เพศศึกษาแบบมีส่วนร่วม


โครงการเพศศึกษาแบบมีส่วนร่วม
การบริหารโครงการการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์
                ปัญหาการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่ทุกๆฝ่าย จะต้องหันมามองและให้ความสำคัญอย่างจริงจัง นอกจากจะบรรลุเนื้อหาสาระความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาแล้ว ควรมีการบูรณาการการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาไว้ในกลุ่มสาระอื่นๆด้วย เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และไม่ตกเป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิดของเพศ
                ปัจจุบันจะเห็นว่าครูผู้สอนเพศศึกษา คิดว่าเรื่องเพศ เป็นเรื่องน่าอาย ไม่ควรเปิดเผย  สื่อการเรียนการสอนไม่ทันสมัย และกระบวนการเรียนการสอนที่ผ่านมาส่วนใหญ่ใช้วิธีบรรยาย เป็นเหตุให้ผู้เรียนไม่ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
                ผู้เรียน รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียน ดังนั้นการสร้างความตระหนักต่อเรื่องเพศศึกษาในด้านต่างๆ จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่องในสังคมปัจจุบัน
                ดิฉันในฐานะผู้รับผิดชอบงานด้านสุขภาพของโรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ และเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา ซึ่งผู้บริหารได้มอบหมายให้ดำเนินโครงการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษานั้นขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนต่างๆ ซึ่งสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายแล้วแต่วิธีการและกลยุทธ์ของผู้บริหาร สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์นั้นมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาทั้งในหลักสูตรและจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ และมีทักษะในการป้องกันตนเอง ได้อย่างหลากหลายวิธี มีเทคนิคและวิธีการในการเลือกดำเนินชีวิตของตนเองอย่างปลอดภัย โดยมีการดำเนินโครงการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีเทคนิคสำคัญของการบริหารดังนี้

   

1.   ใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะทำงาน ซึ่งมีกลุ่มงานที่มีหน้าที่หลักและเป็นแม่งานในครั้งนี้ก็คือ งานอนามัยโรงเรียนและมีคณะทำงานที่จะช่วยขับเคลื่อนโครงการในรูปแบบของสายชั้นและครูผู้สอน
2.   มีคณะกรรมการให้คำแนะนำ
                ซึ่งการดำเนินโครงการการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์นั้น มีคณะกรรมการที่คอยให้คำแนะนำส่งเสริมและสนับสนุน จากองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
-   สพฐ.
-   กระทรวงสาธารณสุข
-   คณะกรรมการและพยาบาล ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 -  โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติฯ
3.   การติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
                มีการติดต่อประสานงานในการดำเนินโครงการระหว่างผู้บริหารหัวหน้าโครงการ
คณะกรรมการ หัวหน้าสายชั้น และผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดเวลาเพื่อให้การเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์
4.   การระดมความคิด
                ประชุม   การดำเนินโครงการ และกิจกรรมย่อยของโครงการเพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอนและมีการแก้ปัญหาระหว่างดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ
 5.   การฝึกอบรมต่างๆ
                -   ฝึกอบรมครูผู้สอนเพื่อเป็นครูมืออาชีพในการสอนเพศศึกษา

  

6.   ยึดวัตถุประสงค์งานเป็นหลัก
                คือ การให้ผู้เรียนได้รับความรู้ เรื่องเพศศึกษาและมีทักษะในการดำเนินชีวิตแบบยั่งยืน

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 358606เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2010 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ยอดเยี่ยมและเป็นประโยชน์มากครับ

แล้วอย่าลืมนำผลที่ได้จากการดำเนินโครงการนี้มาเขียนให้อ่านกันด้วยนะครับ

น่าสนใจมากเลยครับ

คิดอยู่ว่า โรงเรียนเขาไม่สอนเพศศึกษานักเรียน หรือยังไง ปัญหาสังคมจึงเยอะมาก

เด็กๆ วัยรุ่น ยุกต์นี้ น่าห่วงนะครับ

เห็นอาจารย์เขียน การสอน การจัดกิจกรรมน่าสนใจดี

อยากรู้จังว่ามีกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการสอนยังไงบ้างครับ

เผื่อ คนอื่นจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

Blogs หน้าขอให้ขยายความด้วยนะครับ จะรออ่าน

(โฟร์ชาร์ท สวยดีนะครับ คงมีที่ปรึกษาดี แต่ว่า......)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท