สภามหาวิทยาลัย : 31 จากปัญหา performance สู่ปัญหา purpose


ปัญหาสำคัญยิ่งของ บอร์ด ขององค์กรไม่แสวงกำไร (ซึ่งมหาวิทยาลัยก็อยู่ในกลุ่มนี้) คือความไม่สมดุลระหว่างความสามารถ (capacity) กับ โอกาส (opportunity) ในการทำงานที่มีความหมาย ของสมาชิก บอร์ด

        ผมอ่านหนังสือ Governance as Leadership ที่อ้างถึงแล้ว เห็นจริงตามข้อวิเคราะห์ของผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง ว่า ปัญหาสำคัญยิ่งของ บอร์ด ขององค์กรไม่แสวงกำไร (ซึ่งมหาวิทยาลัยก็อยู่ในกลุ่มนี้) คือความไม่สมดุลระหว่างความสามารถ (capacity) กับ โอกาส (opportunity) ในการทำงานที่มีความหมาย ของสมาชิก บอร์ด
        ในหลายกรณี สมาชิก บอร์ด รู้สึกว่างานที่ทำในฐานะบอร์ด ไม่สนุก ไม่ท้าทาย มีแต่งานประจำ หรือกึ่งพิธีกรรม หรือเน้นการป้องกันปัญหา  ไม่เน้นส่งเสริมความสำเร็จ   ด้วยเหตุนี้แหละ ที่ บอร์ด จะต้องมีแนวทางการทำงานแนวที่ 3 คือ generative mode   เน้นที่การสร้างคุณค่า   ทำงานเชิงตัดสินคุณค่า  และให้มุมมองในภาพที่ลึก กว้าง และเชิงอนาคต
        ในการประชุมร่วมกับผู้บริหารจำนวนหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อวันที่ 5 มิย. ก็มีคนยกประเด็นปัญหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิรู้สึกว่าไม่มีโอกาสทำงานที่มีคุณค่า

วิจารณ์ พานิช
๑๓ มิย. ๔๙
บนเครื่องบินกลับกรุงเทพ

 

หมายเลขบันทึก: 35813เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท