หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา


หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา

ปัญหา ปัจจุบันระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน เอกสารทางวิชาการ หลักสูตรกลวิธีในการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลได้เปลี่ยนแปลงไป ครูต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุคสมัย

แนวทางการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้   ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรหลายอย่างมาจากวิธีการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาทำให้การดำเนินงานขององค์กรล่าช้า หรือไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร  เกิดความขัดแย้งไม่สามัคคีภายในองค์กรหลายที่มากล่าวว่าหลักการบริหารที่ดีคือทำให้เกิดความขัดแย้งเพื่อที่จะให้ปกครองง่ายซึ่งขัดกับหลักในการบริหารงานครองตน ครองคน ครองงาน  พระมหาบุญมี มาลาวชิโร 

ครองตน 

ครองคน 

ครองงาน  

หรือการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร

การสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ระบุว่าธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบ 6 ประกอบ คือ
1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฏหมาย  กฎ  ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม   เป็นที่ยอมรับของสังคม  ไม่เลือกปฏิบัติ  และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น  โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย  มิใช่ตามอำเภอใจ หรือตามอำนาจของตัวบุคคล
2. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน  โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง  ทันการณ์  ตรงไปตรงมา  มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียม  มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
3. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้  และร่วมคิด  ร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การแจ้งความเห็น  การไต่สวนสาธารณะ  การประชาพิจารณ์  การแสดงประชามติ  นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการร่วมตรวจสอบ  และร่วมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำนั้น


4. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบ  ตระหนักในหน้าที่  ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม  การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง  และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา   ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง  และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
5. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด  ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
6. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม  สำนึกในหน้าที่ของตนเอง  มีความซื่อสัตย์สุจริต  จริงใจ  ขยัน  อดทน  มีระเบียบวินัย  และเคารพในสิทธิของผู้อื่น

การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร
     ปัจจุบันการบริหารงานในภาครัฐได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก  ในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงาน  ดังนั้นการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานของรัฐ  ก็เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือศรัทธาว่าปัญหาต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับการทุจริต คอรัปชั่นของหน่วยงานภาครัฐจะลดลง  ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการบริหารงานของหน่วยงานในภาครัฐ ได้แก่
1. ภาระรับผิดชอบตรวจสอบได้
2. ความโปร่งใส
3. การปราบปรามการทุจริตและการประพฤติมิชอบ
4. การสร้างการมีส่วนร่วม
5. การสร้างกรอบทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
6. การตอบสนองที่ทันการ
7. ความเห็นชอบร่วมกัน
8. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
9. ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง

  ผู้บริหารยุคใหม่จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิก แนวทางในการดำเนินงาน วิธีการปกครองซึ่งเป็นวิธีการที่ยากสำหรับหลายๆคนเพราะส่วนใหญ่คิดว่าตนเองคือผู้ที่มีอำนาจสามมารถกระทำการใดๆตามอำนาจอันชอบธรรมของตนซึ่งเป็นไปตามกลไก ของ MASLOW

MASLOWได้จัดลำดับขั้นความต้องการขอมนุษย์ออกเป็น 5 ประเภท 5 ระดับ ดังนี้คือ (Maslow, quoted in Hoyer and MacInnis. 1997:39)

ระดับที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs)

ระดับที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs)

ระดับที่ 3 ความต้องการทางสังคม (Social needs)   

ระดับที่ 4 ความต้องการมีเกียรติยศมีศักดิ์ศรีในสังคม (esteem needs หรือ egoistic needs) 

ระดับที่ 5 ความต้องการสมหวังในชีวิต (self-actualization หรือ self-fulfillment needs)  

 

ทุกคนต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคมแต่ทุกคนไม่ได้เป็นผู้บริหารตามชาติกำเนิดทุกคน     (วิธีการได้มาซึ่งผู้นำมีหลายวิธี ซึ่งเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2522) ได้กล่าวถึงวิธีการได้มาซึ่งผู้นำโดยอาจมาจากผู้นำโดยกำเนิด ซึ่งเป็นผู้นำโดยสืบสายโลหิต หรือการเป็นเจ้าของครอบครอง ผู้นำโดยการแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามความเหมาะสมและผู้นำโดยการเลือกตั้งซึ่งมักพบทางการเมือง ส่วนเกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง (2529) ได้กล่าวถึง         การได้มาซึ่งผู้นำมี 4 วิธี คือ

ผู้นำโดยธรรมชาติหรือลักษณะอันมากจากกำเนิดของตน

 ผู้นำโดยความเห็นชอบของหมู่คณะ

ผู้นำ โดยได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจเหนือกว่าให้เป็น ผู้นำ

ผู้นำโดยการนำตนเองขึ้นมาเป็น ผู้นำ

      นอกจากนี้ ยุล์ค  (Yulk.  1998) ได้กล่าวถึงการได้มาของผู้นำว่ามาจากการคัดเลือกและการสอบคัดเลือก ซึ่งการคัดเลือกจะต้องพิจารณาความสามารถในการปฏิบัติงานด้านผู้นำ ความมีทักษะ ตลอดจนความรู้ความสามารถในทางวิชาการ การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาอาจให้หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาทำการประเมินได้ นอกจากนี้ อาจใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อประกอบการพิจารณา ก็ได้)

หลายคนล้วนแต่เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชามาก่อนทั้งสิ้นในการทำงานจึงต้องรู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเราจึงสำคัญและจำเป็นถ้าผู้บริหารทุกคนมุ่งแต่เอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่อาจจะส่งผลในด้านลบให้กับองค์กร

ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้ที่ทันสมัยเข้าใจการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนวิธีในการทำงาน ทันต่อข้อมูลข่าวสารมีการกระจายอำนาจในการทำงานเพื่อความรวดเร็วและลดขั้นตอนในการทำงานการใช้หลักการบริหารจัดการที่ดีนอกจากจะส่งผลให้องค์กรประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายแล้วยังก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในองค์กรอีกด้วย

คำสำคัญ (Tags): #การบ้าน
หมายเลขบันทึก: 359790เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2010 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านการพัฒนาบุคลิกภาพแล้ว

จะได้ทบทวนตัวเองและปรับให้เหมาะสม

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆที่นำมาแบ่งปันค่ะ

กำลังหาข้อมูลเรื่องหลักการบริหารค่ะ เลยลองเข้ามาอ่านดู ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ที่ดีและมีประโยชน์นะคะ

ธนเดช สรศักดิ์อธิกุล

อ่านแล้วดีมากๆครับ สมัยนี้คุณครูต้องทันเหตุการณ์ ทันเด็ก รวมถึงความมีใจเป็นครูที่แท้จริง นั่นคือสิ่งที่น่าภาคภูมิใจเป็นที่สุด

โอกาสหน้าจะแวะมาอ่านบทความใหม่ๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท