ฮีตที่หก "บุญบั้งไฟ" ไปดูเค้าทำบังไฟกัน


สวัสดีขอรับ

วันนี้จะพาไปชมการทำบังไฟกันนะครับ

สถานที่ทำบั้งไฟเราเรียกว่าค่ายบั้งไฟ เหมือนค่ายมวยเลยครับ แต่ละค่ายก็จะมีสูตรในการทำที่เป็นเอกลักษณ์ของตน โดยเฉพาะ สูตรการ "หมื้อ" (คือดินประสิวผสมกับถ่านไม้ที่ตำละเอียด) ซึ่งถือเป็นความลับทีเดียว

ในกล่องกระดาษที่ท่านเห็นนั้นคือดินประสิว  และในกะละมังอีกใบนั้นก็กำลังผสม คือหมื้อ นั่นเอง

"หมื้อ" นี้นอกจากจะเอามาทำเชื้อเพลิงขับเคลื่อนบั ้งไฟแล้ว คนโบราณยังเอามาทำดินปืนในการล่าสัตว์ด้วยขอรับ
...................

สำหรับ บั้งไฟที่กระผมจะพาไปชมนั้นเราเรียก

 บั้งไฟหาง ขอรับ เพราะมีหาง ^_^

บั้งไฟหาง นั้นมีส่วนประกอบหลัก ๆ สามส่วนด้วยกันครับ เลา,หางและลูกบั้งไฟ

เลา บั้งไฟ ก็คือส่วนที่ใช้บรรจุ หมื้อ
...เมื่อก่อนนี้นานมา...เลาบั้งไฟทำจากไม้ ไผ่ทะลวงปล้อง ทะลุถึงกันหมด ตรงปลาย แล้วบรรจุ หมื้อไว้ภายใน
...ต่อมาได้มีการพัฒนาเอาท่อน้ำ แบบเหล็กมา ให้แทน
...จนใน ปัจจุบัน ได้พัฒนามาเป็นท่อ PVC ขนาดต่าง ๆ

สำหรับในภาพนั้น เป็นการนำผ้าชุบน้ำ พันปลายเลาเอาไว้ แล้วไปอังไฟ ให้อ่อน จากนั้นมากดลงในภาชนะที่มีก้นคล้ายครกแตกเ พื่อ ให้ปลายของเลาแคบกว่าเส้นผ่านศูนย์กลา งของ ลำเลา
หลังจากที่กดลงในครกเมื่อภาพที่แล้ว เราจะได้ปลายของลำ เลา แบบนี้นี่เองขอรับ
...............
สมัยก่อนในการอัด หมื้อ ลงใน เลานั้น ใช้วิธีการตำด้วยมือ ซึ่งก็มีปัญหาคือตำแล้ว หมื้อ ไม่แน่นพอที่จะส่งให้บั้งไฟทะยานขึ้นสู่ฟ้า ตำแล้วเลาแตก เลาคด เวลายิงแล้วไม่ขึ้น แล้วระเบิด ทุกวันนี้เกือบทุกค่ายได้ใช้เครื่องไฮดรอล ิก ในการอัด หมื้อลงในเลาบั้งไฟ ทำให้ได้ความหนาแน่นของ หมื้อ ที่มีมาตรฐานใ นการทำบั้งไฟ
โดยช่างจะนำเลาบั้ง ไฟที่ปิดทางหัวแล้วใส่เ ข้าไป จากนั้นก็จะเอาบรรจุลงไปในท่อเหล็ก โดยจะมีทรายละเอียดแทรกกลางอยู่ระหว่าง เลาบั้งไฟ และท่อเหล็กที่อยู่ด้านอกสุด จากนั้นช่างบั้งไฟของเราก็จะกรอกดินปืนลงไ ป ครั้งละประมาณนึง แล้วก็อัดด้วยเครื่องเมื่อได้ความดันตามต้ องการแล้ว ก็จะเอาแท่งอัดออกแล้วเติม หมื้อ ลงไปอีกเท่า ๆ เดิม แล้วก็อัด ทำอย่างนี้จนได้ขนาดตามที่ต้องการ
(ผม ไม่ได้สอบถามในรายละเอียดส่วนนี้มาขอโท ษนำเด้อ)
ในขั้นตอนนี้ใช้คน 2-3 คนขอรับ
*ทราย ละเอียดจะทำหน้าที่กระจายแรงออกไปทุก  ๆ ทิศทำให้เลาบั้งไฟไม่ แตก ไม่เบี้ยว
.........
อุปกรณที่เห็น ในภาพนี้ช่างเค้าบอกเรียกเหล ็ก "เอารู" เอาไว้เจารูทางก้นบั้งไฟ

ผมได้รับข้อมูลจากช่างมาว่า รูที่อยู่ทางท้ายของก้นบั้งไฟนั้นขนานเส้นผ่านศูนย์กลางจะใหญ่  ยิ่งลึกเข้าไปทางหัว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางก็จะเล็กลงไปเรื่อย ๆ ขอรับ

สมัยก่อน นั้น การเอารูก็เป็นขั้นตอนสำคัญเช่นกัน หากเอารูแล้วไม่ตรงก็มีผลต่อการขึ้น หรือระเบิดได้ หรือหากเอารูแล้ว ไปขูดกับด้านในของเลาบั้งไฟก็จะทำให้ระเบิ ดได้เช่นกัน

ปัจจุบันในการเอารู้ นั้นมีเครื่องทุ่นแรงม าช่วย มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นสว่าน หรือเครื่องที่ดัดแปลงมาสำหรับเอารูโดยเฉพ าะ
ภาพนี้แสดงการเอารูแบบใช้มือ ในการหมุน ผมนั่งดูแกรู้เลยว่าไม่ง่าย ต้องใช้แรงหมุนขนาดมหาศาลทีเดียวในการหมุน
 เหล็กเอารูนี้

บั้งไฟหมื่นที่เห็น ๆ กันนั้นส่วนมากจะเอารูกัน 5 ที (ใช้เหล็ก 5 ขนาด) หากเป็นบั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน ก็จะเอารูมากขึ้นขอรับ
หลังจากที่เอารูแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนที่ผมเรียกเองว่า ขัดรู เพื่อให้ภายในรูที่เอาของเลาบั้งไฟ เรียบ ซึ่งก็สำคัญมากต่อการจุดระเบิดในขั้นตอนยิงบั้งไฟ
อุปกรณ์ที่ใช้ขัดรูนั้นเป็นไม้ห่อปลายด้วย ผ้าขนาดต่าง ๆ ตามขนาดรู
............
ต่อไปจะพาไปชมการทำหางบั้งไฟครับ
เรา มาดูอีกส่วนของบั้งไฟหางที่สำคัญกัน นั้นก็คือส่วนหางนั้นเอง ในส่วนนี้ถือว่าเป็นอีกส่วนที่สำคัญมาก เพราะทำหน้าที่ในการควบคุมทิศทาง

ใน การทำหางนั้นต้องเลือกไม้ไผ่ลำที่ขนาดพอ
 เหมาะ อบให้แห้งหรือนำไปต้ม เพื่อให้มีน้ำหนักเบา
ในรูปเป็นการดัดหางให้ตรง โดยใช้วิธีการลนไฟถ่าน



จานั้นก็เอาไป ดัด ทีละนิดแล้วใช้น้ำธรรมดาลูบเช็ดเพื่อให้ไม ้ไผ่อยู่ตัว
ทำจนได้หางที่ตรงตามที่ต้องการ
หางที่ได้มาก็จะมีการหาสมดุลย์ ของหางหากสมดุลย์ไม่ดีก็จะมีการเจาะรูแล้ว
 ใส่ทรายละเอียดลงไปเพื่อปรับสมดุลย์และน้ำ หนักของหาง
ทำการปรับสมดุลย์ของหาง
กำลังผูกหางเข้ากับเลาบั้งไฟ
ลองสังเกตุดี ๆ จะเห็นมีไม้คั่นกลางระหว่างหางกับเลา ชิ้นนี้เราเรียกว่าหนวดกุ้งครับ
เป็นตัวที่ใช้ยึดหางกับเลาให้ติดกัน
สำหรับตอนที่สามจะพาไปดูการจุดบั้งไฟขอรับ
หมายเลขบันทึก: 356386เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2010 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทั้งคำบรรยายและภาพบอกเล่าได้น่าติดตามเรียนรู้จริงๆค่ะ แสดงว่าไปดูและซักถามอย่างจริงจัง

การทำบั้งไฟเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยนะคะ

 

ขอบคุณรายละเอียด บั้งไฟนะคะ กว่าจะได้แต่ละบั้ง ต้องทุ่มเทมากมาย เป็นภูมิปัญญาดี ๆ ที่ทรงคุณค่าค่ะ

ยังประทับใจ งานบุญบั้งไฟ ที่ร้อยเอ็ด เมื่อหลายปีก่อนค่ะ ช่วงนี้เทศกาลมาเยือนแล้วใช่ไหมค่ะ คิดถึงๆ ค่ะ

ขอบคุณครับ คุณนายดอกเตอร์ เดียวนี้เครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยมากขึ้น การทำบั้งไฟก็สะดวกและง่ายขึ้นด้วย เมื่อก่อนกว่าจะได้แต่ละบั้งต้องใช้ความชำนาญและความเพียรสูงมาก ....

สวัสดีขอรับคุณ poo

ขอบคุณสำหรับการแวะเวียนเข้ามาชมขอรับ

สำหรับภูมิปัญญาที่เดินทางผ่านกาลเวลาที่ยาวนานมา และเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้การทำบั้งไฟง่ายขึ้นปลอดภัยขึ้น มีคนทำได้มากขึ้น

แต่เมื่อก่อนกว่าจะได้แต่ละบั้ง ๆ ต้องใช้ความเพียรและความชำนาญสูงมาก

 

สำหรับปีนี้เทศกาลต่าง ๆ นั้นเท่าที่ทราบมาก็เสร็จกันเกือบหมดแล้ว เนื่องด้วยปีนี้ในเดือนหกมีขึ้นแปดค่ำสองครั้งขอรับ เลยมีงานเทศกาลกันเร็วกว่าปรกติ (ปรกติจัดกันช่วงปลายเดือน พฤษภาคม) ขอรับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท