เมื่อนึกถึงคำว่า "เศรษฐกิจระหว่างประเทศ"แล้วคุณนึกถึงอะไร


การระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ

ข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่หลายๆคนมักจะมองข้ามไป ในบางครั้งอาจมีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว แต่ในความเป็นจริงอาจจะยังไม่มีก็ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด และเมื่อไม่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว ก็หมายความว่าสิ่งที่เป็นปัญหาอาจจะไม่เป็นก็ได้ หากเป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศที่มีเนื้อหาสาระทางการเมืองแล้ว โดยทั่วไปก็ต้องเป็นเรื่องระหว่างรัฐที่พิพาทจะตกลงยุติปัญหากันตามกฎบัตรของสหประชาชาติ ส่วนข้อพิพาทที่มีเนื้อหาสาระทางกฎหมายหรือมีปัญหาข้อกฎหมายที่พิพาทกันก็ต้องมาดูว่าหากปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎฆมายระหว่างประเทศแล้วก็คงต้องเป็นไปตามกฎบัตรของสหประชาชาติอีกเช่นกัน ซึ่งข้อพิพาทที่เป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นมีลักษณะดังนี้คือ

1.       เป็นความเห็นที่แตกต่างกันของรัฐที่ต้องระงับข้อพิพาททางศาลโดยใช้กฏหมายระหว่างประเทศ

2.       เนื้อหาสาระของข้อเรียกร้องมีความสำคัญรองลงมาจากผลประโยชน์อันสำคัญยิ่งของชาติ หรืออำนาจอธิปไตยของรัฐ

3.       ข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้อยู่

4.       เป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับสิทธิทางกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากสิทธิเรียกร้องที่มุ่งจะให้มีการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย

ข้อพิพาทระหว่างประเทศอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับรัฐบาล ระดับเอกชน ดังนั้น ลักษณะของข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศทั้ง 2 ระดับนี้ จึงมีความแตกต่างกันบ้าง กล่าวคือ การค้าในระดับรัฐบาลนั้นได้มีการวางกรอบทางกฎหมายให้ประเทศต่างๆ ปฏิบัติตามเพื่อเป็นการลดอุปสรรคในทางการค้า และช่วยให้เกิดการค้าเสรีให้มากที่สุด ซึ่งกรอบทางกฎหมายดังกล่าวได้มีรากฐานมาจากการจัดทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรและการค้า (GATT : General Agreement on Triff and Trade) และในที่สุดก็ได้พัฒนามาจนกลายเป็นความตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลก ( WTO : World Trade Organization)

                วิธีการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ซึ่งในระดับรัฐบาลนั้นมีกรอบการค้าระหว่างประเทศ คือ องค์การการค้าโลก การระงับข้อพิพาทในระดับรัฐบาลจึงจะพิจารณาวิธีการระงับข้อพิพาทภายใต้องค์การการค้าโลกเป็นสำคัญ โดยยึดหลักการระงับข้อพิพาทภายใต้ข้อ XXII และ XXIII ของความตกลง GATT โดยสรุปได้ดังนี้

1.       การปรึกษาหารือ เป็นวิธีการที่ให้รัฐที่พิพาทหาทางตกลงกันเองก่อน  โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการที่เป็นการเจรจาอย่างหนึ่งแต่ให้ความหมายในเชิงทีเป็นทางการน้อยกว่าการเจรจาและเป็นวิธีการที่องค์การการค้าโลกสนับสนุนมาก แต่ปัญหาก็คือ  มิได้กำหนดระยะเวลาที่รัฐที่พิพาทจะต้องตกลงกันให้สำเร็จ ดังนั้น องค์การการค้าโลกจึงแก้ปัญหาด้วยการกำหนดให้รัฐภาคีร้องขอให้มีการปรึกษาหารือกับรัฐที่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่ง และให้รัฐภาคีฝ่ายหลังนี้พิจารณาคำร้องดังกล่าวภายใน 10 วัน และให้เริ่มกระบวนการปรึกษาหารือภายใน 30 วัน นับแต่มีการร้องขอให้ปรึกษาหารือ

2.       good offices คือ การที่บุคคลที่สามเข้ามาช่วยทำให้รัฐที่พิพาทตกลงยินยอมเจรจากัน โดยปกติผู้จะทำหน้าที่เป็น good offices จะต้องมีบารีพอสมควรและในทางปฏิบัติจะมอบให้ผู้ใดเป็นผู้ทำหน้าที่ good offices ก็ได้ การใช้ good offices มีข้อจำกัดอยู่บ้างที่ให้เจรจาตกลงกันให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอให้มีการปรึกษาหารือ

3.       การประนีประนอม จะมีการตั้งองค์คณะขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอมซึ่งตั้งจากการเสนอชื่อโดยประเทศคู่พิพาทเป็นจำนวน 3 – 5 คน ภายในเวลา 10 วัน ผู้ทำหน้าที่ประนีประนอมจะเพียงจัดรายงานข้อวินิจฉัยของคณะพิจารณาโดยอาจมีข้อเสนอแนะที่เป็นว่าประเทศคู่พิพาทน่าจะยอมรับได้ เพื่อเสนอต่อคณะพิจารณาการระงับข้อพิพาทภายใน 6 เดือน หรืออย่างช้าที่สุดภายใน 9 เดือนต่อไป

4.       การไกล่เกลี่ย เป็นวิธีการที่บุคคลที่ 3 หรือฝ่ายที่ 3 เข้ามาช่วนโน้มน้าวประเทศคู่พิพาทให้หันมาเจรจาข้อยุติระหว่างกันก่อนที่เหตุการณ์จะขยายตัวออกไป ทั้งนี้ ผู้ไกล่เกลี่ยจะพยายามขจัดท่าทีที่แตกต่างกันระหว่างประเทศคู่พิพาทให้มากที่สุด และจะไม่เสนอแนวทางยุติปัญหาที่พิพาท แต่จะปล่อยให้ประเทศที่พิพาทกันนั้นหาทางตกลงกันเอง

5.       อนุญาโตตุลาการ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทที่คล้ายกับกระบวนการทางศาล ซึ่งประเทศคู่พิพาทจะต้องให้ความยินยอมที่จะใช้วิธีระงับข้อพิพาทเสียก่อนเว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

             วิธีการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศในระดับเอกชน มีวิธีการที่คล้ายคลึงกับการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล กล่าวคือ มีการไกล่เกลี่ย การประนีประนอม และอนุญาโตตุลาการ แต่ทีมีแตกต่างออกมาคือ การเจรจา เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในข้อพิพาทเพื่อหาทางบรรลุข้อตกลงที่ยอมรับกันได้ทุกฝ่าย และศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทโดยทั่วไปและเป็นทางเลือกสุดท้ายของคู่พิพาท ในกรณีของศาลยุติธรรมนี้ในประเทศไทย คดีการค้าระหว่างประเทศทั้งหลายจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาแลการค้าระหว่างประเทศ

                สำหรับการใช้วิธีการระงับข้อพิพาทอย่างใดในประเทศไทยนั้น สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่ก็คือ ยังหาผู้ที่มีประสบการณ์และความชำนาญการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศได้น้อยมาก การหาล่ามที่จะช่วยแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหรือกลับกัน ซึ่งต้องเป็นล่ามที่รู้กฎหมายและภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดีและหากสามารถแปลได้ในขณะที่มีการพูดจาโต้ตอบกันแล้วก็จะยิ่งดีมาก และค่านิยมของสังคมที่อาจจะยังไม่วางใจว่าวิธีการต่างๆเหล่านั้น จะช่วยระงับข้อพิพาทได้ดีเพียงไร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับทนายความด้วยว่าจะช่วยแนะนำวิธีการเหล่านั้นได้ดีเพียงใด เพราะไม่ว่าจะเป็นวิธีการใด ทนายความก็ยังคงมีบทบาทในการให้คำปรึกษาทางกฎหมายและเตรียมคดีให้แก่ลูกความของตนอยู่ดี

         ตัวอย่างของการระงับข้อพิพาททางด้านทรัพย์สินทางปัญญาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวคือ  เนื่องจากปัจจุบันเกิดข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นเป็นจำนวนมากและมีอัตราเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเกิดจากสาเหตุที่สำคัญหลายประการ ทั้งจากกรณีความขัดแย้งระหว่างผู้แต่งเพลงและค่ายเพลง หรือจากปัญหาเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวแพร่หลายและขยายผลอย่างยิ่งในขณะนี้ ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการบริหาร และพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาในภาพรวมอีกทั้งยังส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้จัดตั้งระบบระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาดดยอนุญาโตตุลาการและการประนอมข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกในการยุติปัญหาที่เกิดขึ้นให้แก่คู่พิพาท

               การอนุญาโตตุลาการ  (arbitration)  เป็นการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่คู่พิพาทตกลงกันด้วยใจสมัครในการเสนอข้อพิพาท หรือนำข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้บุคคลภายนอก ซึ่งเรียกว่า“อนุญาโตตุลาการ” ทำการพิจารณาชี้ขาดตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ และคู่พิพาทยอมผูกพันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น อนุญาโตตุลาการผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทต้องเป็นคนกลางในการพิจารณาข้อพิพาทที่เสนอตน อนุญาโตตุลาการมิใช่ตัวแทนของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้แต่ฝ่ายที่แต่งตั้งตนให้ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการ
 
               ในปัจจุบันระบบอนุญาโตตุลาการของประเทศไทยได้นำกฏหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ระหว่างประเทศของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฏหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันอย่างกว้างขวางมาเป็นแม่แบบเพื่อพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการในประเทศไทยซึ่งในปัจจุบันกระบวนการอนุญาโตตุลาการได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นเป็นอย่างมากในประเทศ    โดยได้ถูกนำไปใช้ในการระงับข้อพิพาทหลายด้าน อาทิ เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาประกันภัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาธุรกิจการค้า ข้อพิพาทเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เป็นต้น ซึ่งดำเนินการระงับข้อพิพาทในแต่ละด้านจะมีหน่วยงานซึ่งดำเนินการด้านอนุญาโตตุลาการในกระบวนการระงับข้อพิพาท
 
               เพื่อให้มาตรการในการป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นไปด้วยดี กระทรวงพาณิชย์ได้ตราข้อบังคับว่าด้วยอนุญาโตตุลาการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและข้อบังคับว่าด้วยการประนอมข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยกำหนดมาตรให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในวงการอนุญาโตตุลาการ ตามพระราชบัญญัติโตตุลาการ พ.ศ.2545 และตามข้อบังคับว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของสำนักงานศาลยุติธรรม
 
 
                กระบวนการระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยระบบอนุญาโตตุลาการ จะทำให้การระงับข้อพิพาทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   รวดเร็ว  ประหยัดค่าใช้จ่าย  และเป็นธรรมแก่คู่พิพาททั้งสองฝ่าย
 
   การพิจารณาข้อพิพาทโดยระบบอนุญาโตตุลาการจะใช้ระยะเวลาพิจารณาเพียง 90 - 180 วัน นับแต่ตั้งอนุญาโตตุลาการเสร็จ ก่อให้เกิดความสะดวกแก่คู่พิพาท ประกอบกับขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาชี้ขาดไม่เข้มงวด เคร่งครัดหรือมีพิธีการยุ่งยากเหมือนการพิจารณาคดีในศาล  นอกจากนี้อนุญาโตตุลาการที่ทำหน้าที่ชี้ขาดข้อพิพาทจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่พิพาท  จึงทำให้การพิจารณาทำได้รวดเร็วและเป็นธรรมแก่คู่พิพาท  อีกทั้งทำให้เกิดความพึงพอใจแก่คู่พิพาทเนื่องจากคู่พิพาทซึ่งเป็นคู่ค้ากันสามารถยุติข้อพิพาทได้ และสามารถรักษาชื่อเสียงและความลับระหว่างกันได้เพราะกระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการเป็นการพิจารณาโดยวิธีลับ  ตลอดจนสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันไว้ได้ต่อไป เพราะคู่พิพาทไม่ต้องเผชิญหน้าต่อสู้กันเพื่อผลแพ้ชนะทางคดีเหมือนการดำเนินคดีในศาล นอกจากนี้ ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่คู่พิพาท เนื่องจากคู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ เสียเพียงค่าใช่จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณา เช่น ค่าป่วยการและค่ายานพาหนะอนุญาโตตุลาการและผู้เชี่ยวชาญที่อนุญาโตตุลาการเชิญมา ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ใช้จะต่ำกว่าการฟ้องร้องคดี ในศาล
 
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา
 
                 เพื่อให้การดำเนินการระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดตั้งสำนักงานป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นโดยมีฐานะเทียบเท่ากอง เรียกย่อว่า “สรท.” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2545 โดยมีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อส่งเสริมให้ระบบทรัพย์สินทางปัญญามีประสิทธิภาพรับผิดชอบเกี่ยวกับ การดำเนินการอนุญาโตตุลาการดำเนินการไกล่เกลี่ยให้มีการประนอมข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินการเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการและทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ ระบบ อนุญาโตตุลาการขององค์กรหรือหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ

หมายเลขบันทึก: 36294เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท