กระบวนการของ workshop KM


มอ. จัด workshop KM โดยมีหัวปลาคือ การจัดการงานวิจัย ผู้เข้าร่วมทุกคนต้องอ่านตำรา KM ตามที่วิทยากรกำหนดมาล่วงหน้า Workshop ครั้งนี้จึงมีการบรรยายน้อยมาก มีการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 7 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหาร 1 กลุ่ม กลุ่มนักวิจัย 4 กลุ่ม กลุ่มฝ่ายสนับสนุน 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมี คุณอำนวย 1 คน มีคุณลิขิตทำหน้าที่จดประเด็น 2 คน กระบวนการของ workshop ประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

       1.คุณอำนวยแนะนำตนเอง และให้สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มแนะนำตนเอง จากนั้นคุณอำนวยแนะนำกิจกรรมที่กลุ่มต้องทำ รวมทั้งกติกาต่างๆ ที่กลุ่มต้องยึดถือ ให้กลุ่มเลือกประธานกลุ่มเพื่อนำการทำกิจกรรม โดยมีคุณอำนวยคอยให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น

      2. ให้สมาชิกในกลุ่มย่อยเล่า success story จากการปฏิบัติ คุณลิขิตบันทึกประเด็นสำคัญ ในหลักการสมาชิกแต่ละคนเล่าเรื่องใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที เมื่อสมาชิกแต่ละคนเล่าเรื่องจบ สมาชิกที่เหลือจะช่วยกันสรุป ขุมความรู้ จากเรื่องที่เล่า ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนหมดเวลาที่กำหนดให้ คุณลิขิตเขียนขุมความรู้ลงในการ์ด (การ์ด 1 ใบ บันทึกขุมความรู้ 1 ประเด็น)

      3.ให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอขุมความรู้ที่ได้จากแต่ละกลุ่มต่อกลุ่มใหญ่

       4.นำขุมความรู้มารวมกันเป็น 3 กอง คือ กลุ่มนักวิจัยจาก 4 กลุ่ม รวมเป็น 1 กอง กลุ่มสนับสนุนจาก 2 กลุ่ม รวมเป็น 1 กอง สำหรับกลุ่มผู้บริหารมี 1 กลุ่ม จัดเป็น 1 กอง ให้สมาชิกทุกคนที่รวมกันเป็นกลุ่มใหม่ช่วยกันพิจารณาว่าขุมความรู้ใดบ้างที่ซำกัน ขุมความรู้ใดบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มหรือประเภทเดียวกัน ให้กลุ่มช่วยกันจัดกลุ่มขุมความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ (ประมาณ 6-12 หมวดหมู่) จากนั้นให้กลุ่มสร้างถ้อยคำ หรือข้อความของแต่ละหมวดหมู่ขุมความรู้ที่สื่อถึงในลักษณะความสามารถ/สมรรถนะ ข้อความดังกล่าวคือแก่นความรู้ นั่นเอง ตัวอย่างแก่นความรู้ที่ได้ "การสร้งเครือข่าย""การสร้างทีมงาน"

      5. ให้กลุ่มย่อยกลับเข้ากลุ่มดังเดิมแล้วช่วยกันจัดสร้างตารางแห่งอิสรภาพ โดยเอาแก่นความรู้เป็นตัวตั้ง เอาขุมความรู้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดระดับ เป็น 5 ระดับ (1 กลุ่ม รับผิดชอบ 2 แก่นความรู้)

      6. ให้กลุ่มนำเสนอตารางแห่งอิสรภาพที่สร้างขึ้นต่อกลุ่มใหญ่

      7. แบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็นกลุ่มย่อยเป็นรายคณะ ให้ตัวแทนในแต่ละคณะช่วยกันประเมินตนเองโดยบันทึกผลการประเมินลงในตารางประเมินตนเอง (ในการประเมินตนเองให้พิจารณาจัดระดับคณะตามตารางแห่งอิสรภาพที่สร้างขึ้น)เสร็จแล้วส่งผลการประเมินให้วิทยากร

ลักษณะตารางประเมินตนเอง

แก่นความรู้   ปัจจุบัน อนาคต(อีก 1 ปี) 
 1.การสร้งเครือข่าย    
 2.    
 3.    
 4.    

       8. บรรยายเรื่องระบบบล็อก GotoKnow.org (วิทยากรสร้างธารปัญญา และบันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามข้อมูลที่ได้จากผลการประเมินของแต่ละคณะ)

       9.เมื่อเสร็จสิ้นการบรรยาย วิทยากรนำเสนอธารปัญญา profile ของแต่ละคณะและบันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

       10.จับคู่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายหลังจากรู้เขารู้เรา โดยผู้ให้เล่าให้ฟังว่าทำอย่างไร ผู้ใฝ่รู้เล่าว่าทำอย่างไร (แลกเปลี่ยนกัน)

       11.จัด AAR โดยให้สมาชิกนั่งเป็นรูปเกือกม้า ให้แต่ละคนพูดออกมาจากใจในประเด็นต่อไปนี้

             -แนะนำตนเอง

             -ตนเองมีเป้าหมายอะไรในการเข้าร่วม

             -ส่วนใดที่บรรลุผลเกินคาด เพราะอะไร

             -ส่วนใดที่ไม่บรรลุผล เพราะอะไร

             -จะกลับไปทำอะไร ร่วมกับใคร

             -ถ้ามีการจัด workshop อย่างนี้อีก ผู้จัดควรปรับปรุงส่วนใดบ้าง อย่างไร

ทั้งหมดนี้คือกิจกรรมสำคัญของ workshop ครั้งนี้

โดยสรุป ผู้เข้าร่วมทุกคนเกิดการเรียนรู้ และประทับใจกับกิจกรรมของ workshop

กระผมเองเรียนรู้มากมายจากการเข้าร่วมในฐานะคุณอำนวย ขอขอบพระคุณคณะวิทยากรและผู้จัดเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้

                                        ธีรพงศ์ แก่นอินทร์ บันทึก

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 358เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2005 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท