ดูงาน บ. ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด (ตอนที่ 4)


ปูนแก่งคอยให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์หรือบุคลากรภายในองค์ก่อนเป็นอันดับต้นๆ และมีความเชื่อว่าความสําเร็จขององค์กรอยู่ที่ความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กร

      

       เป็นที่น่าสนใจว่า แนวทางการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนนั้น ปูนแก่งคอยให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์หรือบุคลากรภายในองค์ก่อนเป็นอันดับต้นๆ  และมีความเชื่อว่าความสําเร็จขององค์กรอยูที่ความจงรักภักดีของพนักงานที่มีต่อองค์กร ความสามารถที่จะเรียนรูสร้างสรรคประโยชนและความไดเปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนความสามารถในการเรียนรูที่จะทํางานรวมกัน งานสําคัญลําดับแรกของผู้บริหารคือการให้ความใสใจในการพัฒนาพนักงานใหมีความสามารถสูงสุดตามศักยภาพที่แตละคนมีอยูและการสร้างแรงบันดาลใจใหทุมเทกับการทํางานเต็มกําลังความสามารถ และเพื่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้หลักการดังนี้

  1. มุ่งสู่ความเป็นเลิศ  (Personal Mastery)
  2. รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง  (Mental Models)
  3. การสร้างและสานวิสัยทัศน์ (Shared Vision)
  4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
  5. ความคิดความเข้าใจเชิงระบบ (Systems Thinking) 

 การเน้นการสร้าง Core Value

  1.       Sustainable
  2.        Hands-on
  3.        Stretch Goals ผ่าน Balance Score card
  4.        Assertive ผ่านโปรแกรมผู้นำและกิจกรรม Show & share
  5.        Innovative เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีว่า

สำหรับเครื่องมือที่ ปูนแก่งคอยใช้สำหรับการเรียนรู้ได้แก่

  • Objective support 5th Disciplines
  • การคัดเลือกเครื่องมือที่ใช้ให้เหมาะสมกับคน เช่น  Micro world ,Cemetery camp, Lego camp, Simulation game ,EQ camp , Project based learning
ปัจจัยแห่งความสำเร็จมีตั้งแต่
  •     การเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคนภายในองค์กร ทั้งพฤติกรรมส่วนบุคคลจนกระทั้งระบบขององค์กร
  • การเปิดใจยอมรับ
  • ระบบ (ภายในองค์กร) รองรับ โดยการทำให้มีเวที เพื่อติดตามผล นำไปขยายผลและประยุกต์ใช้

                ปูนแก่งคอยมีการปรับ Organization è Cell Management โดยการ Empowerment ก่อน ตั้งแต่ปี 2546

  • วัตถุประสงค์ คือนำมาซึ่งการพัฒนาพนักงานที่ยั่งยืน

                เลือกเป็นโครงการหนึ่งเพื่อพัฒนาพนักงาน (ยังมีโครงการอื่นๆ ที่เป็นสนามฝึกให้เกิดทักษะ เช่น OK do it (สำหรับ Band 1-2), Skilled Facilitator (Band 3,T/P), One cell one project: OCOP(Team Learning: OCOP  Action Learning, OCOP for Children) )

  •  ยุทธศาสตร์ในการเลือกผู้นำ

             เป้าหมายแรกของปูนแก่งคอย คือ พัฒนาพนักงานCell Head และ Key Man เพื่อให้ไปขยายผลใน Cell คละกับพนักงานภายในCell  

 - ต้องการ Learner ที่มีความคละส่วน เพื่อสร้าง Team ไปในตัว

 - ไม่สามารถนำ Cell Head ออกมารวมตัวในปริมาณมากๆ เป็นระยะเวลานานๆ

  •  ระยะเวลาที่เหมาะสมและความถี่ในการปฏิบัติทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ
  •  การสร้างความหลากหลายทั้งวัย วุฒิ เพศ ศาสนา ผลที่เกิดย่อมดีกว่า       

        (Diversity of learners – more diversity = more impact, better results)

  •  ความไว้เนื้อเชื่อใจ
  •  เวทีให้เกิดการเรียนรู้
    •  Show & Share แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน
    •  ดูงาน Cell ที่ประสบความสำเร็จ
    •  Follow Up เช่น
      • C-Cement, Camp KM (โรงเรียนชาวนา), โครงการ OCOP (One  Cell One Project) , OK  Do It
      •  จัด Learning center
      •  จัดลานเรียนรู้ สร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ในองค์กร    ฯลฯ

               ผลที่คาดหวังคือ การปรับเปลี่ยนทัศนะคติ แนวคิด พฤติกรรม จนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

              แหละนี่คือเรื่องราวของปูนแก่งคอยที่เราได้รับฟัง และเป็นผลสะท้อนที่ชี้ให้เห็นว่า พนักงานปูนแก่งคอย ตั้งแต่ผู้บริหาร จนกระทั่งพนักงานในบริษัท ร่วมมือกันเพื่อพัฒนางาน พัฒนาตน สร้างสรรค์กิจกรรม และการทำงานมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ เป็นผู้นำอุตสาหกรรมซีเมนต์ ในอาเซียน ด้วยผลประกอบการที่ดีอย่างยั่งยืน โดยสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาศักยภาพของพนักงาน และให้ความสำคัญในการับผิดชอบต่อสังคม     

            ดังคำกล่าวที่ว่า การทำงานหนักเป็นดอกไม้งามของชีวิต

 

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2  ตอนที่ 3  

 

หมายเลขบันทึก: 36315เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท