ผู้ว่านครศรีฯเล่าเรื่อง KM ดีๆให้......ฟัง


ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายวิชม ทองสงค์ ได้เล่าเรื่องการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ให้คณะจาก สคส.ฟังในโอกาสที่ตัวแทนจาก สคส.มา scan ภาพ KM inside เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.2549 โดยกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการแก้จนเมืองนครว่า KM แก้จนเมืองนครเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ด้วยคำถามที่ว่าหลังจากวาระแห่งชาติแก้จนดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2551 จากนั้นจะทำอย่างไรให้ครอบครัว ชุมชน ชาติ สู่กระบวนการชุมชนเข็มแข็ง และก็เข้มแข็งชนิดที่ว่าสมบูรณ์และยั่งยืนด้วย เมื่อพิจารณาว่าเครื่องมือใดจะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สามารถทำให้ชุมชนเข้มแข็ง สมบูรณ์และอย่างยั่งยืน ในที่สุดจึงตัดสินใจใช้ KM มาเป็นเครื่องมือ

แก้จนอย่างยั่งยืนของท่านผู้ว่าฯ คือแก้จนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งผู้ว่าฯสรุปว่ามีคำหลัก 11 คำ เปรียบเหมือนบ้านที่มีเสาเข็ม   คือ   คุณธรรม    ความรู้   และความรอบคอบ   เป็นรากฐานที่สำคัญ มีคาน  คือ  ความไม่ประมาท   การเดินทางสายกลาง  มีตัวบ้าน คือ ความมีเหตุผล   ความพอประมาณ  การมีภูมิคุ้มกัน  มีหลังคา  คือ  ประหยัด  ความเรียบง่าย   และพึ่งตนเอง

KM แก้จนภาคราชการของจังหวัดนครศรีฯที่ทำครั้งนี้ ไม่ได้คิดและทำแต่แวดวงหน่วยงานราชการเท่านั้น แต่รวม เครือข่ายยมมนา( ประกอบด้วยเครือข่าย ยาง ไม้ผล ประมง และนา ) องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ ปราชญ์ชาวบ้าน เข้ามาด้วย ให้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการลงมือแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเอง เรียกว่าพึ่งตนเองเป็นหลัก พึ่งพาหน่วยงานภายนอกให้น้อยลง หากจะพึ่งพาหน่วยงานภายนอกก็จะต้องมีความรู้ทักษะในการเชื่อมต่อการพัฒนาที่เกินกำลังของตนเอง เช่น เชื่อมกับ อบต. อบจ.ราชการ ชาวบ้าน NGO ในเรื่องใด อย่างไรเป็นต้น แต่เน้นที่การพึ่งตนเองก่อน


KMภาครัฐจังหวัดนครศรีฯครั้งนี้ต้องการฝึกประชาชนไว้รองรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ต้องการให้ประชาชนได้รับการฝึกกระบวนการเรียนรู้ก่อน ภาครัฐหรือราชการแต่ละหน่วยงานก็จะได้กระบวนการเรียนรู้การทำงานผ่านคุณอำนวยระดับต่างๆที่เข้าร่วมทำงานกับชาวบ้านแบบบูรณาการโดยทางอ้อม ในที่สุดองค์กรก็จะมีบุคคลกรที่มีความรู้ปฏิบัติจากการทำการส่งเสริมการเรียนรู้จริงกับชาวบ้าน บุคลากรที่เป็นคุณอำนวยจากแต่ละหน่วยงานก็จะไปขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นองค์กรการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เรียกว่าทำทีเดียวได้ทั้งเรื่องขององค์กรเรียนรู้ Lo และบุคคลแห่งการเรียนรู้ในภาคประชาชน(คุณกิจ) กิจกรรมของภาคราชการแต่ละหน่วยงานก็จะคึกคักขึ้นเพราะความเรียกร้องต้องการของประชาชนที่ได้เรียนรู้กระบวนการเรียนรู้แล้วนี้ กิจกรรมตาม function ของแต่ละหน่วยงานก็จะผสมผสานเข้ากับกิจกรรมการจัดการความรู้แก้จนอย่างลงตัว

KM แก้จนภาคราชการของจังหวัดนครศรีฯที่ทำครั้งนี้ จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ วัฒนธรรมการทำงานที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ถ่ายถอดวิธีการทำงานจากคุณอำนวยรุ่นปัจจุบัน ไปสู่คุณอำนวยรุ่นต่อๆไป หลายหน่วยงานถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้โอกาสนี้เป็นการสร้างนักจัดการความรู้ให้กับหน่วยงานตนเองไปในตัว สร้างขึ้นจากการปฏิบัติจริง

ในการทำงานส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการของหน่วยงานต่างๆ ท่านผู้ว่าฯอยากเห็นแต่ละหน่วยงานจะได้รับผิดชอบเป็นเจ้าภาพตามงานที่มีความโดดเด่น ( best practice) ในแต่ละพื้นที่ แล้วเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้าบูรณาการการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกการทำงานจัดการความรู้และสร้างสำนึกส่วนร่วมกันในการทำงานอย่างมีส่วนร่วม


ท้ายสุดท่านผู้ว่าฯ ท่านพูดถึงตัวชี้วัดแก้จนว่าแม้โครงการนี้  กพร.จะไม่กำหนดไว้ก็ตาม แต่เพื่อวัดว่าโครงการนี้บรรลุเป้าหมาย มีความสำเร็จ ใช้เป็นข้อมูลเรียนรู้อะไรได้บ้าง ท่านผู้ว่าฯเห็นความสำคัญเรื่องนี้ ฝากคณะทำงานช่วยคิด Kpi ว่าจะดูตัวชี้วัดความสำเร็จใดด้วยรายการประเมินใดบ้าง ทางทีมวิชาการและทีมที่เกี่ยวข้องต้องรีบทำการบ้านข้อนี้ให้ท่านต่อไป

นับเป็นเรื่องเล่าดีๆที่ผมนำมาเล่าต่อครับ

หมายเลขบันทึก: 35757เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เป็นโอกาสดีของนครศรีธรรมราชนะครับ
  • คงต้องรีบปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานแนวใหม่นี้ไว้ให้มั่นคง
  • หากทีมเข้มแข็งและKMเป็นวัฒนธรรมการทำงานแล้ว งานทุกอย่างคงสำเร็จได้โดยง่าย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท