การตีความบทความเรื่องการนำ Appreciative Inquiry มาใช้ในการพัฒนาองค์กร ตอนที่ 1


              บันทึกนี้  เป็นการนำผลงานการแปลและตีความ (ตามเข้าใจของผู้แปล)  จากบทที่  5  ว่าด้วยเรื่อง  การนำ Appreciative  Inquiry  มาใช้ในการพัฒนาองค์กร  (Advances in Appreciative Inquiry as an Organization Development Intervention เขียนโดย Gervase R. Bushe)  จากหนังสือ Appreciative Inquiry ที่   อ. วิจารณ์   นำมาแบ่งปันให้สมาชิก  สคส.  อ่าน  แปล  และตีความ  พร้อมนำเสนอในที่ประชุมประจำสัปดาห์ของ  สคส.  คนละบท สองบท  (ตามแต่ความสามารถ  ผู้เขียนรับมาเพียงบทเดียว)  และต่อไปนี้ คือ  การตีความเรื่อง  AI  ในบทที่  5  ค่ะ

บทที่  5  การนำ Appreciative  Inquiry  มาใช้ในการพัฒนาองค์กร

ดร. เจอวาส  อาร์.  บุช
มหาวิทยาลัยไซม่อน  เฟรเซอร์

               ในปี  1987  Cooperrider  และ  Srivasva    ได้เขียนบทความเรื่อง  AI   ซึ่งกล่าวถึงความตื่นเต้นและการทดลองนำ  AI   ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่  ไปใช้กับการทำ  Action  Research 
              เทคโนโลยีของ  AI  เป็นพัฒนาการที่แตกต่างกันในการนำมาใช้เป็นวิธีการวิจัยทางสังคม และการใช้ในการพัฒนาองค์กร  (OD) 
แต่ในบทความนี้  ผู้เขียนจะเน้นไปที่การนำ  AI  มาใช้ในการพัฒนาองค์กร
             ปัจจุบัน  AI  ยังไม่รับการยอมรับในระดับสากล และมันเป็นเหมือนกับการ “สั่งยา”  ให้ก่อนเวลาอันสมควร
             ในบทความนี้  ผู้เขียนจะกล่าวถึงเทคนิคของ  AI  เบื้องต้นและผลของนวัตกรรม AI  บางอย่าง  ซึ่งผู้เขียนและผู้ร่วมงาน (คณะ)  ได้ทำการทดลองหรือการนำ  AI  ไปใช้  อย่างไรก็ตาม  เทคนิคต่างๆ  เหล่านี้ย่อมมีทฤษฎีสนับสนุนอยู่ด้วย

AI  คืออะไร
              Cooperrider  และ  Srivasva  ได้กล่าวถึง  AI  ว่า  คือ ทฤษฎีองค์กรและวิธีการเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบสังคม  เป็นเครื่องมือที่ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมของ  Action  Research  ในทศวรรษที่ผ่านมา 
             ในปี  1950  กลุ่มคนที่สร้างสรรค์วิธีการวิจัยต่างเป็นกังวลว่า  ผลการปฏิบัติเหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีทางสังคมใหม่   ซึ่งหวังว่า  Action  Research  จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม
            Action  Research  เองก็เป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาองค์กร
ในขณะที่  Action  Research  ก็มีข้อโต้เถียงของวิธีการค้นหาทางวิทยาศาสตร์
            ในเอกสารที่เผยแพร่ได้ของ  Cooperrider  และ  Srivasva  มีการพูดถึงความไม่มีประโยชน์ของทฤษฎีโดยธรรมเนียมปฏิบัติในการศึกษาวิจัย  และยืนยันว่าทั้งวิธีการของ  Action  Research  และการกล่าวโทษทฤษฎีทางด้านองค์กรทางสังคม 
            มันเป็นปัญหาสำคัญของการใช้ตรรกะเชิงบวกในการทำ  Action  Research
            การปฏิบัติทางสังคมและจิตวิทยาเป็นสิ่งที่มั่นคง, ยั่งยืน, ทนทาน  และ  “out  there” 
           อย่างไรก็ตาม  AI  เป็นผลผลิตจากกระบวนทัศน์ของนัก  Socio-rationalist 

           ในขณะที่ข้อสันนิษฐานของตรรกะเชิงบวกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมมีความแม่นยำอย่างเพียงพอ  และถอดแบบเพื่อใช้โดยทั่วไปได้
           นัก  Socio-rationalist  ยืนยันว่า  Social  Order  ไม่นิ่งมีความเป็นพลวัตร  “ปรากฏการณ์ทางสังคม”  เป็นแนวทางเพื่อให้เข้าใจวิธีการแก้ปัญหา  ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนตายตัว,  ไม่จำกัดเฉพาะจินตภาพของคน  :  Social  Order  เป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่รู้จบ  โดยผ่านความคิดและการกระทำ
          นัก  Socio-rationalist  โต้เถียงกันเกี่ยวกับทฤษฎีที่พวกเขาใช้กันอยู่, ความเชื่อของพวกเราเกี่ยวกับระบบสังคมมันมีพลังและผลกระทบโดยธรรมชาติของสังคม  ซึ่งไม่เฉพาะพวกเราที่เชื่อเช่นนี้  แต่การกระทำจริงในสิ่งที่เชื่อสร้างมันขึ้นมา
          การสร้างสรรค์สิ่งใหม่และชุดของทฤษฎี,  องค์กรและสังคม  เป็นทางที่มีพลังในการช่วยเหลือพวกเขาให้เปลี่ยนแปลงและพัฒนา
โดยสรุป  AI  เป็นกระบวนการเปลี่ยนระบบสังคม  เป็นการมองว่า  สิ่งดีๆ  มีอยู่มากมาย    โดยทำการค้นหาสิ่งดีที่มีอยู่   เป็นเครื่องมือที่ใช้ดึงพลังสร้างสรรค์ของคนออกมา
          Cooperrider  และ  Srivasva  ได้กล่าวถึง  4  หลักการของ  AI  ไว้อย่างชัดเจนว่า  มันสามารถสร้างภาพใหม่และดีกว่าเดิม  ด้วยการใช้  Appreciation  เพื่อช่วยกระตุ้นให้เป็นประโยชน์
          กระบวนการพื้นฐานของ  AI  เริ่มด้วยพื้นฐานของการสังเกต  “อะไรคือสิ่งดีหรือของดีที่มีอยู่”  (best  of  what  is)  เมื่อมองอย่างลึกซึ้งและมันมีตรรกะที่ชัดเจนว่า  “อะไรมีอาจจะเป็นหรือมันอาจจะดี”  (what  might  be)  หรือมีการยืนยันว่าระบบนั้น  ว่า  อะไรที่ควรจะเป็น   “what  should  be”  และทดลองด้วย  อะไรที่จะเป็น  “what  can  be” 
          นัยสำคัญหนึ่งของการศึกษาวิจัยกระบวนการขององค์กรที่ใช้วิธีการ  AI    คือ  องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ

(ติดตามตอนต่อไป)

คำสำคัญ (Tags): #ai
หมายเลขบันทึก: 36295เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท