ความหมายของค่าจ้าง


เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง

ความหมายของค่าจ้าง 

ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  คือ เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน  จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง    สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง  รายวัน  รายสัปดาห์  รายเดือน  หรือระยะเวลาอื่น  หรือจ่ายโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน      และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างใน    วันหยุดและวันลา   ที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541        จะขอยกตัวอย่างเรื่องจริงที่มีการตัดสินโดยศาลสูงสุดคือศาลฎีกา  ซึ่งได้ถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติว่าเงินที่นายจ้างจ่ายลักษณะใดบ้างที่เรียกว่าค่าจ้าง หรือไม่ใช่ค่าจ้าง ดังนี้

1. คำพิพากษาฎีกาตัดสินว่าเป็นค่าจ้าง  คือ  คำพิพากษาฎีกาที่  675/2517  เบี้ยเลี้ยงที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการที่ลูกจ้างออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานของนายจ้าง    อันเป็นการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างที่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นในการทำงานนอกสถานที่นั้น ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเช่นเดียวกับเงินเดือน  จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำไปรวมเพื่อคำนวณเงินทดแทนด้วย  

2. คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินว่าไม่เป็นค่าจ้าง  คือ คำพิพากษาฎีกาที่  213 – 218/2536   ค่านายหน้าหรือเปอร์เซ็นต์การขายจะถือเป็นค่าจ้างได้ต่อเมื่อเป็นการขายในวันและเวลาปกติของวันทำงาน    หากลูกจ้างนั้นไม่มีวันเวลาปกติของการทำงานคือจะขายเมื่อใดวันใดก็ได้ เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างเพราะมิได้ตอบแทนการทำงานในวันเวลาปกติของวันทำงาน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3645เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2005 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท