KM เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ


ต้องได้ "คุณกิจ" ตัวจริง
KM เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ
           ผมได้รับ อี-เมล์ จากคุณโอ เรื่อง KM เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะดังข้อความตัวอักษร
สีดำ     และผมตอบด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน
เรียนคุณหมอวิจารณ์ 
หลังจากการประชุมเครือข่ายวิชาการที่จัดที่ศาลายานครปฐม วันที่27-28 สิงหาคมที่ผ่านมา
ได้ฟังคุณหมอนำเสนอเรื่องการจัดการความรู้   และฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมแล้ว
กลับมาก็วางแผนการทำงานต่อโดยภาระรับผิดชอบหลักของงานก็คือ   การจัดการความรู้ในงาน
นโยบายสาธารณะ และชุมชนนักพัฒนานโยบายสาธารณะ
ที่ผ่านมากิจกรรมที่มีอยู่ของแผนงานก็คือ    การทำเว็บไซต์การจัดการความรู้ 
www.km.hppthai.org <http://www.km.hppthai.org/>   ที่เปิดพื้นที่ CoP 5 กลุ่มไปแล้ว 
สมาชิกก็คือสมาชิกที่สมัครตอนเปิดโครงการนี้  ร่วมกับ กพร. ตอนปี 2547 และมีสมาชิกที่เปิด
เข้ามารู้จักเว็บนี้เอง หลังจากนั้นได้จัด workshop  ขึ้นอีก 4 ครั้ง โดยคุณพูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ 
เป็นวิทยากร    หลังจากการประชุมก็ได้ผู้ประสานงานแต่ละ CoP แต่ปัญหาก็คือว่าเนื่องจากทุกคน
มีงานหลักทำ    ทำให้การสละเวลา หรือการเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยน การนำส่งเอกสาร 
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมก็ไม่มี ทำให้ความตั้งใจเดิมที่จะให้เว็บนี้ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มสมาชิกแกนหลัก
ที่สนใจ   ยังไม่เกิดขึ้นคะ
ความเห็น
           สงสัยว่าคนที่เข้ามาร่วมอาจไม่ใช่ “คุณกิจ” ตัวจริง    CoP ที่สมาชิกไม่ใช่ “คุณกิจ” 
ตัวจริงก็จะฝืดแบบนี้แหละ 
พอทำมาได้ระยะหนึ่งก็เกิดความคิดเรื่องการทำชุมชนของนักวิชาการที่แผนงานได้ให้ทุนสนับสนุน
การทำงาน  ซึ่งก็มีทั้งกลุ่มโครงการในพื้นที่และส่วนกลาง ที่คุณหมอได้พบในวันประชุมวันที่
28 ส.ค แล้ว    ขณะนี้กำลังวางแผนที่ขับเคลื่อนงานส่วนนี้ ในระหว่างที่วางแผนก็เกิดคำถามขึ้น
หลายๆ คำถาม ก็เลยอยากขอคำแนะนำ จากคุณหมอด้วยคะ
ตอนนี้ได้วางแผนว่าจะจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยจะเริ่มทำใน 3 วงก่อน ก็คือเรื่อง
สิ่งแวดล้อม, เกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย,  สวัสดิการชุมชน
เป้าหมายก็คือการได้ชุมชนนักพัฒนานโยบายสาธารณะในประเด็นนั้นๆ
และสังเคราะห์ความรู้ที่ได้เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ 
ยกตัวอย่างเรื่องสิ่งแวดล้อมจะเริ่มทำเรื่องการจัดการน้ำก่อน
กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องก็จะประกอบด้วย คนที่ทำเรื่องน้ำ คนที่ทำนโยบายเรื่องน้ำ
นักวิชาการเรื่องน้ำ    นักเคลื่อนไหวเรื่องน้ำ ทั้งในส่วนพื้นที่และส่วนกลาง องค์กรส่วนท้องถิ่นที่ทำเรื่องนี้
กระบวนการคือการจัดให้แต่ละคนมาเล่า success story ในสิ่งที่ทำอยู่  
เกิดคำถามว่า
   1.ไม่ว่าจะจัดประเด็นไหนก็ตามคนที่เราเลือก ต้องเป็น Best Practice หรือเปล่าคะ
คือทำแล้วประสบความสำเร็จ หรือถ้าเรา    คิดว่าทุกคนย่อมมีความรู้แฝงในตัวเอง เราก็เลือกคนที่กำลังพยายามขับเคลื่อนหรือผลักดัน   หรือทำงานนั้นๆ อยู่ 
ความเห็น
           ประเด็นสำคัญที่สุดคือต้องได้ “คุณกิจ” ตัวจริง มาร่วม    ยิ่งถ้าได้ “คุณกิจ” ที่มี
 Best Practice ยิ่งดี    คือควรพยายามหาคนที่มี Best Practice ต่างด้านกัน มา ลปรร. กัน     
ถ้ามีแต่ beginner ทั้งหมด การ ลปรร. ก็คงจะไม่สนุก 
  
  2. ถ้าเป็นกลุ่มคนที่มาจากหลายๆ ฝ่ายดังตัวอย่างเรื่องการจัดการน้ำ
ถ้าให้คนแลกเปลี่ยนกัน ควรจะจัดกลุ่มที่ทำงานเหมือนกันคุยกันจะดีกว่า
การผสมกลุ่มคนหรือเปล่าคะ เช่น นักเคลื่อนไหว ก็คุยในกลุ่มกันเอง คนทำนโยบายก็คุยกันเอง
เพราะจะมีคำถามต่อว่า    ถ้าคุยกันแบบผสมทีม เขาจะต่อยอดความรู้ได้ยังไง
เขาจะนำความรู้ที่ได้ยินได้ฟังไปปรับใช้กับสิ่งที่เขาทำอยู่ยังไง
ความเห็น
           ควรประชุมกันเป็นวงๆ    เอาคนที่ทำด้านเดียวกันอยู่ด้วยกัน    แล้วให้แต่ละวงเอา 
K Assets และเรื่องเล่าในกลุ่มมารายงานต่อที่ประชุมใหญ่    จะทำให้เกิด “การ เคลื่อนความรู้ผ่าน
กลุ่ม”    เกิดการยกระดับความรู้ขึ้นโดยอัตโนมัติ
  3. ถ้าเรื่องเกษตรอินทรีย์ ถ้าทางแผนงานทำงานนี้ ก็จะมีสิ่งที่ไปทับซ้อนกับกลุ่มที่ สคส.
กำลังทำเรื่องเกษตรอินทรีย์เหมือนกัน และในประเด็นอื่นๆ    ก็จะมีหน่วยงานอื่นๆ ทำเรื่องนั้นๆ อยู่เช่น พอช. ทำเรื่องสวัสดิการชุมชนอยู่   อยากขอคำแนะนำจากคุณหมอว่า ถ้าเป็นในกรณีแบบนี้ทางแผนงาน
จะวางแผนการไปเชื่อมการทำงานยังไง แต่ละองค์กรก็มีเป้าหมายอยู่
ทางแผนงานก็เน้นเรื่องนโยบายสาธารณะ แล้วจะเชื่อมกันได้อย่างไร
ความเห็น
            ผมมองตรงกันข้ามว่านี่คือโอกาสของความร่วมมือ    มสช. ควรเข้าไปร่วมมือกับหน่วย
งานเหล่านั้น    หมอสมศักดิ์ในฐานะที่มีคนนับถือมากจะทำหน้ามี่กรุยทางได้อย่างดี    
เราต้องไปหาเขาเพื่อแสวงความร่วมมือ
   4. ก่อนจะจัดให้มีการพูดคุยกันในกลุ่ม เช่นเรื่องการจัดการน้ำ
เราควรจะลงไปทำกลุ่มแต่ละภาค แต่ละพื้นที่ก่อน แต่ละเครือข่ายก่อน
 แล้วค่อยจัดเวทีรวมใหญ่ที่กรุงเทพ    เพื่อเป็นการสั่งสมความรู้และสร้างความเข้าใจในกระบวนการให้กลุ่มก่อนที่เราจะนำมาคุยกลุ่มใหญ่หรือเปล่าคะ
คือไม่แน่ใจว่าถ้าจัดกลุ่มรวมที่เดียว การจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่ แต่ละภาค
ก็จะมีวิธีการจัดการตามภูมิศาสตร์ สภาพวัฒนธรรม และปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อของตัวเอง
เวลาถ้าเราจัดแลกเปลี่ยนกันข้ามภาค    เขาจะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ยังไงกับพื้นที่ตนเองยังไง
ความเห็น
           ถ้ามีกำลังทำทีละภาคก่อน น่าจะดีกว่า    แล้วจึงเลือกกลุ่มเด่นๆ ของแต่ละภาคมา
 ลปรร. ที่ส่วนกลาง     อย่าลืมว่าเราต้องทำให้ผู้ได้รับเชิญรู้สึกว่าเขาได้รับเกียรติ 
คงจะขอรบกวนคุณหมอในเบื้องต้นแค่นี้ก่อน
แล้วเห็นคุณหมอเขียนใน Blog เรื่องที่จะกรุณาแนะนำยุทธศาสตร์ดำเนินการ เรื่อง
การเสริมพลัง CoP ด้วยพลังนักศึกษาปริญญาเอก 
สำหรับเรื่องการจัดการความรู้และเรื่องชุมชนนักพัฒนานโยบายสาธารณะ 
รวมทั้งการให้ทุนสนับสนุนนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก
คุณหมอสมศักดิ์มอบหมายให้โอรับผิดชอบ 
ก็จะขอความเห็นของคุณหมอในเรื่องนี้ด้วยนะคะ
ขอแสดงความนับถือ
อำพรรณ ไชยบุญชู
คุณอำพรรณ ไชยบุญชู
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ     
1168 ซ.พหลโยธิน 22 จตุจักร กรุงเทพ 10900
โทร 02-511-5855 # 125  แฟกซ์ 02-939-2143, 02-939-2122
e-mail : [email protected] 

 

           ความเห็นของผมไม่แน่ว่าจะถูกต้องเหมาะสมหรือไม่    พึงฟังด้วยยึดกาลามสูตรนะครับ
วิจารณ์ พานิช
๘ กย. ๔๘

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3643เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2005 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท