หลักเสรีภาพในการแสดงเจตนาเกี่ยวข้องอย่างไรกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


เมื่อท่านเห็นคำว่า International Economic Law ท่านนึกถึงอะไร...?

   คำถาม"เมื่อเห็นคำว่า กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นักศึกษานึกถึงอะไร?"

  จากคำถามดังกล่าวทำให้ข้าพเจ้านึกถึง คำว่า" Freedom of Contract"หรือหลักเสรีภาพในการทำสัญญาซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไป(General Principle of International Law)

     เนื่องจากเมื่อได้ศึกษาในวิชา International Economic Law ในการเรียนการสอนครั้งแรกท่านอาจารย์แหว๋วได้อธิบายว่า แม้ว่าทางด้านถ้อยคำสำนวนไม่ว่าจะเป็นคำว่า Business Law หรือ Investment Lawหรือ Trade Law หรือ Commercial Law ล้วนแล้วแต่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าEconomic Lawคือกฎหมายเศรษฐกิจทั้งสิ้น

 คำว่า"เศรษฐกิจ(Economic)"ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525ได้ให้ความหมายว่า "งานอันเกี่ยวกับการจำหน่ายจ่ายแจกและการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆของชุมชน" หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่าเป็นการทำธุรกรรมอย่างหนึ่ง เช่น การแลกเปลี่ยนหรือสัญญาซื้อขายสินค้าและบริการ ระหว่างบุคคลสองฝ่าย เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนด้วยของต่อของอย่างในอดีตหรือโดยใช้เงินเป็นสื่อกลางดังเช่นปัจจุบัน

 และคำว่า"ระหว่างประเทศ(International)ก็ทำให้เกิดองค์ประกอบ"ต่างประเทศ"ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เกิดภายในรัฐเดียวกันซึ่งคู่สัญญาต้องตกอยู่ภายใต้กฎหมายภายในของรัฐนั้นๆเมื่อเกิดการโต้แย้งสิทธิหรือเหตุที่ทำให้ใช้สิทธิทางศาลได้ แต่Internationalเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป 

     กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(International Economic Law) จึงเป็นหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการทำธุรกรรมได้แก่ การลงทุนระหว่างประเทศ เช่นการทำสัญญาซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายขึ้นไปที่มีลักษณะต่างประเทศกล่าวคือ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างอยู่ในพื้นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ระบบกฎหมายเอกชนแตกต่างกัน ในนิติสัมพันธ์ ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน

    เพราะฉะนั้นจากคำถามข้างต้นทำให้ข้าพเจ้านึกถึงหลักเสรีภาพในการทำสัญญา(Freedom of Contract) ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่มีอยู่เบื้องหลังของกฎหมายพาณิชย์อันเป็นกฎหมายภายในของนานาประเทศ แม้ว่าแต่ละประเทศจะใช้ระบบกฎหมายที่แตกต่าง จึงถือว่าเป็นลักษณะระหว่างประเทศที่มีลักษณะสากลที่รัฐต่างๆ อาจนำหลักกฎหมายดังกล่าวมาบัญญัติในกฎหมายภายในหรือกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ก็ถือปฏิบัติตามหลักกฎหมายทั่วไปอันเป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศประเภทหนึ่ง

    คำว่า Freedom of Contractหรือหลักเสรีภาพในการทำสัญญา หมายถึงสัญญาที่มีพื้นฐานจากการตกลงร่วมใจผูกนิติสัมพันธ์กันระหว่างกันโดยความสมัครใจ ปราศจากการบังคับข่มขู่ ฉ้อฉลหลอกลวง หรือทำให้สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหรือทำให้สำคัญผิดในคุณสมบัติในทรัพย์หรือบุคคล ซึ่งทำให้การแสดงเจตนาทำสัญญาระหว่างคู่สัญญาไม่เป็นการใช้สิทธิเลือกโดยอิสระ ดังนั้นเมื่อการทำสัญญาเกิดขี้นโดยอิสระของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายแล้ว เมื่อเกิดการโต้แย้งสิทธิขึ้น ก็บังคับไปตามสํญญาที่ได้ตกลงกัน

     อย่างไรก็ตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญาก็มีเงื่อนไขว่า สัญญาดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ถ้าตกลงกันทำสัญญาขัดกับเงื่อนไขทางกฎหมายดังกล่าว ผลคือสัญญานั้นเป็นโมฆะ และศาลก็ไม่มีหน้าที่เข้าไปแทรกแซง เช่น การยกเลิกเพิกถอนการใช้อิสระในการทำสัญญาโดยชอบ อย่างไรก็ตาม หากเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบซิวิวลอร์(Civil Law) ศาลจะมีอำนาจเข้าแทรกแซงการทำสัญญาบางอย่างที่ทำให้คู่สัญญาฝ่ายที่มีอำนาจในการต่อรองน้อยกว่าเสียเปรียบได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายมารองรับการกระทำและวางเงื่อนไขเพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม อันถือว่าเป็นกฎหมายพิเศษที่ออกมายกเว้นหลักเสรีภาพในการทำสัญญา เช่น พรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  พ.ศ.2541ของประเทศไทย แต่ถ้าเป็นระบบคอมมอนลอว์(Common Law) ศาลก็มีอำนาจตัดสินโดยแปลข้อสัญญาให้เป็นธรรมแก่คู่กรณีได้    

        ถามว่าหลักเสรีภาพในการทำสัญญาเกี่ยวข้องอย่างไรกับกฏหมายเศรษฐกิจระหว่างรประเทศ ตอบได้ว่าในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ย่อมต้องเกิดจากหลักอิสระในการทำสัญญาของคู่กรณี(หมายถึงรัฐ)ที่เกิดจากความสมัครใจเป็นเบื้องต้น ธุรกรรมระหว่างประเทศจึงจะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์และหลักดังกล่าวเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่นานาประเทศต่างยอมรับ โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่นานาประเทศเพิ่งจะฟื้นตัวจากภาวะสงครามและเริ่มหันกลับมาฟื้นฟูระบบการเมืองการปกครองและที่สำคัญ คือ ระบบเศรษฐกิจโดยAndreas F. Lowenfeld ได้กล่าวไว้ในบทภูมิหลังของหนังสือ"International Economic Law"ในPart ii 'The GATT/WTO System' ข้อ 3 The General Agreement on Tariff and Trade:Original and Overview ข้อที่ 3.1 The Antecedents ว่า"...While the details do not fully comform to the general perceptions,the architects  of the post-war settlement saw the nineteenth century as a time of relatively open trade and of peace ,contrast to the first half of the twentieth century, a time of high tariffs,discriminatory economic arrangement.... "แสดงให้เห็นว่าในช่วงศตวรรษที่19นั้น   ในการทำข้อตกลงทางการค้า เป็นช่วงที่เปิดเสรีภาพทางการค้าประกอบกับทฤษฎีการเมืองที่เรียกว่า Laissez-faire ซึ่งเป็นแนวคิดที่เห็นว่ารัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงเรื่องของเอกชนด้วยกัน  ทำให้เกิดหลักฏหมายทางสัญญา  "Freedom of Contract" ซึ่งทุกคนมีสิทธิที่อิสระที่จะทำสัญญากันอย่างไรก็ได้ และเมื่อเข้าทำสัญญากันในเรื่องใดแล้ว เจตนาของคู่สัญญาจะต้องได้รับการยอมรับนับถือเพราะทุกคนอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมกัน กฎหมายจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับเอกชนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้(เว้นแต่มีการกล่าวหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญาเท่านั้นซึ่งบังคับใช้กฎหมายผ่านองค์กรฝ่ายตุลาการให้เป็นไปตามสัญญาเท่านั้นหรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน) กล่าวคือ คือเป็นไปตามกลไกตลาดอันเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันได้อย่างเสรี ซึ่งถ้าเรามองลงไปถึงรากฐานของถ้อยคำ "open trade "ก็มาจากแนวคิดเสรีภาพในการทำสัญญา(Freedom of Contract)นั่นเอง

     แต่ในราวๆศตวรรษที่ 20ซึ่งเป็นช่วงปฎิวัติอุตสาหกรรมในยุปโรปที่หลักเสรีภาพในการทำสัญญาเริ่มเลือนลางไปจากความเป็นจริง เพราะในชีวิตจริงทุกคนไม่อาจมีความเสมอภาคหรือเท่าเทียมกันในทุกเรื่องได้ อันเนื่องมาจากปัจจัยทางสถานะภาพทางสังคมเช่น ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เป็นต้น   จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเริ่มมีอุปสรรคในการทำสัญญาหรือการค้าในระหว่างประเทศ กล่าวคือมีอุปสรรคบางประการมาทำให้เสรีภาพในการต่อรองระหว่างคู่สัญญาลดลง อันเนื่องมาจากปัจจัยทางด้านสถานะหรืออำนาจในการต่อรองที่ต่างกัน ทำให้คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องเสียเปรียบจำต้องเข้าทำสัญญาด้วยความกดดันทางเศรษฐกิจหรือความบีบคั้นจากภาวะการณ์ทางสังคมโดยเฉพาะจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ    อุปสรรคทางการค้า ได้แก่การกีดกันทางการค้า(Protectionism) ไม่ว่าจะเป็นการกีดกันทางการค้าโดยตั้งกำแพงภาษีอันเป็นกรณีที่รัฐเก็บอัตราภาษีอากรจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าที่นำเข้าดังกล่าวมีราคาแพงชึ้นและยังผลให้มีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศลดลง  หรือการกีดกันโดยมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ดังนั้นรัฐต่างๆทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากการกีดกันทางการค้า จึงได้รวมตัวและรวบรวมรัฐต่างๆ จัดประชุมเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างรัฐสมาชิกทีละน้อย รูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจดังกล่าว เช่น การรวมกลุ่มของรัฐต่างๆ ในการเกิดGATT(General Agreement on Tariffs and Trade)ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเปิดการตลาดเสรี(Free Market or Open Market)ขึ้นโดยเริ่มต้นจากมวลรัฐสมาชิกให้ยอมรับกฎหมายระหว่างประเทศในรูปแบบอนุสัญญา ตลอดจนระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างรัฐภาคี และในที่สุดข้อตกลง GATT ในการเจรจารอบอุรุกวัย ก็ได้ก่อให้เกิดการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพขึ้นแทนที่GATTขึ้นตามข้อตกลงMarrakech เรียกว่า องค์การการค้าโลก(World Trade Organization or WTO)ซึ่งคงมีหน้าที่ตามที่GATTเคยทำไว้และข้อตกลงจากการเจรจารอบอุรุกวัยด้วย  แนวคิดของการเปิดตลาดเสรีหรือตลาดเปิดย่อมแสดงให้เห็นว่าหลักเสรีภาพในการทำสัญญาเป็นรากฐานแนวคิดในการลดอุปสรรคทางการค้าในปัจจุบันด้วย

หมายเหตุ  หนังสืออ้างอิง

     คนึง ฦาชัย,ศ.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ.พิมพ์ครั้งที่ 1: 2541 สำนักพิมพ์วิญญูชน ,หน้า16 ,23 (กล่าวถึงหลักfreedom of contract ไว้)

       นพนิธิ สุริยะ.Lecture Notes 1 กฎหมายระหว่างประเทศ.พิมพ์ครั้งที่ 4 :2547 สำนักพิมพ์วิญญูชน,หน้า 12

      Andreas F.Lowenfeld.International Economic Law.first published 2002 Oxford University Press ,Page 21

หมายเลขบันทึก: 36466เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2006 01:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เป็นบทความที่ย้ายบ้านมาเช่นกัน...แต่คงไม่ลบต้นฉบับออกเพราะเสียดายความคิดเห็นอันมีค่าของอาจารย์แหวว....

แต่บันทึกข้อความเหมือนกัน คนก็จะงง

ไม่ต้องลบหรอกค่ะ แต่เปลี่ยนเนื้อหาของบันทึกใหม่ให้ตรง concept กับชื่อบล๊อก

เอาไว้เขียนเรื่องที่ออกแนวสังคมวิทยากฎหมาย

ลองเอาไว้ตอบคุณไกรศร

ลองอ่านงานของเขาซิคะ คันหัวใจดี

http://gotoknow.org/blog/myarticles/36439

ขอโทษนะคะพี่กิ๊กที่เข้ามาตอบช้าไปหน่อยคือว่าพึ่งจะเข้าเป็นคะ ติ๊กได้อ่านบทความด้านบนแล้วนะคะดีมากเลยคะ  หวังว่าพี่กิ๊กคงจะเอาบทความดีๆแบบนี้มาลงให้เพื่อนๆได้อ่านกันอีกนะคะ

ไม่เป็นไรค่ะ

มาช้าดีกว่าไม่มาจ้า...

archanwell เมื่อ จ. 19 มิ.ย. 2549 @ 01:16 จาก 58.9.98.117   ลบ

ลองดูซิคะว่า ในตำรากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศนั้น มีการพูดเรื่องเสรีภาพในการทำสัญญาไหมคะ ?

อย่าลืมมาตบแต่ง ต่อเติมงานซิ้นนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท