การพัฒนาเด็กไทยในการจัดการศึกษาพิเศษนักเรียนเรียนร่วมของโรงเรียนปรียาโชติ


เริ่มแรกก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่สนใจมากนักจนวันที่ไปพบเด็กคนนี้เดินอยู่ในตลาดสภาพเหมือนเด็กจรจัด ทำให้เกิดภาพสะท้อนในใจว่าเราคือผู้ผลักไสให้เขาออกจากสังคมโรงเรียนสังคมเพื่อน ๆ ที่เขาควรจะมีอยู่ที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เหมือนเด็กคนอื่น ๆ

  การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่ผ่านมามีนักเรียนที่ผ่านเข้ามาในโรงเรียนมากมายและหลากหลายแต่สิ่งที่สำคัญของความหลากหลายคือความแตกต่างที่เราพบ  เมื่อมีนักเรียนที่ไม่สนใจการเรียน จนถึงขั้นเรียนไม่ได้และยอมรับกันว่าบกพร่องทางปัญญาและคิดว่าเขาไม่จำเป็นต้องไปเรียนโรงเรียนเฉพาะทาง(การศึกษาพิเศษ) เริ่มแรกก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่สนใจมากนักจนวันที่ไปพบเด็กคนนี้เดินอยู่ในตลาดสภาพเหมือนเด็กจรจัด ทำให้เกิดภาพสะท้อนในใจว่าเราคือผู้ผลักไสให้เขาออกจากสังคมโรงเรียนสังคมเพื่อน ๆ ที่เขาควรจะมีอยู่ที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เหมือนเด็กคนอื่น ๆ

      จากนั้นจึงเกิดความตั้งใจว่าหากเราพบเด็กที่มีความบกพร่องอีกเราจะไม่ยอมปล่อยเขาออกไปจากสังคมเรา ต่อจากนั้นเราก็พบนักเรียนออทิสติกที่ผู้ปกครองได้ยืนยันว่าเป็นนักเรียนผิดปกติ และได้รับจดหมายจากแพทย์แนะนำวิธีการที่จำเป็นให้คุณครูที่ทำการสอนทำความเข้าใจและปฏิบัติต่อนักเรียนตามใบงานที่คุณหมอให้มา เราก็ทำตามอย่างเข้าใจและคิดว่านี่คือแผนการสอนนั่นเองต่อมาโรงเรียนก็พบว่าโรงเรียนก็พบเด็กบกพร่องอีกหลายคน ที่มีความพิการอีกหลายประเภท เช่น  บกพร่องด้านร่างกาย  บกพร่องทางการได้ยิน  ดาวน์ซินโดรม บกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นต้น

    หลังจากมีการปฏิรูประบบราชการ โรงเรียนได้เข้าสู่เขตการศึกษา  ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครสวรรค์ได้มานิเทศการจัดการเรียนการสอนนักเรียนบกพร่องที่โรงเรียน ได้สอบถามวิธีการ และข้อมูลที่โรงเรียนได้จัดการศึกษาให้แก่เด็กกลุ่มนี้ ได้ให้คำแนะนำวิธีการดำเนินการที่มีกระบวนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน รวมไปถึงกระบวนการจัดการศึกษาพิเศษตามโครงสร้าง SEAT ที่ทำให้โรงเรียนสามารถดำเนินงานอย่างมีคุณค่ามากขึ้น เด็กได้รับการพัฒนาอย่างถูกวิธี มีความสุขเกิดขึ้นร่วมกัน ระหว่างครู นักเรียนพิเศษผู้ปกครอง และนักเรียนปกติ ปัจจัยสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องจำเป็นต้องใช้ความเสียสละ อดทน ด้วยหัวใจที่แท้จริง ความเอื้ออาทรที่มีต่อกัน ปัจจุบันโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม  และมีผู้ปกครองนักเรียนพาเด็กมาให้เราได้ดูแลเพิ่มขึ้นถึง 40 คน ในปีการศึกษา 2549 อย่างไรก็ตามการร่วมกันทำภารกิจของเราครั้งนี้ของเราครั้งนี้เรารู้ว่ายากลำบากแต่เราก็เลือกที่จะทำอย่างเต็มใจ และสูขใจ

หมายเลขบันทึก: 35797เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความจริงที่พบในปัจจุบัน  ยังมีโรงเรียนอีกจำนวนมากที่ไม่เชื่อว่าการเรียนรวมสามารถทำได้จริง และจากการที่ทำงานเกี่ยวกับนักเรียนบกพร่องมานานหลายปี ขอยืนยันว่าการเรียนร่วม มีแต่ win - win จริงๆนะจะบอกให้

ยินดีต้อนรับสู่เวทีเสมือนจริง G2K ค่ะ

ดีใจจังเลย  นานๆจะได้ เจอคนทำงานด้านการจัดการศึกษาของผู้พิการ  ^__*  ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามก็  เป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนรวมค่ะ  ที่นี่  เด็กจะเรียนอะไรก็ได้  เท่าที่เขาอยากเรียนและสอบเอนทรานซ์ (O-net A-net) เข้ามาได้ค่ะ  สถาปัตยกรรม/ ศิลปกรรม/ วิทยาศาสตร์ / มนุษยศาสตร์ / วิทยาการสารสนเทศ /การบัญชีและการจัดการ   อื้มม...หลากหลายคณะเลยหละค่ะ  นอกจากเรื่องการเรียนแล้ว เรื่องของการจัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัย  เราก็จัดให้มีร่วมกับเด็กทั่วไปค่ะ

เช่นเดียวกันค่ะดีใจที่ได้พบเพื่อนใหม่ ที่ ร.ร.ของเรามีลูกๆหลายประเภท มีครบเลย 9 ประเภทของกระทรวง การสอนอาจจะดูยุ่งยาก  แต่ทำไปๆจะได้ผลที่ น่าทึ่งอย่าบอกใครเลย "สุดยอด"  สำหรับเด็กๆแต่ละคน สุดยอดในความน่ารัก ความสามารถนะคะ  ยิ่งเรื่องเล่าแล้ว ประทับใจทุกเรื่องค่ะ

ขออนุญาตนะคะ  เชิญแวะชมเวบไซด์ของงานบริการสนับสนุนนิสิตพิการ คลิกที่นี่ หรือblog ใน G2K คลิกที่นี่ นี้เลยนะคะ

ผู้ชายป่าตะวันตก

การศึกษาไทยหลงทางมา9ปีแล้วนะครับ

ควรยอมรับให้ได้รับโอกาสดี ๆ ในสังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท