งาน PAR FOOD SAFETY ตอนที่ 1


ซึ่งสิ่งที่ผมรู้สึกประทับใจคือทุกจังหวัดได้สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ PAR ในการพัฒนางาน + คน

              วันที่ 27 28  มิถุนายน  2549 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดสรุปผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกระบวนการส่งเสริมพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน ( PAR ) โดยมีเป้าหมายใน 4 จังหวัด คือ กำแพงเพชร นครพนม  อ่างทอง และนครศรีธรรมราช เป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้ตามแผน คือ หลังจากที่ได้มีการสัมมนาสร้างแนวคิด ความเข้าใจ  และวางแผนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2549 ทั้ง 4 จังหวัด ได้กลับไปดำเนินงานตามกระบวนการวิจัย ( ประมาณ 5  เดือน ) การกลับมาพบกันครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ

  • สรุปและปรับแผนในช่วงครึ่งของการดำเนินงาน
  • ผู้ร่วมกระบวนการ PAR ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานร่วมกัน
  • ติดอาวุธทางปัญญาด้านการวิเคราะห์/สังเคราะห์/ตีความ โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก รศ. บำเพ็ญ  เขียวหวาน  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เป็นพี่เลี้ยง 

        กระบวนการสัมมนา วันแรก     เริ่มด้วยการทักทายให้กำลังใจทีมวิจัย  โดย ผอ.มนตรี  วงศ์รักษ์พานิช  กองวิจัยฯ หลังจากนั้นแต่ละจังหวัดได้ขึ้นมาเล่าถึงประสบการณ์+ความก้าวหน้าการดำเนินงานในประเด็น สถานการณ์การผลิต ความปลอดภัยของผลผลิตผลทางการเกษตร  การออกแบบงานวิจัยความก้าวหน้าการดำเนินงาน  ปัจจัยหนุน/อุปสรรค  ดำเนินรายการดำเนินรายการโดยอาจารย์บำเพ็ญ และสรุปผลภาพรวมจากการนำเสนอของ 4 จังหวัดโดยตัวผมเอง และก่อนรับประทานอาหารกลางวัน  ผอ. ปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ ในฐานะประธานคณะทำงานโครงการ Food Safety ซึ่งท่านได้มานนั่งฟังตั้งแต่ต้นได้ให้กำลังใจทีมงานและให้ความมั่นใจว่างานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกรมฯในปีต่อไปแน่นอน พอช่วงบ่ายก็มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อสังเคราะห์ผลการวิจัยตามโจทย์ที่มีการออกแบบไว้

        วันทีสอง      เริ่มด้วยให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนขึ้นมาเสนอผลการสังเคราะห์ตามโจทย์ที่รับผิดชอบแล้วให้กลุ่มใหญ่ช่วยกันเติมเต็ม และให้ข้อเสนอแนะผลการสังเคราะห์โดยอาจารย์บำเพ็ญ ถึงความชัดเจนในการตีความ  การสังเคราะห์ อธิบายปรากฏการณ์ที่ยืนยันผล   เพื่อให้มีการยกระดับข้อมูลจาก DATA  สู่    KNOWLEDGE ต่อด้วยการให้ความรู้ในการวิเคราะห์สังเคราะห์  เทคนิคการนำเสนอผลโดยอาจารย์บำเพ็ญ   จากนั้นในช่วงบ่ายผอ.สุกัญญา    อธิปอนันต์  ในฐานะแม่งานได้นำเสนอโครงสร้างของตัวรายงานการวิจัยที่ได้ยกร่างไว้   และกิจกรรมเสริมหนุน/การเรียนรู้ร่วมกันของทีมทั้งหมดที่ได้เตรียมไว้  หลังจากนั้นแต่ละจังหวัดได้มานั่งทบทวนโจทย์ + แผนปฏิบัติงานที่กำหนดไว้เดิมและในช่วงท้ายดำเนินการ AAR โดย ผอ.สุกัญญา  ซึ่งสิ่งที่ผมรู้สึกประทับใจคือทุกจังหวัดได้สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ PAR ในการพัฒนางาน + คนซึ่งหลายคนได้บอกว่าการมาร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้มีบรรยากาศที่ดีมากซึ่งผมก็รู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะจากการสังเกต เห็นว่าทุกคนเริ่มสนุกกับงานวิจัย  ไม่มีสีหน้าเคร่งเครียดหนักใจเหมือนเวทีแรก  ก่อนปิดการสัมมนาและมาพบกันใหม่ปลายเดือนสิงหาคม 2549 ท่าน ผอ.มนตรี ได้มาพบกับเราอีกครั้งและบอกว่ากองวิจัยฯ มีบทบาทหลักส่วนหนึ่งคือ การพัฒนาเจ้าหน้าที่ฯให้มีความพร้อมที่จะทำงานและได้คุยกับอาจารย์บำเพ็ญว่าจะจัดหลักสูตรเสริมหนุนพวกเราในการทำหน้าที่คุณลิขิต   ในเร็ว ๆ นี้และอยากเห็นเราเป็นดาวฤกษ์ที่สามารถเปล่งแสงได้โดยตัวเอง ไม้ต้องการเห็นเราเป็นดาวเคราะห์ทีต้องอาศัยแสงจากดาวอื่น จึงมุ่งหวังติดอาวุธทางปัญญาให้กับเราทุกคน                                                                                     

                  ส่วนเนื้อหาที่ได้จากการสัมมนาคอยติดตามในตอนต่อไปนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #นักวิจัย
หมายเลขบันทึก: 36098เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2006 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบพระคุณ คุณสำราญมากนะครับที่บันทึกมาแลกเปลี่ยน
  • ผมกำลังเขียนบันทึกงานนี้อยู่เช่นกัน คอยติดตามอ่านนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท