ชนเผ่าในจังหวัดสกลนคร


ชนเผ่าพื้นเมืองจังหวัดสกลนคร

                  1.ไทยย้อ 
 
 

     ไทยย้อ เป็นชาวไทยในภาคอีสานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งชอบเรียกตัวเองว่าเป็นชาวย้อ เช่น ชาวย้อในจังหวัดสกลนคร, ชาวย้อในจังหวัดกาฬสินธุ์ (ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย), ช้าวย้อในจังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน) และชาวย้อในจังหวัดมุกดาหาร (ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง) ภาษาและสำเนียงชาวย้ออาจผิดเพี้ยนไปจากชาวอีสานบ้างเล็กน้อย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อมีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองปันนาหรือยูนนาน ต่อมาชาวย้อบางส่วนได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขง ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองหงษา แขวงไชยบุรีของลาวปัจจุบัน เมืองหงษาเดิมอยู่ในเขตของราชอาณาจักรไทยแล้วตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและลาวต่อมา แขวงไชยบุรีของลาวเคยกลับคืนมาเป็นดินแดนของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งระหว่าง พ.ศ.2483 ถึง พ.ศ.2489 เรียกว่า "จังหวัดล้านช้าง" แต่ก็ต้องคืนดินแดนส่วนนี้ไปให้ฝรั่งเศสและลาวอีกครั้งหนึ่ง

ต่อมาชาวไทยย้ออีกส่วนหนึ่งได้อพยพมาตามลำน้ำโขงและตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองไชยบุรี (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม) ในสมัยราชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2351 ครั้นเมื่อเกิดกบฎเจ้า อนุวงษ์เวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ.2369 พวกไทยย้อเมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์กวาดต้อนให้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอีกและได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ.2373 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพระปทุม เจ้าเมืองหลวงปุงเลง เป็น "พระศรีวรราช" เจ้าเมืองคนแรก คือท้องที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน

นอกจากนี้ไทยย้อจากเมืองคำเกิด, คำม่วนยังได้อพยพมาตั้งเป็นเมืองท่าขอนยาง ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ใน พ.ศ.2387 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิด เป็น "พระสุวรรณภักดี" เจ้าเมืองท่าขอนยางขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งยังมีไทยย้ออยู่ที่บ้านท่าขอนยาง, บ้านกุดน้ำใส, บ้านยาง, บ้านลิ้นฟ้า, บ้านโพนและยังมีไทยย้ออยู่ที่บ้านนายุง จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง, บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม, บ้านจำปา, บ้านดอกนอ, บ้านบุ่งเป้า, บ้านนาสีนวลอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านโพนสิม, บ้านหนองแวง, บ้านสา อำเภอยางตลาดและบ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ส่วนไทยย้อในจังหวัดสกลนครอพยพมาจากเมืองมหาชัยทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงซึ่งเป็นดินแดนลาวในปัจจุบัน เมืองมหาชัยอยู่ห่างจากแม่น้ำโขงและเมืองนครพนมประมาณ 50 ก.ม. ไทยย้อจากเมืองมหาชัยอพยพข้ามโขงมาตั้งอยู่ริมหนองหารในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนครเมื่อ พ.ศ.2381 (เอกสาร ร.3 จ.ศ.1200 เลขที่ 10 หอสมุดแห่งชาติ) ในท้องที่จังหวัดมุกดาหาร มีไทยย้ออยู่ที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหารและยังมีไทยย้อ อยู่ในท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อยอีกบางหมู่บ้าน ซึ่งอพยพมาจากเมืองคำเกิดคำม่วนในสมัยรัชกาลที่ 3

                                              ***********

              

                2.เผ่าไทโย้ย 
 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา 
ในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดศึกเจ้าอนุวงศ์ขึ้น เจ้าอนุวงศ์ได้ยกทัพขึ้นตีเมืองนครราชสีมา เรื่อยไปจนถึงเมืองสระบุรี ขากลับได้กวาดต้อนคนจากแถบฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ข้ามฟากไปเมืองเวียงจันทน์ เพื่อที่จะสะสมกำลังผู้คนต่อไป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เสร็จสิ้น ทรงมอบนโยบายให้นำคน ที่เจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนมาพร้อมกับชาวเมืองในละแวกนั้น กลับมายังฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยมีพระยาสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองนครพนม และเจ้าเมืองยโสธรพร้อมด้วยเจ้าเมืองสกลนคร คือ พระยาประจันตประเทศธานีไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมือง ท้าวเพีย ตลอดจนผู้คนที่อยู่ตามเมืองต่าง ๆ ให้ข้ามมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงจากการเกลี้ยกล่อมในครั้งนี้ ปรากฎว่ามีผู้คนอพยพเข้ามาจำนวนมาก โดยเฉพาะจากเมืองฮ่อมท้าวฮูเซ หรือบางทีเรียกเมืองฮ่อมท้าว โดยมีท้าวติวสร้อยเป็นหัวหน้าและมีกลุ่มผู้นำอีกหลาย ๆ คนเช่น ท้าวศรีสุนาครัว ท้าวจันทนาม ท้าวนามโคตร ซึ่งผู้คนที่อพยพมาในครั้งนั้นมีจำนวนมากถึงสามพันกว่าคน เข้ามาเลือกหลักแหล่งทำเลที่ตั้งบ้านเรือนเพื่อทำมาหากิน และได้ตัดสินใจเลือกเอาบริเวณริมลำน้ำยาม ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำสงครามเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและเรียกบ้านตนเองว่า “บ้านม่วงริมยาม” หรือบางคนเรียกว่า “บ้านท่าเมืองฮ้าง” เพราะสันนิษฐานว่าที่นี่เคยเป็นเมืองร้างมาก่อน 
ต่อมาทางกรุงเทพ ฯ ได้แต่งตั้งเจ้าเมืองขึ้นปกครองโดยอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองสกลนคร คือพระยา

จันตประเทศธานี แต่มีชาวโย้ยบางกลุ่มที่ไม่ยอมสมัครใจอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองสกลนคร แต่ไปสมัครใจขึ้นต่อพระยาสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองนครพนมแทน ทางคณะลูกขุนศาลาในกรุงเทพ ฯ จึงกำหนดให้ท้าวศรีสุราช ซึ่งเป็นเจ้าเมืองและท้าวเพีย พร้อมด้วยชาวบ้านม่วงริมยามขึ้นมาทำราชการอยู่กับเมืองนครพนม และได้ตั้งบ้านเรือน 

                                                                -2-

อยู่ ณ บ้านม่วงริมยาม โดยมีจำนวนประชากรที่เริ่มตั้งบ้านเมืองประมาณสองพันกว่าคนในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านม่วงริมยามขึ้นเป็นเมือง เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอากาศอำนวย และโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งท้าวศรีสุราชเป็น หลวงพลานุกูล เป็นเจ้าเมืองอากาศอำนวย พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องยศตามตำแหน่งเมือง จ.ศ.1216 (พ.ศ.2396) 
นอกจากชาวไทยโย้ยกลุ่มใหญ่ ที่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองอากาศอำนวยแล้วยังมีชาวไทยโย้ยบางส่วนอพยพไปตั้งบ้านเรือนขึ้นที่เมืองวานรนิวาสในปี พ.ศ.2404 และในปีพ.ศ.2406 ได้ตั้งเมืองที่บ้านโพนสว่าง หาดยาวริมห้วยปลาหาง ทำให้ประชากรที่เมืองอากาศอำนวย มีจำนวนลดลงตามลำดับ เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ. 2435 เปลี่ยนการเรียกเมืองเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบลตามลำดับ เมืองอากาศอำนวย มีฐานะเป็นอำเภออากาศอำนวย จนถึง พ.ศ.2457 ได้มีราชกิจจานุเบกษา ยุบอำเภออากาศอำนวยไปรวมกับอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมืองอากาศอำนวยจึงมีสภาพเป็นเพียงตำบลหนึ่งของอำเภอท่าอุเทนเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2458 ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่อีกครั้ง เทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี ได้มาตรวจราชการที่อำเภออากาศอำนวย เห็นว่าการคมนาคมและการติดต่อไปมากับจังหวัดนครพนมไม่สะดวก เพราะอำเภออากาศอำนวยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมมาก จึงเสนอขอเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบอำเภออากาศอำนวย เป็นตำบลอากาศ และให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2506 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มาตรวจราชการที่ภาคอีสาน และได้มาเยี่ยมที่ตำบลอากาศด้วย ได้พิจารณาเห็นว่าตำบลอากาศตำบลวาใหญ่ ตำบลโพนงาม และตำบลโพนแพง รวม 4 ตำบล ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวานรนิวาส การติดต่อไปมาของราษฎรตำบลกับที่ว่าการอำเภอไม่สะดวก อีกทั้ง 4 ตำบลดังกล่าวมีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่หนาแน่น พอที่จะจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ และสาเหตุอีกประการหนึ่งคือ เป็นท้องที่มีผู้ก่อร้ายแทรกซึมและเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เป็นจำนวนสมควรที่จะมีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองออกไปควบคุม ดูแลและป้องกันอย่างใกล้ชิดจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 และต่อมามีความเจริญมากขึ้นจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2508 จนถึงปัจจุบัน
 

                                                              -3-

วัฒนธรรมการแต่งกาย 
ประเพณีการแต่งกายของชาวโย้ย แต่งกายด้วยเสื้อผ้าย้อมครามทอมือ เย็บด้วยมือสีกรมท่าเข้มออกดำ กางเกงขาทรงกระบอก เสื้อแขนทรงกระบอก มีผ้าขาวม้าฝ้ายไหมผูกเอว ส่วนหญิง เสื้อทำด้วยผ้าฝ้ายย้อมครามทอมือ สีดำแขนทรงกระบอกผ้าถุงเป็นผ้ามัดหมี่ทอเอง หรือผ้าไหมมัดหมี่มีหัวซิ่นและตีนซิ่น มีผ้าสไบลวดลายต่าง ๆ พาดไหล่ สามารถแต่งได้ทุกเวลา เป็นชุดแต่งกายที่ประหยัด ปัจจุบันชาวไทโย้ยบ้านอากาศอำนวยจะแต่งเฉพาะมีงานประเพณีเทศกาลงานบุญในหมู่บ้านเท่านั้น ในชีวิตประจำวันจะแต่งแบบง่าย ๆ เหมือนคนกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากจะซื้อจากตลาด แต่ถ้าเป็นงานศพจะแต่งกายไว้ทุกข์สีดำหรือขาวหรือสีสุภาพที่สุด อย่างไรก็ตามสำหรับการแต่งกายกลุ่มไทยโย้ยนี้พอจะแยกวัยได้ดังนี้

เด็กหญิง 
เสื้อ สวมเสื้อคอวง(คอกลม) มีจีบรูดถี่ ๆ ไม่มีแขน สวมหัว ตัดด้วยผ้าฝ้าย 
ผ้านุ่ง นิ่งซิ่นต่ง (ผ้าถุง) เป็นซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่นลาดเล็ก ๆ เรียกซิ่นคั่นหรือหมี่หมากไม (ผ้าที่ทอด้วยเส้นด้ายแค่ 2 สี) ปั่นผสมเข้าในหลอดเดียวกันทอออกมาจะเป็นลานหมี่คั่นหมากไนไม่ต้องทัดแบบมัดหมี่ทอได้เลย ลายของซิ่นนิยมลายขอลายหมากจับเป็นต้น 
ทรงผม นิยมตัดสั้นแค่ใบหู ปัจจุบันคือทรงบ๊อบ 
หญิงสาว 
เสื้อ สวมเสื้อต่อง เสื้ออ้อง (เสื้อชั้นใน) ผ่าหน้าติดหมากกะติ่ง(กระดุม)หรือผ้าเคียนอกเป็นผ้าขาวม้าฝ้ายย้อมครามขณะอยู่บ้าน 
เสื้อแขนกระบั้ง (แขนกระบอก) เมื่อไปทำบุญที่วัด บางครั้งจะห่มผ้าเบี่ยง(ผ้าสไบที่เป็นผ้าขาวม้าฝ้ายย้อมคราม หรือเป็นผ้าฝ้ายทอมือสีขาวไม่ย้อมคราม ชาวบ้านเรียกผ้าแพร) ทับตัวเสื้อ 
ผ้านุ่ง นุ่งซิ่นต่ง (ผ้าถุง) เป็นซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่น มักนุ่งแบบเหน็บชายพกไม่คาด           เข็มขัด (เพิ่งมาคาดเข็มขัดเมื่อประมาณ 60 ปี ที่ผ่านมา แม้เมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ก็ยังนิยมเหน็บชายพกเป็นส่วนใหญ่) การนุ่งซิ่นของผู้หญิงต้องต่อตีนและหัวซิ่นเนื่องจากฟืมที่
 

                                                                          -4-

ใช้ทอมีหน้าแคบ ผ้าที่นำมาต่อเป็นผ้าฝ้ายทดลายคั่นทางยาวหลากสี เวลาทอจะทอทางขวางแต่เวลาต่อหัวซิ่นจะวางผ้าทางยาว นั่นคือเส้นยืนจะเป็นสีล้วนและเส้นคั่นใช้หลากสี ไม่นิยมต่อหัวซิ่นด้วยผ้าพื้น 
ทรงผม นิยมไว้ผมทรงซิงเกิ้ล ทรงดอกระทุ่ม ทรงบ๊อบ และผมยาวเกล้ามวยสูงก็มี สำหรับหญิงที่แต่งงานและมีบุตรแล้ว มักจะเปลือยอกเพื่อความสะดวกในการให้นมบุตรส่วนหญิงที่มีฐานะจึงจะสวมเสื้อทับเสื้ออ้องอีกชั้นหนึ่ง

หญิงมีอายุ 
เสื้อ สวมเสื้อต่องหรือเสื้ออ้อง บางครั้งใช้ผ้าขาวม้าฝ้ายมาห่มเป็นผ้าเบี่ยงปิดหน้าอกเท่านั้นก็ไปไหน ๆ ได้ 
ผ้านุ่ง นุ่งซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่น 
ทรงผม ทรงซิงเกิ้ลหรือเกล้าผมมวยสูง 
เด็กชาย 
เสื้อ เดิมพ่อแม่มักไม่ค่อยได้ให้สวมเสื้อ พอโตขึ้นไปโรงเรียน จึงได้สวมเสื้อซึ่งตัดจากผ้าฝ้ายทอมือมีทั้งย้อมครามหรือไม่ย้อมตามโอกาสที่ใช้ 
ซ่งหรือกางเกง ถ้าเป็นเด็กเล็กก็ไม่สวมซ่งหรือกางเกงโตขึ้นจึงจะได้สวม 
ทรงผม ผมตัดสั้น

ชายหนุ่ม 
เสื้อ โดยทั่วไปไม่นิยมสวมเสื้อ ยกเว้นเมื่อไปวัดทำบุญ จะสวมเสื้อคอกลมผ่าหน้า แขนสั้น ตัดด้วยผ้าฝ้ายทดมือย้อมคราม 
ซ่งหรือกางเกง แต่เดิมนุ่งผ้าขาวม้าฝ้ายแบบนุ่งผ้าเตี่ยวเมื่อออกทำงานและนุ่งผ้าโสร่งเมื่อไปวัดทำบุญหรืองานเทศกาลต่าง ๆ มีผ้าขาวม้าพาดไหล่ ในระยะต่อมานิยมสวมกางเกงที่เรียกว่า ซ่งอุดร(ทรงอุดร) เป็นกางเกงขาสั้นคล้ายกางเกงนักเรียนเข้าใจว่าพ่อค้าจากเมืองอุดรธานีนำเข้ามาขายในหมู่บ้าน ยังมีกางเกงอีกชนิดหนึ่งเป็นกางเกงขาสั้นหูรูด เรียกทรงหูฮุดหรือซ่งน้อยหูฮูด ภายหลังใช้เป็นกางเกงชั้นใน ต่อมามีกางเกงทรงฮั่งหรือกางเกงขาก๊วยเป็นกางเกงย้อมคราม ซึ่งสมัยนั้นเวลาตัดจะใช้พร้าหัวโต (มีดอีโต้) ตัด
 

-5-

แทนกรรไกรและใช้มือเย็บเนื่องจากกรรไกรในสมัยนั้นหายาก มีราคาแพงต้องเก็บเอาไว้สำหรับตัดผม ไม่นำมาใช้ตัดเสื้อผ้า 
ทรงผม ไว้ผมทรงปีก คือ หวีผมแสกกลางมีปีกสองข้างเอาไว้สะลิด(สะบัด)ชายมีอายุ ถ้าอยู่บ้านอาจนุ่งขาวม้าหรือนุ่งซ่งหูรูด ไม่ค่อยสวมเสื้อ ยกเว้นไปวัดไปงานบุญก็จะแต่งกายเหมือนผู้ชายเผ่าอื่น ๆ กลุ่มโทโย้ยนี้นิยมทอผ้าฝ้ายย้อมครามใช้มาแต่ดั้งเดิม ภายหลังได้พัฒนาการทอผ้าฝ้ายในกลุ่มตนเองเป็นการทอแบบมัดหมี่เป็นลวดลายต่าง ๆ ปัจจุบันมีแหล่งทอผ้าฝ้ายดังกล่าวที่บ้านวาใหญ่ วาน้อย และบ้านดอนแดง ซึ่งมีชื่อเสียงในการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้และแก่นไม้เป็นต้น ผ้าที่ทอนอกจากจะทอเป็นผ้าซิ่น ผ้าตัดเสื้อแล้วยังมีการทอผ้าห่ม ผ้าจ่อง ที่มีลวดลายสวยงาม สามารถนำไปเป็นผ้าสไบได้อีกด้วย
 
 

**************** 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

3.เผ่าไทโย้ย

ประวัติความเป็นมา 
ในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดศึกเจ้าอนุวงศ์ขึ้น เจ้าอนุวงศ์ได้ยกทัพขึ้นตีเมืองนครราชสีมา เรื่อยไปจนถึงเมืองสระบุรี ขากลับได้กวาดต้อนคนจากแถบฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ข้ามฟากไปเมืองเวียงจันทน์ เพื่อที่จะสะสมกำลังผู้คนต่อไป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เสร็จสิ้น ทรงมอบนโยบายให้นำคน ที่เจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนมาพร้อมกับชาวเมืองในละแวกนั้น กลับมายังฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยมีพระยาสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองนครพนม และเจ้าเมืองยโสธรพร้อมด้วยเจ้าเมืองสกลนคร คือ พระยาประจันตประเทศธานีไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมือง ท้าวเพีย ตลอดจนผู้คนที่อยู่ตามเมืองต่าง ๆ ให้ข้ามมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงจากการเกลี้ยกล่อมในครั้งนี้ ปรากฎว่ามีผู้คนอพยพเข้ามาจำนวนมาก โดยเฉพาะจากเมืองฮ่อมท้าวฮูเซ หรือบางทีเรียกเมืองฮ่อมท้าว โดยมีท้าวติวสร้อยเป็นหัวหน้าและมีกลุ่มผู้นำอีกหลาย ๆ คนเช่น ท้าวศรีสุนาครัว ท้าวจันทนาม ท้าวนามโคตร ซึ่งผู้คนที่อพยพมาในครั้งนั้นมีจำนวนมากถึงสามพันกว่าคน เข้ามาเลือกหลักแหล่งทำเลที่ตั้งบ้านเรือนเพื่อทำมาหากิน และได้ตัดสินใจเลือกเอาบริเวณริมลำน้ำยาม ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำสงครามเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและเรียกบ้านตนเองว่า “บ้านม่วงริมยาม” หรือบางคนเรียกว่า “บ้านท่าเมืองฮ้าง” เพราะสันนิษฐานว่าที่นี่เคยเป็นเมืองร้างมาก่อน 
ต่อมาทางกรุงเทพ ฯ ได้แต่งตั้งเจ้าเมืองขึ้นปกครองโดยอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองสกลนคร คือพระยาจันตประเทศธานี แต่มีชาวโย้ยบางกลุ่มที่ไม่ยอมสมัครใจอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองสกลนคร แต่ไปสมัครใจขึ้นต่อพระยาสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองนครพนมแทน ทางคณะลูกขุนศาลาในกรุงเทพ ฯ จึงกำหนดให้ท้าวศรีสุราช ซึ่งเป็นเจ้าเมืองและท้าวเพีย พร้อมด้วยชาวบ้านม่วงริมยามขึ้นมาทำราชการอยู่กับเมืองนครพนม และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บ้านม่วงริมยาม โดยมีจำนวนประชากรที่เริ่มตั้งบ้านเมืองประมาณสองพันกว่าคนในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านม่วงริมยามขึ้นเป็นเมือง เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอากาศอำนวย และโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งท้าวศรีสุราชเป็น หลวงพลานุกูล เป็นเจ้าเมืองอากาศอำนวย พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องยศตามตำแหน่งเมือง จ.ศ.1216 (พ.ศ.2396)

                                                              -2- 
นอกจากชาวไทยโย้ยกลุ่มใหญ่ ที่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองอากาศอำนวยแล้วยังมีชาวไทยโย้ยบางส่วนอพยพไปตั้งบ้านเรือนขึ้นที่เมืองวานรนิวาสในปี พ.ศ.2404 และในปีพ.ศ.2406 ได้ตั้งเมืองที่บ้านโพนสว่าง หาดยาวริมห้วยปลาหาง ทำให้ประชากรที่เมืองอากาศอำนวย มีจำนวนลดลงตามลำดับ เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ. 2435 เปลี่ยนการเรียกเมืองเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบลตามลำดับ เมืองอากาศอำนวย มีฐานะเป็นอำเภออากาศอำนวย จนถึง พ.ศ.2457 ได้มีราชกิจจานุเบกษา ยุบอำเภออากาศอำนวยไปรวมกับอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมืองอากาศอำนวยจึงมีสภาพเป็นเพียงตำบลหนึ่งของอำเภอท่าอุเทนเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2458 ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่อีกครั้ง เทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี ได้มาตรวจราชการที่อำเภออากาศอำนวย เห็นว่าการคมนาคมและการติดต่อไปมากับจังหวัดนครพนมไม่สะดวก เพราะอำเภออากาศอำนวยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมมาก จึงเสนอขอเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบอำเภออากาศอำนวย เป็นตำบลอากาศ และให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2506 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มาตรวจราชการที่ภาคอีสาน และได้มาเยี่ยมที่ตำบลอากาศด้วย ได้พิจารณาเห็นว่าตำบลอากาศตำบลวาใหญ่ ตำบลโพนงาม และตำบลโพนแพง รวม 4 ตำบล ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวานรนิวาส การติดต่อไปมาของราษฎรตำบลกับที่ว่าการอำเภอไม่สะดวก อีกทั้ง 4 ตำบลดังกล่าวมีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่หนาแน่น พอที่จะจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ และสาเหตุอีกประการหนึ่งคือ เป็นท้องที่มีผู้ก่อร้ายแทรกซึมและเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เป็นจำนวนสมควรที่จะมีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองออกไปควบคุม ดูแลและป้องกันอย่างใกล้ชิดจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 และต่อมามีความเจริญมากขึ้นจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2508 จนถึงปัจจุบัน

วัฒนธรรมการแต่งกาย 
ประเพณีการแต่งกายของชาวโย้ย แต่งกายด้วยเสื้อผ้าย้อมครามทอมือ เย็บด้วยมือสีกรมท่าเข้มออกดำ กางเกงขาทรงกระบอก เสื้อแขนทรงกระบอก มีผ้าขาวม้าฝ้ายไหมผูกเอว ส่วนหญิง เสื้อทำด้วยผ้าฝ้ายย้อมครามทอมือ สีดำแขนทรงกระบอกผ้าถุงเป็นผ้ามัดหมี่ทอเอง หรือผ้าไหมมัดหมี่มีหัวซิ่นและตีนซิ่น มีผ้าสไบลวดลายต่าง ๆ พาดไหล่

                                                              -3-

สามารถแต่งได้ทุกเวลา เป็นชุดแต่งกายที่ประหยัด ปัจจุบันชาวไทโย้ยบ้านอากาศอำนวยจะแต่งเฉพาะมีงานประเพณีเทศกาลงานบุญในหมู่บ้านเท่านั้น ในชีวิตประจำวันจะแต่งแบบง่าย ๆ เหมือนคนกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากจะซื้อจากตลาด แต่ถ้าเป็นงานศพจะแต่งกายไว้ทุกข์สีดำหรือขาวหรือสีสุภาพที่สุด อย่างไรก็ตามสำหรับการแต่งกายกลุ่มไทยโย้ยนี้พอจะแยกวัยได้ดังนี้

เด็กหญิง 
เสื้อ สวมเสื้อคอวง(คอกลม) มีจีบรูดถี่ ๆ ไม่มีแขน สวมหัว ตัดด้วยผ้าฝ้าย 
ผ้านุ่ง นิ่งซิ่นต่ง (ผ้าถุง) เป็นซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่นลาดเล็ก ๆ เรียกซิ่นคั่นหรือหมี่หมากไม (ผ้าที่ทอด้วยเส้นด้ายแค่ 2 สี) ปั่นผสมเข้าในหลอดเดียวกันทอออกมาจะเป็นลานหมี่คั่นหมากไนไม่ต้องทัดแบบมัดหมี่ทอได้เลย ลายของซิ่นนิยมลายขอลายหมากจับเป็นต้น 
ทรงผม นิยมตัดสั้นแค่ใบหู ปัจจุบันคือทรงบ๊อบ 
หญิงสาว 
เสื้อ สวมเสื้อต่อง เสื้ออ้อง (เสื้อชั้นใน) ผ่าหน้าติดหมากกะติ่ง(กระดุม)หรือผ้าเคียนอกเป็นผ้าขาวม้าฝ้ายย้อมครามขณะอยู่บ้าน 
เสื้อแขนกระบั้ง (แขนกระบอก) เมื่อไปทำบุญที่วัด บางครั้งจะห่มผ้าเบี่ยง(ผ้าสไบที่เป็นผ้าขาวม้าฝ้ายย้อมคราม หรือเป็นผ้าฝ้ายทอมือสีขาวไม่ย้อมคราม ชาวบ้านเรียกผ้าแพร) ทับตัวเสื้อ 
ผ้านุ่ง นุ่งซิ่นต่ง (ผ้าถุง) เป็นซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่น มักนุ่งแบบเหน็บชายพกไม่คาดเข็มขัด (เพิ่งมาคาดเข็มขัดเมื่อประมาณ 60 ปี ที่ผ่านมา แม้เมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ก็ยังนิยมเหน็บชายพกเป็นส่วนใหญ่) การนุ่งซิ่นของผู้หญิงต้องต่อตีนและหัวซิ่นเนื่องจากฟืมที่ใช้ทอมีหน้าแคบ ผ้าที่นำมาต่อเป็นผ้าฝ้ายทดลายคั่นทางยาวหลากสี เวลาทอจะทอทางขวางแต่เวลาต่อหัวซิ่นจะวางผ้าทางยาว นั่นคือเส้นยืนจะเป็นสีล้วนและเส้นคั่นใช้หลากสี ไม่นิยมต่อหัวซิ่นด้วยผ้าพื้น 
ทรงผม นิยมไว้ผมทรงซิงเกิ้ล ทรงดอกระทุ่ม ทรงบ๊อบ และผมยาวเกล้ามวยสูงก็มี สำหรับหญิงที่แต่งงานและมีบุตรแล้ว มักจะเปลือยอกเพื่อความสะดวกในการให้นมบุตรส่วนหญิงที่มีฐานะจึงจะสวมเสื้อทับเสื้ออ้องอีกชั้นหนึ่ง
 

                                                                   -4-

หญิงมีอายุ 
เสื้อ สวมเสื้อต่องหรือเสื้ออ้อง บางครั้งใช้ผ้าขาวม้าฝ้ายมาห่มเป็นผ้าเบี่ยงปิดหน้าอกเท่านั้นก็ไปไหน ๆ ได้ 
ผ้านุ่ง นุ่งซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่น 
ทรงผม ทรงซิงเกิ้ลหรือเกล้าผมมวยสูง 
เด็กชาย 
เสื้อ เดิมพ่อแม่มักไม่ค่อยได้ให้สวมเสื้อ พอโตขึ้นไปโรงเรียน จึงได้สวมเสื้อซึ่งตัดจาก  ผ้าฝ้ายทอมือมีทั้งย้อมครามหรือไม่ย้อมตามโอกาสที่ใช้ 
ซ่งหรือกางเกง ถ้าเป็นเด็กเล็กก็ไม่สวมซ่งหรือกางเกงโตขึ้นจึงจะได้สวม 
ทรงผม   ผมตัดสั้น

ชายหนุ่ม 
เสื้อ โดยทั่วไปไม่นิยมสวมเสื้อ ยกเว้นเมื่อไปวัดทำบุญ จะสวมเสื้อคอกลมผ่าหน้า      แขนสั้น ตัดด้วยผ้าฝ้ายทดมือย้อมคราม 
ซ่งหรือกางเกง แต่เดิมนุ่งผ้าขาวม้าฝ้ายแบบนุ่งผ้าเตี่ยวเมื่อออกทำงานและนุ่งผ้าโสร่งเมื่อไปวัดทำบุญหรืองานเทศกาลต่าง ๆ มีผ้าขาวม้าพาดไหล่ ในระยะต่อมานิยมสวมกางเกงที่เรียกว่า ซ่งอุดร(ทรงอุดร) เป็นกางเกงขาสั้นคล้ายกางเกงนักเรียนเข้าใจว่าพ่อค้าจากเมืองอุดรธานีนำเข้ามาขายในหมู่บ้าน ยังมีกางเกงอีกชนิดหนึ่งเป็นกางเกงขาสั้นหูรูด เรียกทรงหูฮุดหรือซ่งน้อยหูฮูด ภายหลังใช้เป็นกางเกงชั้นใน ต่อมามีกางเกงทรงฮั่งหรือกางเกงขาก๊วยเป็นกางเกงย้อมคราม ซึ่งสมัยนั้นเวลาตัดจะใช้พร้าหัวโต (มีดอีโต้) ตัดแทนกรรไกรและใช้มือเย็บเนื่องจากกรรไกรในสมัยนั้นหายาก มีราคาแพงต้องเก็บเอาไว้สำหรับตัดผม ไม่นำมาใช้ตัดเสื้อผ้า 
ทรงผม ไว้ผมทรงปีก คือ หวีผมแสกกลางมีปีกสองข้างเอาไว้สะลิด(สะบัด)ชายมีอายุ ถ้าอยู่บ้านอาจนุ่งขาวม้าหรือนุ่งซ่งหูรูด ไม่ค่อยสวมเสื้อ ยกเว้นไปวัดไปงานบุญก็จะแต่งกายเหมือนผู้ชายเผ่าอื่น ๆ กลุ่มโทโย้ยนี้นิยมทอผ้าฝ้ายย้อมครามใช้มาแต่ดั้งเดิม ภายหลังได้พัฒนาการทอผ้าฝ้ายในกลุ่มตนเองเป็นการทอแบบมัดหมี่เป็นลวดลายต่าง ๆ ปัจจุบันมีแหล่งทอผ้าฝ้ายดังกล่าวที่บ้านวาใหญ่ วาน้อย และบ้านดอนแดง ซึ่งมีชื่อเสียงในการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้และแก่นไม้เป็นต้น ผ้าที่ทอนอกจากจะทอเป็นผ้าซิ่น ผ้าตัดเสื้อแล้วยังมีการทอผ้าห่ม ผ้าจ่อง ที่มีลวดลายสวยงาม สามารถนำไปเป็นผ้าสไบได้อีกด้วย
 

                                                             **************

                                                4.ไทโส้

กลุ่มชาวไทยกะโซ่ บางท้องที่ก็เรียกว่าพวก "โซ่" แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน เขียนว่า "กะโซ่" ซึ่งยังมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับลาวโซ่งในจังหวัดเพชบุรี, นครปฐมและสุพรรณบุรี สำหรับลาวโซ่งคือพวกไทดำที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองจุ ไทยในสมัยกรุงธนบุรี ส่วน "ข่าโซ่" ซึ่งถือว่าเป็นข่าพวกหนึ่งอยู่ในตระกูลมอญเขมรกะโซ่ตาม ลักษณ์และชาติพันธุ์ถือว่าอยู่ในกลุ่มมองโกลอยด์ กะโซ่มีภาษาและขนมธรรมเนียมประเพณี แตกต่างไปจากพวกข่าทั่วไป แต่ภาษาของกะโซ่ก็ยังถือว่าอยู่ในตระกูล "ออสโตรอาเซียติค" สาขามอญเขมรหรือกะตู [Katuic] ซึ่งสถาบันวิจัยภาษาฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้รวบรวมไว้ ในภาษาตระกูลไทย

 

กะโซ่เมื่อร้อยปีก่อน 
(ถ่ายภาพโดยชาวฝร่งเศส 
เมื่อ พ.ศ. 2432)

ถิ่นฐานดั้งเดิมของพวกกะโซ่เดิมอยู่ที่เมืองมหาชัยในแขวง คำม่วนและแขวงสุวรรณเขตดินแดนลาวปัจจุบัน สำหรับเมืองมหาชัย เดิมชาวบ้านเรียกว่า "เมืองภูวา-นากะแด้ง" คือเมืองภูวดลฯ และบ้านนากะแด้ง เพราะว่าในสมัยที่ยังขึ้นกับราชอาณาจักรไทย (ก่อน พ.ศ.2436) เรียกว่าเมืองภูวดลสอางค์ เคยขึ้นกับเมืองสกลนคร แล้วโอนมาขึ้นกับเมืองนครพนมในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวกะโซ่อพยพ มาอยู่ในเขตเมืองสกลนคร, นครพนมและมุกดาหารในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนชาวกะโซ่ซึ่งอพยพมาจากแขวงอัดปือไปอยู่ในท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์เรียกว่าพวก "ส่วย" หรือ "กุย" พูดภาษาเดียวกับพวกกะโซ่

พวกกะโซ่ซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองหลายเมืองคือ 
(1) เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเชียงฮ่ม (ปัจจุบันอยู่ในแขวง สุวรรณเขตติดชายแดนญวน) ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราชขึ้นเมืองนครพนมเมื่อ พ.ศ.2387 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวบัวจากเมือง เชียงฮ่ม เป็น "พระอุทัยประเทศ" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมเป็น หมู่บ้านชาวไทยกะโซ่

(2) เมืองกุสุมาลย์มณฑล เป็นชาวกะโซ่ที่อพยพมาจากเมืองมหาชัยในแขวงคำม่วน อพยพข้ามโขงมาอยู่ที่บ้าน กุดสุมารตั้งขึ้นเป็นเมืองกุสุมาลย์มณฑล ขึ้นเมืองสกลนครใน พ.ศ.2387 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เพี้ยเมืองสูงหัวหน้าชาวกะโซ่ เป็น "พระอารัญอาษา" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

นอกจากนี้ยังมีชาวไทยกะโซ่อยู่ในท้องที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมซึ่งมีเขต ติดต่อกับอำเภอกุสุมาลย์อีกหลายหมู่บ้านเช่นที่ตำบลโคกสูงและ ที่บ้านวังตามัวในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม ในจังหวัดมุกดาหารมีชาวไทยกะโซ่อยู่ในท้อง ที่อำเภอดงหลวงเป็นส่วนมากซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยราชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2359 หัวหน้า ชาวไทยกะโซ่ดงหลวง ต่อมาได้เป็นกำนันคนแรกของตำบลดงหลวงมีนามบรรดาศักดิ์ว่า "หลวงวาโนไพรพฤกษ์" ชาวกะโซ่ในอำเภอดงหลวงส่วนมากใช้นามสกุลเดียวกันหมดคือนามสกุล "วงศ์กะโซ่"  

                                                           -2-

ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยกะโซ่ซึ่งยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื้อชาติเด่นชัด       ก็คือ "โซ่ถั่งบั้ง" หรือภาษากะโซ่เรียกว่า "สะลา" เป็นพิธีกรรมในการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือเรียกขวัญ และรักษาคนเจ็บป่วย กับพิธีกรรม "ซางกระมูด" ในงานศพ

 

พิธีกรรมโซ่ถั่งบั้ง ของชาวไทโส้

(1) พิธีกรรม "โซ่ถั่งบั้ง" เป็นพิธีกรรมของชาวกะโซ่ คำว่า "โซ่" หมายถึงพวกกะโซ่, คำว่า "ถั่ง" หมายถึงกระทุ้งหรือกระแทก คำว่า "บั้ง" หมายถึงบ้องกระบอกไม้ไผ่ โซ่ถั่งบั้งก็คือพิธีกรรมใช้กระบอก ไผ่ยาวประมาณ 3 ปล้อง กระทุ้งดินเป็นจังหวะแล้วมีการร่ายรำและร้องไปตามจังหวะในพิธีกรรม ของชาวกะโซ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อเสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์มณฑล (อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร) เมื่อ พ

คำสำคัญ (Tags): #สกลนคร3
หมายเลขบันทึก: 364795เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2010 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ หลายๆๆ จากกาฬสินธ์ ดินดำน้ำชุ่ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท