เผยแพร่ผลงาน กลุ่มสาระศิลปะ ดนตรีไทย


ดนตรีไทย ป.6

บทที่ 5

สรุปผล  อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ

 

               รายงานการพัฒนาและผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  ที่สำคัญคือ เพื่อสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ศึกษาความสามารถในการเรียน  จากหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2  และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2  เกี่ยวกับหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์)  

 สมมติฐานการวิจัย

        1.  หนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์) มีประสิทธิภาพ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  80/80

        2.   ศึกษาความสามารถในการเรียนจากหนังสือส่งเสริมการวิชาดนตรีไทย

        3.  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการวิชาดนตรีไทยสูงกว่าก่อนการใช้หนังสือส่งเสริมการวิชาดนตรีไทย            

 กลุ่มตัวอย่าง

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนวัดสะพาน  สำนักงานเขตคลองเตย  กรุงเทพมหานคร  ปีการศึกษา  2551   ภาคเรียนที่ 1  จำนวน  38  คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน

กำหนดเครื่องมือที่ใช้  คือ

        1.  หนังสือส่งเสริมการอ่าน วิชาดนตรีไทย  จำนวน 2 เล่ม

             เล่มที่ 1  ดีด สี ตี เป่า 

             เล่มที่ 2  สืบสานตำนานการดนตรีไทย 

        2.  เครื่องมือวัดและประเมินผล  จำนวน 1 ชุด

        3.  แบบทดสอบความคิดเห็นนักเรียน จำนวน 1 ชุด 

 สรุปผล

          ผลการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 มีดังนี้

          1.  ได้หนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์)  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 

         2.  ค่าประสิทธิภาพกระบวนการของแบบฝึกทักษะ (E1) และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของแบบทดสอบหลังเรียน (E2) ของแบบฝึกทุกชุดมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนด ดังนี้

             เล่มที่  1  มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.85/80.20

             เล่มที่  2  มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.58/84.04

             ค่าประสิทธิภาพโดยรวม เท่ากับ 81.21/82.12

         3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

         4.  ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์) ในเรื่องต่าง ๆ อยู่ในระดับมีความคิดเห็นมากที่สุดคือ ร้อยละ 95.79

 

อภิปรายผล

         ค่าประสิทธิภาพกระบวนการของแบบฝึก (E1) และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของแบบฝึก (E2)  จากผลการศึกษา พบว่า ค่าประสิทธิภาพกระบวนการของแบบฝึก (E1) และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของแบบฝึก (E2) ของหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(ดนตรี – นาฏศิลป์) แบบฝึกทุกเล่มมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนด ผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยของ  จิราภรณ์ เชาวนา (2542 : 123) ได้วิจัยเรื่อง การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง "เที่ยวเมืองนคร" พบว่า หนังสือส่งเสริมการอ่าน ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการอ่านสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 เฉลี่ยร้อยละ 80.67/80.50  และชนิสา คชาทอง (2543 : 154) ได้วิจัย การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง "เที่ยวเมืองสงขลา" ที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการอ่านสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/850 เฉลี่ยร้อยละ 80.27/80.53

ดังนั้น หนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์)เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี – นาฏศิลป์)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

       ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับนักเรียน

         1.  หนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย นอกเหนือจากการใช้กับนักเรียน    ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  แล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับนักเรียนในชั้นอื่นได้

         2.  นักเรียนสามารถทำหนังสือส่งเสริมการอ่านกลับไปที่บ้านได้เป็นอย่างดี

สำหรับครูผู้สอน

         1.  ควรทำหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย ไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบางส่วนให้สอดคล้องคลอบคลุมทั้งช่วงชั้น

         2.  ควรมีการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านในเรื่องอื่น ๆ และกลุ่มสาระอื่น ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนและเร้าความสนใจของผู้เรียน

สำหรับสถานศึกษา

         1.  ทุกสถานศึกษาได้นำนวัตกรรมหนังสือส่งเสริมการอ่านวิชาดนตรีไทย จำนวน 2  เล่ม  ไปใช้เป็นสื่อนวัตกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนช่วงชั้นที่  2  ได้              

         2. สถานศึกษาสามารถนำไปเผยแพร่เป็นต้นแบบในการพัฒนาสื่ออื่น ๆ  ในกลุ่มสาระต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีในการจัดการเรียนการสอน เป็นวิธีการและกระบวนการที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาอยู่เสมอ เพราะเป็นงานในหน้าที่หลักที่ต้องปฏิบัติ โดยเฉพาะนักเรียนในระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ครูทุกคนต้องเอาใจใส่ดูแลและเข้าใจสภาพความแตกต่างของนักเรียนแต่ละบุคคล หรือทำอย่างไรให้เขาเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข เพราะการจัดการเรียนการสอน ของครูจึงต้องปรับปรุงพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

 

 

หมายเลขบันทึก: 359843เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2010 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมค่ะ ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท