เริ่มต้นเรียนภาษาจีน ด้วย พินอิน1


เริ่มต้นเรียนภาษาจีน ด้วย พินอิน1

วันนี้เรามาเริ่มเรียนภาษาจีนกันอย่างจริงจัง ไม่รู้จะมีใครเรียนไหมน้อ เพราะดูๆมันก็ค่อนข้างยากใช้ได้ แต่ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถหรอกค่ะ แค่พยายามสักวันต้องได้อย่างแน่นอน เรียนวันล่ะนิด ทุกๆวันเดี๋ยวก็เก่ง จริงไหมค่ะ

เราเริ่มเรียนกันที่ พินอิน มาดูว่า พินอิน หมายถึงอะไร ล่ะมีความสำคัญอย่างไร

พินอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (จีนตัวเต็ม: 漢語拼音; จีนตัวย่อ: 汉语拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn แปลว่า การถอดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถ่ายถอดเสียง หรือการทับศัพท์)

พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถ่ายถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย

นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถ่ายถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)

สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถ่ายถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย

ต่อไปนี้เป็นการถ่ายถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน

ต้นพยางค์ (เสียงพยัญชนะต้น)

อักษรพินอินจะปรากฏเป็นตัวหนา อักษรไทยที่กำกับไว้หมายถึงเสียงพยัญชนะไทยที่ใกล้เคียง มิใช่การทับศัพท์

  ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ปุ่มเหงือก ปลายลิ้นม้วน ปุ่มเหงือกกับ
เพดานแข็ง
เพดานแข็ง เพดานอ่อน
เสียงกัก b
[p] (ป)
p
[pʰ] (พ)
  d
[t] (ต)
t
[tʰ] (ท)
      g
[k] (ก)
k
[kʰ] (ค)
เสียงนาสิก m
[m] (ม)
  n
[n] (น)
       
เสียงข้างลิ้น     l
[l] (ล)
       
เสียงกึ่งเสียดแทรก     z
[ts] (–)
c
[tsʰ] (–)
zh
[ʈʂ] (–)
ch
[ʈʂʰ] (–)
j
[tɕ] (จ)
q
[tɕʰ] (ช)
   
เสียงเสียดแทรก   f
[f] (ฟ)
s
[s] (ซ)
sh
[ʂ] (–)
r¹
[ʐ] (–)
x
[ɕ] (–)
  h
[x] (คฺฮ)
เสียงเปิด       r¹
[ɻ] (ยฺร)
  y²
[j]/[ɥ]³ (ย)
w²
[w] (ว)
 
¹ /ɻ/ อาจออกเสียงคล้ายกับ /ʐ/ (เสียงเสียดแทรก ปลายลิ้นม้วน ก้อง) ซึ่งเปลี่ยนแปรไปตามผู้พูด แต่ก็ถือว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน
² อักษร y และ w นั้นไม่ได้บรรจุอยู่ในตารางเสียงพยัญชนะของระบบพินอินอย่างเป็นทางการ แต่ใช้สำหรับแทนที่อักษรสระ i, u, ü เมื่อไม่มีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็น yi, wu, yu ตามลำดับ
³ อักษร y จะออกเสียงเป็น [ɥ] เมื่อตามด้วย u (ซึ่งลดรูปมาจาก ü)

การเรียงลำดับเสียงพินอิน (ไม่รวม w และ y) ได้รับการสืบทอดมาจากระบบจู้อิน (注音; Zhùyīn) นั่นคือ

b p m f d t n l g k h j q x zh ch sh r z c s

อย่างไรก็ตามในพจนานุกรมสมัยใหม่ ได้เรียงพินอินแบบ a-z เหมือนอักษรโรมันเพื่อให้การค้นหาสะดวกยิ่งขึ้น

ท้ายพยางค์ (เสียงสระและเสียงพยัญชนะสะกด)

อักษรพินอินจะปรากฏเป็นตัวหนา และปรากฏเป็นสองรูปแบบได้แก่ รูปแบบที่ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น และรูปแบบที่มีเสียงพยัญชนะต้นซึ่งจะมีขีดนำหน้า

ตัวท้าย ตัวกลาง
แกน ตัวจบ Ø /i/ /u/ /y/
Ø -i¹
[z̩], [ʐ̩]
(อือ)
yi, -i
[i]
(อี)
wu, -u
[u]
(อู)
yu, -ü²
[y]
(อวือ)
/a/ Ø a, -a
[ɑ]
(อา)
ya, -ia
[i̯a]
(ยา, เอีย)
wa, -ua
[u̯a]
(วา, อัว/อวา)
 
/i/ ai, -ai
[aɪ̯]
(ไอ/อาย)
  wai, -uai
[u̯aɪ̯]
(ไว/วาย, อวาย)
 
/u/ ao, -ao
[ɑʊ̯]
(เอา/อาว)
yao, -iao
[i̯ɑʊ̯]
(เยา/ยาว, เอียว)
   
/n/ an, -an
[an]
(อัน/อาน)
yan, -ian
[i̯ɛn]
(เยียน, เอียน)
wan, -uan
[u̯an]
(วัน/วาน, อวน/อวาน)
yuan, -üan²
[y̯ɛn]
(ยวืออัน, อวืออัน)
/ŋ/ ang, -ang
[ɑŋ]
(อัง/อาง)
yang, -iang
[i̯ɑŋ]
(เยียง/ยาง, เอียง)
wang, -uang
[u̯ɑŋ]
(วัง/วาง, อวง/อวาง)
 
/ə/ Ø e, -e
[ɤ]
(เออ)
ye, -ie
[i̯ɛ]
(เย, อีเย)
wo, -uo/-o³
[u̯ɔ]
(วอ, อฺวอ)
yue, -üe²
[y̯œ]
(เยฺว, เอฺว)
/i/ ei, -ei
[eɪ̯]
(เอย์)
  wei, -ui
[u̯eɪ̯]
(เวย์, เอฺวย์)
 
/u/ ou, -ou
[oʊ̯]
(โอว)
you, -iu
[i̯oʊ̯]
(โยว, โอฺยว)
   
/n/ en, -en
[ən]
(เอิน)
yin, -in
[in]
(อิน)
wen, -un
[u̯ən]
(เวิน, เอฺวิน)
yun, -ün²
[yn]
(ยฺวืน, อฺวืน)
/ŋ/ eng, -eng
[əŋ]
(เอิง)
ying, -ing
[iŋ]
(อิง)
weng, -ong
[u̯əŋ], [ʊŋ]⁴
(เวิง, อุง)
yong, -iong
[y̯ʊŋ]
(ยฺวืง, อฺวืง)
¹ -i อักษรนี้ใช้ผสมกับ zh ch sh r z c s เท่านั้น
² ü จะเขียนเป็น u เมื่อตามหลัง j q x y
³ uo จะเขียนเป็น o เมื่อตามหลัง b p m f
⁴ -ong จะออกเสียงเป็น [ʊŋ] ในทางปฏิบัติเมื่อมีเสียงพยัญชนะต้น

อ้างอิง

หมายเลขบันทึก: 365114เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2010 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

มาเรียนค่ะ..  ดีจังเลย..   ขอบคุณค่ะ..    

เยี่ยมเลยครับ ผมมีเว็บสอนพินอินดีๆมาแชร์เหมือนกันนะครับลองเข้าเว็บเรียนภาษาจีนออนไล์ฟรีนะครับหรือลองเข้าใปดูในนี้ก่อนนะครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท