บทบาทของผู้บริหารกับการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน


แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน

                 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตรา 25 ได้กำหนดไว้ว่า รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ  ได้แก่  ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์  หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์  อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ  อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ  โรงเรียนทุกแห่งมีหน้าที่ดำเนินงานให้สนองนโยบายของพระราชบัญญัติและส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

                 แหล่งการเรียนรู้ที่โรงเรียนสามารถจัดและดำเนินการได้มีหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของโรงเรียนแต่ละแห่ง  เช่น โรงเรียนที่มีพื้นที่กว้างขวางอาจจัดแหล่งการเรียนรู้ในลักษณะของสวนพฤกษศาสตร์ หรืออุทยานการศึกษา นอกเหนือจากการจัดห้องสมุดโรงเรียน และการจัดมุมต่างๆ ในบริเวณโรงเรียนให้เป็นที่อ่านหนังสือ รวมทั้งการนำนักเรียนไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลนอกโรงเรียน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ                                                                         

                 1.  แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน          

                 2.  แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น

                  แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน ได้แก่  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดหมวดวิชา  ห้องสมุดเคลื่อนที่  มุมหนังสือในห้องเรียน  ห้องพิพิธภัณฑ์  ห้องมัลติมีเดีย  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องอินเตอร์เน็ต  ศูนย์วิชา  ศูนย์วิทยบริการ  ศูนย์โสตทัศนศึกษา  ศูนย์สื่อการเรียนการสอน  ศูนย์พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน  สวนพฤกษศาสตร์  สวนวรรณคดี  สวนสมุนไพร  สวนสุขภาพ  สวนหนังสือ  สวนสาธรรมะ ฯลฯ

                            

                                  

                  ส่วนแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ได้แก่  ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ  สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์  ศูนย์กีฬา  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  วัด  ครอบครัว  ชุมชน  สถานประกอบการ  องค์กรภาครัฐและเอกชน ฯลฯ      

                  ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา รวมทั้งเป็นผู้สนับสนุนทุก ๆ ด้าน  เพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งผู้บริหารจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญดังนี้

                 1.  จัดให้มีการร่วมกันกำหนดนโยบาย  วางแผนในเรื่องการจัดหาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน

                 2.  ส่งเสริม  สนับสนุน  ให้ข้อเสนอแนะแก่บุคลากรภายในโรงเรียนในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้  พร้อมทั้งให้มีการจัดตั้งเครือข่ายทางวิชาการ ชมรมวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน

                 3.  ส่งเสริม  สนับสนุน  ให้มีการพัฒนาและใช้สื่อต่างๆ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสื่อที่ให้ข้อเท็จจริงเพื่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยหาแหล่งสื่อที่เสริมการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                  4.  ส่งเสริม  สนับสนุนการพัฒนาห้องสมุดของโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชน

                  5.  นิเทศ  ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในการจัดหา ผลิต ใช้ และพัฒนาสื่อการเรียนรู้  พร้อมทั้งชี้แนะช่วยแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานของบุคลากรเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้   

หมายเลขบันทึก: 360136เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2010 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทาย มาเป็นกำลังใจให้กันค่ะ และยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                  

  • ประชาสัมพันธ์โรงเรียนได้เลยค่ะ
  • ต้องบอกต่อ.......ขอบคุณค่ะ
  • โค้ดภาพicon_dukdik_273ดุ๊กดิ๊กแต่งhi5โค้ดภาพicon_dukdik_273ดุ๊กดิ๊กแต่งhi5โค้ดภาพicon_dukdik_273ดุ๊กดิ๊กแต่งhi5โค้ดภาพicon_dukdik_273ดุ๊กดิ๊กแต่งhi5
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท