กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อสื่อสารมวลชนโลก(ดาวเทียม)ครั้งที่2


         หากจะกล่าวถึงกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศว่าเหตุใดจึงมีอิทธิพลต่อสื่อสารมวลชนโลกก็เพราะว่าปัจจุบันช่องทางการสื่อสารทางเทคโนโลยีมีลักษณะเป็นการติดต่อข้ามประเทศข้ามทวีป ส่วนการติดต่อภายในประเทศก็มีลักษณะก้าวหน้าขึ้น

           ดังนั้นธุรกิจเกี่ยวกับการสื่อสารจึงกลายเป็นธุรกิจข้ามชาติที่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเเละผลกำไรที่ได้รับก็มีจำนวนมหาศาลเช่นกัน การลงทุนส่วนใหญ่ก็จะมีลักษณะเป็นการร่วมทุนระหว่างประเทศ เเต่อย่างไรก็ตามธุรกิจนี้ก็มีปัญหาบางประการเช่นกัน เช่นผลกระทบทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผลกระทบทางกฎหมาย ผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นประเทศในโลกทุกๆภูมิภาคจึงพยายามที่จะหาวิธีทางที่จะสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อใช้บังคับทางระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ของตนมากที่สุด

           ในครั้งนี้จะกล่าวถึงการสื่อสารดาวเทียมก่อนเนื่องจากเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วที่สุดเเละมีผลกระทบต่อกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมาก                                     

การสื่อสารดาวเทียม เป็นพัฒนาการด้านเทคโนโลยีด้วยการใช้ดาวเทียมเพื่อเป็นข่าววงจรการสื่อสารร่วมกันกับระบบเคเบิลใต้ทะเล เเละระบบการสื่อสารบนดิน ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร เป็นดาวเทียมแบบ Synchronus Satellite ซึ่งใช้เวลาโคจรรอบโลกเท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองคือ 24 ชั่วโมง ทำให้สถานีทางภาคพื้นดินสามารถรับสัญญาณได้ตลอดเวลา ประเทศรัสเซียได้ส่งดาวเทียมเป็นดวงเเรกคือดาวเทียม Sputnik ต่อมาประเทศอื่นๆจึงได้ดำเนินการส่งดาวเทียมต่อๆมา

ต่อมาไม่นานรัฐบาลหลายๆประเทศสามารถบรรลุถึงข้อตกลงในการสามารถจัดข่ายวงจรโทรคมนาคมระหว่างประเทศด้วยดาวเทียมที่เป็นระบบเดียวกันได้ในปี 1964 ได้มีการจัดตั้งองค์กรดาวเทียมโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือชื่อย่อเรียกว่า Intelsat

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสากลได้มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นระบบเดียวกันเเละไม่ให้เกิดการขัดเเย้งดั้งนั้นต้องมีกฎหมายเข้ามาควบคุมเรื่องดังกล่าว กฎหมายในที่นี้คงหนีไม่พ้นพื้นฐานทางกฎหมายอวกาศหรือSpace Law

กฎหมายอวกาศมีหรือไม่ ? ใช้กันอย่างไร ? มีความสำคัญอย่างไร ?

               กฎหมายอวกาศ หรือ Space Law กำหนดขึ้นมาโดย องค์การสหประชาชาติ เป็นความตกลงร่วมกันพื้นฐานมีใจความสำคัญว่า : อวกาศเป็นของมนุษยชาติ ใคร หรือประเทศใดจะยึดครองเป็นกรรมสิทธิ์มิได้ แต่หลักการนี้ก็มีขอบเขตที่ชัดเจนโดยระบุข้อจำกัดที่ชัดเเจ้งไว้ในเรื่องการใช้อวกาศทางสันติเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้อวกาศเป็นเวทีเเห่งการขัดเเย้งหรือสมรภูมิทางด้านทหาร นอกจากนี้รัฐต้องใช้อวกาศอย่างมีความรับผิดชอบ โดยเมื่อใดได้ก่อความเสียหายให้กับรัฐอื่นก็ต้องรับผิดชอบเเละชดใช้ อีกทั้งเพื่อความปลอดภัยในการดำเนินกิจกรรมต่างๆสำหรับรัฐทั้งปวง โดยกฎเกณฑ์พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อวกาศในปัจจุบันมีฐานะเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศได้ถูกเรียบเรียงไว้ในสนธิสัญญาเกี่ยวกับหลักกฎหมายอวกาศ ค.ศ.1967 Treaty on Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space, including the Moon and Other Celestial Bodies (1967)โดยประเทศมหาอำนาจได้ร่างขึ้นมา และได้ยังถูกสร้างเพิ่มเติมหลักกฎหมายเหล่านั้นโดยการทำเป็นสนธิสัญญาหลายฉบับต่อมา

              ปัจจุบันได้มีการตระหนักถึงกฎหมายในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ได้มีการนำเรื่องดังกล่าวไปประชุมในเวทีระดับต่างๆ เช่น สหประชาชาติ อาเซียน สหภาพยุโรป เป็นต้น โดยจะมีการประชุมกฎหมายอวกาศในประเทศไทยเดือนสิงหาคมคือ

SPACE LAW CONFERENCE 2006
"Asian cooperation in space activities: A COMMON APPROACH TO LEGAL MATTERS"
1-4 August 2006 - Asia Hotel - Bangkok - Thailand


 


      

หมายเลขบันทึก: 36354เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2006 03:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท