ชีวิตที่พอเพียง : 54. เรียนรู้จากลูก


ชีวิตที่พอเพียง : 54. เรียนรู้จากลูก

  • ลูกทุกคนเป็นเหมือนครู เขาเกิดมาสอน หรือให้บทเรียนแก่พ่อแม่ • ลูก ๔ คน ก็ได้ ๔ บทเรียน ที่ไม่เหมือนกัน
  • เมื่อเขาเติบโตขึ้น บทเรียนที่เขาให้ ก็เปลี่ยนไป
  • บทเรียนข้อแรกที่ผมได้ คือพ่อแม่มีหน้าที่ให้ความรักแก่ลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรักที่ไม่มีเงื่อนไข (unconditioned love) ตอนนี้ลูกคนสุดท้องอายุ ๒๖ ปี เป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว หน้าที่หลักของเราในฐานะพ่อแม่คือการให้ความรัก การสนับสนุนทางใจแก่ลูก
  • ผมเรียนรู้ว่าการเป็นลูกผมคล้ายๆ ต้องแบกอะไรไว้ เนื่องจากสังคมคาดหวัง หรือจริงๆ แล้วตัวเราเองนั่นแหละแสดงท่าทีคาดหวังโดยไม่รู้ตัว
  • เรื่องแบกฐานะนี้ผมก็มีประสบการณ์ คือคนชอบเอาฐานะความเป็นหมอมาให้เราแบก ใหม่ๆ ผมก็งง แต่ไม่ช้าก็รู้ตัว และรีบปลดความคาดหวังนี้ลงจากบ่า ความเป็นหมอนี่สังคมเขาคาดหวังว่าเราจะต้องมีเงิน เวลามีงานการกุศลต้องแสดงความมีใจกุศลโดยบริจาคเงินก้อนโต สำหรับผมเรื่องแบบนี้เล่นไม่ยาก คือให้ทำตัวสบายๆ ตามความเป็นจริง อย่าไปฟูแฟบตามการเชิดของสังคม
  • ลูกเขาก็มีวิธีเอาตัวรอด ไม่ให้เงาของพ่อแม่มาทับเขา ลูกคนโตเมื่อเข้าโรงเรียนเตรียมฯ ก็ปกปิดชื่อพ่อสุดฤทธิ์ไม่ให้ใครรู้ว่าชื่อพ่อของเขาติดอยู่ที่บอร์ดในห้อง 112 ที่เป็นคล้ายๆ Hall of Fame ของโรงเรียน
  • ลูกของผมทุกคนจะหนีเงาของพ่อแม่สุดขอบฟ้า จึงไม่มีใครเรียนหมอเลย เขาต้องการเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่เป็น "ลูกหมอวิจารณ์"
  • ผมมักเตือนสติภรรยาเสมอว่า "ลูกไม่ใช่สิ่งของของเรา" เขามีชีวิตและวิญญาณอิสระของตนเอง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง เราอย่าไปคาดหวังว่าเขาจะเป็นหรือทำอย่างที่เราต้องการ หน้าที่ของเราคือช่วยเตือนสติ ประคับประคอง สนับสนุน ภาษาด้านการจัดการเขาเรียกว่า empowerment ไม่ใช่ management
  • ลูกแต่ละคนมีนิสัย จริต และพฤติกรรมต่างกัน ทำให้เราได้บทเรียนที่หลากหลาย

วิจารณ์ พานิช

๗ มิย. ๔๙

บนเครื่องบินไปนิวยอร์ก

หมายเลขบันทึก: 36332เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ โดยเฉพาะในส่วนที่พูดถึงการจัดการเลี้ยงดูลูกแบบ empowerment เห็นว่าคุณพ่อ คุณแม่ปัจจุบันมักจะใช้วิธี management ตั้งแต่เล็กจนโต ตัวเองเห็นว่าเรา"ต้อง" manage พวกเขาในวัยเด็กเท่านั้น พอเขาเริ่มคิดได้เอง เราควรเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจให้เขามากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ควรชี้นำแกมบังคับให้เขาเป็นอย่างที่เราต้องการ เราควร respect ความเป็นตัวของลูกด้วย

ตัวเองมีบทเรียน 3 บทที่แตกต่างกัน และยังคงติดตามผลงานวิธีการที่ใช้อยู่ค่ะ ว่าสมควรเผยแพร่เป็นแบบอย่างเหมือนที่อาจารย์ทำมาแล้วไหม หวังว่าอาจารย์จะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตอนลูกเป็นวัยรุ่นบ้างนะคะ

ดิฉันแวะเข้ามาอ่านแล้วเห็นด้วยในสิ่งที่อาจารย์พูดและคุณโอ๋ -อโณ เพราะบทเรียน 2บท ดิฉันใช้ management ทำให้บทเรียนเกิดปัญหา เมื่อบทเรียนมีปัญหาดิฉันต้องมาใช้empowerment แทน ไม่รู้ว่าจะสายเกินไปหรือเปล่า คงจะให้เวลาเป็นตัวพิสูจน์ต่อไป และคงจะรอคอยประสบการณ์การดูแลลูกของอาจารย์ตอนเป็นวัยรุ่นเช่นกันคะ
ดิฉันแวะเข้ามาอ่านแล้วเห็นด้วยในสิ่งที่อาจารย์พูดและคุณโอ๋ -อโณ เพราะบทเรียน 2บท ดิฉันใช้ management ทำให้บทเรียนเกิดปัญหา เมื่อบทเรียนมีปัญหาดิฉันต้องมาใช้empowerment แทน ไม่รู้ว่าจะสายเกินไปหรือเปล่า คงจะให้เวลาเป็นตัวพิสูจน์ต่อไป และคงจะรอคอยประสบการณ์การดูแลลูกของอาจารย์ตอนเป็นวัยรุ่นเช่นกันคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท