km1


ความรู้:สิ่งที่รู้ ข้อค้นพบ

การจัดการความรู้

[ Knowledge Management :KM] 

                                        พิสุทธิ์  บุญเจริญ

                                          จนท.ฝึกอบรม 8ว/นักวิชาการศึกษา 8ว

              ; กรอบความคิด[Conceptual Thinking Framework] KM

ความสำคัญและที่มา

1. พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่า

กำหนดไว้ว่า

ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูล ข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน (ม.1

2. คำรับรองการปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ระหว่าง นายกรัฐมนตรี และ นายอดิศัย โพธารามิก รมว.ศธ. โดยจัดทำ เป็น แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวง ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการ น้ำหนัก ข้อมูลพื้นฐาน เป้าหมาย / เกณฑ์การให้คะแนนและรายละเอียดอื่นๆ เพื่อใช้เป็น ใช้ กำกับ และตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการของ นายอดิศัย โพธารามิก ให้เป็นไปตามคำรับรองนั้น ซึ่งในการดำเนินการตามคำรับรองดังกล่าวนั้น กพร.กำหนดให้ สป.ศธ. คัดเลือก มิติในการพัฒนาเพียงมิติเดียว(จากทั้งหมด 4 มิติ ซึ่ง สป.ศธ.ได้เลือก เอา มิติที่ 4 ในการดำเนินการรับการประเมินดังกล่าว ดังแสดงในตารางนี้

. โดยจัดทำ เป็น แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวง ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการ น้ำหนัก ข้อมูลพื้นฐาน เป้าหมาย / เกณฑ์การให้คะแนนและรายละเอียดอื่นๆ เพื่อใช้เป็น ใช้ กำกับ และตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการของ นายอดิศัย โพธารามิก ให้เป็นไปตามคำรับรองนั้น ซึ่งในการดำเนินการตามคำรับรองดังกล่าวนั้น กพร.กำหนดให้ สป.ศธ. คัดเลือก มิติในการพัฒนาเพียงมิติเดียว(จากทั้งหมด 4 มิติ ซึ่ง สป.ศธ.ได้เลือก เอา ในการดำเนินการรับการประเมินดังกล่าว ดังแสดงในตารางนี้

ประเด็นการประเมิน

ตัวชี้วัด

น้ำหนัก(ร้อยละ)

ฯลฯ

มิติที่ 4 มิติด้านพัฒนาองค์กร

1)การบริหารความรู้ในองค์กร

[KM;Knowledger Management]

 

2) การจัดการสารสนเทศ

 

3) การบริหารการเปลี่ยนแปลง

 

 

4) การพัฒนากฏหมาย (เพิ่มใหม่) *

-

 

10.ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการในการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548

11.ระดับคุณภาพของการจัดการสารสนเทศของส่วนราชการ

12.ระดับความสำเร็จและคุณภาพของการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงของส่วนราชการ

13.การวางแผนการพัฒนา *

14 ระดับความสำเร็จ *

 

5

 

 

 

5

 

10

 

 

7 *

13 *

* เพิ่มใหม่

นั่นคือ สป.ศธ. ได้ตัดใจเลือก มิติที่ 4 มิติด้านพัฒนาองค์กร (จาก 4 มิติ คือ มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผล มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และมิติที่ 4 มิติด้านพัฒนาองค์กร) เพื่อเสนอ กพร.ต่อไป

ในส่วนของ KM [Knowledge management] ของ สป.ศธ.นั้น ได้มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา เป็น ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการในนาม สป.ศธ. ซึ่งเป็นวิทยากรหลักในการนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง KM และให้แนวทางการดำเนินงาน KM ในนามของ สป.ศธ. โดยกำหนดให้ สตรข.1-12 และกทม. และ ทุกสำนัก ใน สป.ศธ. (13 สำนัก) รวมทั้งสิ้น 26 สำนักดังกล่าวเป็นเครือข่าย [NET WORKING] ใน งานสำคัญดังกล่าวนี้

ในการนี้ ทาง กพร.โดยบริษัท TRIS จะเป็นผู้ประเมิน (ซึ่ง อาจประเมินโดยการสุ่ม[Random] หรือ ประเมินหมดทั้ง 26 เครือข่าย ก็เป็นไปได้ ในส่วนของ สตรข. นั้น เพื่อเป็นการเตรียมการสนองตอบต่องานดังกล่าวนี้ เห็นควรดำเนินการเริ่มศึกษา ค้นคว้าเพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้เรื่อง KM นี้ต่อไป

ดังนั้น การศึกษา ค้นคว้าเรื่อง KM จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับราชการสังกัด สป.ศธ.เราแล้ว รวมถึงตัวเราท่านด้วย ที่จักต้องเป็นคนที่ทำตัว ทำใจ ในการเสาะแสวงหา ความรู้ ทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งเพียงพอ มองเห็นประโยชน์ของเรื่อง KM แล้วนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่การงานของตนเองให้จงได้ ตลอดจนนำเผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมายต่อไปอีก จึงจะเป็นผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้สานภารกิจสำคัญในเรื่อง KM นี้ได้บรรลุเจตนารมณ์ของทางรัฐอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

กรอบความคิด[Conceptual Thinking Framework] KM

ความหมาย

ความรู้ [knowledge : K ]: สิ่งที่รู้ ข้อค้นพบ สิ่งค้นพบ [Fact Finding] ที่เป็น ข้อเท็จจริง ข้อมูล ข่าวสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฏีหากเกิด / มี /ปรากฏขึ้นในคน เรียกว่า Tacit Knowledgeแต่หากมี ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ Electronic เรียกว่า Explicit Knowledge

ความหมาย

การจัดการความรู้[Knowledge Management : KM]: การดำเนินการสรรหา ระบุ คัดเลือก รวบรวม จัดระบบ จัดให้เข้าถึง สร้าง นำไปใช้ประโยชน์ เผยแพร่ ปรับปรุง พัฒนา ซึ่ง ความรู้นั้นๆ อธิบาย ขยายความ

* การสรรหา ระบุ : การสรรหา : การสรรหา การระบุ การบ่งชี้ การสำรวจ ซึ่งความรู้ทั้ง Tacit Knowledge และ Explicit Knowledge ด้วยเทคนิค การระดมสมอง [Brain storming]

: การสรรหา * คัดเลือก คัดสรร โดยใช้ ภาระ หน้าที่ โดยใช้ ภาระ หน้าที่ พันธกิจ เป็นกรอบ/ เกณฑ์ในการคัดเลือก คัดสรร

*รวบรวม จัดเก็บไว้ใน ห้อง / ตู้

*จัดระบบ จำแนกประเภท กลุ่ม

*การจัดให้เข้าถึง

*สร้างความรู้

*การถ่ายทอดแบ่งปัน

*การนำไปใช้ประโยชน์

*เผยแพร่ เน้นการแจกจ่ายในรูปของสื่อ สิ่งพิมพ์ สื่อ Electronic  การประชุมอบรม และ ทางอากาศ
และ10.ปรับปรุง พัฒนา

การบริหารจัดการ : หลักการ แนวคิด ทฤษฏี

กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร ได้แก่ การระบุ คัดเลือก การรวบรวม การจัดระบบการจัดเก็บข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างเป็นความรู้ และการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร การกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความรู้ในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2547 : 63)

การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียนจากการปฏิบัติเป็นตัวนำ เป็นตัวเดินเรื่องไม่ใช่แค่เรียนจากครู หรือตำรา ตำรานั้นเป็นการเรียนรู้แบบเก่า ซึ่งเน้นเรียนทฤษฎี ขณะที่การเรียนรู้แบบ KM ก็เป็นทฤษฎีแต่ว่าเน้นที่การเรียนรู้แบบปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติทำให้เกิดประสบการณ์ การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องของคน ๆ เดียวเป็นเรื่องของคนหลายคนที่ทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นเวลาปฏิบัติแต่ละคนจะมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว อาจเห็นส่วน ที่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นการยืนยันว่าเข้าใจตรงกันเมื่อเอามาแลกเปลี่ยนกันมาก ๆ จะทำให้ยกระดับความรู้ ความเข้าใจขึ้นไปอีก จะเห็นว่าการจัดการความรู้เราจะเน้นที่การเรียนรู้จากการปฏิบัติ แล้วก็เน้นตัวความรู้ที่เป็นความรู้ในคน หรือที่เรียกว่า tacit knowledge ทั้งนี้ ความรู้จากเอกสาร ตำรา หรือที่เรียกว่า explicit knowledge นั้นก็สำคัญ เพียงแต่ว่าเรามักจะละเลยความรู้ที่อยู่ในคน(วิจารณ์ พานิช (2547 : 63)

ศุภามนต์ ศุภกานต์ (2547 : 28-29) อธิบายว่า การจัดการความรู้เป็นเรื่องของการที่องค์กรหนึ่งจะสกัดคุณค่าจากทรัพย์สินทางปัญญาของคนออกมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดได้อย่างไร จุดสำคัญสำหรับการริเริ่มเกี่ยวกับ KM คือ ความรู้ที่ถือว่ามีค่าสำหรับองค์กรมักจะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ ทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคคลเป็นส่วนใหญ่

บุญดี บุญญากิจ และคณะ (2547 : 23) กล่าวว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยน และใช้ความรู้ เป็นต้น

ข้อเสนอ

ในส่วนของ สตรข.9 นั้น เพื่อเป็นการเตรียมการสนองตอบต่องานดังกล่าว เห็นควรดำเนินการดังต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1 นำเข้าแจ้ง/ชี้แจงในที่ประชุม สตรข.9 เป็นเบื้องต้นเสีย ก่อน (อาจใช้เวลาประมาณ 30 นาที

นำเข้าแจ้ง/ชี้แจงในที่ประชุม สตรข.9 เป็นเบื้องต้นเสีย ก่อน (อาจใช้เวลาประมาณ 30 นาที
กิจกรรมที่ 2 จัดเสวนาโต๊ะกลม [ AROUND TABLE DISCUSSION] จัดเสวนาโต๊ะกลม [ AROUND TABLE DISCUSSION]
      1. คน โดยบุคลากรระดับสำคัญ[Key man] เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง KM
กิจกรรมที่ 3 จัดป้ายนิเทศก์ เพื่อประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่อง KM(อาจจัดทำเป็นลักษณะป้ายนิเทศก์แบบโปร่งใส[ Lightening Board]

กิจกรรมที่ 4 จัดทำ แผ่นพับ [Brochure] , จุลสารเล่มเล็ก [ Pamphlet ] สำหรับแจกจ่าย ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เรื่อง KM

กิจกรรมที่ 5 จัดทำ ใบความรู้เรื่อง KM ใช้ประกอบการบรรยาย / อบรม/ ประชุมชี้แจง หรือแจกจ่าย ประชาสัมพันธ์ทั่วๆไป

จัดทำ ใช้ประกอบการบรรยาย / อบรม/ ประชุมชี้แจง หรือแจกจ่าย ประชาสัมพันธ์ทั่วๆไป

กิจกรรมที่ 6 จัดทำ โครงการ การจัดการความรู้ สตรข.9 เพื่อให้สอดรับกับ สป.ศธ. ต่อไป

จัดทำ เพื่อให้สอดรับกับ สป.ศธ. ต่อไป

กิจกรรมที่ 7 นำกิจกรรมต่างๆลงใน Website ของ สตรข.9 ต่อไป

และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ท่าน ผอ.สตรข.9 ได้อบหมายให้ กระผมนายพิสุทธิ์ บุญเจริญ และนายสมเดช

ดอกดวง เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรมต่างๆดังกล่าว.

จัดทำ แผ่นพับ [Brochure] , จุลสารเล่มเล็ก [ Pamphlet ] สำหรับแจกจ่าย ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เรื่อง KMจัดทำ ใช้ประกอบการบรรยาย / อบรม/ ประชุมชี้แจง หรือแจกจ่าย ประชาสัมพันธ์ทั่วๆไปจัดทำ เพื่อให้สอดรับกับ สป.ศธ. ต่อไป
จัดทำ แผ่นพับ [Brochure] , จุลสารเล่มเล็ก [ Pamphlet ] สำหรับแจกจ่าย ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เรื่อง KMจัดทำ ใช้ประกอบการบรรยาย / อบรม/ ประชุมชี้แจง หรือแจกจ่าย ประชาสัมพันธ์ทั่วๆไปจัดทำ เพื่อให้สอดรับกับ สป.ศธ. ต่อไปจัดทำ แผ่นพับ [Brochure] , จุลสารเล่มเล็ก [ Pamphlet ] สำหรับแจกจ่าย ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เรื่อง KMจัดทำ ใช้ประกอบการบรรยาย / อบรม/ ประชุมชี้แจง หรือแจกจ่าย ประชาสัมพันธ์ทั่วๆไปจัดทำ เพื่อให้สอดรับกับ สป.ศธ. ต่อไป
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3630เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2005 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยินดีครับที่ ศธ ทำ เรื่องการพัฒนาคน งาน และ องค์กร โดยใขช้การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือครับ ตอนนี้มีเครือข่าย UKM ครับถ้าท่านสนใจ เข้ามาเวียนแวะ หรือ ลปรร กันได้ครับ

JJ

พิสุทธิ์ บุญเจริญ
kmเป็นเครื่องมือในการนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดมรรคเกิดผล ดังนั้น องค์ความรู้ใดไม่ถูกนำไป ปรับใช้  ก็ยังไม่เกิดคุณค่าที่พึงมี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท