คลื่นสังคมโลก The Earth Wave : ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์


คลื่นลูกที่ 4 “สังคมแห่งองค์ความรู้”

เผยแพร่โดย  ยรรยง สินธุ์งาม

                    
 คลื่นสังคมโลก  The Earth Wave : .ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

                   คลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลก  5 ลูกคลื่น

 

                       ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการและนักคิดระดับชาติ อาจารย์เกรียงศักดิ์ได้กล่าวปาฐกในเรื่อง คลื่นแห่งการเปลี่ยนของโลกโดยต่อยอดแนวคิดของ Alvin Tofler (นักอนาคตวิทยาและผู้เขียนหนังสือ The Third Wave) กล่าวถึงคลื่นดังกล่าวไว้ว่า
คลื่นลูกที่
1 “สังคมเกษตรกรรม
           ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือที่ดิน ผู้นำทางสังคมหรือผู้นำแห่งยุค คือ ขุนพล ผู้กุมอำนาจทางการทหาร
เพื่อปกป้องปัจจัย และหาปัจจัยใหม่ให้สังคมของตน  ยุคนี้เป็นยุคที่พ่อค้า นักธุรกิจ  จะอาศัยบารมีของผู้นำทัพ เพื่อให้ตนมีอำนาจทางธุรกิจ เหนือกว่าคนอื่น ขณะเดียวกัน ขุนพลก็ต้องการพ่อค้าที่เก่งๆ เพื่อเลี้ยงดู ตนและกองทัพ
 

 

คลื่นลูกที่ 2 “สังคมอุตสาหกรรม
            ปัจจัยของยุคนี้ คือ ทุน     เครื่องมือแห่งยุคได้แก่เครื่องจักร เครื่องกลต่างๆ หลังจากที่มีการคิดค้นสร้างเครื่องจักรไอน้ำ โลกเราก็เข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม มีการสร้างถนน และสาธารณูปโภคต่างๆ การเดินทางไปมาหาสู่กันของคนมีมากขึ้น เนื่องจากการคมนาคมสะดวกขี้น ภาษาท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทน้อยลง ในขณะที่ผู้คนหันมาเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาสากล เพื่อง่ายและมีประสิทธิผลในสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น ยุคนี้เป็นยุคที่ทหารจะซ่อนอยู่เบื้องหลังนายทุน พ่อค้า นักธุรกิจ

 

คลื่นลูกที่ 3 “สังคมแห่งข้อมูล
           ปัจจัยแห่งยุคคือข้อมูล    เครื่องมือแห่งยุค คือ
IT (Information Technology)สิ่งต่างๆ ในยุคนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลก่อนจะได้เปรียบในการแข่งขัน ตัวอย่างง่ายๆ  เช่น ใครที่รู้ก่อนว่าถนนจะตัดไปทางไหน
ก็จะไปกว้านซื้อที่ดินแถบนั้น
เพื่อเก็งกำไร ซึ่งผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนทำธุรกิจแบบดั้งเดิมหลายเท่าตัว  หรือ การที่
Microsoft เติบโตแซงหน้า GE และ
บริษัทรถยนต์เครื่องจักรยักษ์ใหญ่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี    เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็น ความสำคัญ ของข้อมูล

 

คลื่นลูกที่ 4  “สังคมแห่งองค์ความรู้
             ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือ ความรู้ (Knowledges)            เครื่องมือแห่งยุคคือ     ศาสตร์แขนงต่างๆ   
เช่น nanotechnology, biotechnology, pharmaceutical เป็นต้น  ยกตัวอย่าง  ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีประชากรเพียง 1% เท่านั้น ที่เป็นสังคมของคลื่นลูกที่ 1 ประชากรถึง 70% นั้นอยู่ในคลื่นลูกที่ 4 และประชากรส่วนที่เหลืออยู่ในสังคมคลื่นลูกที่ 2 และ 3

 

คลื่นลูกที่ 5 “สังคมแห่งปัญญา  หรือ  ปราชญสังคม
            ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือ สติปัญญา     เครื่องมือแห่งยุค คือ นักคิด นักบูรณาการ 
เป็นยุคของการคิด การบูรณาการความรู้และใช้ปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  
สังคมใดสามารถพาตนสู่การเป็น
ปราชญสังคมได้สำเร็จสังคมนั้น  จะเจริญล้ำหน้ากว่าใครในโลก


     ศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์    อาจารย์ นักวิชาการ นักคิด นักเขียน นักอนาคตวิทยา นักการเมือง   



อ้างอิง  

 

    สุทิน ตันรัตนากร      http://www.oknation.net/blog/print.php?id=286338

 

 

 


เรียบเรียงโดย   ยรรยง สินธุ์งาม

หมายเลขบันทึก: 362371เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • สังคมเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยนะคะ ใครตามทันก็ถือว่าโชคดี ดูเหมือนเป็นสังคมแห่งการแข่งขนแกร่งแย่งชิงดี
  • แต่...มีคนอีกจำนวนไม่น้อยนะคะ ที่ยังเข้าไม่ถึง ซักยุคซักสมัย
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์ยรรยง
  • แวะมาทักทายค่ะ
  • คลื่นใด ๆ ในโลกก็ไม่อันตรายและน่ากลัวเท่าคลื่นกิเลสของผู้คน
    ที่ถาโถมทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น...ต้องใช้พุทธิปัญญาแก้ปัญหากิเลสคน
นายนริศ มหาพรหมวัน

อาจารย์ครับผมเคยมีหนังสือของอาจารย์ เรื่องคลื่นลูกที่ห้า ในศตวรรษที่ 21 มีคนยืมไปแล้วหายไปเลย อยากซื้อเก็บไว้อ่าน แต่หาไปทุกร้านแล้วไม่มีขายแล้ว จะทำอย่างไรดีครับ จะไม่พิมพืเพิ่มอีกแล้วหรือครับ หรือมีหนังสือเล่มอื่นที่มีเนื้อหาใกล้เคียง ชื่ออะไรครับผมจะไปหาซื้อมาอ่านครับ ขอขอบพระคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท