ความตกลงระหว่างประเทศเพื่อจัดการปํญหาสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อมกับการค้าเสรี


การที่ประเทศต่างๆเริ่มหันมาให้ความสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ก็เนื่องมาจากการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศที่มีการทำข้อตกลงความร่วมมือต่างๆเพื่อนำไปสู่ตลาดการค้าเสรี

            การที่ประเทศต่างๆเริ่มหันมาให้ความสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ก็เนื่องมาจากการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศที่มีการทำข้อตกลงความร่วมมือต่างๆเพื่อนำไปสู่ตลาดการค้าเสรี นำไปสู่การขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  เมื่อมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจการใช้ทรัพยาการธรรมชาติก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เพราะการพัฒนาด้านการค้าและเศรษฐกิจย่อมมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการปล่อยมลภาวะแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นเช่น การอุตสาหกรรมก็ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  การทำประมงโดยใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสมก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ทะเลอื่นได้ ประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วได้กำหนดมาตรการรวมทั้งมาตรฐานในการป้องกัน และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไว้ในระดับสูง และพยายามที่จะผลักดันหรือบังคับให้ประเทศที่กำลังพัฒนาปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรการ และมาตรฐานในการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระดับที่ใกล้เคียงกัน

              ซึ่งในการดำเนินนโยบายทางการค้าและประเทศที่พัฒนาแล้วดังกล่าวทำให้เกิดข้อกังขาว่าเป็นการใช้มาตรการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเท่านั้นหรือใช้โดยมีเจตนาแอบแฝงในการกีดกันทางการค้า ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการค้าและขัดต่อหลักการค้าเสรี

              สิ่งที่ได้รับผลกระทบจากการค้า คือ สิ่งแวดล้อมนั้นยังไม่มีความตกลงทั่วไป ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงมีสิทธิโดยอิสระที่จะดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและระหว่างประเทศด้วยตนเอง และสิทธิดังกล่าวนี้ถูกยืนยันไว้ใน  the Rio Declaration on Environment and Development ( ปฏิญญาริโอเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ) ข้อ 11 ซึ่งกำหนดว่า รัฐต่างๆ สามารถที่จะออกกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผลได้ ประเทศจึงมีการสร้างความตกลงในระดับระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นจำนวนมากโดยที่ความตกลงทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายๆฉบับมีผลกระทบต่อการค้าเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลกระทบต่อประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย ซึ่งประเทศที่พัมนาแล้วซึ่งมีมาตรฐานในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่สูงกว่ามักหยิบยกเรื่องปัญหารสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้อกีดกันทางการค้าอยู่เสมอ

และในปัจจุบันจากความต้องการที่จะจัดการกับความสัมพันธ์ของการค้าเสรีและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจึงได้มีสร้างองค์กรเฉพาะขึ้น เรียกว่า คณะกรรมาธิการการค้าและสิ่งแวดล้อม ( the WTO Committee on Trade and Environment : CTE )ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งของWTO ซึ่งมีวัตถุประสงค์พื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการการค้าและมาตรการทางสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่การที่WTO ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม WTO จึงไม่สามารถที่จะเป็นสถาบันหลัก ( a compulsory institution ) ที่จะทำงานอันเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง เว้นแต่เฉพาะกรณีที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเกี่ยวเนื่องกับทางการค้า ( the environmental problems related to trade ) เช่น การรณรงค์ใช้สินค้าที่ปิดฉลากเขียว ( eco-labeling )

            จากทางปฏิบัติที่ผ่านมาทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมจะถูกนำมาพิจารณาก็ต่อเมื่อมีข้อพิพาททางการค้าหรือมีประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการค้าเกิดขึ้น  ในปัจจุบันนี้ประเด็นการค้าที่เกี่ยวพันกับปัญหาสิ่งแวดล้อมบางปัญหายังได้ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกัน เช่นในเรื่องอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ( the Technical Barriers to Trade : TBT )  มาตรฐานสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช ( Sanitary and Phytosanitary Standards : SPS ) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ( Trade Related Intellectual Property : TRIRs )

               โดยที่องค์การแค่องค์กรเดียวย่อมไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาต้างๆเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ในทุกๆด้าน ต่อมาจึงเกิดการขยายตัวและพัฒนาของการทำความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นจึงเกิดความตกลงระหว่างประเทศหรือสนธิสัญญาพหุภาคี เช่นUnited Nations Environment Program (UNEP) เป็นองค์กรขององค์การสหประชาชาติที่เข้มมีบทบาทจัดการทำให้เกิด Vienna Convention For Protection of the Ozone Layer 1985 และ Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer 1987 ซึ่งเป็นความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม ( Mutilateral Environmental Agreement :MEAs)

               MEAs หมายถึง ความตกลงใดซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐสองรัฐขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะจัดการกับสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ เช่น อากาศ น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพมนุษย์  MEAs นั้นมีบางบทบัญญัติซึ่งมีปัญหายุ่งยากในการบังคับใช้ เพราะมักมีข้อจำกัดทางการค้าเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่ความคิดที่ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วนำเรื่องการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อกีดกันทางการค้าต่อประเทศที่กำลังพัฒนา

              จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการผสานประโยชน์ระหว่างการค้าเสรีและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้โดยง่าย แต่ในทางกลับกันการพัฒนาทางด้านการค้าก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยเผยแพร่เทคโนโลยีในการควบคุมมลภาวะได้ ซึ่งในที่สุดแล้วประเทศต่างๆเองก็ควรที่ตระหนักว่าในการใช้นโยบายทางด้านการค้าเพื่อตลาดเสรีของประเทศนั้นต้องดำเนินควบคู่ไปกับมาตรการในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผลเพียงพอด้วย

 
หมายเลขบันทึก: 36358เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2006 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 01:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท