การนำเสนอการผลิตสื่อนวัตกรรม ชุดการสอน วิชาศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีหรรษา


การทำสื่อให้น่าสนใจ

           บล๊อกนี้คือข้าพเจ้าได้ทำชุดการสอนส่งเรียบร้อยแล้วนะค่ะ(การนำเสนอสื่อนวัตกรรมการศึกษาที่ผลิต)

โครงการการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา
ชื่อโครงการ  ทฤษฎีสีหรรษา
ชื่อผู้จัดทำโครงการ นางสาว อำภิรา อินน้อย รหัส 52741260 ป.52.02
หลักการและเหตุผล
           การผลิตสื่อการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเข้าใจในวิชาง่ายขึ้นและน่าสนใจ การสอนด้วยวิธีอ่านในหนังสือ หรือบรรยายให้ผู้เรียนฟังนั้นมันคงจะเป็นแบบสมัยก่อนแล้ว ปัจจุบันเนื่องจากมีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆทำให้เรามีโอกาสที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสีก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต เราควรนำมาเป็นสื่อในการเรียนการสอนได้ และให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด
          เราเรียนรู้เรื่องศิลปะมาจนสามารถบอกได้แล้วว่า ศิลปะคืออะไร ศิลปะแตกต่างจากธรรมชาติอย่างไร คราวนี้เรา ลองหลับตานึกภาพดูซิว่าถ้าโลกเราไม่มีสีเลย ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรามีแต่สีขาวกับสีดำ ไฟจราจรมีแต่ขาวกับดำ แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีขาวกับดำ ต้นไม้ ดอกไม้มีแต่สีขาวกับดำ จะเป็นอย่างไร เราคง อึดอัด หดหู่ดูไม่มีชีวิตชีวา ฉะนั้น "สี" จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตของเรา เพราะสีช่วยให้ชีวิตของเราดูสดใส ร่าเริง หรือเศร้าหมองก็ได้ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายขึ้น เราจึงจำเป็นต้องรู้จักกับ "สี" ก่อน เพราะในชีวิตของเราหรือในงานศิลปะ สี ช่วยให้เกิดความงาม ความรู้สึก เพราะสีมีความหมายเฉพาะตัวของแต่ละสีอยู่ แต่ก่อนที่เราจะศึกษาบทเรียนเรื่อง “ศิลปะการใช้สี” เรามาทำความเข้าใจรู้จักความหมายและความสำคัญ ของสีที่มีต่อวิถีชีวิตของเราอย่างไรก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
          สีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต  ซึ่งมนุษย์รู้จักสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์   ในอดีตกาลมนุษย์ได้ค้นพบสีจากแหล่งต่าง ๆ  จาพืช  สัตว์  ดิน และแร่ธาตุนานาชนิด จากการ ค้นพบสีต่าง ๆ เหล่านั้น มนุษย์ได้นำเอาสีต่าง    ๆ     มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยนำมาระบายลงไปบนสิ่งของ   ภาชนะเครื่องใช้ หรือระบายลงไปบนรูปปั้น รูปแกะสลัก เพื่อให้รูปเด่นชัดขึ้น มีความเหมือนจริงมากขึ้น  รวมไปถึงการใช้สีวาด ลงไปบนผนังถ้ำ หน้าผา ก้อนหิน เพื่อใช้ถ่ายทอดเรื่องราวและทำให้เกิดความรู้สึกถึงพลังอำนาจที่มีอยู่เหนือสิ่งต่างๆทั้งปวง  การใช้สีทาตามร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดความฮึกเหิม เกิดพลังอำนาจ   หรือใช้สีเป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง สีที่มนุษย์ใช้อยู่ทั่วไป ได้มาจากสสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และนำมาใช้โดยตรง หรือด้วยการสกัด  ดัดแปลงบ้าง จากพืช สัตว์  ดิน แร่ธาตุต่าง ๆ  สสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมี เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้ สะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นสีที่เราใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน  แสงเป็นพลังงานชนิดเดียวที่ให้สี โดยอยู่ในรูปของรังสี (Ray) ที่มีความเข้มของแสง
อยู่ในช่วงที่สายตามองเห็นได้
วัตถุประสงค์
          1.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีสี
          2.เพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
          3.เพื่อสร้างบรรยากาศให้ห้องเรียนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
          4.เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการที่ดีมากยิ่งขึ้น สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้
          5.เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม และมองเห็นเป็นรูปธรรม
ขอบเขตของสื่อนวัตกรรมที่นำไปใช้
          เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาศิลปะ เช่น การระบายสี ความหมายของสี การผสมของแม่สี การจัดกลุ่มของสี การแยกแยะสีต่างๆ เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 6
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          1.ผู้เรียนสามารถบอกสีต่างๆได้
          2.ผู้เรียนสามารถระบายสีตรงตามที่กำหนดไว้ได้
          3.ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการเรียนการสอน
          4.ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีสี
          5.ผู้เรียนมีความชอบ ความสนใจ กระตือรือร้น อยากเรียนในวิชา
          6.ผู้เรียนสามารถทราบสีต่างๆได้ในหลายๆวิธีหลายๆทางเลือกที่จะทำให้เข้าใจได้ง่าย
ขั้นตอนการดำเนินงาน
          1.ให้บททดสอบก่อนเรียนแก่ผู้เรียนโดยการให้ทำแบบฝึกหัดครบทุกข้อ
          2.ครูเฉลยให้นักเรียนเป็นข้อๆคนไหนไม่เข้าใจหรือตอบผิดให้ซักถามได้
          3.ครูผู้สอนให้ความรู้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับสีแต่ละสี
          4.ครูนำสื่อการสอนมาให้นักเรียนทดลอง          
5.ให้นักเรียนอ่านบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรคำถาม และบัตรเฉลย ในศูนย์ที่ 1,2 และ 3
6.ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยการหมุนกล่องทฤษฎีสีที่ได้จัดเตรียมมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในเนื้อหานี้ ซึ่งสื่อการสอนนี้สามารถสอนได้หลายวิธีหลายแบบหลายอย่างในสื่อเดียว
          6.หลังจากนักเรียนได้ทำกิจกรรมทำ 3 ศูนย์แล้ว ให้ครูทดสอบนักเรียนโดยการสุ่มหมุนกล่องทฤษฎีสีหรรษาแล้วให้นักเรียนตอบ เช่น หมุนในด้านวงจรสี 12 สี หมุนตรงสีอะไร ก็ให้นักเรียนตอบให้ถูกต้อง หรือหมุนในด้านการผสมสีของแม่สี 3 สี ว่าแม่สี 2 สีที่เห็นนี้ผสมกันแล้วจะได้สีอะไร และ หมุนในด้านวงจรสี 12 สีอีกครั้ง หมุนตรงสีอะไร ให้นักเรียนตอบความหมายของสีนั้นๆได้ตรงตามที่กำหนดไว้
          7.ให้ผู้เรียนได้ทดลองในการหมุนกล่องสีด้วยตนเอง หรือสามารถบอกความรู้แก่เพื่อนๆได้     
ระยะเวลาในการจัดทำ
          ประมาณ 1เดือน
งบประมาณที่ใช้จริง
          1.ค่ากล่องกระดาษ 10 บาท
          2.กระดาษสีแผ่นละ 3 บาท 12 แผ่น
          3.เหล็กที่ให้หมุนกระดาษ 20 บาท
          4.กระดาษแข็งและของตกแต่ง 100 บาท
          5.อื่นๆนอกจากนี้ ประมาณ 200 บาท
          รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 366 บาท

ขั้นตอนการผลิตสื่อนวัตกรรม 

  1.เริ่มจากการหากล่องกระดาษเพื่อมาทำสื่อการสอน เมื่อหาได้แล้วนำมาใช้สัก 1 กล่อง

  2. ซื้อฟิวเจอร์บอร์ดขนาดที่พอดีกับกล่อง

  3.ตัดเป็นรูปวงกลม

  4.ตัดกระดาษสี 12 สี เป็นรูป 3 เหลี่ยม 12 สีเท่าๆกัน

  5.ตัดกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเป็น แม่สี 3 สีที่ผสมเป็นสีใหม่ 1 สี คือ สีแดง 2 อัน สีน้ำเงิน 2 อัน สีเหลือง 2 อัน และสีใหม่คือ สีม่วง สีเขียว สีส้ม ที่ขนาดจะใหญ่กว่าสีเดิม 2 เท่า

  6.ทากาวติดกระดาษสีกับตัวฟิวเจอร์บอร์ดทั้งสองแผ่น

  7. เคลือบแผ่นใสกันน้ำทั้งสองแผ่น

  8.เจาะรูของกระดาษให้เป็นรูปดังนี้ เจาะทั้งสองข้างของกล่อง

  9.นำแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดเข้าไปโดนมีไม้กั้นไว้สำหรับให้หมุนได้

  10.เอาจุกปิดตรงด้านนอกทั้งสองข้าง

  11.ตกแต่งให้สวยงาม

กระบวนการจัดทำ / การผลิต

ลักษณะภายนอกของสื่อการเรียนการสอน

 

การบรรจุซองสื่อการสอน

เมื่อเปิดซองออกมาดูจะพบสื่อการสอนอยู่ดังต่อไปนี้

- คู่มือครู 1 เล่ม

- คู่มือนักเรียน 1 เล่ม

- ซองแบบฝึกปฏิบัติ

- ซองข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน

- ซองศูนย์ที่ 1

- ซองศูนย์ที่ 2

- ซองศูนย์ที่ 3

ซองบรรจุสื่อการสอนต่างๆและคู่มือครู

ลักษณะภายในของสื่อการเรียนการสอน

คู่มือครู-คู่มือนักเรียน

ลักษณะของบัตรงาน

ส่วนประกอบศูนย์ที่ 1-ส่วนประกอบศูนย์ที่ 2-ส่วนประกอบศูนย์ที่ 3

แบบฝึกปฏิบัติ

ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน

ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน พิจารณา ผลดังตาราง

 

 

ประเด็นที่ต้องการวัด

การพิจารณา

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3

 

S  R

 

 

 

IOC

1. สื่องานชิ้นนี้ได้ส่งเสริมช่วยเหลือครูโดยตรง

2. สนับสนุนและส่งเสริมให้ครูใช้วิธีสอนที่หลากหลาย

3.ส่งเสริมให้ครูจัดกลุ่มนักเรียนในชั้นเรียนตามความสามารถ

4.การสอนโดยใช้ขั้นตอน ดังนี้ การใช้แบบฝึกหัดก่อน-หลัง

5.ส่งเสริมให้ครูนำผลการสังเกตการสอนมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการสอน

6.จัดรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับการใช้หน่วยการเรียนรู้ถูกต้อง

7.นักศึกษาได้ผลิตสื่อการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

8.สื่อที่ผลิตสอดคล้องกับจุดประสงค์ในการผลิตสื่อนวัตกรรม

9.สื่อที่ผลิตได้แก้ปัญหาการเรียนที่เกิดกับนักเรียนได้

10.รูปแบบสื่อ และการใช้วัสดุที่นำมาใช้ นั้นเห็นเหมาะสม และนักเรียนให้ความสนใจ

+1

+1

+1

 

0

 

+1

 

+1

 

+1

 

+1

 

+1

+1

+1

+1

+1

 

+1

 

0

 

+1

 

+1

 

0

 

+1

+1

+1

+1

+1

 

+1

 

+1

 

+1

 

+1

 

+1

 

+1

+1

3

3

3

 

2

 

2

 

3

 

3

 

2

 

3

3

1.00

1.00

1.00

 

0.6

 

0.6

 

1.00

 

1.00

 

0.6

 

1.00

1.00

รวม

9

8

10

27

8.8

E1 =      (Σ X/ N )/A   × 100 

E1    คือ   ประสิทธิภาพของกระบวนการ

ΣX    คือ   ผลรวมของคะแนนนักเรียนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน

A     คือ   คะแนนเต็มของแบบวัด

N     คือ   จำนวนนักเรียน

การแทนค่าในสูตร

          E1=(27/3)/30× 100 

              =    30

ค่า IOC มีค่า -1 ถึง 1 คำถามที่ดีควรมีค่า IOC เข้าใกล้ 1 ถ้าต่ำกว่า 0.5 ควรปรับปรุงแก้ไข

ในการทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอนวิชา ศิลปะเรื่อง “ทฤษฎีสีหรรษา” แบบเดี่ยว (1:1) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 คน ได้ผลการทดสอบ ดังนี้

 

 

ผู้เรียน

 

คะแนนกิจกรรม

คะแนนสอบก่อนเรียน

(10)

คะแนนสอบหลังเรียน

(10)

 

ศูนย์ที่ 1

(3)

 

ศูนย์ที่ 2

(3)

 

ศูนย์ที่ 3

(3)

คะแนนรวม

(9)

1

3

2

3

8

10

10

2

3

3

3

9

8

10

3

3

3

3

9

10

10

 

รวม

26

28

30

 

เฉลี่ยร้อยละ

28.9

28.00

30.00

 ในการทดสอบแบบกลุ่มชุดการสอนนี้มีประสิทธิภาพ 28.9/30

E1=(26/3)/27× 100   

    =   32

E2 =(28.9/3)/27× 100   

     =  32.1

 ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิต และการแก้ไขปัญหา

                ปัญหา ไม่ค่อยมีเวลาในการจัดทำสื่อการเรียนการสอน

                การแก้ไขปัญหา จัดสรรแบ่งเวลาให้ได้และสามารถทำงานเสร็จทันเวลาและพยายามทำสื่อให้น่าสนใจ

คำสำคัญ (Tags): #สื่อการสอน
หมายเลขบันทึก: 364124เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2010 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณที่ชมค่ะ

คุณ พีรพงษ์

ขอบคุณที่แวะมาทักทายนะค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึง สบายดีนะคะ
  • วันนี้บุษราได้นำภาพดอกไม้สวย ๆ มาฝากกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                         

น่าจะมีรูปของนวัตกรรมด้วยนะครับอยากเห็น

เป็นครูสอนศิลปะเหมือนกัน  กำลังจะทำสื่อ มีอะไรดีๆแนะนำบ้าง

ดอกไม้สวยมากค่ะ

เก่งจัง น่ารักมากๆด้วยค่ะ(ครูศิลปะน่ารักทุกคน อิอิ)

เนื้อหาน่าสนใจดีครับ..ยินดีที่ได้ศึกษา..

เนื้อไม่แน่นเท่าไร

วิธีทำจึงไม่ค่อยเข้าใจนัก

เป็นครูสอนศิลปะค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท