การเปลี่ยนแปลงทางด้านระบบการไหลเวียนเลือดในวัยสูงอายุ


        ขนาดของหัวใจอาจโตขึ้น ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนาขึ้น ลิ้นหัวใจแข็งและหนาขึ้น มีแคลเซี่ยมมาเกาะมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่วและตีบได้ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง กำลังการหดตัวและอัตราการเต้นของหัวใจลดลง ปริมาณเลือดออกจากหัวใจในเวลา 1 นาที ลดลงประมาณ 1 % ต่อปี กำลังสำรองของหัวใจลดลง จึงเกิดภาวะหัวใจวายได้ง่าย กล้ามเนื้อหัวใจมีแคลเซี่ยมมาเกาะเพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบการสื่อนำคลื่นไฟฟ้าของหัวใจไม่ดี  เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือปิดกั้นคลื่นไฟฟ้าของหัวใจอย่างสมบูรณ์ได้

      หลอดเลือดเกิดภาวะเสื่อม ผนังหลอดเลือดสูญเสีความยืดหยุ่น มีแคลเซี่ยมและไขมันเกาะมากขึ้น เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวและความดันโลหิตสูงขึ้น หลอดเลือดฝอยไม่สมบูรณ์ เปราะและเกิดรอยฟกซ้ำได้ง่าย ปริมาณเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆลดลง เป็นผลให้เกิดการตายและการเสื่อมของอวัยวะต่างๆได้

       จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลงทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และอาจเกิดโรคแพ้ภูมิตนเองมากขึ้น.

หมายเลขบันทึก: 35649เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท