แลกเปลี่ยนเรียนรู้..คนทำงานบริการวิชาการแก่สังคม


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานบริการวิชาการแก่สัมคมในช่วงไตรมาสที่สาม ปี 2549

              วันนี้โครงการติดตามประเมินผล ศูนย์บริการวิชาการ เป็นเจ้าภาพการจัดโครงการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการบริการวิชาการแก่สังคม  โดยเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานบริการวิชาการแก่สัมคมในช่วงไตรมาสที่สาม ( 9 เดือน)  ตามแผนที่สอดคล้องกับมติคณะกรรมการศูนย์ฯ ให้จัดประชุมหัวหน้าโครงการเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการทุกสามเดือน

ประสบการณ์จัดวันนี้...ตอนแรกก็รู้สึกห่อเหี่ยวใจ  เพราะมีคนเข้าร่วมน้อย ( หัวหน้า/ผู้แทนโครงการ  มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จำนวน 9 โครงการ  จาก 46 โครงการ ) แต่พอถึงช่วงการนำเสนอของแต่ละโครงการแล้วมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  รู้สึกว่าถึงคนน้อยแต่ก็เปี่ยมด้วยคุณภาพ  ต่างช่วยกันซัก-ถาม เพิ่มเติม เพื่อต่อยอดการทำงานบริการวิชาการแก่ชุมชน  แถมมีอาจารย์หลายท่านเริ่มจีบ(ทาบทาม)ในการทำงานร่วมกัน  ซึ่งน่าจะเป็นผลดีเพราะภาพการทำงานบริการแก่สังคมต่อไปคือการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ

สำหรับหัวข้อสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้คือ  การเรียนรู้ชุมชนสู่การพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย  ซึ่งอาจารย์หลายท่านได้เล่าว่า...

ใช้เป็นกรณีตัวอย่างในการสอนนักศึกษา สัตวแพทย์ ปี5-6 ด้านการแก้ปัญหาการผสมติดยาก  การดูแลสุขภาพโค และเป็นแนวทางวิจัยสำรวจโรคทางการสืบพันธ์ในโคเนื้อ  ( อาจารย์สุณีรัตน์  เอี่ยมละมัย  หัวหน้าโครงการการดูแลสุขภาพโคเนื้อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการสืบพันธุ์)

   พัฒนาการเรียนการสอนในเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ การสร้างผู้นำ และการทำงานเป็นทีม และเป็นตัวอย่างของการดำเนินการวิจัยในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รวมทั้งนำประเด็นที่ค้นพบมาทำวิจัยต่อ” ( อาจารย์อมรรัตน์  รัตนศิริ  หัวหน้าโครงการพัฒนาผู้นำชุมชน ครู ผู้ปกครอง และตัวแทนนักเรียน โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริ )

ให้นักศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก เข้าร่วมเรียนรู้ในกระบวนการทำงานบริการวิชาการแก่สังคม รวมทั้งการทำวิจัยด้วย ( อาจารย์อรสา  กงตาล   หัวหน้าโครงการพัฒนาเครือข่ายและทักษะของผู้ดูแลและชุมชนในการเกื้อหนุนผู้สูงอายุในบริบทสังคมอิสาน)

ในหลักสูตรการเรียนการสอน  ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา  เป็นพื้นที่สำหรับการทำวิจัย  ( คุณวรนันท์ บุนนาค  จากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนลุ่มน้ำพอง )

นอกจากนี้สิ่งที่ประทับใจเป็นพิเศษ คือ การเล่าประสบการณ์การทำงานบริการวิชาการสังคม ของท่านอาจารย์นฤมล สินสุพรรณ  ซึ่งได้เล่าเรื่องเร้าพลังแถมให้กำลังใจคนทำงานเพื่อชุมชนอย่างดีเยี่ยม 

ครั้งนี้สิ่งที่ต้องกลับมาทบทวน คือครั้งหน้าทำอย่างไรให้คนปฏิบัติจริงทั้งหลายมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันมากขึ้น  ซึ่งครั้งต่อไปท่านอาจารย์สุชาติ วัฒนชัย หัวหน้าโครงการติดตามประเมินผล ได้แจ้งแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งต่อไป ซึ่งเป็นการสรุปผลงานทั้งหมด  ประมาณช่วงปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายนนี้ 

**เสียดาย- - ภาพกิจกรรมอยู่กับกล้องอาจารย์สุชาติ

-น้อง-

หมายเลขบันทึก: 36262เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เป็นโครงการที่ดีมากเลยครับ
  • สนใจโครงการที่สองครับผม
เอกรินทร์ เทศนาบูรณ์

สวัสดีครับ ผมอยากขอความรุ้เยอะเลยงับตอนนี้ ผมเป็น นศ.ชั้นปีที่4 อาจารย์ได้มอบหมายงานที่เกี่ยวกับกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับชุมชนใด ชุมชนหนึ่ง ซึ่งรายละเอียด ของชุมชนนั้นๆมีเยอะมากเลยครับ เช่น

1.ประวัติของชุมชน สภาพทางภูมิศาสตร์ อาชีพและผลผลิตของประชากรในชุมชน

2.อัตราการเกิด การตาย ย้ายถิ่นฐานเข้าและออก ระดับการศึกษา ระดับรายได้

3. กลุ่มองค์กรในสังคม แหล่งท่องเที่ยว

4คณะกรรมการหมู่บ้านหรือชุมชน

5.โครงการขององค์กรพัฒนาเอกชน(NGOs) ที่เข้ามาพัฒนาหมู่บ้านในรอบปี (ซึ่งข้อนี้ สำคัญมากเลยครับ ห้ามตกหล่นโดยเด็ด ขาด)

ผมอยากให้พี่ช่วยแนะนำหรือบอกวิธีการทำ กรณีศึกษาของชุมชนใดชุมชน หนึ่งให้ผมหน่อย นะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท