม่นำมาปฏิบัติจนทำให้เกิดประโยชน์ แก่ตนเอง และผู้อื่น และสังคมรอบข้าง ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย สำหรับความทันสมัย ฉะนั้น ตอบได้เลยว่า ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน จะเป็นยุคเกษตรหรือยุควัตถุนิยม ก็แล้วแต่ หลักธรรม “สาราณียธรรม ๖” เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องใช้โยนิโสมนัสการในคำสอนของพระพุทธเจ้า หลักธรรม “สาราณียธรรม ๖ เป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาใช้ให้เห็นผลได้ ดังที่ได้อธิบายข้างต้นแล้ว เพียงแต่เราจะต้องนำไปใช้อย่างแท้จริง มิใช่เรียกร้องกันแต่ปาก หรือโหยหา แต่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และท่องหลักธรรมได้อย่างคล่องแคล้วและถูกต้อง เหมือนนกแก้วนกขุนทอง แต่ไม่เคยนำมาปฏิบัติกันอย่างจริงจัง จึงขอฝากพุทธบริษัท ๔ ให้ช่วยกันเป็นเรี่ยวแรง ให้พระพุทธศาสนา ให้รักษาหลักธรรมคำสอนที่ดี และถูกต้องนั้น นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆใน สังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร

โครงสร้างของครอบครัวไทยในอดีต เป็นลักษณะครอบครัวใหญ่ มีปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ พี่น้อง อา พี่สะใภ้ น้องสะใภ้ หลาน เหลน และจำนวนสมาชิกอีกมาก เป็นสังคมที่อบอุ่น ช่วยกันดูแลกันและกัน อาศัยซึ่งกันและกัน มีอาหาร กับข้าวกับปลา ก็แบ่งกัน ช่วยกันเกี่ยวข้าว ลงแขก ช่วยกันทำงานบุญที่วัดใกล้บ้าน และช่วยกันเป็นหูเป็นตาของกันและกัน

ในปัจจุบันโครงสร้างของครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว และที่สำคัญคนหนุ่มสาวได้ทิ้ง แหล่งที่อยู่เดิม เข้ามาทำงานในเมืองเป็นการถาวร โดยไม่กลับไปเหลียวแล ผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านนอก ทำให้เกิดปัญหาตามมาเป็นอันมาก เช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลลูก ทำงานหาเงิน เพราะมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น การใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย เป็นปัจจัยหลัก เกิดปัญหาสังคม เด็กขาดความอบอุ่น กลายเป็นเด็กเกเร และในที่สุด ก็ไม่ไปโรงเรียน และสร้างปัญหาให้แก่สังคม เป็นการซ้ำเติมสังคม

ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ใน ขณะนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่เด็กในอดีต ไม่ได้รับการศึกษาทั้งทางโลก และไม่ได้รับการศึกษาทางธรรม จึงไม่มีความรู้ จึงตกเป็นเครื่องมือของคนไม่ดี และอีกประการหนึ่งคือ เด็กในอดีตเป็นเด็กที่ขาดความอบอุ่น ไม่ได้รับการสั่งสอนที่ถูกต้อง ไม่รู้จักเคารพบุคคลที่ควรเคารพ ไม่เข้าใกล้สมณะ และไม่ได้ฟังธรรมที่เหมาะสม จึงเป็นที่มาของการเกิดอวิชชาที่ครอบงำ ตั้งแต่เล็กจน โต จนปัจจุบันกลายมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีคุณภาพในวันนี้ และเป็นพ่อแม่ของเด็กในปัจจุบัน จึงทำให้สังคมเกิดปัญหาที่แก้ได้ยาก เพราะมีกลุ่มคนที่มีอวิชชามาก กว่ากลุ่มคนที่เข้าใจในกฎของหลักธรรม อย่างเช่น สาราณียธรรม๖ เป็นต้น

ถามว่า ความผิดพลาดในอดีต เป็นครูของเราในวันนี้ การที่เราหว่านพืชเช่นไร ก็ได้ผลเช่นนี้ เป็นสัจจธรรม ที่เราจะพึ่งสังวรว่า ความผิดพลาดนี้ เราจะต้องได้รับการแก้ไข โดยต้องเข้าใจในความหมายของหลักธรรมเสียก่อนว่า หมายถึงอะไร อย่างไร แล้วปฏิบัติแล้วจะได้อะไร จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน แล้ว สามารถแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อเราเริ่มศึกษาและปฏิบัติ และวัดผล เราจะรู้ว่าหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งวิเศษ เป็นยาบำบัด ขนานเอก สามารถแก้โรค ทาง กาย และทางใจ ได้เห็นผล สิ่งแรกการที่เราจะนำเอาหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้นั้น เราจะต้องเริ่มต้นที่ตัวของเราก่อน เป็นอันดับแรก แล้วเราจะใช้ตัวของเราเป็น Presenter การที่คนเราเกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น จะทำให้บุคคลรอบข้างเห็น และแปลกประหลาดใจ จนต้องมาพิจารณาว่า เกิดอะไรขึ้นกับเรา ทำไม เราจึงเป็นคนที่มี วาจาที่ไพเราะ (เมตตาวจีกรรม) ทำไม เราเป็นคนที่โอบอ้อมอารีย์ ช่วยเหลือบุคคลที่ต่ำกว่าเรา (เมตตากายกรรม) สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากจิตที่มีความปรารถนาที่อยากจะให้คนอื่นปราศจากความทุกข์ (เมตตามโนกรรม) เมื่อมีโอกาสเราจะรีบหยิบยื่นทรัพย์สิน หรือสิ่งของแก่ผู้ตกยากหรือลำบากจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น บริจาคเงินช่วย ผู้ที่ประสบเหตุ ซึนามิ หรือ บริจาคเลือดให้แก่สภากาชาด เพื่อช่วยคนเจ็บจากซึนามิ เป็นต้น (สาธารณโภคี) และหลักธรรม เรื่อง การถือศีล ซึ่งถือว่าจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจสูง ยกระดับจิตใจขึ้น และเราจะเกิดสัมมาทิฏฐิ เป็นแนวทางให้เราคิดถูก เห็นถูก และปฏิบัติถูก จากข้อความที่กล่าวมาแล้วนี้ เราจะต้องทำก่อน และทำเลย ไม่ต้องรอว่า คนอื่นทำรึยัง ให้คนอื่นทำ แล้วเราค่อยทำ ซึ่งเราจะต้องคิดว่า เราเป็นฟันเฟืองชิ้นหนึ่ง ที่มีความสำคัญ สิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเอง และคนรอบข้าง เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเราจะต้องเริ่มที่ตัวของเราก่อน และจะจุดประกาย เหมือนเราจุดเทียนต่อให้คนอื่น เป็นทอดๆ จากเทียนเล่มเดียวกลายเป็นเทียนที่สว่างทั้งประเทศฉันใด ก็จะก่อให้เกิดพลังที่เปลี่ยนแปลงประเทศได้ฉันนั้น

สรุปคือ เราจะต้องเริ่มต้นปฏิบัติตามหลักสาราณียธรรม ๖ จาก ตัวของเราก่อน ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จากตัวของเรา เป็นเหมือนฟันเฟืองตัวหนึ่ง ซึ่งขับเคลื่อนฟันเฟืองตัวอื่นๆ ด้วยแรงอันน้อยนิดของเรา จนสามารถทำให้ สมาชิกภายในบ้านของเรา เป็นฟันเฟือง ตัวต่อๆ ไป จน เริ่มขยายสู่หมู่บ้าน จากหมู่บ้านไปสู่ตำบล จากตำบลไปสู่อำเภอ และจากอำเภอไปสู่จังหวัด และสุดท้าย ก็นำไปสู่ประชากรทั้งประเทศ ซึ่ง เปรียบเสมือนการต่อเทียน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

สุดท้ายนี้จึงอยากจะเชิญชวนทุกท่าน ให้เริ่มปฏิบัติตนตาม หลักสาราณียธรรม ๖ ตั้งแต่ตอนนี้ และเดี๋ยวนี้เลย เพื่อความเจริญในธรรมของตนเอง และคนรอบข้าง ขอความเป็นผู้มี อายุ วรรณะ สุขะ พละ จงมีแด่ทุกท่าน ทุกคน ทุกตน ด้วยเถอะ

นายสันทิส สอนมูลปิ่น นิสิตป.โท (ภาคพิเศษ) รุ่นที่๒๒ พระพุทธศาสนา

๑.เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเรา ทั้งๆที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้นี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร(ที่มา)

ที่มาของสาราณียธรรมมีใน พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]ได้แก่ โกสัมพิยสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยภิกษุชาวเมืองโกสัมพี วิวาทกัน สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นพวกภิกษุในกรุงโกสัมพีต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ไม่ทำความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาปรับความเข้าใจกัน ไม่ทำความปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน พระผู้มีพระภาคจึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายเกี่ยวกับ สาราณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

สาราณียธรรม ๖ ประการได้แก่

๑. เมตตามโนกรรม หมายถึง การคิดดี มองกันในแง่ดี มีความหวังดี ปรารถนาดี มีความรักความเมตตาต่อกัน ละเสียซึ่งความอิจฉาริษยา อคติ พยาบาทอาฆาต โกรธแค้นไม่รู้จักจบสิ้น รู้จักให้อภัยต่อกัน จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คนเราเมื่อจิตใจดี ไม่มีมิจฉาทิฐิครอบงำ ย่อมมีสมองที่ปลอดโปร่ง เมื่อโปร่งแล้วก็สามารถคิดสิ่งที่ดี ๆ สร้างสรรค์ให้เจริญงอกงามทั้งต่อตัวเองและสังคมที่ตนเองอยู่ร่วมได้เป็นอย่างดี

๒. เมตตาวจีกรรม หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดให้กำลังใจกันและกัน พูดด้วยความรักความปรารถนาดีต่อกัน ในยามที่เพื่อนร่วมสังคมประสบกับความทุกข์ ความผิดหวัง หรือปัญหาต่าง ๆ ควรพูดแนะนำแต่สิ่งที่ดี หากไม่มีความสามารถที่จะแนะนำอะไรได้ ก็ไม่ควรพูดซ้ำเติม หรือนำไปนินทา ไม่ว่าจะเป็นต่อหน้าหรือลับหลัง ถ้าคนกำลังอยู่ในอารมณ์โกรธ ก็ต้องรู้จักพูดให้เขาลดความโกรธลง ไม่ใช่พูดเติมเชื้อความโกรธให้มากขึ้นไปอีก อย่างนี้ใช้ไม่ได้ นอกจากนี้ คำพูดของตัวเองที่ออกไปจากปาก ควรกลั่นกรอง คิดก่อนที่จะพูด ว่าพูดไปแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคนอื่น หรือต่อสังคมหรือไม่ และต้องรู้จักรักษาคำพูดของตนเองด้วย ที่สำคัญต้องไม่พูดโกหก คนเราถ้าพูดแต่ความจริง มันไม่ต้องจำ พูดกี่ที ๆ มันก็เหมือนเดิม แต่ถ้าพูดโกหกแล้วต้องจำ จำว่าคราวที่แล้วโกหกไว้อย่างไร แล้วคราวนี้จะโกหกอย่างไร นี่ถ้ารู้จักคิดดี มันก็ต้องพูดดี แล้วก็ทำดีด้วย

๓. เมตตากายกรรม หมายถึง การทำความดีต่อกัน ให้ความสนับสนุนทางด้านกำลังใจและคำพูดแล้ว ก็ต้องรู้จักให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังกายด้วย ในสังคมที่อยู่ร่วมกัน ต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน มีสัมมาคารวะ ไม่ไปเบียดเบียนหรือใช้กำลังข่มเหงผู้อื่น ไม่ใช้กำลังแก้ไขปัญหา เรียกว่าทำอะไรให้ถูกต้องกาลเทศะ เสมอต้นเสมอปลาย ทำอะไรไม่ได้ ก็อย่าทำตัวเป็นภาระของสังคม

๔. สาธารณโภคี หมายถึง การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามอัตภาพ ไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร แม้จะมีช่องทางให้ทำได้ก็ตาม

๕. สีลสามัญญตา หมายถึง การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสังคมที่ตนเองอยู่ร่วม รู้จักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่บ้าอำนาจ หรือถือตนว่าตัวเองยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น

๖. ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึง ไม่ยึดถือความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ฝ่ายเดียว เมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม ต้องรู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่นบ้าง ของสังคมโดยรวมบ้าง เมื่อความคิดเห็นของตัวเองแตกต่างจากคนหมู่มาก ก็ต้องหันมาพิจารณาดูตัวเอง ปรับมุมมอง ทัศนคติของตัวให้เข้ากับคนหมู่มาก เรียกว่ารู้จักแสวงหาจุดร่วมและสงวนไว้ซึ่งจุดต่าง

หลักธรรมทั้ง ๖ ข้างต้นนี้ เป็นเพียงพื้นฐานที่ธรรมดามาก ๆ พระพุทธองค์ทรงนำมาสั่งสอนก็เพื่อให้มนุษย์ทุกคนนำเอาหลักธรรมนี้ไปประพฤติปฏิบัติ หากทุกคนยอมรับและสามารถปฏิบัติได้ ปัญหาความวุ่นวายต่าง ๆ ในสังคมจะไม่เกิดขึ้น ความสงบสุขก็เป็นสิ่งที่ไม่ยากแก่การพบเจอ พูดง่าย ๆ ก็คือ สังคมของเราในปัจจุบันนี้ จะมีความสงบสุขและน่าอยู่มากกว่าที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้

๒.หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออกและการแบ่งปัน(สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัวและการดำเนินชีวิต

การนำหลักสาราณียธรรมมาใช้ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวกแก่คนรอบข้างในได้ ทั้งนี้การที่เรารู้จักที่จะปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเมตตาทั้งในทางกาย วาจา และใจนั้นจะช่วยให้คนรอบข้างรู้สึกถึงความเป็นมิตรความมีไมตรีจิต ความที่รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว จักช่วยให้ทุกคนที่พบเห็นเกิดความสบายใจ ซึ่งทำให้ชีวิตในการทำงาน ชีวิตครอบครัวมีแต่ความสงบสุข

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

ในสังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่มุ่งแต่การเอารัดเอาเปรียบต่อกันและกัน มีแต่การแข่งขันเพื่อสนองความต้องการของตนเอง ดังนั้นถ้ามนุษย์ไม่นำเอาหลักสาราณียธรรมมาใช้ มนุษย์ก็จะพบแต่ความวุ่นวายในสังคม ไม่สามารถสร้างความสุขที่แท้จริงได้ ไม่ว่าจะยุคไหนหลักธรรมนี้ก็ยังใช้ได้อยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่ยังไม่เกิดปัญญา ปัญหาในสังคมโลกก็จะยังแก่ต่อไป รังแต่จะเห็นแก่ตัวมากขึ้นทุกวัน

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร

สังคมไทยเป็นสังคมเครือญาติ เกิดความผูกพัน ห่วงใยดูแลทุกข์สุขกันเป็นสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นที่ต้องอุปการะเกื้อกูลกันสังคมในสมัยใหม่ยังไม่ทั่วถึง มีการรวมตัวกันง่ายกว่าชุมชนเมือง ซึ่งมีกลุ่มอาชีพผลประโยชน์แตกต่างกัน ส่วนสังคมการที่คนเราจะต้องใช้ปัญญา คือ จะต้องใช้ปัญญานั้นบนพื้นฐานของเมตตา หมายความว่าใช้ปัญญา คนไทย ได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีเมตตา ใจดี โอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ยิ้มเก่ง เราเคยภาคภูมิใจในคำว่า “ ยิ้มสยาม “ อันเป็นเอกลักษณ์ที่ชาวโลกเขายกย่อง แต่จากการที่คนไทยไม่ใส่ใจกับการประพฤติตนที่ดีจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนต่างๆเห็นแก่ตัว ชิงดีชิงเด่น เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ความสัมพันธ์ก็ไม่เกิดขึ้น แต่ถ้ามีหลักสาราณียธรรม ก็จะช่วยให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ชยานันต์ ศรีสุบัติ

ตอบโจทย์ข้อ ๑.

จากคัมภีร์ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

คนผู้เป็นส่วนร่วมที่ดีของหมู่ชน

๑. เมตตากายกรรม เราประพฤติทางกาย ประกอบด้วยเมตตา

๒. เมตตาวจีกรรม เข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วย เมตตา

๓. เมตตามโนกรรม เข้าไปตั้งมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา

๔. สาธารณโภคี แบ่งปันสิ่งที่ตนได้มาโดยชอบธรรม

๕. สีลสามัญญะ ให้มีศีลเสมอกับเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกัน

๖. ทิฎฐิสามัญญตา มีความเห็นเสมอกันไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน

(ที.ปา. ๑๑/๓๑๗/๒๕๗)

สรุปได้ว่า ใบไม้จำนวนมากที่มีอยู่ในป่า หมายถึง ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงรู้นั้นมีมากแต่พระองค์เลือกที่จะนำมาสอนแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังเช่น หลักธรรมสาราณียธรรม ๖ ประการ ดังกล่าว

หลักธรรมนี้มีความสำคัญมากในสังคมไทยปัจจุบันที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและเผ่าพันธุ์ ซึ่งมีความรุนแรงมีการเอาเปรียบและเห็นแก่ตัว ขัดแย้งกัน มีความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกัน ในสังคม ซึ่งเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม และวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีความสลับซับซ้อนและเกิดความแตกแยก แบ่งฝ่ายกันอย่างเห็นได้ชัดเจนซึ่งมีผลกระทบต่อความสุขของมวลมนุษยชาติเป็นอย่างมาก หรือแม้แต่พระพุทธศาสนาเองในประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงจากพุทธศาสนาดั้งเดิม เช่น ศาสนาถูกลดบทบาทลง มีความหลากหลายของพุทธศาสนาในเมืองไทย มีการจัดตั้งสำนักที่แตกต่างมีการสอนหลายแนว อันมีความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปและประพฤติปฏิบัติในทางที่ผิด มีการประกอบอาชีพในทางที่ผิด ขายวัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง สร้างอิทธิฤทธิ์ไปทางพิธีกรรม ไสยศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้ประชาชนเกิดความศรัทธาต่อคณะสงฆ์น้อยลง ดังนั้นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทและความสำคัญมาก ตอบสนองความต้องการส่วนลึกของผู้คนและมีพลังสร้างความศรัทธาการสร้างสรรค์สังคม การจัดระเบียบ ให้กับสังคมปัจจุบัน

ดังนั้น กล่าวได้ว่าหลักธรรม “สาราณียธรรม”เพียงกำมือเดียวที่พระองค์ท่านเลือก มีความสำคัญที่พระทรงเลือกสั่งสอนและมีประโยชน์เป็นอันมากในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ในสังคมไทยหรือในโลกนี้ก็ย่อมมีแต่ความสันติสุขและมีความสามัคคีกัน สาราณียธรรมเมื่อบังเกิดขึ้นที่ใดย่อมมีความสุขของแต่ละฝ่าย แต่ละหมู่ หากกลุ่มใดประกอบด้วยคุณธรรมทั้ง ๖ อย่างนี้ สังคมนั้นก็เกิดความน่าอยู่มีความรัก เมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความอบอุ่น สังคมเต็มไปด้วยความสงบสุขไม่มีการเบียดเบียน ไม่เอาเปรียบกัน เห็นแก่ตัวหรือขัดแย้ง โดยเฉพาะ ทิฎฐิสามัญญตา คือความเห็นเสมอกัน เมื่อบุคคลรวมกันอยู่ เราต้องเอาความเห็นที่เสมอกันนำมาใช้เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง มีความเห็นเป็นอันเดียวกัน อย่างเช่นเห็นพร้อมด้วยธรรมะ การเห็นด้วยธรรม ทุกคนมีความเคารพเชื่อในพระธรรม เห็นคุณค่าของพระธรรมด้วยความเสมอกัน ประพฤติปฏิบัติตามบุคคลในสังคมนั้นก็จะดำเนินชีวิตการอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ตอบโจทย์ข้อ ๒. หลักการสาราณียธรรม (การคิด พูด แสดงออกและการแบ่งปัน)

สาธารณะโภคี การปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตา มีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้าง

สาธารณะโภคีในการทำงาน การทำงานเพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมและประโยชน์สุขเพื่อตัวเองจะต้องมีความศรัทธาและเห็นคุณค่าในงานที่เราทำ ต้องมีการพัฒนาและมีศักยภาพในผลงานที่ได้กระทำซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญมีผลต่อคนรอบข้างในสังคมด้วยความจริงใจทั้งการคิด การพูดการแสดงออกและการแบ่งปัน อันเป็นรากฐานที่มั่นคงของความสัมพันธ์ที่ดีงาม การแสดงความซื่อสัตย์ต่อกันมีการฝึกฝนปรับปรุงตนในการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นจะเห็นได้ว่าบุคคลที่มาอยู่ร่วมกันนั้นย่อมมีอุปนิสัยใจคอและการสะสมประสบการณ์มาไม่เหมือนกันแต่เมื่อมาอยู่ร่วมกันแล้วย่อมต้องปรับตัวเข้าหากัน เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นต้องใช้สติพิจารณา ใช้สันติวิธีด้วยความสงบ ข่มใจ รักษาน้ำใจ สร้างความสามัคคี ปรับเปลี่ยนเข้าหากัน ดังนั้น หลักสาธารณะโภคี การแบ่งปันสิ่งที่ตนได้มานั้นโดยชอบธรรม หากรู้จักใช้ปัญญาถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นปัจจัยเกื้อหนุนชีวิต พัฒนาชีวิตการอยู่ร่วมกันกับคนที่หลากหลายได้ด้วยความดีงามทั้งการทำงาน ครอบครัวและการดำเนีนชีวิตมีแต่ความเจริญก้าวหน้า

ตอบโจทย์ข้อ ๓. สถานการณ์สังคมปัจจุบัน หลักการนี้พระพุทธเจ้าเคยตรัสในยุคเกษตรกรรมแต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อน

สรุปได้ว่า สังคมไทยปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วด้วยวิทยาการสื่อสาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการเผยแผ่ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมขึ้นเรียกว่ายุคโลกาภิวัตน์ หรือความหลากหลายที่สลับซับซ้อนระบบเศรษฐกิจเปิดกว้างเป็นระบบการค้าเสรีที่เรียกว่า “ยุคไร้พรมแดน” สังคมไทยถูกครอบงำด้วยกระแสทุนนิยมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญผลักดันให้เกิดวัฒนธรรม “บริโภคนิยมและวัตถุนิยม” พฤติกรรมทัศนคติของแต่ละปัจเจกบุคคลด้วยอำนาจนิยมการเสพบริโภควัตถุเป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์เกิดความโลภ แสวงหาผลประโยชน์ หลักการสาราณียะธรรม ๖ ประการไม่สามารถต่อต้านการตอบสนองความต้องการของมนุษย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยกระแสอำนาจโลกาภิวัตน์ที่ยึดคุณค่าไปทางวัตถุ มีการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ถูกต้อง ซึ่งเกิดผลกระทบและปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้สังคมไทย

พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยตกอยู่ในยุคกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนั้น

พระพุทธศาสนาควรเกื้อกูลมนุษย์โดยนำหลักธรรมคำสั่งสอนมาช่วยแก้ปัญหาสังคม พระสงฆ์

ควรมีบทบาททางด้านสังคมมากขึ้น สงเคราะห์ช่วยเหลือชุมชนที่ด้อยโอกาสมากขึ้น ทำประโยชน์

สร้างประโยชน์ปรับปรุงบทบาททางสังคมต่อต้านอิทธิพลของบริโภคนิยม และวัตถุนิยมและเห็นค่าของเงินมีความสำคัญเหนือสิ่งใด พระพุทธศาสนาควรเน้นเรื่องคุณธรรม ศีลธรรม การเห็นแก่ส่วนรวม การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การให้อภัยเช่น สังคหวัตถุ ๔ ฆราวาสธรรม ๔ รวมทั้งบุญกริยาวัตถุ ๑๐

ตอบโจทย์ข้อ ๔.

สรุปได้ว่า เราสามารถนำหลักการ “สาราณียธรรม” มาปรับปรุงใช้ให้สอดรับกับการเป็นไปของสังคม (เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม)

ค่านิยมในสังคมถือได้ว่ามีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มต่าง ๆ ดังนั้นสิ่งที่ควรนำหลัก “สาราณียธรรม” มาแก้ปัญหาให้ถูกต้องในสังคม

เพื่อให้สอดคล้องกับกฎแห่งความเป็นจริง ดังนั้นต้องอธิบายสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจมีความเชื่อมั่นตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ มีความคิดเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริงควรมีความรู้ ความเข้าใจมีการแบ่งแยกอะไรเป็นสิ่งที่ดี ที่ควรกระทำสิ่งไหนเป็นสิ่งชั่วไม่ควรกระทำหรือควรละเว้น อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดมีประโยชน์ มีคุณค่า ควรแก่การยึดถือประพฤติปฏิบัติมีการพัฒนาตัวเองให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในชีวิตทุกด้าน สร้างวิถีชีวิตที่ดีของสังคม ของชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม ตามหลักเหตุผลสร้างศีลธรรมอันดีงามไม่ให้เกิดความขัดแย้งเอารัดเอาเปรียบระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ดังนั้นสังคมจะมีความมั่นคงและเจริญก้าวหน้าโดยนำหลักธรรมดังกล่าวนี้มาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนี้

๑.๑ เมตตากายกรรม การกระทำต่อกันด้วยเมตตา คือแสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชนด้วยการช่วยเหลือกิจธุระต่าง ๆ โดยความเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่กัน มีความรักเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่น

๑.๒ เมตตาวจีกรรม พูดต่อกันด้วยเมตตา คือช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอนหรือแนะนำ ตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพอ่อนโยน แสดงความเคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความเมตตาที่เกิดจากความจริงใจ มีความเมตตาที่บริสุทธิ์ ที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นตามที่ตนเองกระทำได้ และช่วยเหลือได้ ใช้คำพูดด้วยความไม่ประมาท ไม่พูดเหลวไหล พูดเพ้อเจ้อ พูดหลอกลวงคนอื่น หรือพูดในสิ่งที่ไร้สาระ พูดหรือคิดสิ่งใดก็ให้ถูกต้องตามหลักศีลธรรม

๑.๓ เมตตามโนกรรม ติดต่อกันด้วยเมตตา ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งใดที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่กันมองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน

๑.๔ สาธารณโภคี ได้มาแบ่งกันกินใช้ คือการแบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อยก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วถึงกัน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนรวมมีความเอื้อเฟือเผื่อแผ่เกื้อกูลกัน

๑.๕ สีลสามัญญตา ประพฤติให้ดี คือมีความประพฤติสุจริตดีงามรักษาระเบียบวินัยของส่วนรวมไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจหรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ การอยู่ร่วมกันต้องปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงามไม่กระทำหรือปฏิบัติไปในทางที่เสื่อมหรือสร้างความชั่วที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้น ดังนั้นการปฏิบัติดีถือ ได้ว่าเป็นคุณค่าสมควรยกย่อง เป็นตัวอย่างในสังคม

๑.๖ ทิฎฐิสามัญญตา ปรับความเห็นเข้ากันได้ ต้องมีความเคารพรับฟังความคิดเห็นกัน มีความเห็นชอบร่วมกัน ตกลงกันได้ในหลักการสำคัญยึดถืออุดมคติหลักแห่งความดีงาม หรือจุดมุ่งหมายสูงสุดคืออันเดียวกัน

ดังกล่าวทั้งหมดนี้ เป็นการแก้ปัญหาในสังคมไทยปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง ที่มีความหลากหลายและรุนแรงหรือการขัดแย้งกัน หลักธรรมดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่งในการอยู่ร่วมกันในสังคมหากปฏิบัติตามสังคมย่อมพบแต่ความสันติสุข ความสามัคคีกันไม่เอาเปรียบกัน ไม่เห็นแก่ตัว ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนให้คนเป็นคนดีส่งเสริมคุณค่าของคน ยกระดับแห่งชีวิตของตนให้สูงขึ้นมีความงามทั้ง ๓ ด้าน คือ กายกรรม(งามกาย) วจีกรรม(งามคำพูด) มโนกรรม

(งามน้ำใจ)

ด้วยความเคารพ

ชยานันต์ ศรีสุบัติ นิสิตภาคพิเศษ

เจริญพร โยมจันจิรา, ชัยเนตร, ทองแสง, สุข, อภิญญา, กชกร, พรชัย, สันทิส, และโยมชยานันต์

ขอบใจมากสำหรับการศึกษาค้นคว้า ย่อยความคิด และนำมาแบ่งปัน (Knowledge Sharing:KS) กับพวกเรา พระอาจารย์ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย จากมุมมองที่พวกเรานำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นเรื่อง การแบ่งปันทรัพยากร การแบ่งปันความสุข และความทุกข์ต่อเพื่อนร่วมโลก 

ปัจจุบันนี้ มนุษยชาติต้องการสรรพสิ่งอย่างไร้ขีดจำกัด แต่เป็นเพราะทรัพยากรมีจำกัด เราจึงต้องแย่งชิงกันอย่างหนักหน่วงและรุนแรง  ปัญหาคือ เราไม่สามารถที่จะขยายพื้นที่ของทรัพยากร และผลประโยชน์ได้ อีกทั้ง เราต่างก็ปรารถนาที่จะยึดครองทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  อีกทั้งเราต่างก็ปรารถนาในสิ่งเดียวกัน สถานการณ์ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น

เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่เราไม่สามารถที่จะเจรจากันเอง หรือหาคนกลางมาช่วยเจรจาเพื่อประนีประนอมผลประโยชน์ให้เกิดความพึ่งพอใจได้ ความขัดแย้งดังกล่าว จึงขยายวงออกไปสู่ความรุนแรงดังเช่นหลายๆ ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมโลก และสังคมไทยปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้เช่นนี้  หลักสาราณียธรรมจึงมีอิทธิพลอย่างสูงในสถานการณ์ปัจจุบันที่จะนำมาเป็นหลักคิดให้เราประยุกต์ใช้ต่อประเด็นดังกล่าว ประเด็นที่ต้องตั้งข้อสังเกตต่อไปก็ได้  ในพระพุทธศาสนาเรามีหลักการที่โดดเด่นมากมาย แต่คำถามคือ เราจะประยุกต์ "หลักการ" ไปสู่ "การปฏิบัติ" ให้มีประสิทธิผลได้อย่างไร

พระอาจารย์มีข้อสังเกตว่า พระพุทธศาสนามีความโดดเด่นอย่างยิ่งในแง่ของหลักการแห่งธรรม ซึ่งเป็น "หลักกลางๆ" ที่ทุกคนย่อมสามารถจะประยุกต์ใช้และตีความให้สอดรับกับบริบท แต่ปัญหาก็คือ เราขาดเครื่องมือ และวิธีการในการประยุกต์และตีความเพื่อให้ "หลักการ" กลายเป็น "เครื่องมือ" ที่ทรงพลัง

เราได้ "เพชรเม็ดงามมาหนึ่งเม็ด" คำถามคือ "เราจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เพชรเม็ดงามได้อย่างไร" ก็โดยการหาเครื่องที่ทรงพลังมา "เจียรไนเพชร" เพื่อให้เพชรมีเหลี่ยม มีมุม เพราะสะท้อนความงดงามจนกลายเป็นเพชรที่ทุกคนปรารถนานำไปประดับ ฉะนั้น นอกจากการมีเพชร เราต้องมีเครื่องมือในการเจียรไนเพชร ผู้ที่เชียวชาญในการเจียรไน

ถูกต้องแล้ว แม้มนุษย์จะไม่ตีความหลักการ หลักการก็ยังคงเป็นหลักการที่ทรงคุณค่าในตัวของมันเอง แต่หากมนุษย์ไม่สามารถที่จะนำหลักการมาพัฒนาเป็น "วิธีการ" หรือ "เครื่องมือ" เพื่อนำไปใช้ในสอดรับกับสถานการณ์แล้ว หลักการก็ยังคงเป็นหลักการที่ดีแต่อาจจะไม่มีค่าสำหรับบางคน เหมือนเพชรย่อมไร้ค่าสำหรับไก่ ประดุจคำโบราณที่ว่า "ไก่ได้พลอย"

ศิษย์รักทุกท่าน (นิสิตปริญญาโทภาคพิเศษ)

อาทิตย์อาจารย์ขอวางกรอบในการบรรยายดังนี้ หัวข้อในการบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยน "สาราณียธรรมในฐานะเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่มนุษย์ในสังคม" เนื่องจากมนุษย์มีจะมีความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ (Conflict of Relationship) ระหว่างกันในการทำงาน ครอบครัว และสังคม

  1. คำหลักในการบรรยายประกอบด้วย (๑) สาราณียธรรม (๒) ความสัมพันธ์ (๓) การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม
  2. กรณีศึกษาที่จะนำมาอธิบายประกอบการบรรยายที่เป็นตัวอย่างที่ดี (Best Practice) คือ ความสัมพันธ์จากบวก (ความภักดี) กลายเป็นลบของนักร้องแนว Country ที่ดังที่สุดของอเมริกาชื่อ "เดฟ แคโรว์" ที่มีต่อสายการบิน United Airline และ "การสัมพันธ์ระหว่างลูกค่าของการบินไทยกับการบริการคนไทย" เนื่องจากว่า ครั้งหนึ่งการบินไทยเคยถูกตั้งฉายาว่า "รักคุณ (ลูกค้าฝรั่ง) เท่าฟ้า" จนเป็นที่มาของการทำวิจัยทางทางการตลาด (Market Research) เกี่ยวกับโฆษณาที่ชื่อว่า "คุณค่ะ" และ "เราไม่เคยมองข้ามสิ่งที่ใจเรามองเห็น"
  3. ประเด็นเรื่องสามเหลี่ยมของการเสริมสร้างกัลยาณมิตรในการทำงาน รวมไปถึงการบริหารความคาดหวังจากคู่สัมพันธ์ หรือลูกค้าของเรา
  4. ก่อนที่จะแลกเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้น อาจารย์จะให้พวกเราได้นำเสนอ และร่วมแลกเปลี่ยนสิ่งที่พวกเราได้ศึกษาค้นคว้า เพื่อจะได้รับรู้แง่มุมที่หลากหลายของสาราณียธรรม

ด้วยสาราณียธรรม พระอาจารย์

สุธรรม ทองเทียนชัย

นมัสการ อาจารย์พระมหาหรรษาที่เครารพ ขออนุญาติส่งงานช้ากว่่ากำหนด ช่วงนี้ผมต้องทำงานที่ต่างจังหวัด ที่ลาวและเขมร ทำให้ไม่มีโอกาสเข้าดูเมล์

๑. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงนำการสาราณียธรรมมาอธิบายแก่พวกเรา ทั้งๆ ที่มีใบไม้จำนวนมากในป่า แต่พระองค์เลือกที่จะเด็ดใบไม้ใบนี้มามอบให้พวกเรา หลักการนี้มีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร (ที่มา)

ความเป็นมา

สาราณียธรรมอยู่ในโกสัมพิยสูตรจากคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ มัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ เป็นพระสูตรว่าด้วยภิกษุชาวเมืองโกสัมพีวิวาทกัน พระสูตรเกิดจากสมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี สมัยนั้นภิกษุในกรุงโกสัมพีร้าวฉานทะเลาะวิวาทกัน ใช้วาจาทิ่มแทงกัน ไม่สามารถทำความเข้าใจกันได้ จึงทรงตรัสแสดงหลักสาราณียธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ทำให้เราระลึกถึงกัน

หลักธรรมต่าง ๆ มีมากมายเสมือนใบไม้ในป่ามีจำนวนมาก แต่พระองค์เลือกหลักสาราณียธรรมมาอธิบาย เพราะมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ต่อกันและกันในเชิงสังคมในหลากหลายสถานะ ทิฏฐิและมานะของแต่ละคนเป็นเหตุหลักทำให้เกิดการล่วงเกินต่อกันทางกาย วาจา และทางใจ เป็นเหตุเกิดความขัดแย้ง และการวิวาทต่อกัน หากน้อมนำเอาหลักสาราณียธรรมมาใช้ จะทำให้สังคมระลึกถึงกันและลดการขัดแย้ง โลภะ โทสะ โมหะ อโยนิโสมนสิการ (การไม่เอาใจใส่โดยแยบคาย) ของแต่ละบุคคลนี้ เป็นปัจจัยแห่งการกระทำที่ขัดแย้ง ส่วนหลักสาราณียธรรมเป็นปัจจัยแห่งการสร้างกัลยาณกรรม

สาระสำคัญของหลักธรรม

สาราณียธรรมเป็นธรรม ๖ ประการอันทำให้ระลึกถึงกัน ประกอบด้วย ๑. ตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ๒. ตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ๓. ตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจารีทั้งในที่แจ้งที่ลับ ๔. แบ่งปันลาภให้เพื่อนพรหมจารี ๕. มีศีลอันดีเสมอด้วยเพื่อนพรหมจารี ๖. มีทิฏฐิความเห็นอันประเสริฐเสมอด้วยเพื่อนพรหมจารี ธรรมทั้ง ๖ อย่างนี้ ทำให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อสามัคคีกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

๒. หลักการสาราณียธรรม เช่น การคิด พูด แสดงออก และการแบ่งปัน (สาธารณโภคี) ต่อกันด้วยเมตตามีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกแก่คนรอบข้างได้อย่างไร ทั้งในการทำงาน ครอบครัว และการดำเนินชีวิต

การประพฤติตามหลักสาราณียธรรม นอกจากจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ผู้ปฏิบัติเอง และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกัน การนำหลักธรรม ตั้งแต่กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตาธรรมต่อผู้อื่น จะเป็นผลให้ผู้ติดต่อสามารถสัมผัสถึงความมีเมตตาจิตของผู้ปฏิบัติตามแนวสาราณียธรรมได้ ส่งผลทางตรงหรืออ้อมในการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกแก่คนรอบข้าง ทั้งในที่การทำงาน ครอบครัว รวมถึงในการดำเนินชีวิต ทำให้คนรอบข้างสัมผัสถึงความจริงใจ สิ่งที่ดี ๆ ต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้น อาทิ ปิยกรณ์ ทำให้เป็นที่รัก ครุกรณ์ ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เอกภาพ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สารณียะ ทำให้เป็นที่ระลึกถึงกัน

๓. ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลักการนี้ เพียงพอหรือไม่ที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างๆ ให้เป็นไปในเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เพราะหลักการนี้พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสในยุคเกษตรกรรม แต่ยุคนี้เป็นยุควัตถุนิยมซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

หลักสาราณียธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ สามารถน้อมนำไปใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัยทั้งยุคเกษตรและยุควัตถุนิยม เพราะเป็นเรื่องของจิตใจของบุคคล อันประกอบด้วย ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งมีกับบุคคลในทุกยุคทุกสมัย อาจจะมากหนึ่งน้อยกว่ากันเท่านั้น คุณลักษณะของสาราณียธรรมทั้ง ๖ ประการประกอบด้วยหลักการของปัญญา และหลักเมตตาธรรมซึ่งหากผู้ปฏิบัติน้อมรับเอามาใช้ก็จะกดข่มกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ไม่ให้มีพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ต่อผู้อื่น การที่น้อมเป็นผู้มีศีล มีการให้ แบ่งปันด้วยแล้ว บุคคลย่อมเป็นที่รักและเกรงใจของผู้อื่น และหากมีทิฏฐิที่ถูกต้องด้วยแล้ว จะส่งผฟลให้ผู้ปฏิบัติมี มโนกรรม วจีกรรม และ กายกรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์ไม่ไปล่วงเกินผู้อื่น ทางกายวาจาใจ สืบไป

๔. ในขณะที่สังคมไทยเคยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ในลักษณะญาติมิตร ซึ่งสอดรับกับหลักการสาราณียธรรม แต่ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม คำถามคือ เราจะสามารถนำหลักการนี้มาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคมอย่างไร

ระบบสังคมไทยในอดีตได้รับเอาหลักสาราณียธรรมมาใช้อย่างต่อเนื่องเพราะสังคมไทยเป็นสังคมเมืองพุทธมายาวนาน มีการทำบุญ ใส่บาตรต่อพระสงฆ์ เป็นระบบสังคมที่เกื้อกูลกัน มีหลักธรรมที่สังคมน้อมนำมาใช้จนกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ ที่ต่างชาติรู้จัก ยอมรับและชื่นชม อาทิ ไม่เป็นไร น้ำใจ ความเมตตาและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จนประเทศไทยเป็นเมืองยิ้ม เปิดกว้างมีผู้คนเข้ามาท่องเที่วที่เมืองไทยมากมายปีละสิบกว่าล้านคนจนสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ

ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป มีการน้อมนำเอาความเจริญ วิทยาการและเทคโนโลยี่ จากต่างชาติเข้ามามาก สังคมเปลี่ยนเป็นสังคมขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนในตัวมันเอง ทำให้ชนในชาติมีทิฏฐิแตกต่างกันตามข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับ ทำให้สร้างอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน ขยายวงกว้างจากชุมชนเล็ก ๆ ไปสู่ความขัดแย้งระดับชาติ ทั้งปัญหาชายแดนภาคใต้และกลุ่มเสื้อหลากสี ซึ่งล้วนมาจากการเสื่อมลงของหลักสาราณียธรรมทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ ยุคสมัยนี้ บางท่านอาจเริ่มไม่รู้จักหลักสาราณียธรรมเลยก็ได้ บางชุมชนอาจมีมาก บางชุมชนอาจมีน้อย บางชุมชนอาจไม่ค่อยมี จึงเกิดความขัดแย้งสงบสุข แตกต่างกันไปหตามพื้นที่ หลักสาราณียธรรมสามารถถูกนำกลับมาปรับใช้ให้สอดรับกับความเป็นไปของสังคม ด้วยการเผยแพร่และส่งเสริมการปฏิบัติ จากผู้ทรงความรู้และมีนโยบายและระบบการบริหารจัดการที่ถูกต้อง

ด้วยความเคารพ

สุธรรม ทองเทียนชัย

พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาทาน พัฒนาศีล พัฒนาสมาธิภาวนา

ส่งเสริมอาชีพ การทำนิตยทาน ถึงพระรัตนตรัย ประพฤติพรหมจรรย์

ปฏิรูปการทำบุญ การสร้างวิหาร สมาทานศีล 5

หลักบุญกิริยาวัตถุ 3

ข้อกูฏทันตสูตร ๒๐ คะแนน

พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาทาน พัฒนาศีล พัฒนาสมาธิภาวนา

ส่งเสริมอาชีพ การทำนิตยทาน ถึงพระรัตนตรัย ประพฤติพรหมจรรย์

ปฏิรูปการทำบุญ การสร้างวิหาร สมาทานศีล 5

หลักบุญกิริยาวัตถุ 3

ข้อกูฏทันตสูตร ๒๐ คะแนน

พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่กูฏทันตพราหมณ์ ที่ในสวนอัมพลัฏฐิกาหมู่บ้านพราหมณ์ขานุมัต แคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานเป็นพรหมไทยให้กูฏทันตพราหมณ์ปกครองดูแล และกำลังเตรียมการจัดทำพิธีบูชามหายัญเข้าไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญอย่างละ ๗๐๐ ตัว คือ โคตัวผู้ ลูกโคเพศผู้ ลูกโคเพศเมีย แพะ แกะ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามพิธีบูชายัญ ๓ ประการ บริวาร ๑๖ ประการ พระพุทธเจ้าได้อธิบายพราหมณ์พิธีบูชายัญ โดยใช้เรื่องที่มีมาแล้วในอดีตของพระเจ้ามหาวิชิตราช ตรัสเล่าประกอบ เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชมีประความประสงค์จะทำพิธีบูชามหายัญเพื่อประโยชน์และความสุขตลอดกาลนาน จึงได้ปรึกษากับพราหมณ์ ปุโรหิตจะทำอย่างไร จึงจะเกิดผลดีตามความประสงค์ พราหมณ์โรหิตได้วางหลักการพัฒนาเศรษฐศาสตร์การเมือง ประกอบด้วย ๖ ประการ ดังนี้

ขั้นที่ ๑ การแก้ปัญหาโจรกรรมด้วยการส่งเสริมอาชีพ

การปราบโจรผู้ร้ายแบบขุดรากถอนโคน มิให้กลับมาเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินโดยชอบอาศัยวิธีการ ๓ ประการ คือ

๑. ให้พระทานพันธุ์พืชและอาหารแก่เกษตรกรผู้ขยันในการทำการเกษตร

๒. ให้พระราชทานต้นทุนแก่ราษฎรผู้ขยันในการค้าขาย

๓. ให้พระราชทานอาหารและเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ขยันในหน้าที่ราชการ

ขั้นที่ ๒ ขอการสนับสนุนจากบุคคล ๔ พวก

พระเจ้าวิชิตราชรับสั่งให้บุคคลในพระราชอาณา ๔ พวกรับทราบพิธีการบูชายัญ และขอความเห็นชอบ

๑. พวกเจ้าผู้ครองเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นกับพระเจ้ามหาวิชิตราช

๒. พวกอำมาตย์ราชบริพารผู้เป็นใหญ่

๓. พวกพราหมณ์มหาศาล

๔. พวกคหบดีมหาศาล

ขั้นที่ ๓ ตรวจสอบคุณสมบัติของเจ้าของผู้ทำพิธีบูชามหายัญ (ผู้ปกครอง ผู้ควบคุมชายัญ)

- เจ้าของพิธีบูชามหายัญ คือ พระเจ้ามหาวิชิตราชในฐานะเป็นเจ้าของพิธีบูชามหายัญมีคุณสมบัติ ๘ ประการ เช่น อุภโตสุชาต มีพระรูปงาม มั่งคั่ง มีกำลัง มีศรัทธา ศึกษามาก เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม สามารถคิดอดีต อนาคต และปัจจุบันได้

- คุณสมบัติของผู้ประกอบพิธีบูชามหายัญ ๔ ประการ ได้แก่ คุณสมบัติของพราหมณ์ปุโรหิต เช่น เป็นผู้แตกฉานในศาสตร์ต่าง ๆ เป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เป็นต้น

ขั้นที่ ๔ ทรงวางพระทัยในการบูชามหายัญ ๓ กาล ๑. ก่อนบูชา ๒. หลังบูชา แล้ว ไม่ต้องกลัวว่ากองโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเราจักสิ้นเปลืองไป เป็นคุณสมบัติของมหายัญทั้ง ๓ การประการ

ขั้นที่ ๕ ให้ทรงวางพระทัยในผู้มารับทาน มีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกัน โดยทรงเจาะจงให้แก่ผู้ที่ประพฤติกุศลกรรมบท ๑๐ สร้างแรงจูงใจในเชิงบวกยกย่องคนดี

ขั้นที่ ๖ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์และการตัดไม้ทำลายป่า ไม่เบียดเบียน และ ในการทำพิธีบูชามหายัญนั้น ไม่ต้องฆ่าสัตว์บูชายัญ ไม่ว่าจะเป็นวัว แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า มาทำหลักบูชายัญ พวกทาสกรรมกร ของพระเจ้ามหาวิชิตราชก็ไม่ต้องถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ตนไม่ต้องการ สิ่งที่ต้องใช้ในพิธีมีเพียงเนยใส เนยข้น นมเปรี้ยว น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเท่านั้น

กูฏทันตพราหมณ์ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าต่อไปว่า ยังมียัญอีกหรือไม่ที่เตรียมการน้อย แต่มีผลมากกว่ามหายัญ ทรงตรัสตอบพราหมณ์ถึงยัญที่มีการลงทุนหรือใช้จ่ายน้อยลงไปโดยลำดับ แต่มีผลมากขึ้นขึ้นโดยลำดับ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ยัญในพุทธศาสนายิ่งใช้ทุนน้อยเท่าใด ก็ยิ่งมีผลมากขึ้นเท่านั้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบพราหมณ์ลำดับนี้

๑. นิตยทาน (ทานทำสืบกันมาเจาะจงบรรพชิตผู้มีศีล) เตรียมการน้อยกว่ามหายัญของ พราหมณ์ แต่มีผลมากกว่า

๒. การสร้างวิหารถวายพระสงฆ์จากทิศทั้ง ๔ เตรียมการน้อยกว่านิตยทาน แต่มีผลมากกว่านิตยทาน

๓. การเข้าถึงพระรัตนตรัย เตรียมการน้อยกว่าการสร้างวิหาร แต่มีผลมากกว่าการสร้างวิหาร

๔. การสมาทานศีล ๕ เตรียมการน้อยกว่าการเข้าถึงพระรัตนตรัย แต่มีผลมากกว่าการเข้าถึง พระรัตนตรัย

๕. การออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ เตรียมการน้อยกว่าการสมาทานศีล ๕ แต่มีผลมากกว่าการสมาทานศีล มีจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล แล้วพัฒนาสมาธิภาวนา บรรลุฌาน ๔ เป็นฐาน เจริญวิปัสสนาได้วิชชา ๘ บรรลุเป็นพระอรหันต์เป็นอริยบุคคลสูงสุด

นอกจากพระพุทธเจ้าจะทรงเน้นหนักให้ผู้ปกครองบ้านเมืองหันมาใสใจต่อปัญหาเรื่องการกินการอยู่ของประประชาชน ซึ่งเป็นปัญหาขั้นรากฐานของสังคมแล้ว ยังทรงแสดงลำดับขั้นของการพัฒนาที่สูงขั้นไปโดยลำดับ การแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เพราะชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยส่วน ๒ ส่วนคือ ร่างกายกับจิตใจ เป็นการพัฒนาแบบแยกส่วน คือแยกกายออกจากใจ แต่มิได้พัฒนาแบบองค์รวม เป็นการพัฒนาควบคู่กันไประหว่างกายกับใจ

ฉะนั้น ในพระสูตรนี้ หลังจากที่ได้นำเสนอมรรควิธีในการแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเป็นฐานแล้ว พระพุทธเจ้ายังได้นำเสนอการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นไป โดยใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ ๓

ลำดับขั้นตอนของการพัฒนาตามแนวกูฏทันตสูตร การพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ได้มีเป้าหมายสุดท้ายในตัวของมันเอง เศรษฐกิจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในกระบวนการพัฒนาเท่านั้น ไม่ใช่เป้าหมาย (End) หากแต่เป็นเพียงวิถีทาง (Means) ที่ทำให้เดินไปสู่เป้าหมาย ถ้าจะจัดเข้าในหลักทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา ก็อยู่ในขั้นของอธิศีลสิกขาเท่านั้นเอง

ดังนั้น เมื่อเสนอแนะวิธีปราบผู้ร้ายแบบถอนรากถอนโคนเช่นนี้แล้ว พระองค์ทรงมุ่งไปที่ปัญหาเศรษฐกิจและพยายามทำให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น แล้วปัญหาต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ลดน้อยถอยลงไปโดยลำดับ ถ้าวิเคราะห์วิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่พระองค์ทรงเสนอนั้น จริง ๆ แล้ว คือ กระบวนการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั่งเอง

กล่าวโดยสรุปแล้ว มีเนื้อหาหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อยู่หลายประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ

การแสวงหาเป็นสิ่งที่ทำได้โดยปราศจากข้อสงสัย เหนือสิ่งอื่นใด การแสวงหาจำต้องอาศัยการพัฒนาทางสายกลางทางด้านประยุกต์วิทยาอย่างทรงสำนึก และอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นการประยุกต์ที่ไม่ละเมิดหลักแห่งอหิงสาธรรม อันจะทำให้สิ้นเปลื้องแรงงาน และทรัพยากรในการผลิตน้อยเมื่อสังคมไม่แตกสลาย ธรรมชาติไม่ถูกทำลาย จากกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์แล้ว สังคมโลกก็จะอุดมไปด้วยสันติธรรม และสันติสุขอย่างแท้จริง.

อุทัย ภัทรสุข นิสิตปริญญาโท พระพุทธศาสนา รุ่น ๒๒ ปี ๒

การเก็บเกี่ยวพืชผลแห่งสังคมสันติสุข

จากเมล็ดพันธุ์พืชเศรษฐกิจ สังเคราะห์ได้ในกูฏทันตสูตร

______________

กูฏทันตสูตร เป็นเรื่ื่องราวของพราหมณ์ชื่อกูฏทันตะ ผู้กำลังเตรียมการทำพิธีมหาบูชายัญ ได้ทูลถามพระสมณโคดม เกี่ยวกับ ยัญสมบัติ 3 ประการ มีองค์ประกอบ 16 เหตุเกิด ณ สวนอัมพลัฏฐิกา หมู่บ้านพราหมณ์ขาณุมัต แคว้นมคธ ชมพูทวีป

พระสมณโคดม ได้ทรงแสดงธรรม ผ่านเรื่องเล่าเหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่เคยเกิดขึ้นในอดีต โดยพระสมณโคดมเสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ปุโรหิต และทรงให้คำแนะนำแก่ พระเจ้ามหาวิชิตราชในเรื่องดังกล่าว

ความสำคัญของพระสูตร ไม่เพียงแต่อรรถาธิบายความเกี่ยวกับยัญสมบัติ 3 ประการ มีองค์ประกอบ 16 เท่านั้น แต่ได้แสดงให้เห็นถึง ยัญทางพุทธศาสนา ที่ลงทุนน้อยกว่ามหายัญ แต่ให้ผลมากกว่าตามลำดับจากน้อยไปหามากคือ การทำนิตยทาน การสร้างวิหาร การเข้าถึงพระรัตนตรัย การสมาทานศีล ๕ และ การประพฤติพรหมจรรย์ ตลอดจนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีที่สำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเชิงพุทธ คือการแก้ปัญหาความยากจน การปราบปรามโจรผู้ร้าย ด้วยการส่งเสริมอาชีพ โดยการให้พันธุ์พืชและอาหารแก่เกษตรกร ให้ทุนแก่ผู้ประกอบการด้านพาณิชยกรรม และให้อาหารเงินเดือนแก่ข้าราชการ ฯลฯ

การแก้ปัญหาและพัฒนาระบบเศรษฐกิจเชิงพุทธ เริ่มต้นจากการพัฒนาอาชีพ แต่ทั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะด้านวัตถุอย่างเดียว หากยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านจิตใจ ซึ่งเป็นระดับสูงขึ้นไปตามลำดับ โดยการนำหลักของบุญกิริยาวัตถุ ๓ เข้ามาสังเคราะห์ คือ ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งจะยังผลสู่เป้าหมาย คือ สังคมที่แบ่งปันโภคทรัพย์ มีปัจจัย ๔ ในการดำรงชีพ สังคมที่ปราศจากการเบียดเบียน และสังคมที่มีความเมตตา ความรัก และความผาสุก

การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนว กูฏทันตสูตร เริ่มต้นจากการพัฒนาอาชีพ ตามต่อมาด้วยการพัฒนาบุญกิริยาวัตถุ ๓

บุญพัฒนาทาน คือการทำนิตยทานและสร้างวิหาร เป็นการมุ่งเน้นการเอ้อเฟื้อเกื้อกูล การเผื้อแผ่แบ่งปัน การอยู่ร่วมกันด้วยดี โดยที่สมาชิกในสังคมมีปัจจัยพื้นฐานเพียงพอต่อการดำรงชีพ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาขั้นสูงกว่าต่อไป

บุญพัฒนาศีล คือการเข้าถึงพระรัตนตรัย และการสมาทานศีล ๕ ได้แก่ ความประพฤติสุจริต มีกาย วาจาที่เกื้อกูล ไม่เบียดเบียนกัน

บุญพัฒนาภาวนา คือ การประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่การพัฒนาอบรมจิตใจ เจริญปัญญา เจริญเมตตา กรุณา คือความรักความปรารถนาดี ต่อผู้อื่นให้มีความสุข พ้นจากความทุกข์ ซึ่งรวมแล้วคือการพัฒนาบุญกิริยาวัตถุ ๓ ข้างต้น

กล่าวโดยสรุป บทเรียนที่ได้จาก กูกทันตสูตร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน ในสังคมที่เกิดการขัดแย้ง และเบียดเบียนกันและกันเช่นในขณะนี้ได้ โดยเริ่มจากการแก้ปัญหาเศรษฐกิจชีวิตประจำวันจากระดับจุลภาค ไปจนถึงระดับมหภาค ตามแนวทางข้างต้น ในขณะเดียวกัน ให้การอบรม ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาการนำหลักการของบุญกิริยาวัตถุ ๓ เข้ามาประยุกต์ ให้เห็นเป็นรูปธรรม สุดท้ายแล้ว เราจะสามารถเก็บเกี่ยวพืชผล คือสังคมที่มีความสันติสุข จากการโปรยหว่าน และเพาะบ่ม เมล็ดพันธุ์พืชเศรษฐกิจ ที่สังเคราะห์จาก กูฏทันตสูตร ได้ ในที่สุด

อุทัย ภัทรสุข

นิสิตปริญญาโท ปีที่ ๒ วิชาพระพุทธศาสนา รุ่น ๒๒ ภาคพิเศษ

มจร. สิงหาคม ๒๕๕๓

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท