อาชีพมีความสำพันธ์กับนิ้วล้อก


การรักษาโดยการผ่าตัด ทำในรายที่เป็นมานานๆ และการรักษาโดยไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล โดยการตัดห่วงรอกที่เส้นเอ็นลอดผ่านออกไป การรักษาโดยการผ่าตัด ทำในรายที่เป็นมานานๆ และการรักษาโดยไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล

โรคนิ้วล็อก ( Trigger-finger)

เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่งโดยเฉพาะในแม่บ้านที่ทำงานบ้านเอง เลขานุการที่พิมพ์ดีดบ่อยๆ หรือ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬากอล์ฟ สาเหตุสำคัญคือมีการอักเสบของเส้นเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น บางรายพบว่ามีการหนาตัวขึ้นของห่วงรอกที่เส้นเอ็นนั้นลอดผ่าน

ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้า เมื่อใช้มือไประยะหนึ่งถึงกำมือได้มากขึ้น บางรายเมื่อเป็นมากจะมีอาการนิ้วล็อก เมื่องอนิ้วจะเหยียดนิ้วลำบาก อาจเป็น เพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว เป็นนิ้วไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับอาชีพและการใช้งานรุนแรง

อาการที่พบ เริ่มจากเจ็บฐานนิ้ว โคนนิ้วด้านฝ่ามือ นิ้วฝืด สะดุด กำมือหรือเหยียดมือไม่สะดวก กระเด้ง หรือล็อก อาจล็อกในท่านิ้ว
งออยู่เหยียดไม่ออก หากงอหรือกำนิ้วมือไว้ จะไม่ยอมเหยียดออกเอง ต้องใช้อีกมือหนึ่งมาช่วยง้างออก มีอาการเจ็บปวด
เวลาดึงออก หรือบางครั้งอาจจะเหยียดออกแต่เวลางอนิ้วจะงอไม่ลง หรืออาจมีอาการนิ้วชาร่วมด้วย หากปล่อยทิ้งไว้ นิ้วมือ นั้น ๆ
อาจเปลี่ยนรูปเป็น โก่ง งอ บวม เอียง นิ้วเกยกัน นิ้วอาจแข็งทื่อ ไม่สามารถงอลงหรือเหยียดขึ้น ทำให้การใช้งานของมือในชีวิตประจำวันเป็นอุปสรรคและไม่สามารถใช้ทำงานได้ หากปล่อยทิ้งไว้ต่อไป ข้อต่ออาจจะยึด และข้อเหยียดไม่ออก ขยับไม่ได้ พังผืดรอบข้อต่อของนิ้วยึดแข็ง ทำให้มือพิการได้

ปัจจัยที่สำคัญในการเป็นโรคนิ้วล็อก คือ ความแรงในการบีบ กระแทก บีบ กำ บด สับ ความถี่ ความบ่อย ในการใช้มือกำบีบเครื่องมือ และ ความเสื่อมของวัย ซึ่งพบในวัย 45 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมาก ไป มากสุด ช่วงอายุ 50-60 ปี แต่ให้ความสำคัญน้อยกว่าปัจจัยแรก ในผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 3-4 เท่า ผู้ชายพบโรคนี้เพียง 20 %

โรคนิ้วล็อกพบได้ในคนขาไม่ดี เช่น ปวดเข่า ปวดสะโพก ปวดหลัง เพราะใช้ไม้เท้าบีบ กำ กด อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า ทำให้ผ่ามือกดจับด้าม คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นมากขึ้นกว่าคนปกติ

อาชีพที่มักเป็นโรคนิ้วล็อก

- แม่บ้าน หิ้วถุงช๊อปปิ้ง หิ้วตะกร้าจ่ายตลาด บิดผ้า มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา
- นักกอล์ฟ กำไม้กอล์ฟ กระแทกลูกกอล์ฟขณะตีลูก มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้าย
- คนทำสวน ใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หิ้วถังน้ำรดต้นไม้ ใช้มือขุดพรวนดินมักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา
- ช่าง ใช้มือกำบีบเครื่องมือ เช่น ไขควง คีม ค้อน เลื่อย ฯลฯ มักเป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา
- คนขายของชำ หยิบ ยก สิ่งของทั้งวันที่ขายของ ทำให้เป็นนิ้วชี้ นิ้วกลาง ทั้งสองข้าง
- คนขายหมู สับกระดูกหมู มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา
- คนนวดแป้งซาลาเปา มักเป็น นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา
- หมอนวดแผนโบราณ มักเป็น นิ้วโป้ง มือซ้ายและมือขวา
- คนขายน้ำขวด ถังแก๊ส มัก เป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา
- แม่ครัวโรงเรียน ยกหม้ออาหารใหญ่ ๆ ถังน้ำใหญ่ ๆ มักเป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้าย และมือขวา
- ครู ผู้พิพากษา นักบริหาร นักบัญชี มักเป็น นิ้วโป้ง มือขวา

ข้อควรระวังในการป้องกันโรคนิ้วล็อก

  • ไม่หิ้วของหนัก เช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ ฯลฯ ถ้าจำเป็นต้องหิ้ว ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือแทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อนิ้วมือ หรือใช้วิธีการอุ้มประคอง ลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
  • ไม่ควรบิด ซักผ้า ด้วยมือเปล่า จำนวนมาก ๆ และซ้ำบ่อย ๆ ควรซักด้วยเครื่องซักผ้า และไม่ควรบิดผ้าให้แห้งสนิท เพราะมันจะยึดปลอกหุ้มเอ็นจนคราก และเป็นจุดเริ่มของโรคนิ้วล็อก
  • นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกลควรใส่ถุงมือ หรือใช้ผ้าสักกะหลาดหุ้มด้ามจับให้หนา และนุ่มขึ้นเพื่อลดแรงปะทะ ไม่ควร drive กอล์ฟเป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ
  • ช่าง ควรระวังการ กำ บด เครื่องมือทุนแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ ควรใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับให้ใหญ่และนุ่มขึ้น
  • ชาวสวน ระวังเรื่องการตัดกิ่งไม้ด้วยกรรไกร ฟันดิน ฟันต้นไม้ด้วยมีด พร้า ฯลฯ ควรใส่ถุงมือเพื่อลดการบดของ ปลอกเอ็นกับเส้นเอ็น ห้ามใช้มือเปล่าหิ้วถังน้ำหนัก ๆ เป็นประจำ ควรต่อสายยาง แทนการหิ้วถังน้ำ
  • คนที่ยกของหนัก ๆ เป็นประจำ เช่น คนส่งน้ำขวด ถังแก๊ส แม่ครัวพ่อครัว ควรหลีกเลี่ยงการยกมือเปล่า ควรมีผ้ามารองจับขณะยก และใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลากแทน
  • หากจำเป็นต้องทำงานที่ต้องใช้มือกำ หยิบ บีบ เครื่องมือ เป็นเวลานานๆ ควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่นใช้ผ้าห่อที่จับ ให้ใหญ่และนุ่ม เช่นใช้ผ้าห่อด้ามจับตะหลิว ในอาชีพแม่ครัว
  • งานบางอย่างต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่น ทำ 45 นาที ควรจะพักมือไปทำภารกิจอื่นสัก 10 นาทีเป็นต้น

การรักษา

โดยไม่ผ่าตัด ใช้ในกรณีที่มีอาการยังไม่มาก

  • การรับประทานยาเพื่อลดการอักเสบของเส้นเอ็น โดยทั่วไปให้รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและบวมของเส้นเอ็น ได้แก่ การแช่พาราฟิน การทำอัลตราซาวน์ ร่วมกับการออกกำลังเพื่อยืดเส้นเอ็นนั้น
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบริเวณตำแหน่งที่เป็น ซึ่งจะลดการอักเสบได้ดีแต่ไม่ควรทำมากกว่า 3 - 4 ครั้งต่อปี เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นขาดได้

การรักษาโดยการผ่าตัด ทำในรายที่เป็นมานานๆ และการรักษาโดยไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล โดยการตัดห่วงรอกที่เส้นเอ็นลอดผ่านออกไป

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคข้อนิ้วล็อก

    1. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่มีอาการเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
    2. เมื่อต้องทำงานที่ต้องกำ จับสิ่งของแน่นๆ เช่น จับตะหลิวผัดกับข้าว จับไม้กอล์ฟ ควรดัดแปลงอุปกรณ์ที่ต้องใช้สม่ำเสมอนั้น โดยการพันฟองน้ำหรือผ้ารอบๆ ด้ามจับ เพื่อให้ด้ามจับอ้วนขึ้น ทำให้เวลาจับกำมือหลวมขึ้น แต่ไม่ควรทำให้ด้ามจับนั้นอ้วนเกินไป ขนาดที่พอเหมาะคือสามารถกำได้หลวมๆ โดยไม่เมื่อยนิ้วมือ
    3. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า การแช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง

โรคนิ้วล็อกในเด็ก

โรคนิ้วล็อกสามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่กำเนิด (Congenital trigger finger ) ส่วนใหญ่มักเป็นกับ นิ้วโป้ง (Trigger thumb )
ซึ่งเกิดจากเข็มขัดรัดเส้นเอ็น หดรัดหนาตัวบีบจนเส้นเอ็นนิ้วโป้ง ไม่สามารถเหยียดตัวสุดได้ ทำให้นิ้วโป้งอยู่ในท่างอ
บางครั้งพบทั้ง 2 ข้าง หรือมีนิ้วอื่นร่วมด้วย บางครั้งอาการนิ้วล็อกอาจหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เพียงช่วยคลึงฐานนิ้วหรือตามนิ้ว
ในกรณีการหดรัดไม่รุ่นแรงนัก นิ้วก็เหยียด ออกได้ การดาม ดัด นิ้ว และการรักษาทางกายภาพบำบัด อาการของโรคนิ้วล็อกในเด็ก
มักจะไม่พบตั้งแต่เกิด พ่อแม่เด็ก มักพบความผิดปกติในช่วง1-2 ขวบปี พบการพัฒนาการของการใช้งานผิดปกติ นิ้วโป้งอยู่ในท่างอ
เหยียดไม่ออก ไม่สามารถเหยียดตรงออกได้ บ้างครั้งดึงก็ยังไม่ออก ในเบื้องต้นที่พบพ่อแม่ควรให้การนวดดัดยืดให้พังผืดอ่อนตัว บางครั้งอาจจำเป็นต้องดามนิ้วมือไว้ (Splint)

ข้อมูล : นายแพทย์ วิชัย วิจิตรพรกุล โรงพยาบาลเลิศสิน / www.trigger-finger.net / สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย / แพทย์หญิงนวพร ชัชวาลพาณิชย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

โรคนิ้วล็อก ( Trigger-finger)

เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่งโดยเฉพาะในแม่บ้านที่ทำงานบ้านเอง เลขานุการที่พิมพ์ดีดบ่อยๆ หรือ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬากอล์ฟ สาเหตุสำคัญคือมีการอักเสบของเส้นเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น บางรายพบว่ามีการหนาตัวขึ้นของห่วงรอกที่เส้นเอ็นนั้นลอดผ่าน

ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้า เมื่อใช้มือไประยะหนึ่งถึงกำมือได้มากขึ้น บางรายเมื่อเป็นมากจะมีอาการนิ้วล็อก เมื่องอนิ้วจะเหยียดนิ้วลำบาก อาจเป็น เพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว เป็นนิ้วไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับอาชีพและการใช้งานรุนแรง

อาการที่พบ เริ่มจากเจ็บฐานนิ้ว โคนนิ้วด้านฝ่ามือ นิ้วฝืด สะดุด กำมือหรือเหยียดมือไม่สะดวก กระเด้ง หรือล็อก อาจล็อกในท่านิ้ว
งออยู่เหยียดไม่ออก หากงอหรือกำนิ้วมือไว้ จะไม่ยอมเหยียดออกเอง ต้องใช้อีกมือหนึ่งมาช่วยง้างออก มีอาการเจ็บปวด
เวลาดึงออก หรือบางครั้งอาจจะเหยียดออกแต่เวลางอนิ้วจะงอไม่ลง หรืออาจมีอาการนิ้วชาร่วมด้วย หากปล่อยทิ้งไว้ นิ้วมือ นั้น ๆ
อาจเปลี่ยนรูปเป็น โก่ง งอ บวม เอียง นิ้วเกยกัน นิ้วอาจแข็งทื่อ ไม่สามารถงอลงหรือเหยียดขึ้น ทำให้การใช้งานของมือในชีวิตประจำวันเป็นอุปสรรคและไม่สามารถใช้ทำงานได้ หากปล่อยทิ้งไว้ต่อไป ข้อต่ออาจจะยึด และข้อเหยียดไม่ออก ขยับไม่ได้ พังผืดรอบข้อต่อของนิ้วยึดแข็ง ทำให้มือพิการได้

ปัจจัยที่สำคัญในการเป็นโรคนิ้วล็อก คือ ความแรงในการบีบ กระแทก บีบ กำ บด สับ ความถี่ ความบ่อย ในการใช้มือกำบีบเครื่องมือ และ ความเสื่อมของวัย ซึ่งพบในวัย 45 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนมาก ไป มากสุด ช่วงอายุ 50-60 ปี แต่ให้ความสำคัญน้อยกว่าปัจจัยแรก ในผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 3-4 เท่า ผู้ชายพบโรคนี้เพียง 20 %

โรคนิ้วล็อกพบได้ในคนขาไม่ดี เช่น ปวดเข่า ปวดสะโพก ปวดหลัง เพราะใช้ไม้เท้าบีบ กำ กด อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า ทำให้ผ่ามือกดจับด้าม คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นมากขึ้นกว่าคนปกติ

อาชีพที่มักเป็นโรคนิ้วล็อก

- แม่บ้าน หิ้วถุงช๊อปปิ้ง หิ้วตะกร้าจ่ายตลาด บิดผ้า มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา
- นักกอล์ฟ กำไม้กอล์ฟ กระแทกลูกกอล์ฟขณะตีลูก มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้าย
- คนทำสวน ใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ หิ้วถังน้ำรดต้นไม้ ใช้มือขุดพรวนดินมักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา
- ช่าง ใช้มือกำบีบเครื่องมือ เช่น ไขควง คีม ค้อน เลื่อย ฯลฯ มักเป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา
- คนขายของชำ หยิบ ยก สิ่งของทั้งวันที่ขายของ ทำให้เป็นนิ้วชี้ นิ้วกลาง ทั้งสองข้าง
- คนขายหมู สับกระดูกหมู มักเป็น นิ้วกลาง นิ้วนาง มือขวา
- คนนวดแป้งซาลาเปา มักเป็น นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา
- หมอนวดแผนโบราณ มักเป็น นิ้วโป้ง มือซ้ายและมือขวา
- คนขายน้ำขวด ถังแก๊ส มัก เป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายและมือขวา
- แม่ครัวโรงเรียน ยกหม้ออาหารใหญ่ ๆ ถังน้ำใหญ่ ๆ มักเป็น นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้าย และมือขวา
- ครู ผู้พิพากษา นักบริหาร นักบัญชี มักเป็น นิ้วโป้ง มือขวา

ข้อควรระวังในการป้องกันโรคนิ้วล็อก

  • ไม่หิ้วของหนัก เช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ ฯลฯ ถ้าจำเป็นต้องหิ้ว ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือแทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อนิ้วมือ หรือใช้วิธีการอุ้มประคอง ลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
  • ไม่ควรบิด ซักผ้า ด้วยมือเปล่า จำนวนมาก ๆ และซ้ำบ่อย ๆ ควรซักด้วยเครื่องซักผ้า และไม่ควรบิดผ้าให้แห้งสนิท เพราะมันจะยึดปลอกหุ้มเอ็นจนคราก และเป็นจุดเริ่มของโรคนิ้วล็อก
  • นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกลควรใส่ถุงมือ หรือใช้ผ้าสักกะหลาดหุ้มด้ามจับให้หนา และนุ่มขึ้นเพื่อลดแรงปะทะ ไม่ควร drive กอล์ฟเป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ
  • ช่าง ควรระวังการ กำ บด เครื่องมือทุนแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ ควรใส่ถุงมือ หรือห่อหุ้มด้ามจับให้ใหญ่และนุ่มขึ้น
  • ชาวสวน ระวังเรื่องการตัดกิ่งไม้ด้วยกรรไกร ฟันดิน ฟันต้นไม้ด้วยมีด พร้า ฯลฯ ควรใส่ถุงมือเพื่อลดการบดของ ปลอกเอ็นกับเส้นเอ็น ห้ามใช้มือเปล่าหิ้วถังน้ำหนัก ๆ เป็นประจำ ควรต่อสายยาง แทนการหิ้วถังน้ำ
  • คนที่ยกของหนัก ๆ เป็นประจำ เช่น คนส่งน้ำขวด ถังแก๊ส แม่ครัวพ่อครัว ควรหลีกเลี่ยงการยกมือเปล่า ควรมีผ้ามารองจับขณะยก และใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลากแทน
  • หากจำเป็นต้องทำงานที่ต้องใช้มือกำ หยิบ บีบ เครื่องมือ เป็นเวลานานๆ ควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่นใช้ผ้าห่อที่จับ ให้ใหญ่และนุ่ม เช่นใช้ผ้าห่อด้ามจับตะหลิว ในอาชีพแม่ครัว
  • งานบางอย่างต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่น ทำ 45 นาที ควรจะพักมือไปทำภารกิจอื่นสัก 10 นาทีเป็นต้น

การรักษา

โดยไม่ผ่าตัด ใช้ในกรณีที่มีอาการยังไม่มาก

  • การรับประทานยาเพื่อลดการอักเสบของเส้นเอ็น โดยทั่วไปให้รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและบวมของเส้นเอ็น ได้แก่ การแช่พาราฟิน การทำอัลตราซาวน์ ร่วมกับการออกกำลังเพื่อยืดเส้นเอ็นนั้น
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในเยื่อหุ้มเส้นเอ็นบริเวณตำแหน่งที่เป็น ซึ่งจะลดการอักเสบได้ดีแต่ไม่ควรทำมากกว่า 3 - 4 ครั้งต่อปี เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นขาดได้

การรักษาโดยการผ่าตัด ทำในรายที่เป็นมานานๆ และการรักษาโดยไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล โดยการตัดห่วงรอกที่เส้นเอ็นลอดผ่านออกไป

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคข้อนิ้วล็อก

    1. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่มีอาการเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
    2. เมื่อต้องทำงานที่ต้องกำ จับสิ่งของแน่นๆ เช่น จับตะหลิวผัดกับข้าว จับไม้กอล์ฟ ควรดัดแปลงอุปกรณ์ที่ต้องใช้สม่ำเสมอนั้น โดยการพันฟองน้ำหรือผ้ารอบๆ ด้ามจับ เพื่อให้ด้ามจับอ้วนขึ้น ทำให้เวลาจับกำมือหลวมขึ้น แต่ไม่ควรทำให้ด้ามจับนั้นอ้วนเกินไป ขนาดที่พอเหมาะคือสามารถกำได้หลวมๆ โดยไม่เมื่อยนิ้วมือ
    3. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า การแช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้ข้อฝืดลดลง

โรคนิ้วล็อกในเด็ก

โรคนิ้วล็อกสามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่กำเนิด (Congenital trigger finger ) ส่วนใหญ่มักเป็นกับ นิ้วโป้ง (Trigger thumb )
ซึ่งเกิดจากเข็มขัดรัดเส้นเอ็น หดรัดหนาตัวบีบจนเส้นเอ็นนิ้วโป้ง ไม่สามารถเหยียดตัวสุดได้ ทำให้นิ้วโป้งอยู่ในท่างอ
บางครั้งพบทั้ง 2 ข้าง หรือมีนิ้วอื่นร่วมด้วย บางครั้งอาการนิ้วล็อกอาจหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เพียงช่วยคลึงฐานนิ้วหรือตามนิ้ว
ในกรณีการหดรัดไม่รุ่นแรงนัก นิ้วก็เหยียด ออกได้ การดาม ดัด นิ้ว และการรักษาทางกายภาพบำบัด อาการของโรคนิ้วล็อกในเด็ก
มักจะไม่พบตั้งแต่เกิด พ่อแม่เด็ก มักพบความผิดปกติในช่วง1-2 ขวบปี พบการพัฒนาการของการใช้งานผิดปกติ นิ้วโป้งอยู่ในท่างอ
เหยียดไม่ออก ไม่สามารถเหยียดตรงออกได้ บ้างครั้งดึงก็ยังไม่ออก ในเบื้องต้นที่พบพ่อแม่ควรให้การนวดดัดยืดให้พังผืดอ่อนตัว บางครั้งอาจจำเป็นต้องดามนิ้วมือไว้ (Splint)

ข้อมูล : นายแพทย์ วิชัย วิจิตรพรกุล โรงพยาบาลเลิศสิน / www.trigger-finger.net / สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย / แพทย์หญิงนวพร ชัชวาลพาณิชย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3600เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2005 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
คนป่วยนิ้วล๊อกไม่อยากผ่าตัด(ถ้าไม่จำเป็น)

ตื่นนอนตอนเช้า นิ้วมือทั้งสองข้างจะกำลำบาก เป็นมาประมาณ 1 สัปดาห์ ช่วงวันแรก ๆ นิ้วกลางข้างซ้ายจะถูกล๊อก และจะเด้งขึ้นมาหลังจากนิ้วอื่นเหยียดตรง แต่ยังไม่ปวด และนิ้วหัวแม่มือข้างขวาก็จะล๊อกอีก เนื่องจากเคยล๊อกครั้งหนึ่งเมื่อเดือนมิ.ย.52 ไปหาคุณหมอเลยโดนฉีดยาเข้านิ้ว 1 เข็ม ผ่านไปได้แค่เดือนธ.ค.52 ก็กลับจะมาเป็นอีก ตอนนี้หัวแม่มือข้างขวาไม่สามารถจะแอ่นไปข้างหลังเหมือนเดิมได้ แต่จะงุ้มมาข้างหน้านิด ๆ แล้วก็จะปวดช่วงโคนข้อต่อนิ้วกับฝ่ามือด้วย ตรงโคนนิ้วที่ปวดก็จะมีปุ่มแข็ง ๆ ด้วย ไม่ทราบว่าเป็นอะไรคะ อาการอย่างนี้มีโอกาสที่นิ้วจะล๊อกทุกนิ้วหรือเปล่า ถ้าเป็นอาการเช่นนี้เป็นระยะไหนคะ และควรทำอย่างไรก่อนดีคะ ตอนนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะจะต้องเขียนหนังสือ และจะใช้นิ้วหัวแม่มือขวาบีบหรือกดอะไรไม่ได้ จะปวดโคนนิ้ว ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ จะมีผลอย่างไรคะ ทุกวันนี้จะแช่น้ำอุ่นเกือบร้อนทุกคืนก่อนจะนวดนิ้วด้วยยานวด ขอคำปรึกษาเบื้องต้น และการรักษาระยะต่อไปด้วยนะคะ (ถ้ามี) เผื่อจะเป็นทานให้คนซึ่งกำลังป่วยด้วยโรคนี้

บุตรของดิฉันอายุ 1 ขวบมีอาการเป็นน้วล๊อก ไปพบหมอมาแล้วคุณหมอจะให้ผ่าตัดแต่หนูกลัวว่าลูกยังเล็กอยู่จะทนยาสลบไม่ได้หนูกลัวลูกจะไม่ผื่นคะใช้ตอบหนูหน่อยนะคะว่าจะรักษาวิธิไหนดีหนูอยู่จังหวัดสระบุรีคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท