การ “สร้างสรรค์นวตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ของชาวสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง


ก่อนอื่นก็ต้องขอออกปรายหน้าบทก่อนครับ แนวคิดนี้มาจาก น.พ.สสจ. (น.พ.ยอร์น จิระนคร) โดยตรง และหลายคนตอบรับโดยเฉพาะ จนท.ในชุมชน/ในพื้นที่ แต่หาช่องทางไม่ได้ด้วยงบมีจำกัดในตอนต้นปี พอมีให้ทำได้ก็ลงมือทันที และขอปักธงเป็นปีแรก หากดูให้ดีจะเห็นว่าปีหน้า ได้รู้กันตั้งแต่ปลายปีนี้ บวกกับมีโครงการตั้ง 111 โครงการ ต้องมีนวตกรรมการสร้างสุขภาพชุมชนเกิดขึ้นแน่นอน ฉะนั้นปีนี้ก็ต้องว่ากันด้วยเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความสำเร็จของปี (เท่าที่คุยกันกับผู้รับผิดชอบโครงการ) คือบทเรียนที่จะใช้ในปีต่อ ๆ ปี ไม่ใช่ว่าต้องได้ “นวตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ในทันทีทันใด

การ “สร้างสรรค์นวตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ของชาวสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

     (ขออนุญาตกล่าวถึงภาษานักกฎหมายเสียก่อน แฮะ...เอาจริง)
          อนุวัติตามมติคณะอนุกรรมการบริหารงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดพัทลุง คราวประชุมครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา และได้อนุมัติ เงินงบประมาณเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนสำหรับชาวพัทลุง ประจำปี 2548 จำนวน 500,083 คน รวมวงเงิน 8,412,919.56 บาท โดยมีโครงการที่พื้นที่ร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอมาทั้งสิ้น 111 โครงการ แยกเป็นรายหน่วยงานดังนี้ เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) เมืองพัทลุง มีจำนวนโครงการทั้งสิ้น 11 โครงการ, เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) กงหรา 6 โครงการ, เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) เขาชัยสน 25 โครงการ, เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ตะโหมด 10 โครงการ, เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ควนขนุน 7 โครงการ, เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ปากพะยูน 5 โครงการ, เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ศรีบรรพต 6 โครงการ, เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ป่าบอน 10 โครงการ, เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) บางแก้ว 2 โครงการ, เครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) ป่าพะยอม 12 โครงการ, ฝ่ายบริหาร 1 โครงการ, กลุ่มยุทธศาสตร์ 6 โครงการ และกลุ่มงานประกันสุขภาพ 10 โครงการ โดยบางโครงการก็มีการดำเนินงานถึงเดือนกันยายน 2548 แต่ส่วนใหญ่ก็ขอดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปี 2549 ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ก็มีมติอนุมัติขยายเวลาให้เป็นโครงการ ๆ ไป ทั้งนี้ยังสามารถขออนุมัติในภายหลังได้หากมีการปรับแผนการดำเนินงานตามความจำเป็นที่เกิดขึ้น
          โดยมีตัวอย่างโครงการที่พอจะจำแนกได้ในขณะนี้ เช่น โครงการจัดเข้าค่ายเยาวชนที่สูบบุหรี่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เพื่อเข้าร่วมโครงการเลิกสูบบุหรี่ และไม่กลับไปเสพซ้ำ, โครงการอบรมความรู้ต้นสุขภาพจิต และการช่วยเหลือนักเรียน สำหรับครูโรงเรียนมัธยมศึกษา, โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก, โครงการพัฒนาพัฒนาคุณภาพชมรมผู้สูงอายุโดยจัดประชุมแบบมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนารูปแบบการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ, โครงการอบรมให้ความรู้และทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไปโดยการฝึกปฏิบัติการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี, โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปี 2549 เจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยนักวิชาการ/หัวหน้าสถานีอนามัย เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลปากพะยูน จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปากพะยูน พัฒนาการอำเภอ  เกษตรอำเภอ และท้องถิ่นอำเภอ หรือโครงการครอบครัวสุขสันต์ ชุมชนสดใส และจัดมหกรรมกีฬาชุมชนสัมพันธ์ (นี่เรียกน้ำย่อยนะ... ของจริงนะต้องรอขออนุญาตหมอ[น.พ.ยอร์น จิรนคร] นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ก่อนเดี่ยวจะนำมาลงไว้ให้ =แทรก ถ้าท่านเห็นดีเห็นงามด้วยนะ= เดี่ยวจะหนาว ฮา...)
          การวิจัย (ชุดโครงการใหญ่) ก็มี เช่น โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนมีแผนการพัฒนาสุขภาพที่ตรงกับความต้องการส่วนใหญ่ของชุมชนเอง เกิดรูปแบบที่เหมาะสมในการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น และไตรภาคี (จนท.สาธารณสุข, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนหรือองค์กรเอกชน) ได้รับการพัฒนาแนวคิด หลักการ และกระบวนการในการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์ และเกิดเป็นความต่อเนื่องอย่างยั่งยืนในการสำนึกเองต่อการสร้างสุขภาพตนเองและชุมชนตนเอง <p>     (ประเด็นอยู่ตรงนี้ โม้...อยู่นานกว่าจะมาถึงประเด็น แต่ว่าก็มีให้โม้นิ...)
          โครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขประจำปี 2548 "สร้างสรรค์นวตกรรมสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดพัทลุง" โครงการนี้ก็ได้รับอนุมัติจากงบประมาณนี้เช่นกัน ในลักษณะเช่นนี้จังหวัดพัทลุงยังไม่เคยจัดมาก่อน (ที่เป็นเฉพาะจังหวัด ไม่ใช่จัดให้ในฐานะตัวแทนเขต) โครงการนี้เปิดให้ทุกท่านที่มีผลงานวิชาการจะส่งเข้าประกวดและนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัว ในนามหน่วยงาน หรือจากภาคประชาชน หรือองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่เป็นผลงานในจังหวัดพัทลุง (เห็นไหมเราขี้เนียน =แทรก ภาษากลางเรียกขี้เหนียว ถ้าเป็นภาษาใต้ที่ใกล้เคียงกันเช่นขี้ชิด หรือเนียนอีตาย ฯ แต่ไม่ค่อยสุภาพ= ไม่ชวนเพื่อน) และให้ส่งผลงานภายในวันที่ 9 กันยายน 2548 ที่งานพัฒนาบุคลากร สสจ.พัทลุง หรือ E-mail : [email protected] (เมล์นี้สงสัยรับไม่พอแน่ เดี่ยวจะ invite ของ gmail ไปให้นะพี่ปุ้มและพี่ลี่ หรือใครจะเอาบอกนะ เหลืออีก 98 ราย วันก่อนใช้ไป 50 แล้ว อยู่ ๆ มาให้ invite อีก100 รายชื่อแนะ) โทรถามได้นะ คนรับพูดเพราะ ๆ (ไพเราะ) ทั้งนั้นแหละแถม (ทองแดง) ให้ด้วย ที่ 0-7461-3127 ต่อ 128 หรือ 109 งานนี้จะจัดในระหว่างวันที่ 26 –27 กันยายน 2548 ณ โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (เห็นอะไรไหม ที่พัทลุงไม่มีโรงแรมขนาดนี้ที่จะให้จัดได้ แต่มีใจที่จะทำ)</p><p>     (อยากจะพิมพ์บันทึกใน blog นี้เป็นภาษาใต้ พิมพ์ภาษากลางเหนื่อยจัง...งัง)
          ก่อนอื่นก็ต้องขอออกปรายหน้าบทก่อนครับ แนวคิดนี้มาจาก น.พ.สสจ. (น.พ.ยอร์น  จิระนคร) โดยตรง และหลายคนตอบรับโดยเฉพาะ จนท.ในชุมชน/ในพื้นที่ แต่หาช่องทางไม่ได้ด้วยงบมีจำกัดในตอนต้นปี พอมีให้ทำได้ก็ลงมือทันที และขอปักธงเป็นปีแรก หากดูให้ดีจะเห็นว่าปีหน้า ได้รู้กันตั้งแต่ปลายปีนี้ บวกกับมีโครงการตั้ง 111 โครงการ ต้องมีนวตกรรมการสร้างสุขภาพชุมชนเกิดขึ้นแน่นอน ฉะนั้นปีนี้ก็ต้องว่ากันด้วยเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความสำเร็จของปี (เท่าที่คุยกันกับผู้รับผิดชอบโครงการ) คือบทเรียนที่จะใช้ในปีต่อ ๆ ปี ไม่ใช่ว่าต้องได้ “นวตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ในทันทีทันใด
          สำหรับตัวผมเอง ลุ้นโครงการลักษณะนี้มาตั้งแต่คราวอยู่ สถานีอนามัย จนมาอยู่ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ก็ได้เห็นเอาตอนที่มาอยู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นี่แหละ เพราะอะไรเหรอ เพราะผมรับรู้ว่า เมื่อไหร่ในพื้นที่คำนึงถึงวิชาการ ไม่เพียงแต่ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ดีขึ้น งานก็มีคุณภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันความสามัคคีมันเกิดขึ้นได้อย่างไรไม่ทราบ กรณีที่ผมได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนจังหวัดนำเสนอผลงาน (โครงการพัฒนาคุณภาพบริการชุมชน: QA) ระดับเขตตามโครงการทศวรรษพัฒนาสถานีอนามัยนั่นเป็นตัวอย่าง ขากลับมาได้รางวัลติดมือมาด้วย ก็กินขนมจีนกันทั้งสำนักงานในวันประชุมประจำเดือน และรางวัลที่เหลือก็ตกลงซื้อพัดลมให้สำนักงานฯ เพราะรางวัลที่ได้มาเป็นของทีมครับ ผมเพียงรับหน้าที่ไปนำเสนอ (เท่านั้น) กว่าจะได้มาซึ่งงานทำกันทุกคน (เจ้าหน้าที่ในตำบลนาปะขอทั้ง 3 แห่ง คือ สอ.ต.นาปะขอ สอ.เกาะเคียน และสอ.หาดไข่เต่า ออกชื่อหน่อย เพราะเป็นสิ่งดี ๆ)
          สำหรับการประชุมวิชาการฯ ปีนี้ ก็ได้รับทาบทามทั้งจากผู้รับผิดชอบโครงการ และหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป (คือพี่ตุด...ฮามากเลย พอเอามาพิมพ์ ตอนพูดไม่พรือ) ให้เป็นคนอ่านผลงาน (ให้คะแนนด้วย ก็เป็นกรรมการประกวดผลงานฯ นั่นแหละ อ้อมค้อมจัง...) แต่ก็ต้องปฏิเสธเกียรติที่ให้ครับ (คำนับ... ไม่ต้องยกจอก ผมไม่กินเหล้า ถ้าน้ำชา หรือยิ่งเป็นกาแฟ เอากัน...ฮา) ด้วยเหตุผล คือ ผมเลือกเดินทางที่จะไปช่วยพัฒนาโครงการต่าง ๆ รวมถึงส่งเองด้วย (สร้างสีสัน) ฉะนั้นถ้าผมถอนของผมก็ได้และรับเป็นกรรมการ แต่สิ่งที่เรียกว่า “โลกวัชชะ” ก็จะเกิดขึ้น (โลกวัชชะ ในความหมายที่ตาหลวง =คนภาคกลางชอบเรียกว่าหลวงตา= อธิบายไว้ คือ สิ่งที่ไม่ต้องอาบัติสำหรับพระ แต่สังคม หรือโลก หรือคนทั่วไปติเตียน ว่าไม่ควรทำ ไม่งาม ไม่เหมาะสม) กล่าวคือต้องมีคนบอกว่ามีอคติ เพราะมีอย่างน้อย 3 โครงการที่ส่งด้วย และผมเป็นที่ปรึกษา มี 1 โครงการที่ผมร่วมวิจัยด้วย คือกระบวนการพัฒนารูปแบบและลักษณะการส่งเสริมให้ผู้พิการเข้าถึงสิทธิ UC เชิงกลยุทธ์ (ไม่ทราบทำไม ชื่อโครงการผมต้องยาว ๆ ตลอดเลย งง ๆ ...ตัวเองเหมือนกัน) สำหรับที่ผมส่งเองร่วมกับพี่พร (หัวหน้างานบริหารงบ UC) คือ วิจัยประเมินผลโครงการพัฒนานักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์บริการ ระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) (เอาอีกแล้ว ชื่อยาวอีกแล้ว กรรมการคงเหนื่อยกับชื่อ… ที่ยาว ๆ นี่แหละ) แล้วเกี่ยวกันไหมกับการสร้างสุขภาพ ขอตอบ (ถามเอง-ตอบเอง) ก็เป็น back office หรือความจำเป็นแต่เหมือนจะอยู่เบื้องหลังไกล ๆ (ฮา… ก็ตอบเข้าข้างตัวเองไงครับท่าน)
          เอาละได้ผลอย่างไร เกิดบทเรียนอะไรขึ้นบ้าง จะได้นำมาเสนอต่อท้ายจากส่วนนี้ ตอนนี้ขอติด (ค้าง) ไว้ก่อน และมีโครงการอะไรดี ๆ เด่น ๆ ผมจะขอนำเอกสารของเขามาตีพิมพ์ไว้ที่นี่ ขอได้จะขอให้หมดทุกโครงการเลยรับรอง (หน้าด้า...............น เสมอ)</p><p>          อนุชา  หนูนุ่น  บันทึกไว้เมื่อ 8  กันยายน 2548</p><p>บันทึกต่อ #2</p><p align="center">การนำเสนอผลงานวิชาการ "สร้างสรรค์นวตกรรม สร้างเสริมสุขภาพ" จังหวัดพัทลุง</p><p>     ขณะนี้ได้ Update ล่าสุดแล้วครับ โดยได้รายชื่อโครงการ/โครงการวิจัย ทั้งหมด 25 โครงการแล้วครับ จะขอนำเสนอต่อเลย สำหรับบรรยากาศ ผลลัพธ์ เกร็ดที่ได้มา (ดี ๆ) จะนำมาเล่าให้ฟัง วันนี้เอาเท่านี้ก่อน จัดการกับงานก่อน (ก่อนจัดการความรู้ แฮะ)</p><p>     1. การประเมินผลการจัดบริหารสุขภาพช่องปาก ตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จ.พัทลุง ปี 2547 หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ลักษณา  ชนะสิทธิ์ ทันตแพทย์ 6 สสจ.พัทลุง 
     2. การศึกษากระบวนการพัฒนาชมรมสร้างสุขภาพจังหวัดพัทลุง หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ  นายสมเกียรติยศ  วรเดช นักวิชาการสาธารณสุข 5 สสอ.ป่าพะยอม
     3. โครงการเดินรณรงค์เคาะประตูบ้านป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดโรคเอดส์ หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ  น.ส.สายชล  ขวัญปลอด ผู้ประสานงานแกนนำเยาวชนชุมชนบ้านเกาะเรียน-ปากพลี ภาคประชาชน ชุมชนบ้านเกาะเรียน-ปากพลี ต.คลองใหญ่
     4. ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิพึงประสงค์ ด้านการสร้างสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ  นายเฉลิมชัย  แป้นน้อย นักวิชาการสาธารณสุข 6 สอ.บ้านปากประ สสอ.เมือง
     5. โครงการเอื้ออาทรคนพิการอำเภอเขาชัยสนเข้าถึงสิทธิ UC หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นายนพพร  สมจิตต์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6 สสอ.เขาชัยสน
     6. โครงการการพัฒนาทีมสุขภาพภาคประชาชน (PCU ในฝัน) หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.นันทา  ด้วงวงค์ นักวิชาการสาธารณสุข 5 สอ.บ้านลำกะ สสอ.ก.ศรีนครินทร์
     7. วิจัยประเมินผลโครงการพัฒนาทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินและผลลัพธ์บริการสาธารณสุข ระดับเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) จ.พัทลุง ปีงบประมาณ 2548 หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุชา  หนูนุ่นนักวิชาการสาธารณสุข 5 สสจ.พัทลุง
     8. ความต้องการใช้บริการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุตำบลเขาชัยสน หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นางชุติมา  หมวดสง นักวิชาการสาธารณสุข 7 รพ.เขาชัยสน
     9. โครงการค้นหาบุคคลตัวอย่างผู้มีสุขภาพดีแล้วขยายผล หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นางศุภิกา  สังข์แสง เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข  6 สอ.บ้านท่าควาย
     10. กิจกรรมดำเนินงานชมรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.เขาชัยชน นางชุติมา  หมวดสง นักวิชาการสาธารณสุข 7 รพ.เขาชัยสน
     11. การดำเนินงานชุมชนเข้มแข็งกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.เขาชัยสน นางชุติมา  หมวดสง นักวิชาการสาธารณสุข 7 รพ.เขาชัยสน
     12. การติดตามการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังใน ต.เขาชัยสน หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ ภญ.วันดี  จุลอดุง เภสัชกร 7 รพ.เขาชัยสน
     13. ศักยภาพของพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพ ของโรคเบาหวาน ณ สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภัทรา  กลิ่นมาดา พยาบาลวิชาชีพ 7 รพ.ปากพะยูน 
     14. โครงการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ น.ร. ชั้นประถมศึกษาชั้ปีที่ 1 อ.ควนขนุน ปี 2547 หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรชัย  เตียวอนันต์ ทันตแพทย์ 7 รพ.ควนขนุน 
     15. ปัจจัยสนับสนุนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมของสตรีแม่บ้าน เขตเทศบาลเมืองพัทลุง หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นางจันทิณา  สงนุ้ย นักวิชาการสาธารณสุข 6 รพ.พัทลุง

     16. ครอบครัวรักษ์สุขภาพ หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารุดี  คงมี พยาบาลวิชาชีพ 7 รพ.เขาชัยสน
     17. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเอดส์โครงการรางานผู้ป่วย จ.พัทลุง ปีงบ 2547 หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญเลิศ  ศรีรัตนพันธ์ นักวิชาการสาธารณสุข 7 สสจ.พัทลุง
     18. รูปแบบการพัฒนาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบยั่งยืน หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารุดี  คงมี พยาบาลวิชาชีพ 7 รพ.เขาชัยสน
     19. การศึกษาความรู้และทัศนคติของหญิงตั้งครรภ์ในโครงการแม่ลูกฟันดี 102 ปี สมเด็จย่า จ.พัทลุง หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ ภญ.ชนัฎาภรณ์  สหแก้ว เภสัชกร 7 สสจ.พัทลุง
     20. โครงการแก้ปัญหาอนาคตแม่และเด็กในพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นางทัชชกานต์  ขวัญมิ่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6 สอ.ต.ปันแต

     21. การศึกษาความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพเรื่องโรคเอดส์ของประชาชน ต.กงหรา อ.กงหรา หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิระพันธ์  จันทร์เทพ นักวิชาการสาธารณสุข 5 สอ.บ้านกงหรา
     22. การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก กรณีศึกษา จ.พัทลุง หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นายชวกร  อ่อนจันทร์ นักวิชาการสาธารณสุข 5 สสจ.พัทลุง
     23. ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออก หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวี  ชูช่วย นักวิชาการสาธารณสุข 5 สอ.ควนมะพร้าว สสอ.เมือง
     24. ความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการของสถานบริการเครือข่ายโรงพยาบาลพัทลุง หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุขสวัสดิ์  ดุลยพัชร์ พยาบาลวิชาชีพ 7 รพ.พัทลุง
     25. การพยาบาลเพื่อส่งเริมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว : กรณีศึกษา หัวหน้าคณะหรือผู้วิจัยหรือผู้รับผิดชอบโครงการ นางนันทิยา  ชุมช่วย พยาบาลวิชาชีพ 7 รพ.พัทลุง
</p><p>          อนุชา  หนูนุ่น  บันทึกไว้เมื่อ 14  กันยายน 2548
</p>

หมายเลขบันทึก: 3628เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2005 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
 Update วันนี้เป็นวันสุดท้ายครับ ที่สามารถส่งเอกสารวิชาการได้

   ไม่ทราบจังหวัดอื่น ๆ มีบ้างไหมลักษณะนี้ ถ้าได้นำมาดูรวม ๆ กัน เราอาจจะพบเจอโครงการดี ๆ ที่น่าเอาเป็นตัวอย่าง และให้พื้นที่อื่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน หรือแลกเปลี่ยนกันนะ

   นำเสนอเพิ่มเติมเมื่อไหร่ แจ้งที่ [email protected] ด้วยจะเป็นพระคุณ

     เพิ่มเติมรายชื่อโครงการ/โครงการวิจัย ทั้งหมดที่ส่ง 25 โครงการครับ (นี่ขนาดปีแรกนะ)

ชอบใจโครงการที่ 24 ค๊าบ 

รู้สึกว่า เป็นโครงการที่ดีมาก อยากให้โรงพยาบาลทุกหน่วยงานของประเทศเอาแบบอย่าง..............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท