นิยามของคำว่า "อาจารย์ที่ปรึกษา"


ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนะครับ ถ้าล่วงเกินท่านใดผมขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ,ปัญหาจากอาจารย์ที่ปรึกษา (Advisor) ที่บางครั้งลืมหน้าที่ที่แท้จริงของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ,มีหน้าที่เพียงแค่ปรึกษาเฉย ๆ จนบางครั้งอาจจะลืมหน้าที่ที่จะ “ส่งเสริม”และ “เกื้อหนุน” ,ที่ปรึกษาทำหน้าที่เพียงแค่เป็นผู้สั่งและเป็นผู้ตรวจเท่านั้น ,มีเราทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนเขา “แบบครู” “แบบแม่ที่รักลูก” ไม่เคี้ยวทุกคำแล้วเขาให้กลืน

บันทึกนี้ขออนุญาตเล่าถึงประสบการณ์และคำนิยามของคำว่า

“อาจารย์ที่ปรึกษา”

ในส่วนของการเป็น Advisor ของการทำงานวิจัยในระดับต่าง ๆ ครับ สืบเนื่องมาจากผมได้อ่านบันทึกของคุณอาษา หรือคุณบอนครับ http://gotoknow.org/blog/bonlight/35632 ก็เลยฉุกคิดได้ว่า น่าจะมีวิธีการแก้ไขสำหรับปัญหาเหล่านี้ได้ในอีกทางหนึ่ง

ในฐานะที่ผมเคยเป็นทั้งนักศึกษาและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาก็ได้เห็นภาพหลาย ๆ อย่างครับ นอกเหนือจากปัญหาที่เกิดจากตัวนักศึกษาแล้ว ยังมีปัญหาที่สำคัญก็คือ ปัญหาจากอาจารย์ที่ปรึกษา (Advisor) ที่บางครั้งลืมหน้าที่ที่แท้จริงของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

อาจจะสืบเนื่องมาจากภาษาไทยแปลคำว่า Advisor ว่า อาจารย์ที่ปรึกษา ก็เลยทำให้อาจารย์ที่ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยในระดับต่าง ๆ มีหน้าที่เพียงแค่ปรึกษาเฉย ๆ จนบางครั้งอาจจะลืมหน้าที่ที่จะ “ส่งเสริม”และ “เกื้อหนุน” ที่จะทำให้นักศึกษาทำผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ จนเสร็จเรียบร้อย

ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถสร้างความรู้ให้กับนักศึกษาตามหลักสูตรปริญญาต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ นอกเหนือจากการนั่งฟังการบรรยายในห้อง

เพราะนักวิชาการต่าง ๆ ได้เห็นถึงข้อดีของการทำผลงานวิจัยจึงได้กำหนดหลักสูตรว่า ผู้ใดที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญานั้น จะต้องรู้และทำงานวิจัยได้ ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ นา ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองอย่างมีระบบระเบียบ คนเดียวก็ดี เป็นกลุ่มก็ดี

ซึ่งนักวิชาการท่านก็กำหนดไว้อีกว่า นักศึกษาจะต้องมีคนคอยแนะนำหรือควบคุมหรือชี้แนะหรือปรึกษาที่จะทำให้งานชิ้นนี้สำเร็จอย่างมีประโยชน์กับนักศึกษาและส่วนรวม ดังนั้นเขาจึงกำหนดให้นักศึกษาจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 คน บางแห่งก็ต้อง 3 คน 5 คน โดยหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษานั้นในปัจจุบันพบปัญหาบางข้อที่น่าแก้ไขครับ 

 ปัญหาที่ผมเคยพบทั้งกับตัวเองและกับเพื่อน ๆ ที่กำลังเรียนอยู่ทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็คือ อาจารย์ที่ปรึกษาทำหน้าที่เพียงแค่เป็นผู้สั่งและเป็นผู้ตรวจเท่านั้น

ลืมทำหน้าที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิด ไม่ได้กระตุ้นให้นักศึกษาทำ

ทำเพียงแค่สั่งนักศึกษาทำมาตามที่สอนไว้ ทำมาอย่างไรก็ตรวจแค่นั้น อันโน้นผิด อันนี้ถูก ทำมาเมื่อไหร่ก็ตรวจเมื่อนั้น ไม่ทำก็เป็นเรื่องของนักศึกษา มาลงทะเบียนรักษาสภาพกันไปเรื่อย ๆ ถ้าหมดระยะเวลาการเรียน ก็ถือว่าเรียนฟรีไป ทำหน้าที่เพียงแค่ปรึกษาอย่างเดียวครับ มีอะไรก็มาปรึกษา แบบนี้เป็นการปรึกษาแบบเชิงรับ

อาจารย์ที่ปรึกษาน่าจะทำงานเชิงรุก ต้องกระตุ้นนักศึกษา ต้องจัดกระบวนการคิด สำรวจทุนทุก ๆ ด้านของนักศึกษา ทั้งทุนความคิด ทุนเวลา ทุนทรัพยากรต่าง ๆ ให้คำแนะนำและส่งเสริมเขาว่า “เขาต้องทำอย่างไร” ตามทุนที่เขามีอยู่ โดยเฉพาะทุนความรู้และความสนใจของเขาที่อยู่ในกรอบของสาขาวิชาที่กำลังเรียน แต่ไม่ได้บอกเขาทั้งหมดนะครับ แต่ต้องใช้กระบวนการในการบอก วิธีการแนะนำแบบให้เขาคิด ให้กำลังใจเขา ต้องใช้วิธีการทุกวิถีทางให้นักศึกษาได้รับความรู้จากทำงานครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงให้ได้

“อาจารย์ที่ปรึกษามีหน้าที่ทำให้นิสิตนักศึกษามีความรู้”

มีความรู้จากการทำงานตามระเบียบวิธีวิจัยแบบต่าง ๆ และเขาต้องทำด้วยตนเอง โดยมีเราทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนเขา “แบบครู” “แบบแม่ที่รักลูก” ไม่เคี้ยวทุกคำแล้วเขาให้กลืนเฉย ๆ แต่ต้องสอนให้เขารู้จักวิธีปลูกพืช ปลูกข้าว ปลูกวัตถุดิบ เก็บเกี่ยววัตถุดิบ ปรุงอาหาร จัดตกแต่งจาน จนกระทั่งกลืนอาหารเข้าท้อง เขาต้องทำเอง โดยมีเรายืนอยู่เคียงข้างเขาเสมอ สอนเขา สอนให้เขารู้สอนให้เขาทำงาน สอนให้เขาทำเพื่อเกิดปัญญา

 

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มเติมครับ

เพราะตอนที่ผมเป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษา แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่นักศึกษาปริญญาตรีงานวิจัยที่ทำก็เป็นเพียงแค่รายวิชาวิชาหนึ่งในการเรียนตามหลักสูตรเท่านั้น มีค่าเพียงแค่ 3 หน่วยกิต แต่ผมก็พยายามให้เวลาและทุ่มเทให้เขาอย่างมากที่สุด ทำทุกวิถีทางที่จะให้เขาได้ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการทำงานตามระเบียบวิธีวิจัยที่กำหนดไว้ เพื่อให้เขาค้นหาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ๆ ๆ ทำงานวิจัยให้เสร็จด้วยตัวเขาเอง วันไหนเขาหายไปไม่มาส่งงานตามกำหนดผมก็จะติดตามโทรไปหาว่าเขามีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานอะไรไหม ทำงานไม่ได้เหรอหรือว่าเจ็บป่วยอย่างไร ถ้าทำไม่ได้ทำไม่ได้ตรงไหนบ้างล่ะ ทำได้แค่ไหนเอามาดู ค่อย ๆ ทำ ค่อยเป็นค่อยไป ผิดไม่เป็นไร แต่ขอให้ทำ ไม่ต้องกลัวที่จะทำผิด ไม่ต้องกลัวถูกบ่นถูกว่า ทำผิดหรือถูกได้ความรู้ทั้งนั้น เพราะอาจารย์มีหน้าที่ที่จะต้องทำทุกวิถีทางให้นักศึกษาได้ความรู้อยู่แล้ว

ถ้าเขาทำไม่ได้ ต้องย้อนกลับมาดูตัวเราก่อนว่าเราสอนเขาดีหรือยัง พยายามให้ความรู้กระตุ้นเขาอย่างที่สุดหรือยัง บางคนก็อาจจะว่าเด็กไม่สนใจ เด็กไม่กระตือรือร้นเอง แต่ผมคิดว่า มันอยู่ที่เราครับ ถ้าเด็กไม่สนใจแล้วเราจะทิ้งเขาเหรอ เราน่าจะให้โอกาสได้แสดงถึงความสนใจหรือความกระตือรือร้นถึงแม้ว่าจะมีอยู่น้อยแต่เราก็ต้องให้โอกาสและดึงออกมาใหได้ ถึงต้องลงทุนลงแรงแค่ไหน เราก็จะต้องทำให้นักศึกษาได้ความรู้ให้ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นคำนิยามของอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ในความคิดของผมครับ

หมายเลขบันทึก: 35708เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
..........ขอแสดงความคิดเห็นเล็กน้อยนะค่ะ "ช่างเป็นคำพูดที่คอยให้กำลังใจสำหรับบุคคลที่กำลังขึ้นชื่อว่ากำลัง ก้าวเข้าสู่การทำวิจัย"   ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะ

หนูโชคดีที่เจออาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.อนุชัย  ธีระเรืองไชยศรี ที่ท่านทำหน้าที่ทุกอย่างได้ครบถ้วน  ทำให้เด็กผู้หญิงคนนึง...มีความมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น... และกล้าที่จะนำเสนอแนวความคิด กล้าพูด  กล้าคิด และกล้าทำ คะ  ท่านพยายามทุกวิถีทางและพยายามหาทางออกให้  เพราะหนูเรียนก็ไม่เก่ง  ภาษาก็ไม่ดี  แต่ท่านพยายามกระตุ้นทุกอย่าง และฟังทุกคำพูดที่เราพยายามจะอธิบาย  พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เรานำกลับไปคิดต่อยอด...หนูถึงบอกว่าโชคดีจังที่มีผศ.ดร.อนุชัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคะ....

http://gotoknow.org/blog/panarat

 

"อาจารย์ที่ปรึกษาทำหน้าที่เพียงแค่เป็นผู้สั่งและเป็นผู้ตรวจเท่านั้น ลืมทำหน้าที่กระตุ้นให้นักศึกษาคิด ไม่ได้กระตุ้นให้นักศึกษาทำ ทำเพียงแค่สั่งนักศึกษาทำมาตามที่สอนไว้ ทำมาอย่างไรก็ตรวจแค่นั้น อันโน้นผิด อันนี้ถูก ทำมาเมื่อไหร่ก็ตรวจเมื่อนั้น ไม่ทำก็เป็นเรื่องของนักศึกษา มาลงทะเบียนรักษาสภาพกันไปเรื่อย ๆ ถ้าหมดระยะเวลาการเรียน ก็ถือว่าเรียนฟรีไป ทำหน้าที่เพียงแค่ปรึกษาอย่างเดียวครับ มีอะไรก็มาปรึกษา"

ถ้านักศึกษาได้อาจารย์ที่ทำถึงขั้นนี้ก็ยังนับว่าโชคดีค่ะ ถ้าโชคร้ายกว่านี้คือ ไม่อ่านงานค่ะ และนัดเวลาอาจารย์ไม่ได้ด้วยค่ะ

เราคงต้องยอมรับก่อนว่า ครูมีหลายระดับ หลายมาตรฐาน อันนี้จะไปปรับเปลี่ยนท่านคงยาก ยิ่งสังคมไทย ใครวิจารณ์ครูแล้วมักจะถูกยำเละ สาระจะถูกผิดเป็นอีกเรื่อง แต่มันผิดจารีต................................... แต่ใช่ว่านักเรียนจะวิจารณ์ครูไม่ได้เลย แต่เราคงต้องวิจารณ์ด้วยความเคารพ และระมัดระวังอย่างยิ่งยวด เพราะเรายังต้องอยู่ในสังคมไทย ต้องใช้ศิลปะในการวิจารณ์อย่างสูง แต่ถึงระวังอย่างไร มันก็ต้องโดนสังคมเขกหัวอยู่เนืองๆ อันนี้เลี่ยงยาก.......................................................... ผมคิดว่าจะเปลี่ยนคนรุ่นเก่านั้นยากยิ่ง สิ่งที่น่าสนใจและเป็นไปได้มากกว่า คือ การสร้างคนรุ่นใหม่ ต้องช่วยกันสร้างคนที่จะมาเป็นครูแก่คนรุ่นลูกหลานเราในวันหน้า จะได้ไม่ต้องมาเจอปัญหาอย่างเราๆท่านๆกันอีก.................................เริ่มไม่ยาก ก็ที่ตัวเราเองล่ะครับ ทุกคนล้วนเป็นครูของใครคนใดคนหนึ่งอยู่แล้ว............................ ครูที่ดีให้ความรู้ ครูที่ดีกว่าให้ความเข้าใจ และครูที่ดีที่สุดคือให้แรงบันดาลใจ ผมคิดอย่างนี้ครับ
ตามมาอ่านอย่างต่อเนื่องครับ ขออภัยที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น เพราะช่วงนี้ระบบเข้าได้ช้าพอสมควรครับ
เลยเขียนบันทึกเรื่องนี้มาทดแทน

แกะความรู้จากบล็อก "ความรู้คือพลัง" กับแง่มุมที่ไม่ควรมองข้าม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท