เมื่อบทคัดย่อวิจัยในเอกสารการประชุมวิชาการ คือข้อมูลที่ค้นหาได้ยากที่สุด???


มีคนตั้งข้อสงสัยนี้ขึ้นมาครับ เขาบอกว่า เมื่อค้นหาจากเวบไซต์ จากฐานข้อมูล Web Opac ในห้องสมุด จะไม่ค่อยเจองานวิจัยที่ถูกรวบรวมในเอกสารการประชุมวิชาการเลย

แต่สำหรับงานวิจัยที่จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทั้งวิทยานิพนธ์ งานวิจัยในวารสาร สามาถค้นเจอได้

"ทำไมถึงไม่จัดทำหัวข้องานวิจัยในเอกสารการประชุมวิชาการไว้ในฐานข้อมูลของห้องสมุด หรือในเวบไซต์บ้างนะ"

เพื่อนนายบอนตั้งคำถามาแบบนี้ นายบอนก็ไม่รู้เหมือนกันครับ ประเด็นนี้ต้องไปสอบถามบรรณารักษ์ห้องสมุดเอาเอง

แต่ในการค้นหาข้อมูล เมื่อค้นพบบทคัดย่อ และเป็นเรื่องที่เราสนใจแล้ว ก็เกิดความต้องการที่จะได้อ่านเอกสารฉบับเต็ม (Fulltext)

 เกิดความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ

บทคัดย่องานวิจัยมีมากมาย เอกสารประชุมวิชาการก็มีการจัดพิมพ์ออกมาเรื่อยๆ หนังสือใหม่ วิทยานิพนธ์ งานวิจัยใหม่ๆ ก็มีออกมาอยู่ตลอด ถ้าเจ้าหน้าที่จะต้องมารวบรวมจัดทำรายชื่อลงฐานข้อมูลทั้งหมด คงไม่ต้องทำอย่างอื่นแล้วกระมัง

บทคัดย่อที่รวบรวมอยู่ในเอกสารการประชุมวิชาการ ได้ถูกรวมอยู่ในที่เดียวกันแล้ว สามารถหยิบมาเปิดดูในเวลาอันสั้นได้หลายๆเรื่อง ซึ่งจะต่างจากการขนเอกสารฉบับเต็ม ขนมากองเป็นตั้งๆเต็มโต๊ะ เพื่อเปิดดูเนื้อหาอย่างคร่าวๆ ทั้งหนัก ทั้งเหนื่อย

เอกสารกาประชุมวิชาการ เอกสารรวมบทคัดย่อในห้องสมุด จะถูกจัดอยู่บนชั้นหนังสือหลายเล่ม ตามเลขหมู่อยู่แล้ว สามารถขนมาเปิดดูงานวิจัยหลายร้อยเรื่องได้ภายในเวลาไม่นานนัก  เมื่อเทียบกับการขนเอกสารฉบับเต็ม 100 เล่มมาวางบนโต๊ะแล้วเปิดดู อย่างไหนจะสะดวกกว่ากัน

ดังนั้น คำถามของเพื่อนนายบอนที่ตั้งข้อสังเกตไว้ จึงน่าจะเป็น...

บทคัดย่อวิจัยในเอกสารการประชุมวิชาการ คือข้อมูลที่ค้นหาได้ง่ายที่สุด และหลากหลายมากที่สุดด้วย

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 36066เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2006 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท