JUS COGENS หมายความว่า...


jus cogens คือ? และสำคัญกับกฎหมายอย่างไรหนา?

    jus cogens (จุ๊ซ-โก-เก้น)เป็นภาษาละตินแปลว่ากฎหมายบังคับเด็ดขาด หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศึลธรรมอันดีของประชาชน(Public Order)

     jus cogens เกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างไร

ในระบบกฎหมายภายใน(Municipal Law) ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชน "jus cogens" จะเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศึลธรรมอันดีของประชาชน กฎหมายใดๆที่ตราขึ้นใหม่หรือทำนิติกรรมสัญญาใดๆ อันมีวัตถุประสงค์ขัดกับ "jus cogens"แล้ว กฎหมายฉบับนั้นหรือข้อสัญญาดังกล่าว ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150 ประมวลแพ่งและพาณิชย์ตามกฎหมายไทย

ในระบบกฎหมายระหว่างประเทศ(International Law or Public International Law) อันเนื่องมาจากลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของหมายระหว่างประเทศประการหนึ่งที่ว่า"ไม่มีลำดับศักดิ์ในกฎหมายระหว่างประเทศ"(No Hirearchy of Sources of Internationl Law) หมายความว่าไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญา กฎหมายจารึตประเพณีระหว่างประเทศ หรือหลักกฎหมายทั่วไปนั้นมีค่าบังคับเสมอกันในทางกฎหมาย รัฐจะเลือกใช้กฎหมายระหว่างประเทศจากบ่อเกิดใดก็ได้ เช่น กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นใหม่อาจ ยกเลิก แก้ไข เปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาได้ เช่นเดียวกับการที่รัฐเข้าทำสนธิสัญญายกเลิก แก้ไขกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่รัฐเคยยึดปฎิบัติได้ ซื่งทำให้กฎหมายระหว่างประเทศต่างจากกฎหมายภายในซึ่งต้องลำดับศักดิ์ของกฎหมายเช่น กฎหมายไทย  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ ถัดลงมา พรบ. พรก. และลำดับสุดท้ายคือกฎหมายลำดับรอง เช่นกฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับ เป็นต้น กฎหมายที่มีค่าบังคับต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีค่าบังคับสูงกว่ามิได้ กฎหมายดังกล่าวจะเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ทันที  จากเหตุผลที่กฎหมายระหว่างประเทศไม่มีลำดับศักดิ์นี้เอง จึงเกิดแนวความคิดหนึ่งขึ้นว่า ในสังคมระหว่างประเทศควรจะมีกฎเกณฑ์บางอย่างที่จะมีค่าบังคับสูงสุดและเด็ดขาดที่รัฐต่างๆ จะดำเนินการหรือตรากฎหมายหรือสร้างกฎเกณฑ์อื่นใดขัดหรือแย้งกับหลักการนี้ไม่ได้เลย มิฉะนั้นการนั้นตกเป็นโมฆะ อันเป็นข้อยกเว้นในเรื่องไม่มีลำดับศักดิ์ในกฎหมายระหว่างประเทศ คือ  jus cogens อันเป็นกฎหมายบังคับเด็ดขาดหรือกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ได้ยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ(General Principles of Law as Recognised by Civilised Nations) ในเรื่อง การค้าทาส การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์(Genocide)หรือการกระทำการเป็นโจรสลัด นานาประเทศต้องถือปฎิบัติ กันอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดความสงบสุขในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไป

หนังสืออ้างอิง:

จาตุรนต์ ถิระวัฒน์,ศ.ดร.กฎหมายระหว่างประเทศ.พิมพ์ครั้งที่1:2547 สำนักพิมพ์มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์,หน้า 11

พิรุณา ติงศภัทิย์,ผศ.คำบรรยายรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง 1 LA390 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Rebecca M.M. Wallace.International Law A Student Introduction.Third Edition:1997, Page 33

หมายเลขบันทึก: 36470เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 01:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
ย้ายบ้านมาอีกแล้ว ช่วงนี้อาจจะได้อ่านของเก่าไปเก่าเนอะ....ไม่เป็นไรทวนความจำ...อิอิ

สิ่งเก่าๆบางครั้งเราก็ลืม  ถ้าไม่ได้ใช้บ่อยๆ

ทำดีแล้วครับ และน่าจะหาคำศัพท์ภาษาละติน

ในวิชาของอาจารย์ ดร.วิสูตร มาลงด้วยก็ดีนะ

เห็นด้วยค่ะ

รอแป๊บจะลงให้ทันใจเลยค่ะ...อิอิ

archanwell เมื่อ อ. 25 มิ.ย. 2549 @ 13:18 จาก 58.9.99.152   ลบ

ขอบใจจ๊ะที่ค้นมาเขียนให้ค่ะ น่าจะมีอ้างอิงด้วยนะว่า ที่เอามาอธิบายนี้เอามาจากไหน

แล้ว jus dispositivum ล่ะ ไม่อธิบายหน่อยหรือ

ฮิฮิ เรียกว่า ได้ห้าแล้วจะเอาสิบ

ดวงเด่น เมื่อ อ. 25 มิ.ย. 2549 @ 21:32 จาก 203.107.192.80   ลบ

ขอบคุณอาจารย์แหว๋วมากค่ะ ตอนนี้ได้อ้างอิงแล้วค่ะ และจะพยายามขอคำศัพท์เกี่ยวกับกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หรือ ภาษาละตินมาเสนอบ่อยๆ ค่ะ

 

 

รบกวนถามผู้รู้ค่ะ juscogens เป็นกฏหมายจารีตประเพณีหรือเปล่าคะ

 

รอคำตอบอยู่ค่ะกำลังจะสอบ

ตอบคุณแมวค่ะ 

 Jus Cogens หรือกฎหมายบังคับเด็ดขาดหรือเรียกว่า Peremtory Norm เป็นรูปแบบหนึ่งของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ แต่มีลักษณะพิเศษกว่าจารีตประเพณีระหว่างประเทศทั่วไป กล่าวคือ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันเป็นการทั่วไป(obligation erga omes) และรัฐต่างๆ ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลื่ยนแปลง ตลอดจนยกเลิกหลักกฎหมายเด็ดขาดนี้ได้ด้วยสนธิสัญญา เนื่องจาก Jus cogens เป็นหลักกฎหมายที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของมนุษยชาติ โดยหลักการของJus cogens นี้ได้รับการรับรองอย่างชัดแจ้งในArticle 53 ของอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 วางหลักว่า สนธิสัญญาใดๆ ซึ่งขัดแย้งกับหลักกฏหมายบังคับเด็ดขาดย่อมเป็นโมฆะ สนธิสัญญา และสนธิสัญญายอมรับหลักกฎหมายบังคับเด็ดขาดที่เกิดขึ้นใหม่ แม้ว่าตัวสนธิสัญญาเองมิได้บัญญัติหลักกฎหมายดังกล่าวโดยเฉพาะเจาะจง กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่เป็น Jus cogens เช่น โจรสลัด(Piracy) การค้าทาส(Slave Trade) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์(Genocide)  เป็นต้น

หมายเหตุ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน

http://en.wikipedia.org/wiki/Peremptory_norm

ขอบคุณท่านผู้อ่านที่คอยติดตาม ตลอดจนแสดงความเห็นค่ะ

นักกฏหมาย ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไรครับ ขอบคุณคับ

ขอบคุณสำหรับคำถามนะคะคุณตะวัน

คำว่า "นักกฎหมาย" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "lawyer" ค่ะ

แม้ว่าความหมายที่มักใช้กันนั้นจะแปลว่า "ทนายความ" ก็ตาม แต่ก็มีอีกความหมายหนึ่งซึ่งแปลว่านักกฎหมายก็ได้ค่ะ เช่น ในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายก็จะใช้คำว่า "English for Lawyer"

ดังนั้น คำว่า lawyer จึงมีความหมายดังนี้ค่ะ

1. ทนายความ

2. นักกฎหมาย

ขอบคุณครับอาจารย์

ยินดีมากค่ะที่เป็นประโยชน์กับคุณตะวัน

ขอบคุณค่ะที่ร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ

อาจารย์ครับผมอยากขอคำแนะนำจากอาจารย์คือว่าปีหน้าผมจะเรียนนิติศาสตร์ที่รามคำแหงผมอยู่จังหวัดน่านจะใช้วิธีเรียนเองแล้วไปสอบผมเรียนเองแบบนี้ผมเลยไม่รู้จะเริ่มจากแล้วผมก็ไม่มีใครแนะนำอะไรเลยคือผมอยากรบกวนอาจารย์แนะนำว่าควรเตรียมตัวยังไงบ้าง

1 การใช้คำเวลาตอบคำถามที่ถูกต้องตามหลักกฏหมาย

2 แนวข้อสอบแต่ล่ะวิชาส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับมาตราอะไร

3 อาจารย์ช่วยแนะนำมาตราที่เป็นหัวใจของแต่ล่ะวิชา

4 แล้วก็มาตราของแต่ล่ะวิชาที่ควรแน้นท่องที่เวลาไปสอบจะต้องเจอบ่อย

ผมขอรบกวนอาจารย์เท่านี้นะครับอาจารย์ช่วยแนะนำผมด้วยนะครับถ้ามีอะไรที่ผมควรศึกษาเป็นพิเศษขอให้อาจารย์ช่วยแนะนำผมด้วยนะครับ

กราบขอบพระคุณอาจารย์ด้วยความเครพนะครับ

อาจารย์ครับผมอยากขอคำแนะนำจากอาจารย์คือว่าปีหน้าผมจะเรียนนิติศาสตร์ที่รามคำแหงผมอยู่จังหวัดน่านจะใช้วิธีเรียนเองแล้วไปสอบผมเรียนเองแบบนี้ผมเลยไม่รู้จะเริ่มจากแล้วผมก็ไม่มีใครแนะนำอะไรเลยคือผมอยากรบกวนอาจารย์แนะนำว่าควรเตรียมตัวยังไงบ้าง

1 การใช้คำเวลาตอบคำถามที่ถูกต้องตามหลักกฏหมาย

2 แนวข้อสอบแต่ล่ะวิชาส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับมาตราอะไร

3 อาจารย์ช่วยแนะนำมาตราที่เป็นหัวใจของแต่ล่ะวิชา

4 แล้วก็มาตราของแต่ล่ะวิชาที่ควรแน้นท่องที่เวลาไปสอบจะต้องเจอบ่อย

ผมขอรบกวนอาจารย์เท่านี้นะครับอาจารย์ช่วยแนะนำผมด้วยนะครับถ้ามีอะไรที่ผมควรศึกษาเป็นพิเศษขอให้อาจารย์ช่วยแนะนำผมด้วยนะครับ

กราบขอบพระคุณอาจารย์ด้วยความเครพนะครับ

สวัสดีค่ะคุณตะวัน

ก่อนอื่นต้องเรียนว่าดิฉันไม่ได้จบจากม.ราม จึงไม่ทราบระบบการเรียนของเขาว่าเป็นอย่างไร ดังนั้น ดิฉันขอแนะนำ web site ของ thaijustice ค่ะ ให้ค้นหาใน google ค่ะ อาจพอช่วยแนะนำได้ โดยคุณตะวันตั้งกระทู้ถามได้เลยค่ะเกี่ยวกับการเรียนค่ะ

อย่างไรก็ดี ดิฉันพอจะตอบคำถามคุณตะวันได้บางข้อค่ะ

1. ดูตามบริบทของกฎหมายแต่ละเรื่อง เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา เป็นต้น ก็จะมีถ้อยคำเฉพาะ โดยคุณสามารถเรียนรู้จนเข้าใจได้จากการอ่านหนังสือค่ะ มันจะเคยชินไปเอง เพราะจะเจอถ้อยคำซ้ำๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่จะเรียน ส่วนตัวบทกฎหมตายหรือที่เราเรียกว่า "ประมวลกฎหมาย" นั้นก็ช่วยได้บ้างในส่วนคำจำกัดความในบทบัญญัติต้นๆ มักจะมีนิยามศัพท์ไว้บ้าง นอกจากนั้นก็มักพบถ้อยคำต่างๆ ได้จาก คำอธิบายรายวิชานั้นๆ เนื่องจากหากตั้งใจเรียนกฎหมายแล้ว จะปฏิเสธการอ่านตำรากฎหมายไม่ได้ เพราะตำรานั้นจะช่วยให้เข้าใจตัวบทและเจตนารมณ์ ตลอดจนประวัติเบื้องหลังของแต่ละมาตราค่ะ

2. อันนี้ดิฉันตอบไม่ได้ค่ะ ขึ้นอยู่กับวิชาที่คุณตะวันลงและขึ้นอยู่กับสถาบันที่สอนค่ะ ดังนั้น คุณตะวันอาจหาอ่านข้อสอบเก่าอ่านได้ที่หน้าม. ราม มีขายทั่วไป หรือไม่ก็อาจซื้อทางเนตก็ได้ค่ะเขารับสั่งทางเนตได้

3. ต้องขอโทษด้วยนะคะ เนื่องจากมีหลายวิชาและกฎหมายเรื่องหนึ่งๆ มีหลายมาตรา ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับวิชากฎหมายที่คุณตะวันลงว่าวิชาอะไรค่ะ ดังนั้น ดิฉันจึงอาจให้คำตอบได้ไม่ถนัดนักค่ะ

4. ต้องขอโทษด้วยนะคะอันนี้ดิฉันให้คำตอบไม่ได้ค่ะ เนืองจากเหตุผลตามข้อสาม

ขอบคุณสำหรับคำถามนะคะ

อย่างไรก็ดี หากจะเรียนกฎหมายแล้ว การแนะแนวเป็นเพียงเครื่องมือเบื้อต้นสำหรับผู้เรียนเท่านั้นค่ะ หากจะเก่งและเข้าใจตัวบทได้ดีแล้ว ขึ้นอยู่กับผู้เรียนอ่านและตั้งใจเป็นสำคัญ ดังนั้น ใคร่ขอแนะนำให้คุณตะวันตรวจสอบรายวิชาให้ดี และตั้งใจอ่านคำอธิบายของแต่ละรายวิชาจะชัดเจนกว่าค่ะ ดิฉันคงไม่อาจตอบได้ทั้งหมดว่าสิ่งใดสำคัญ หากผู้เรียนยังไม่ทราบถึงรายละเอียดเลยคงยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้

ดังนั้น ดิฉันจึงแนะนำได้ตามนี้ค่ะและต้องขอโทษที่ไม่อาจตอบได้ตรงตาที่คุณตะวันประสงค์ได้ค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับคำถามค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์นะครับที่กรุณาช่วยให้ความรู้

สวัสดีครับอาจารย์อาจารย์กรุณาให้คำแนะนำกระผมหน่อยนะครับว่าก่อนจะเรียนนิติศาสตร์ควรหาข้อมูลและเตรียมตัวยังไงบ้างครับ

/ขอบคุณครับ

อาจารย์ครับกระผมขอโทษอาจารย์นะครับที่ผมถามคำถามซําๆอาจารย์อย่าโกรธผมนะครับ

คือผมคิดมากไปหน่อยกลัวไปทุกอย่างกลัวว่าจะไม่เข้าใจกฏหมายกลัวว่าจะจำมาตราไม่ได้

แต่ผมอยากรู้กฏหมายยังไงถ้าไม่เป็นการรบกวนผมขอปรึกษาอาจารย์ในยามที่ผมต้องการความรู้เกี่ยวกับกฏหมายได้มั้ยครับ

ขอบคุณครับ

Jus Cogens ขอถามหน่อยค่ะ คำนี้ใช้กับกรณีขัดต่อกฏหมายภายในได้ไม่ค่ะ พอดีหนูจะสอบเกี่ยวกับเรื่องเขาพระวิหาร

หนูอยากทำว่าถ้าหนูเป็นทนายฝ่ายไทยหนูจะใช้หลักนี้ให้ยกเลิกได้หรือไม่ค่ะ เพราะหนูไม่เห็นด้วยกับหลักมาตรา190อ่ะค่ะ

สวัสดีค่ะคุณตะวัน และต้องขอโทษนะคะที่ตอบช้าค่ะ

คำถามที่ว่า "คำแนะนำกระผมหน่อยนะครับว่าก่อนจะเรียนนิติศาสตร์ควรหาข้อมูลและเตรียมตัวยังไงบ้างครับ"

ตอบได้ว่า

        ดิฉันมีข้อแนะนำดังนี้ค่ะ สามารถพลิกเเพลงให้เข้ากับคุณตะวัน รวมทั้งท่านผู้อ่านที่สนใจทุกท่านได้ตามความเหมาะสมค่ะ        

ประการแรก  ท่านต้องทราบก่อนว่าท่านเรียนรายวิชากฎหมายอะไร เพื่อเลือกตัวบทกฎหมายซึ่งอาจอยู่ในรูปของ ประมวลกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น หรือพระราชบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเครื่องมือของนักกฎหมายที่สำคัญได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ประการสอง คำถามที่ต้องสงสัยต่อมาคือ แล้วท่านจะเลือตัวบทอย่างไรให้เหมาะสมกับรายวิชา ส่วนมากเราจะทราบอยู่แล้วค่ะว่า ในรายวิชากฎหมายนั้นๆ จะใช้ตัวบทประเภทใด เช่น ถ้าเรียนเรื่องทรัพย์ ก็จะใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาเรียนกฎหมายอาญา ก็จะได้ประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น ค่ะ

ประการที่สาม การเลือกหนังสืออ่านประกอบรายวิชา ที่ม. รามนั้นจะมีตำราขายที่ดีและราคาไม่แพงค่ะ มีทั้งมือหนึ่งและมือสอง แต่ต้องลองไปที่หน้าม.รามดูนะคะ น่าจะได้ตำราที่เหมาะสมค่ะ

ที่ต้องมีการอ่านหนังสือประกอบรายวิชา โดยไม่ดูเฉพาะตัวบทเท่านั้น เนื่องจาก เราไม่อาจเข้าใจกฎหมายได้หาไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเรียนและเนื้อหา ตลอดจนเจตนารมณ์เบื้องหล้งได้ค่ จึงจำต้องทราบเนื้อหาจากหนังสือที่เป็นคำบรรยาย แต่ถ้ามีโอกาสก็ควรเข้าเรียน นอกจากนี ม.รามเองเค้ามีคำบรรยายย้อนหลังเป็น file เสียง ให้เราโหลดฟังทาง internet ค่ะ ดีมากๆ ค่ะ

ประการที่สี่ การลองทำข้อสอบเก่าค่ะ โดยลองทำ แล้วดูเฉลยว่าทำถูกต้องเพียงใด แต่ข้อสอบส่วนใหญ่เป็นแบบปรนัยหรือบรรยาย ทั้งแบบตุ๊กตาและบรรยาย (ความจำ) ต้องลองไปเรียนก่อนค่ะถึงพอจะนึกภาพออกค่ะ

สุดท้าย ทบทวนให้มากค่ะ

 

 

ขอบพระคุณคับอาจารย์

อยากจะทราบว่าอาจารย์หาคำบรรยายของอาจารย์พิรุณามาจากที่ไหนหรอคะ

หนูอยากจะได้มาอ่านประกอบการเรียนบ้างนะคะ

ขอบคุณคะ

สวัสดีค่ะคุณฟ้า สำหรับเอกสารประกอบการสอนของอ.พิรุณา ติงศภัทิย์ หาอ่านได้ที่ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์คณะนิติศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเอกสารห้ามยืมออกจากห้องสมุด แต่สามารถถ่ายเอกสารภายในได้ค่ะ

อาจารย์ค่ะหลักสุภาษิตละตินมันว่าด้วยเรื่องอะไรค่ะ

แล้วในกรณีการกระทำความผิดที่ลงโทษผู้กระทำความผิดมันจะมีหลักสุภาษิตว่าอย่างไรบ้างค่ะ

private lawmaking คืออะไรเหรอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท