ทันต & แพทย์


การพัฒนางานในปัจจุบันนี้ บุคลากรมีแนวโน้มตื่นตัวกันมากขึ้น พยายามเรียนรู้ทั้งในเชิงของ generalist และ specialist เพียงแต่วิธีการเรียนรู้อาจแตกต่างกันไปขึ้นกับเหตุผลหรือบริบทของหน่วยงานนั้นๆ
ทันต & แพทย์                   วันนี้ (11 มิ.ย.49)  มีโอกาสคุยกับนักศึกษาแพทย์คนหนึ่ง   เธอเล่าว่าในกลุ่มเพื่อนที่เรียน  มีทันตแพทย์คนหนึ่งเข้ามาเรียนแพทย์ด้วย  ด้วยเหตุผลต้องการให้ทันตแพทย์มีความรู้พื้นฐานทางการแพทย์  เพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเป็นองค์รวมมากยิ่งขึ้น  แทนที่จะรู้เฉพาะเรื่องฟันอย่างเดียว  ตัวอย่างเช่น  มีเด็กมาทำฟันและเกิดมีอาการตัวเขียวขณะทำฟัน  โดยไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วยในแฟ้มผู้ป่วยมากก่อน  ทันตแพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที  และปลอดภัยก่อนส่งต่อให้แพทย์ต่อไป                   ที่ผู้เขียน  เขียนเล่ามานี้  เพียงเพื่อสะท้อนให้ทุกท่านที่ได้เปิดอ่านบันทึกนี้  เห็นตัวอย่างการทบทวนในเรื่องการพัฒนาตนเองเพื่อดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้นของทันตแพทย์  ซึ่งเป็นวิชาชีพหนึ่งในทีมสหวิชาชีพที่มีส่วนดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล  เป็นตัวอย่างของกิจกรรม C3 THER  ที่ พ.ร.พ. (สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล)  นำมาเป็นเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วยโดยตัวอย่างนี้  เป็นตัวอย่างของเรื่อง Human Resource Development                    ผู้เขียนขอเสริมตัวอย่าง เรื่อง Human Resource Development  ที่ใช้ในฝ่ายบริการพยาบาล  ของ รพ.สงขลานครินทร์  นอกเหนือจากการส่งบุคลากรศึกษาต่อ  โดยเราใช้ทั้งเครื่องมือ C3 THER และ Clinical Tracer ดังนี้  ในการดูแลรักษาพยาบาลของหอผู้ป่วยหนึ่ง พบว่าแพทย์มัก Admit ผู้ป่วยทางอายุรกรรมที่หอผู้ป่วยอื่นมากกว่าหอผู้ป่วยนี้  จึงมีการตามรอยที่มาของเสียงสะท้อน  พบว่า สาเหตุที่แพทย์ Admit ผู้ป่วยที่อื่นมากกว่าที่นี้  เพราะพยาบาลขาดความรู้และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยทางอายุรกรรม  เนื่องจากที่นี้เป็นหอผู้ป่วยเปิดใหม่ได้ 2-3 ปี  พยาบาลที่อยู่หอผู้ป่วยนี้มาจากหอผู้ป่วยต่าง ๆ อายุงานประมาณ 3-5 ปี  มีพยาบาลเพียง 2 คน เท่านั้นที่มาจากหอผู้ป่วยอายุกรรม  ทางหัวหน้าหอผู้ป่วยจึงได้มีการพัฒนาพยาบาลในความรับผิดชอบ โดย1.       ทบทวนสถิติการดูแลผู้ป่วยใน 5 อันดับโรคแรก ของหอผู้ป่วย เพื่อพัฒนาพยาบาลให้มีความรู้และทักษะใน 5 โรคแรกที่ Admit บ่อยและมีจำนวนมากก่อน2.       ขอความร่วมมือหัวหน้าหอผู้ป่วยสามัญ (ที่มีผู้ป่วยประเภทเหล่านี้มาก)  ให้พยาบาลจากหอผู้ป่วยของตนไปหมุนเวียนทำงานเพื่อฝึกทักษะ3.       ขอ Copy คุ่มือแนวทางการปฏิบัติงานของหอผู้ป่วยที่เปิดก่อนมาปรับใช้เหมาะกับหอผู้ป่วยของตนเอง4.       ขอความร่วมมือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ / แพทย์เฉพาะทางมาช่วยสอน5.       ให้พยาบาลของหอผู้ป่วย 2 คน ที่มีประสบการณ์ เป็นพี่เลี้ยงและคอยฝึกสอนเสริม6.       นำเหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิดขึ้นทั้งที่หอผู้ป่วยของตนเองและที่อื่นมาทบทวน  เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ7.       จัดให้มี Knowledge Sharing เพื่อนำความรู้ / ประสบการณ์ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วย

8.       นำ Feed back  ที่ได้รับทั้งด้าน Positive และ Negative มาปรับปรุง / พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สรุป การพัฒนางานในปัจจุบันนี้ บุคลากรมีแนวโน้มตื่นตัวกันมากขึ้น พยายามเรียนรู้ทั้งในเชิงของ generalist และ specialist เพียงแต่วิธีการเรียนรู้อาจแตกต่างกันไปขึ้นกับเหตุผลหรือบริบทของหน่วยงานนั้นๆ

หมายเลขบันทึก: 35887เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2006 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการพัฒนาที่เป็นระบบมากเลยค่ะ เป็นบันทึกที่พี่จุดบอกว่าเคยขยำทิ้งแล้วเก็บมาใหม่ใช่ไหมคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท