นาข้าว - สวนยาง - สวนปาล์ม


การเปลี่ยนนาร้างเป็นสวนยางกับสวนปาล์ม อย่างไหนดีกว่ากัน หรือทำนาข้าวดีกว่า
บันทึก 26 มิถุนายน  2549

         ผมอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้  นับยี่สิบปีมาแล้วที่ท้องทุ่งนาข้าวแถบนี้อุดมไปด้วยต้นกก  จนเรียกว่านาร้าง  ปัจจุบัน นาร้างเริ่มเปลี่ยน  คนส่วนหนึ่งกำลังแปลงนาร้างเป็นสวนยาง  อีกส่วนหนึ่งเป็นการส่งเสริมของทางราชการเปลี่ยนนาร้างเป็นสวนปาล์ม

 ภาพทุ่งนาร้าง ทั้งที่เป็นฤดูทำนา 

(ภาพเมื่อ มีนาคม 2549)

           การเปลี่ยนนาร้างเป็นสวนยางมีจุดเด่นตรงที่ราคายางพาราดีมากในช่วงนี้  ลงทุนทีเดียวประมาณ ๗ ปี  ให้ผลต่อเนื่องไปอีก ๑๕-๒๕ ปี  ตลาดยางพาราก็ซื้อง่ายขายคล่อง  มีพ่อค้าคนกลางทุกหมู่บ้าน  ถึงแม้บางช่วงบางปีราคาไม่ดีแต่ก็สามารถขายได้ตลอด  เคยมีหน่วยส่งเสริมการเกษตรของภาครัฐมาชักชวนให้ปลูกสวนปาล์ม  ชาวบ้านบอกว่า ไม่รู้จะเอาไปขายให้ใคร  ถ้าปลูกยางขายได้แน่  ราคาถูกๆ แพงๆ ก็ขายได้แน่  แถมเมื่อต้นยางพาราแก่จนไม่สามารถกรีดได้ ก็สามารถขายไม้ยางพาราได้ราคาดีอีกต่างหาก   บางปีไม้ยางพาราขายได้ไร่ละ  ๓ หมื่นบาทเลยทีเดียว   นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า  ในขณะที่การทำนาข้าวต้องเหนื่อยทุกปี  ชาวบ้านที่เคยทำนาข้าวปัจจุบันเลยหันไปกรีดยางอย่างเดียว  มีรายได้จากยางพาราซื้อข้าวสารกินก็เพียงพอ             เมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้มีหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรมาแนะนำให้เจ้าของนาร้างพัฒนาที่ดินให้เป็นสวนปาล์มน้ำมัน  โดยรัฐขุดที่นา ยกร่องให้ มูลค่าไร่ละประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท  ชาวบ้าน เมื่อเห็นว่าได้ขุดดินยกร่องฟรี ส่วนหนึ่งจึงหันไปเข้าโครงการเปลี่ยนนาร้างเป็นสวนปาล์ม  ทั้งๆ ที่บางคนยังไม่ทราบเลยว่าเมื่อให้ผลผลิตแล้วจะเอาไปขายที่ไหน  ราคาเท่าไรถึงจะอยู่ได้  ต้นทุนการบำรุงรักษาเป็นอย่างไร  โครงการนี้น่าเป็นห่วงคล้ายๆ การส่งเสริมให้ปลูกมะม่วงหิมพานต์ในภาคอีสาน   การส่งเสริมก็ทำไป  การตลาดเป็นอย่างไรค่อยว่ากัน            จากประสบการณ์พบว่าสวนยางเหมาะสำหรับปลูกบนที่สูง เช่นที่ราบที่น้ำไม่ท่วม  หรือเชิงเขา  ที่นาส่วนใหญ่จะเป็นที่ลุ่มน้ำขังตลอดปี  หน้าฝนน้ำท่วมไม่ต่ำกว่า ๑-๒ เมตร   การทำสวนยางพาราในที่นาจึงต้องขุดยกร่องเพื่อระบายน้ำ  ขณะเดียวกันการยกร่องก็เป็นอุปสรรคสำหรับการบำรุงรักษา  การเข้าไถพรวนทำได้ยาก ต้องจ้างแรงงานตัดและดายหญ้า   ทำให้ต้นทุนการบำรุงรักษาสูง  แต่ธรรมชาติของต้นยางพาราเมื่ออายุย่างปีที่ ๔ ร่มเงาจะหนาแน่นขึ้น วัชพืชก็จะลดลงและหายไปในที่สุด  ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างคือการขุดเอาดินลึกที่ไม่มีธาตุอาหารขึ้นมาไว้หน้าดิน  ต้นยางจึงไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร  ผลผลิตก็เลยตกต่ำไปด้วย      แต่ด้วยเพราะที่นาแปลงหนึ่ง  พื้นที่ 3 ไร่  เป็นที่ดินเปรี้ยว  ปลูกข้าวให้ผลผลิตน้อยมาก   พี่สาวและน้องสาวเขาตกลงกันว่าจะทำให้เป็นสวนยาง  ผมจึงต้องทำนาให้เป็นสวนยางไปด้วย    ยังมีที่นาข้าวอีก  3 แปลง ประมาณ ๑๐ ไร่ ที่ผมยังทำนาข้าวอยู่  แม้ให้ผลผลิตน้อย แต่ก็สบายใจที่ขายข้าวได้แน่ๆ      เมื่อปี ๒๕๔๗   ทำสวนยางบนเชิงเขา 2 แปลง  แปลงหนึ่ง ประมาณ ๒ ไร่  อีกแปลงหนึ่ง 8 ไร่  ส่วนนาข้าว 3 แปลง  รวมประมาณ  ๑๐ ไร่   ยังทำนาอยู่  วันนี้จึงยังไม่มีความคิดว่าจะให้เป็นสวนยาง   โดยเฉพาะถ้าจะคิดทำให้เป็นสวนปาล์ม ยิ่งไม่เคยคิดเลย

 

ภาพแปลงนาพื้นที่ติดนาร้าง แสดงให้เห็นผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์

บันทึก 16 ก.ค. 50

   เพื่อนบ้านมีที่นาแปลงหนึ่งประมาณ 30 ไร่  เขาเล่าให้ฟังว่าจะแปลงเป็นสวนยางสัก 20 ไร่  ประมาณ 10 ไร่ไว้ทำนาข้าว   วางแผนว่าจะทำเป็น 2 ช่วง  ช่วงแรกปลูกไปเมื่อ มิถุนายน  ๒๕๔๙  ขณะที่บันทึกนี้ยางที่อยู่บนร่องเติบโตปกติ ยกเว้นที่ลุ่มยังไม่สามารถปลูกได้อีกประมาณครึ่งไร่  

        พื้นที่แถวนั้นผมไปไถดะนาไว้แล้ว คิดว่าจะทำนาหว่านประมาณ  ๗ ไร่  และพื้นที่ติดกันก็จะทำนาดำด้วย   วันนี้กังวลอยู่อย่างเดียวว่า  ในอนาคต ๒-๓ ปีข้างหน้า  นาข้าวจะสลับกับสวนยาง-สวนปาล์ม  ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ถ้าอยู่ติดกันก็จะขัดแย้งกันอย่างรุนแรง  เพราะสวนยางไม่ต้องการน้ำ  แต่นาข้าวกลับต้องการน้ำมาก  พื้นที่ที่ทางภาครัฐกำลังส่งเสริมให้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว มีระบบน้ำส่งให้ เมื่อตรงนั้นกลายเป็นสวนยางก็มีการปิดกั้นไม่ให้น้ำเข้าสวนยาง  น้ำไหลต่อไปพื้นที่ทำนาข้าวไม่ได้  ท้ายที่สุดนาข้าวก็ต้องยอมแพ้เมื่อสวนยางปิดไม่ให้น้ำผ่านก็ทำนาไม่ได้  อีกประการ สวนยางจะเป็นที่อยู่อาศัยของหนูและวัชพืชอย่างดี  เมื่อปลูกข้าว  หนูที่อาศัยอยู่ในสวนยางก็จะออกมารบกวนนาข้าว   สองเหตุผลนี้บวกกับความยากลำบากและผลผลิตตอบแทนที่น้อยนิดก็จะทำให้การทำนาข้าวหดหายออกไปโดยลำดับ  ไม่เชื่อคอยดู 

       ได้สังเกตโครงการทำนาข้าวให้เป็นสวนยางของเพื่อนบ้านบนพื้นที่ประมาณ ๑๐ ไร่ ช่วงที่ ๒ เดือนมีนาคม   ๒๕๕๐    เห็นความคืบหน้าของการไถยกร่องนาข้าวให้เป็นสวนยาง  เห็นรถแทรคเตอร์ได้เข้าดำเนินการแล้ว  ไถได้เพียงบางส่วน เนื่องจากบางพื้นที่น้ำเยอะ  ต้องปิดน้ำสักระยะหรือรอให้ฝนทิ้งช่วง  ค่าจ้างไถไร่ละ ๑,๗๐๐ บาท  ประมาณพฤษภาคม ๒๕๕๐  ก็ปลูกต้นกล้ายางเสร็จ  ครั้นถึงเดือนมิ.ย. ฝนที่ตกลงมาตามปกติทำให้ทุ่งดังกล่าวน้ำท่วม ทำให้สวนยางน้ำท่วมโคน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อต้นยางที่ไม่ชอบให้ระดับน้ำท่วมราก เขาจึงยอมทุ่มค่าจ้างแบคโฮขุดยกร่องใหม่ ไร่ละ ๑๔,๐๐๐ บาท  อีกทั้งต้องขุดกล้ายางที่ปลูกลงไปแล้วขึ้นมาชำใหม่  และปลูกลงไปอีกครั้งเมื่อยกร่องด้วยแบคโฮเสร็จ  ที่ปลูกไปช่วงแรกเมื่อ ๒๕๔๙  ก็เลยขุดซ้ำเพื่อระบายน้ำ  เมื่อปลูกยางเสร็จพบว่าน้ำที่อยู่ในร่องยังไม่สามารถระบายออกได้ เขาจึงต้องไปเจรจาที่ดินข้างเคียงเพื่อขอฝังท่อระบายน้ำลงคลอง  น้ำจึงแห้งไปได้  งานนี้บนพื้นที่ประมาณ ๒๐ ไร่  ลงทุนไปประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท  นับเป็นการลงทุนทำสวนยางที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการทำสวนยางในที่สูงทั่วไป

       วันที่บันทึกนี้ความคิดเรื่องการแปลงนาข้าวเป็นสวนยางยังไม่ปลี่ยน  แต่เริ่มมีปัจจัยอืนๆ เข้ามาเปลี่ยนความคิดบ้างแล้ว  

หมายเลขบันทึก: 35624เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ต้องการข้อมูล และ ข้อแนะนำในการทำสวนปาล์ม สำหรับผู้ที่เริ่มทำสวน

ต้องขอข้อมูลก่อนนะครับ  พื้นที่ที่จะทำสวนปาล์มเป็นอย่างไร  ขนาดพื้นที่  ฯลฯ  ครับ  ที่เขียนเบื้องต้นถ้ามีทางเลือกระหว่างการปลูกปาล์มกับปลูกยางพารา  ผมเชียร์ให้ปลูกยางพาราครับ  แต่ถ้าปลูกยางไม่ได้  ค่อยว่ากันครับ

ทั้งนาข้าว สวนยาง สวนปาล์ม  และอี่นๆหลายพันธุ์พืชการเกษตรถ้าปลูกก็ยอมดีทั้งนั้น เพราะพืชเป็นปากท้องของ  แต่มันขึ้นอยู่ที่ว่าท่านผู้ทำการเกษตรสามารถแก้ไขปัญหาที่ว่า 1.ไม่มีผลผลิตเก็บเกี่ยวหรืออาจมีแต่น้อย บ้างก็ขาดทุน บ้างก็กำไรเล็กน้อย  2 .ผลผลิตที่ได้มาไม่เป็นเกรด A ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดจึงทำให้ราคาต่ำแน่นอนเพียงแค่ 2 ข้อนี้ถ้าท่านแก้ไขไม่ได้ท่านก็จะเป็น  *หนี้* คำคำนี้เมื่อชาวเกษตรบางท่านได้ฟังคงจะ นิ่ง ไปสักพักใหญ่  เคยคิดไหมว่าทำไมยิ่งทำการเกษตรก็ยิ่งจนยิ่งเป็นหนี้ไม่ใช้เพราะว่าการทำเกษตรไม่ดีหลอกค่าเป็นเพราะระบบนิเวศชีวิตของพืชได้เปลี่ยนไป เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ที่สารเคมีเข้ามาสู่การเกษตร ทุกท่านชาวเกษตรกรค่าดิฉันเป็นคนหนึ่งที่เป็นชาวเกษตรอย่างแท้จริงทั้งคุณ แม่/พ่อก็เป็นชาวเกษตรกร ฉันจึงเข้าใจและรู้ถึงความรู้สึกของชาวเกษตร  เมื่อต้นพืชที่ท่านปลูกไม่งาม โทรม ต้นเหลือง สิ่งที่ท่านชาวเกษตรส่วนมากทำนั้นก็คือใส่ปุ๋ยพอยังไม่งามก็อัดๆๆๆทำไมถึงใช้คำว่าอัด เพราะท่านรู้ไหมว่าปุ๋ยที่ท่านใส่ไป  ต้นไม้ของท่านเกือบไม่ได้กินมัน เพราะดินมันเสีย และแข็ง แล้วรากของต้นมันจะเลื้อยไปหากินอาหารได้อย่างไร  ปุ๋ยที่ท่านได้อัดลงไปมันทำให้ดินเสีย แน่น   และมันยังทำให้จุลินทรีในดินตาย แถมยังต้องปวดหัวอีกเป็น10เท่ากับเงินที่ลงทุนไป หนี้ที่เพิ่มขึ้น   ถ้าจะพูดถึงสมัยก่อนที่ยังไม่มีปุ๋ยเคมีชาวเกษตรสมัยนั้นไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพราะธรรมชาติได้ให้อาหารต้นไม้ท่านก็รู้ดีว่าอาหารต้นไม้ตามธรรมชาติคืออะไร มันก็คือเศษใบไม้ ใบหญ้า ซากสัตว์ มูลสัตว์  ซึ่งอาหารธรรมชาติที่กล่าวมามันจะเป็นปุ๋ยหรืออาหารของพืชได้ต้องพึ่งจุลินทรีในการย่อย จุลินทรีมีทั้งดี และ ไม่ดี  แต่การที่ดินเสียเนืองจากเคมีที่ท่านฉีดและใส่ทำให้จุลินทรีที่ดีรวมทั้งไม่ดี อ่อนแอ หรือบางชนิดตาย   จึงทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้  จุลินทรีจะพบได้รอบๆโคลนต้นพืชทุกชนิด      ปัจจุบันยาก็แพงขึ้น  ปุ๋ยก็ยิ่งแพงเป็นทวีคูณ   โรคของพืชยิ่งอยู่ก็ยิ่งมากเดียวก็พัฒนาจากโรคนี้เป็นโรคนั้น กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ของโรคพืชตลอดเวลา  แมลงศัตรูพืชก็ใช้ย่อยสร้างภูมิต้านยาเป็นว่าเล่น แบบนี้ก็ต้องพึ่งบริษัทยาเคมี ผลิตยาให้แรงกว่าเดิม เอาแบบฉีดปั๊บตายปุ๊บ   ส่วนคนฉีด  ฉีดปุ๊บตายปั๊บขนาดแมลงยังตายขนาดนั้นแล้วคนฉีดละจะไปเหลืออะไร  จริงไหมค่า   แม้ว่าจะมีสินค้ายาเสริมสุขภาพ ต้านอนุมูลอิสระบางเอย ต้านมะเร็งเอย  โถ่ !!จะเป็นยาเทวดาเกินไปละที่จะกินปั๊บเคมีออกหมด แต่มันอาจจะช่วยได้บ้างเล็กน้อยที่จริงแล้วยังมีอีกมากมายที่ชาวเกษตรได้ประสบพบปัญหาแต่ฉันจะพูดคราวๆแค่นี้  ฉันอยากจะแนะนำสินค้าเพื่อการเกษตร ชื่อ   ปูแดงไครโตรซาน   ใช้ได้กับพืชทุกชนิดทุกประเภท  และยังมีปูแดงไคโตรซานสำหรับสัตว์ทุกชนิด   ทำไมทั้งพืชและสัตว์ใช้ปูแดงไคโตรซานได้หมดเป็นเพราะไคโตรซานไม่ใช้  ยาเคมี ไม่ใช้ฮอร์โมน  ไม่ใช่ปุ๋ย  ไม่ใช้วิตามิน   แต่เป็นสารไคโตรซานที่สร้างระบบนิเวศพืชอย่างสมบูรณ์  ไคโตรซานนี้มีมากมายหลายบริษัทแต่มีบริษัทเดียวที่ผลิตได้100%  เมื่อเปิดฝาแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่เสีย  นั้นก็คือ   บริษัท  best 59 สารไคโตรซานนี้มีอยู่ในธรรมชาติสมัยยังไม่มียาเคมี  สารนี้มันทำให้เกิดระบบนิเวศของพืชได้อย่างสมบรูณ์ที่สุด ใช้แล้วเห็นผลไวที่สุดในระบบชีวะภาพ  เป็นยาที่มีคุณสมบัติหลายอย่างในตัว..................ข้อมูลที่เหลือสามารถอ่านได้ในเว็บไซนี้http://www.poodangsonbanpeaw.com/ ดิฉันเข้าในถึงความรู้สึกของชาวเกษตรกรว่าคิดอย่างไร และเจอกันนับไม่ถ้วนกับเซลขายยา มาแนะนำไม่ขาดสาย หัวบันไดไม่เคยแห้ง  บอกว่า  ดีๆๆๆๆดี จริงๆ  บ้างก็พูดสะเป็นยาเทวดาไปเลย  ในใจชาวเกษตรกรทุกคนไม่ขออะไรมากมายขอให้เป็นยาที่จะทำให้พืชต้นดีออกผลผลิตดี  แก้ไขปัญหาของพืชได้ก็พอแล้ว  แต่เซลที่มาขายยาเกือบทุกรายปากก็บอกว่าดี  ชาวเกษตร เอ้า!       ดีก็ต้องซื้อราคาเท่าไร?    บ้างก็นำเข้าจากต่างประเทศ    โฮ้ แพงหูฉี่    พอซื่อมาใช้รอดูผล   เฮ้ย  โดนอีกละ บ้างก็เสียหาย บ้างก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น บ้างก็มีคุณภาพไม่เหมาะกับราคา  แต่อยากจะบอกท่านว่า ปูแดงไคโตรซานนี้สามารถช่วยท่านได้  ที่แล้วมาการที่ท่าน ฉีดยา ใส่ปุ๋ย คือการแก้ปัญหาจากปลายเหตุ   แต่ปูแดงไคโตรซานนี้จะแก้ปัญหาจากต้นเหตุทุกเหตุที่พืชท่านประสบ   เช่น  เชื้อรา  สารไคโตรซานนี้จะไปยับหยั่งโดยการฆ่าสปอร์เชื้อราให้ฟ่อหรือไข่เชื้อราฟ่อนั้นเอง  แน่นอนถ้าสปอร์ฟ่อเชื้อราก็ไม่เกิด      สารไคโตรซานนี้จะไล่แมลงศัตรูพืชโดยกลิ่นของแมลงปีกแข็ง  คือ                สารไคโตรซาน  มีอยู่ในปู เปลือกกุ้ง และ แมลงปีกแข็ง  โดยตามธรรมชาติแมลงทุกชนิดเมื่อบินไปเกาะตรงไหนมันจะปล่อยกลิ่นตัวแสดงถึงความเป็นเจ้าของ เมื่อตัวอื่นมาเกาะและได้กลิ่นว่าที่นี้มีเจ้าของแล้วมันก็จะบินไปที่อื่น   ปูแดงไคโตรซานนี้เป็นสารทำให้ดินเป็นกลางมากที่สุดและเร็ว จากดินที่เสีย   และยังสร้างจุลินทรีที่ดีในดินให้แข็งแรง ส่วนจุลินทรีที่ไม่ดีไคโตรซานนี้จะไปทำลายหรือทำให้จุลินทรีนั้นอ่อนแอ  ปูแดงไคโตรสารนี้ยังไปทำให้รากของพืชยาวและแข็งแรงกระตุ้นให้พืชกินอาหาร และยังทำให้ระบบต่างๆในต้นแข็งแรงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ      สารไคโตรซานนี้ยังทำให้น้ำเป็นกลางอย่างรวดเร็วแม้จะเน่าเสียกลิ่นเหม็นก็ตาม    จากข้อมูลที่กล่าวมานั้นก็เป็นคร่าวๆ  ของคุณสมบัติไคโตรซาน ท่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม  แต่สิ่งที่จะขอคืออยากให้ท่านพิสูตร จะด้วยวิธีไหนก็ตาม จะเป็นน้ำ  /   ดิน  หรือพืชของท่านเองลองเปิดใจและทำความเข้าใจกับปูแดงไคโตรซาน      จากที่ท่านได้อ่านมาปูแดงไคโตรซานสามารถช่วยท่านได้หรือไม มากน้อยเพียงไร      จะช่วยลดต้นทุนการผลิตไหม  จะเพิ่มผลผลิตหรือเปล่า  จะทำให้ผลผลิตเป็นเกรด Aจริงหรือ  ???????????  โปรดติดตามรายการ  ลุงยุ้ยลุยสวน  ในทุกวันจันทร์ ตี 5.00  ช่อง 5 และในทุกวันเสาร์  ตี 5.00  ช่อง 9สนใจข้อมูลเพิ่มหรือต้องการสมัครสมาชิก  ติดต่อ 081-4346951 หรือ 081-5711603  (คุณ สายสมร)หรือ ท่านจะสมัครในเว็บไซที่บอกไปแล้วข้างต้นก็ได้แล้วเราจะติดต่อไปแนะนำ  การที่สมัครสมาชิกนั้นท่านจะได้ราคาสินค้าถูกพิเศษ

สวัสดีครับพี่ชนันท์

        เข้ามาเยี่ยมช้าไปครับ ผมเคยเขียนไว้ในละแวกบ้านเื่ื่มื่อปีก่อนเหมือนกันครับ ปลูกยางในทุ่งนา เสียทั้งเวลาและนาข้าว

ยิ่งจะให้เป็นสวนปาล์มอีกละก้อ.... ตอนนี้ผมเริ่มชักจะหมดแรงกับแนวคิดการพัฒนาทางการเกษตรของบ้านเราจริงๆ ครับ ผมไม่รู้จะพูดอย่างไรดีครับได้แต่ทำความเข้าใจ และในที่สุดเราจะได้รับคำตอบที่เราจะมานั่งกุมขมับร่วมกันครับ

        เรามีสำนักงานทางการเกษตรทั่วประเทศ เรามีนักวิชาการมากๆ เลยหล่ะครับ แต่เราทำอะไรกันอยู่ก็ไม่รู้ครับ  

        วัชพืช ก็ล้วนเกิดแก่เจ็บตาย มีวงชีวิตของมัน มีการโตก็มีการลดการโตได้ สมองมนุษย์สร้างมาเพื่อให้ฉลาดและเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้

        ในขณะเดียวกัน คนก็ล้วน เกิดแก่เจ็บตายเช่นกันครับ หนีไ่ม่พ้นเลย 

ตอ่ไปนี้ กระแสน้ำ กระแสลม กระแสไ กระแสดินจะเปลี่ยนแปลง เพราะเราเกิดมาเพือโยกย้ายสิ่งนั้นไปไ้ว้ตรงนี้ พังเขาตรงนี้ไปกองตรงนั้น เราทำลายและทำให้ระบบเสียสมดุลมามากพอแล้วครับ เราจะรับทราบเองครับ ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเพราะอะไร ลมเปลี่ยนกระแสนั้น อะไรที่ไม่เคยมีในพื้นที่ ก็จะมี พวกเมล็ดหญ้าต่างๆ ก็จะช่วยกันพัดพามาไหลมาตามลมตามน้ำ เพราะสภาพเปลี่ยน

        ขอให้สนุกกับการปลูกยางและปาล์มในนา ผมไปอ่านบทความแนวคิดปลูกปาล์ม 8888 ไร่แล้วครับ นาข้าวจะเหลือน้อยลงมากครับ ต่อไปอาจจะมีเพียงแค่ทำบนหลังคนเท่านั้นครับ เพราะผืนที่นาเริ่มหมดและแปลงไปเป็นตามค่านิยมในสมัยปัจจุบันกันส่วนใหญ่

        แนวคิด ศก.พอเพียงยังเติบโตไม่ถูกจังหวะเท่าที่ควร เพราะความล้มเหลวคือเอาเงินลงไปก่อนปัญญา ก็ยากที่จะฟื้นได้ครับ เพราะเงินทำให้เกิดปัญญาได้แต่ไม่ยั่งยืน แต่ปัญญาจะทำให้เกิดเงินได้แล้วจะยั่งยืน หากอยู่บนฐานของพอ(เพียง)

        ผมขอโทษด้วยครับ ที่อาจจะพูดกระทบไปบ้างและแรงไปบ้างแต่ด้วยความจริงใจและเป็นห่วงในเรื่องเหล่านี้จริงๆ ครับ ตอนนี้ที่หนักๆ คือไม่ใช่แค่แผนของยางหรือปาล์มที่จะปลูก พวกไม้โตเร็วทั้งหลายเราก็ปลูกกันหนักครับ นักว่าเป็นการขืนใจพระแม่ธรณีกันเลยทีเดียว

        จริงๆ เป็นเรื่องดีมากๆ ที่มีเกษตรตำบล อำเภอ จังหวัด กรมส่งเสริมฯ กระจายอยู่ทั่วประเทศ หากรวมกลุ่มกับนักวิชาการบ้านเราจะเป็นปึกแผ่นทางการเกษตรมากๆ เลยครับ พี่่คิดว่าทำไมเรื่องนี้เกิดไม่ได้ครับ

        เราเตรียมพร้อมจะซื้อข้าวจาก เวียดนาม กัมพูชา กันแล้วหรือยัง?

ขอบพระคุณพี่มากๆ นะครับ  

ยินดีมากๆ ครับ  ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นที่แตกต่างครับ  ต่อข้อกังวลที่ว่าหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรไม่ได้ทำหน้าที่ให้ก้าวหน้าไปอย่างที่ควรจะเป็น ก็ไม่น่าแปลกใจอะไรเลยนะครับ และไม่ใช่หน่วยงานนี้เท่านั้น ส่วนราชการมักมีพลังอันจำกัดในการทำหน้าที่ของตนครับ  ผมเคยเขียนบทความเรื่องทำนองนี้ไว้ เพื่อสะท้อนวิธีคิดในการทำงาน  แต่อีกส่วนที่สำคัญคือการเปลี่ยนทัศนคติอดีตชาวนาหรือลูกหลานชาวนา ให้กลับมาสนใจท้องทุ่ง  เชื่อไหมครับสถานีพัฒนาที่ดิน(ปัตตานี)เคยไถพลิกฟื้นนาร้างให้ แล้วให้อดีตชาวนาและลูกหลานชาวนาดำนา เพื่อให้ได้ข้าว เขายังไม่เอากันเลยครับ  เขายอมไห้ขี้ไถตากแดดขาวโพลนทั้งทุ่ง เมื่อฤดูทำนามาถึงหญ้าก็เขียวชะอุ่มและเติบโตจนรกเหมือนเดิม  จะไปโทษสถานีพัฒนาที่ดินได้อย่างไรครับ

 

      เมื่อก่อนมาเลเซียต้องพึ่งกองทัพมดจากไทย ขนข้าวไปขายมาเลย์  ปัจจุบันกองทัพมดตายหมดแล้ว เพราะมาเลย์เขาปลูกข้าวกินเองซะแล้ว  ผมไปดูงานที่มาเลย์ พบว่าเขาส่งเสริมให้ชาวนาเขาทำนาโดยการไถดะและไถแปรให้  ให้ชาวนาปลูกและบำรุงรักษาเอง  เมื่อข้าวสุก  ทางการก็จะส่งรถเกี่ยวนวดมาเกี่ยวนวดให้  ข้าวยกให้ชาวนาไปเลย  ต้นทุนการผลิตข้าของเขาจึงไม่มีค่าแรงไถกับค่าเก็บเกี่ยว  ชาวนาเขาจึงอยู่ได้  ต้นทุนส่วนนี้น่าจะประมาณ ๕๐ % ของต้นทุนทั้งหมด  น่าจะได้มั้งครับ  สำหรับเมืองไทย หากสภาพการทำนาอยู่อย่างนี้ อนาคตเราคงต้องซื้อข้าวจากมาเลย์กินแน่ๆ  

 

          เรื่องปัญญาสร้างเงินนั้นผมไม่วิจารณ์ครับ  แต่แนวคิดผมว่าให้ใช้ปัญญาสร้างต้นไม้ ผ่านสภาพเรือกสวนไร่นาและป่า   ต้นไม้สร้างสมดุลย์  ความสมดุลย์สร้างสุข  และสุขก็สร้างมิตรภาพ มิตรภาพที่จะอยู่ร่วมกันระหว่างต้นไม้และคนครับ  ถ้าคิดว่าจะปลูกหรือไม่ปลูกจนทะเลาะและขัดแย้งกันก็ไม่น่าจะใช่วิถีทางที่ควรจะเป็น  ใครจะว่าเหมาะหรือไม่เหมาะอย่างไรก็ว่ากันไปแต่สำหรับผมลงมือปลูกสถานเดียว  ใช้ปัญญาปลูกให้โตปลูกให้รอดปลูกให้ได้ผลผลิต ความสุขก็จะตามมา  บทความที่ผมเขียนจึงไม่ใช่คิดและเทียบเคียงจากทฤษฎี  แต่เป็นการเขียนจากการได้ลงมือกระทำครับ  ทำแล้วเกิดผลอย่างไรก็นำมาลงไว้ ใครที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างก็ไม่ว่ากันครับ  ใครที่สนใจจะดูในสิ่งที่ผมทำมาดูของจริงได้ครับ  และยินดีจะพาชมที่เขาทำสำเร็จและพื้นที่จริง  หรือใครที่ทำงานการพัฒนาหรือการเกษตรคิดจะวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ก็ยินดีจะช่วยครับ แต่ต้องออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้เป็นนักวิชาการเกษตรนะครับ  ที่ผมทำไปเป็นการทำแบบชาวบ้านๆ ครับ

สวัสดีครับพี่

        ขอบคุณมากๆ เลยครับผม สนุกจังครับ ได้แลกเปลี่ยนกับคนทำจริง ผมเองบ้าน้ำลายมากกว่าครับ ตอนนี้ เพราะไม่อยู่ในสถานะที่ทำจริง จริงๆ ที่พี่บอกมาั้นั้นถูกต้องแล้วหล่ะครับ เรื่องปัญญาสร้างป่าไม้ ต้นไม้ เพราะเงินไม่ใช่สิ่งที่แท้จริง มันจำเป็นในตอนที่ต้องการใช้เท่านั้น แต่ธรรมชาติให้อย่างจริงใจ

        ทำไมหลายๆ ที่เค้าถึงทำนากันได้มีคุณค่า เช่นทำนาแบบอินทรีย์ และแม้ว่าราคาจะสูงกว่าตลาด แต่ผลิตกันไม่ทัน และก็กำหนดราคาเองได้ด้วยซิครับ  สิ่งเหล่านี้ทำไมต่างจากบ้านเราในหลายๆ ที่ ยิ่งทางการช่วยอำนวยความสะดวกให้แล้วยิ่งน่าคิด ผมเองไม่รู้ว่าการทำความเข้าใจถึงกันนั้นดีขนาดไหน แต่สิ่งที่น่าคิดคือ ทัศนะของคนต่างๆกันแน่นอน บางทีการให้เปล่าจำเป็นต้องหากระบวนการเช่นกัน

        ผมเคยเห็นที่มาเลย์ ข้าวต้นเตี้ยๆ รวงยาวๆ เห็นแล้วก็สมควรหล่ะครับ ที่เค้าต้องคิดเองทำเองใช้เองกินเอง แนวคิดของคนทำให้วิถีทางเปลี่ยนไป เป็นการยากหล่ะครับ ที่จะชักชวนใครให้ทำอะไร เพราะแต่ละคนก็มีอิสระด้วยกันทั้งนั้น จนกว่าวันหนึ่งจะมีแรงบีบคั้นกดดันจากตัวเองหรือภายนอกให้ทำโดยไม่มีทางเลือก เราจะพบกับสิ่งที่เราต้องทำโดยไม่มีโอกาสเลือกก็ได้

        สิ่งที่พี่ทำนั้นน่าชื่นชมอยู่แล้ว ทำแล้วเกิดผล ก็นำเสนอแนวทาง อาจจะมีผลให้ใครเอาไปทำฟื้นฟูกันได้ หากทำได้ทันแต่ละที่ก็แตกต่างกันไป ผมยังรักการเป็นวิถีเดิมโดยใช้แนวทางในปัจจุบันในส่วนที่ดีคงไว้

        การทำอะไรนั้นไม่ยากหรอกครับ หากต้องการจะำทำและทำจริง แต่ต้นทุนที่สำคัญในการจะทำคือความรู้เบื้องต้นที่ถูกต้องและไม่ฝืนธรรมชาติ เกษตรอำเภอจังหวัด ควรจะเข้าถึงที่ใจมากกว่าการทำให้ฟรีนะครับ ไถนาให้ฟรีได้หากคนอยากทำนาจริง ก่อนจะไถให้ฟรีอาจจะต้องคุยกันก่อน ไม่งั้นสงสารพระแม่ธรณีเปล่าๆ ครับ

        ที่น่ากลัวคือ การนำแนวคิดใหม่ๆ มาแบบตามกระแส เช่นที่ปลูกต้นไม้โตเร็วทั้งหลาย พี่ก็คงทราบข่าวและเห็นพื้นที่ปลูกกันเยอะ การทำสวนยาง แปลงสวนให้เป็นป่าได้นั่นน่านับถือมากๆ แต่การแปลงป่าให้เป็นสวนนี่ซิครับ มันน่าเศร้าจริงๆ 

        ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ วันนี้ผมรุกพี่มากเกินไปหรือเปล่าไม่รู้ครับ รู้แต่ว่าแลกเปลี่ยนแล้วดีใจครับ เพราะพี่จะเป็นที่พึ่งให้กับคนอื่นได้ต่อไปครับ

ตอบ คุณเม้ง สมพร ช่วยอารีย์

ผมไม่ได้เข้ามาอ่านความคิดเห็นร่วม 2 เดือนมั้งครับ ครั้งสุดท้ายที่อ่าน มีคนอ่านบทความนี้ 2400 คน วันนี้ปาเข้าไป 3930 คนเข้าไปแล้ว แสดงว่าเรื่องที่จั่วหัวมีคนสนใจเยอะ ขอบคุณทุกความคิดเห็นทั้งที่คล้อยตามและแตกต่าง ผมรับฟังได้เสมอครับ และยินดีรับฟังครับ ไม่ขัดแย้งแม้จะไม่เหมือนกัน สิ่งที่ผมคิดหากอ่านดูในบทความนี้จะพบว่าเริ่มต้นผมก็ไม่เห็นด้วยที่จะแปลงนาข้าวเป็นสวนยาง แต่ระยะหลังสถานการณ์เปลี่ยนไป บังคับให้ผมต้องคล้อยตามพื้นที่ข้างเคียง จึงลงมือหาความรู้เรื่องการปลูกยาง และได้พบเคล็ดลับแบบต่อยอดได้เลย ไม่ต้องลองผิดลองถูก ได้ลงมือทำแบบต่อยอด ลงมือทำเอง พบปัญหาแก้ปัญหาด้วยตนเอง เรียนรู้โดยการกระทำ เกิดเป็นความรู้อย่างที่เขียนไงครับ เลยนำมาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ถ้าใครคิดจะแปลงนาข้าวให้เป็นสวนยาง ถ้าไม่ลงมือสู้จริงๆ ก็อย่าเสี่ยงเลยครับ อย่างที่เขียนไว้ว่า ในนาข้าวเป็นสภาพที่น้ำมากซึ่งเป็นสิ่งที่ต้นยางไม่ชอบ เมื่อยกร่องปลูกยาง การให้แทรคเตอร์เข้าไถก็ไม่สะดวก ต้องลงแรงถางหญ้าใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน การที่จะคาดหวังว่าให้คนอื่นช่วย ยากมากครับ แต่สามารถทำให้สำเร็จได้หากรักและตั้งใจ ในทางตรงกันข้ามสวนยางบนที่เชิงเขาที่เหมาะสำหรับการทำสวนยางกลับล้มเหลวก็มีเยอะครับ เพราะไม่ได้รักที่จะทำจริงจังไครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ มีหลายสาเหตุที่ไม่ได้ตามที่คาดไว้

ผมขอเป็นส่วนหนึ่ง ขอเป็นทางเลือกนะครับ http://kpr-kp.blogspot.com/

การปลูกยางในนาข้าวนั้น ที่เห็นๆอยู่เรามักจะพูดกันแต่เพียงว่าปลูกยางในนา โดยที่มิได้เจาะจงลงไปว่าเป็นนาแบบไหน สภาพพื้นที่เป็นอย่างไร เพราะที่นาบางแห่งอยู่ในที่ดอน ไม่มีระบบชลประทาน อาศัยน้ำฝน บางปีฝนตกน้อย ข้าวก็แห้งตายซากไป ไม่ได้ผลผลิต เพราะในอดีต เป็นที่ดอน แต่ชาวนาอยากจะแปลงให้เป็นนา เพื่อวัตถุประสงค์หลักให้มีข้าวเพียงพอในการบริโภค และถ้าเหลือก็ขายเพื่อมีเงินสดใช้จ่ายในครัวเรือน พอมาถึงยุคปัจจุบันที่ชาวนาสามารถหาเงินสดจากอาชีพนอกการเกษตรมาซื้อปัจจัยสี่ รวมทั้งข้าว ประกอบกับยางราคาดีมาก จึงเป็นทางเลือกที่อาจจะได้มากกว่าเสีย ในอีกกรณีหนึ่งถ้าเป็นนาในที่ลุ่ม มีน้ำเพียงพอ มีระบบชลประทาน กรณีนี้การนำที่นามาปลูกยางน่าจะไม่เหมาะสมทั้งในแง่การลงทุนและ สภาพดิน สภาพแวดเล้อม ขณะนี้มีเอกชนบางรายลงทุนขุดยกย่องปลูกยางแล้วมีระบบน้ำ ติดสปริงเกลอร์รดน้ำยางแต่ละต้นกันเลย แต่นั่นเป็นเรื่องของผู้มีเงินเหลือเฟือ

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ เกี่ยวกับ ระบบน้ำ ติดสปริงเกลอร์รดน้ำยางแต่ละต้น ดูจะเกินไปนะครับ ปกติต้นยางางจะทนแล้งพอควร โดยเฉพาะระยะ 1 ปีขึ้นไป แต่ช่วง 0 - 1 ปี อาจต้องดูแลเยอะหน่อย หลังจากนั้นสบายขึ้นครับ

ที่ผมทำ เป็นพื้นที่ลาดเอียงริมพรุครับ ด้านหนึ่งเป็นพรุ ด้านหนึ่งสูงหน่อย ด้านที่สูงกว่าก็ไถด้วยผานบุกเบิกและผานพรวน ส่วนที่เป็นพรุยกด้วยแบคโฮครับ

เข้าไปดูการฟื้นการปาล์มในเว็บ live-rubber.com กันบ้างสิ จะได้รู้ว่าปุ๋ยเคมี

ไม่จำเป็นมากนักหรอก

ใช้ปุ๋ยบัวทิพย์สิครับ ใช้แล้วได้ผลดีมาก ๆ เลย น้าชายผมใช้แล้ว มี 300 กว่าไร่ ได้ผลผลิตค่อนข้างสูง ไม่ขาดคอเลย มีต่อเนื่อง ให้ผลดก ลูกใหญ่ ขายได้ราคาดี มีน้ำหนัก ใช้มี2 ปีกว่าแล้วครับ เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่แยกประเภทของการใช้ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 สูตร ครับ มีสูตรยางพารา สูตรผลไม้ และสูตรนาข้าว เป็นปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพมาก ใช้ได้หลากหลาย ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ขนาดยางหน้าตายนึ่งยังสามารถรักษาให้หายได้ ทำลายเชื้อโรค โดยใช้จุลินทรีย์ในตัวปุ๋ยเข้าไปทำลายจุลินทรีย์เชื้อโณค คือใช้โรครักษาโรคว่างั้นเถอะ ปุ๋ยนาข้าวใส่แล้วไม่มีหอยเชอรี่มารบกวน ดีมาก ๆ ต้นข้าวรวงใหญ่ ไม่ล้ม ให้ผลผลิตสูงจนสังเกตได้ และได้ผ่านการวิจัยจากสถาบันการผลิตปุ๋ยที่เชื่อถือได้ และได้รับการรับรองจากสคบ.ให้ขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ย โดยเป็นหนึ่งใน 6 บริษัทได้รับการรับรอง เพราะบริษัทไหนที่ไม่ได้การรับรองจะให้ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน เพราะฉะนั้นใช้ปุ๋ยบัวทิพย์เถอะครับรับรองไม่ผิดหวัง นอกจากจะได้ผลดีแล้ว ยังมีเงินคืนกลับมาให้อีกด้วย สนใจติดตาอสอบถามมาได้ที่ มานพ 089-1270213, 080-1029406 ยินดีให้คำแนะนำปรึกษาครับ

วาฬน้ำเงิน ( ไคโตซาน 100% ไม่มีสี )

- ใช้ฉีดพ่นตอนยางพาราต้นเล็ก ตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 1 ปี ฉีดพ่นทุกๆ 3 เดือน ทำให้ต้นยางโตเร็ว

- ใช้ผสมน้ำทาหน้ายางพาราในกรณีที่ยางกรีดแล้ว ช่วยทำให้เปลือกยางนิ่ม น้ำยางไหลออกดี เปอร์เซนต์สูงขึ้น และยังป้องกันเชื้อราต่างๆได้ดี

- ไคโตซานเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ กระตุ้นการเจริญเติบโตของยางพาราและยังช่วยป้องกันโรคเชื้อรา ที่เกิดกับยางพารา และ ยังทำให้น้ำยางพาราออกดีขึ้น

ใช้ได้กับพืชทุกชนิด สนใจติดต่อ 0818956355 ด่วน

เรียน ผู้อ่าน ความคิดเห็นของคุณมานพ และคุณศิริ มีชื่อของเครื่องหมายการค้าอยู่ด้วย ไม่แน่ใจว่าเป็นโฆษณาหรือไม่นะครับ  ผมไม่อยากลบ  แต่ขอให้ศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจครับ

ตอนนี้ก็กำลังแปลงที่นาเป็นส่วนยางอยู่เหมือนกัน ก่อนหน้านี้ให้เขาขอเช่าทำนาได้ค่าเช่าปีละ 10,000.-บาท โดยเขาใช้พื้นที่ปลูกข้าวปีละ 3 ครั้ง คือเขาจะทำนาปี นาปรัง และนาน้ำตม เนื่องจากที่มีระบบชลประทานเข้าถึง และส่วนหนึ่งมีบ่อเจาะน้ำบาดาลอยู่ในที่นาแล้ว ที่ดินตั้งอยู่ที่ ต.แหลมโตนด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง (ห่างจาก ม.ทักษิณประมาณ 20 กม.) พื้นที่ประมาณ 17 ไร่ ได้ยกร่องเรียบร้อยแล้ว ส่วนหนึ่งประมาณ 3 ไร่ได้ใช้รถแบคโฮขุด เพื่อทำรองน้ำให้ลึกไว้สำหรับรองรับและซับน้ำ จากส่วนที่ใช้รถไถ่นาที่เขาใช้จาน 7 ขุด ซึ่งยกร่องขึ้นสูงประมาณ 1 เมตรจากระดับพื้นที่นาเดิม ซึ่งได้คุยกับผู้เช่านาแล้วเขาบอกว่าที่นาน้ำไม่เคยท่วม เขาอาศัยดูดน้ำจากบ่อเจาะ และเปิดน้ำจากชลประทานเข้าเพื่อใช้ทำนา ซึ่งโดยส่วนตัวยังไม่เคยทำนาและทำสวนยางเลยได้จากการสอบถามและลองผิดลองถูกเอา ก็ค่อนข้างใช้ทุนสูงอยู่เหมือนกัน โดยที่ผ่านมาจ้างเขายกร่องก้อหมดไปแล้วประมาณ 50,000.-บาทแล้ว วันนี้ วันที่ 4 มีค.53 ได้เข้าไปตกลงกับผู้ที่เขารับปลูกยางให้ซึ่งเป็นผู้เช่านาเดิม และเขาเคยรับจ้างปลูกยางในที่แปลงอื่นมาแล้วก่อนหน้านี้ โดยเขาขอค่าแรงในการปลูกต้นและ 6.-บาท พร้อมกับในช่วง 1-2 ปีแรกที่ยางยังเล็กอยู่เขาขอปลูกผักในร่อง และรับปากว่าจะปักหม๊อบ(ปักไม้ไว้ในตำแหน่งที่จะปลูกต้นยาง) ขุดหลุม ปลูกยาง และรับประกันจะดูแลให้รอดตายทุกต้น ซึ่งในวันนี้เขาก็เข้าไปปลูกแตงโมแล้ว และจะปักไม้หม๊อบให้ และผู้รับจ้างเขาก็แนะนำให้ใช้หินบดรองก้นหลุมยาง ตอนแรกตั้งใจจะใช้ปุ๋ยคอก(ขี้วัว) แต่เขาบอกว่าถ้าใช้หินบดจะทำให้ดินเย็นและแถวพื้นนี้เขาก็ใช้เห็นบดกันทั้งนั้น เขาจะไม่ใช้ปุ่ยคอก(ขี้วัว)เพราะว่าจะทำให้รากยางร้อนและเป็นเชื้อราได้ง่าย ก็ได้แต่รับฟังเขายังไม่ได้ตัดสินใจ ก็ขอฝากคำถามด้วยว่าระหว่างหินบด หรือปุ๋ยคอก ควรจะใช้อะไรดีกว่ากัน ถ้าต้องการให้ยางงอกดี เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยแปลงที่นาปลูกกระถินเทพาไปแล้วประมาณ 14 ไร่ และใช้ปุ๋ยคอก(ขี้วัว)รองก้นหลุมก็เห็นต้นไม้เจริญเติบโตดีมากซึ่งได้ปลูกไปแล้วประมาณ 9 เดือน ลำต้นสูงท่วมหัวแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่ายางพารากับกระถิ่นเทพาระบบราก หรือความต้องการปุ๋ยเพื่อบำรุงแตกต่างกันหรือเปล่า?? ขอบคุณมากสำหรับการตอบคำถามกลับ และคิดว่าคงจะมีคำถามมาอีกเป็นระยะๆ แน่นอน ขอบคุณมากสำหรับบทความที่ดีๆๆ อ่านแล้วสนใจมาก

ขออภัย ท่านที่ลงโฆษณา ทุกชนิด ผมขอลบออกนะครับ

เจ๊ะเน๊าะ จอมสุริยะ

สวัสดีจะน้องชนันท์ พี่เข้ามาในเว็บบ้านสวน เพราะพี่อยากมีบ้านสักหลังแต่พี่ ไม่เข้าใจในการก่อสร้าง เหมือนน้องบอกว่าเหล็ก

4 หุ้น 5หุ้น ถึงเราดูเองเราก็ดูไม่ออกหรอก อีกอย่างพี่เองก็อยู่ไกล แต่อยากจะสร้างบ้านทีสวน สวนพีก็ไม่ไกลจากบ้านน้องสัก

เทาไหรหรอก น้องพอจะมีแนวความคิดเสนอแนะ ว่าจะทำยังไงดี หวังว่าจะด้คำตอบนะคะ

ตอบ คุณเจ๊ะเน๊าะ จอมสุริยะ

ความรู้เรื่องการก่อสร้างนี่ ต้องสะสมเอาเองนะครับ เป็นความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาวมั้งครับ เพราะศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการก่อสร้างนี่มันเยอะครับ ต้องลองหาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการก่อสร้างมาอ่านสักเล่มก่อน แล้วจะรู้ว่ามันมีอะไรอีกมากมายที่เรายังไม่รู้ และคิดว่าวันนี้เราอาจจำเป็นต้องรู้(หรือเปล่า?) ผมคงแนะนำให้ไม่หมดหรอกครับ แต่จะขอตอบคำถามในกระทู้นะครับ เหล็ก 4 หุน หมายถึง เส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็ก ที่เอามาผูกเป็นเหล็กกลางเนื้อคอนกรีตเสริมเหล็ก(คสล)ไงครับ คงทราบนะครับมาตราวัดที่เป็นนิ้ว 1 นิ้ว = 8 หุน(ดูไม้บรรทัดที่แบ่งเป็น 8 ช่อง ใน 1 นิ้ว ถ้าแบ่งเป็น 10 ช่อง ไม่ใช่นะครับ) เหล็ก 4 หุนก็คือเหล็ก 4/8 นิ้ว หรือ คือเหล็ก 1/2 นิ้ว หรือเหล็กครึ่งนิ้ว ความหมายเดียวกันครับ ทีนี้ถ้าเหล็ก 5 หุน คือเหล็ก 5/8 นิ้ว หรือเหล็กสี่หุนครึ่ง ความหมายเดียวกันครับ ถ้าจะก่อสร้างบนพื้นฐานที่ไม่มีความรู้อะไรเลย ผมว่าต้องยอมจ่ายตังค์ในทุกเรื่องครับ ตั้งแต่จ้างออกแบบ จ้างควบคุมงาน ตลอดจนจ้างเหมาทั้งค่าของค่าแรง อย่าใช้วิธีจ้างเฉพาะค่าแรงให้เราซื้อของเอง ลำบากลำบนเปล่าๆ ครับ เพราะช่างสั่งซื้ออะไรเราก็ไม่รู้จัก จะให้ช่างสั่งให้เดี๋ยวเขาก็มีลูกเล่นที่เราตามไม่ทัน ปวดกบาลเปล่าๆ

ภาคกลางทำนาเริ่มไม่ได้ผลผลิตแล้ว ขาดทุน อยากปลูกสวนยางบ้าง

รอข้าว กก.ละ 200 จะหันกลับไปทำนาที่บ้านครับ

ถ้าเป็นดินดำน้ำชุ่ม ผมไม่แนะนำให้ เกษตรกรน้อย ทำสวนยางนะครับ แต่ถ้ามีที่นาดอน น้ำไม่ค่อยถึง ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึก จึงจะดีครับ ถ้าเป็นที่ดินที่เขาทำนากันปีละ 2-3 ครั้ง อยู่แล้วผมไม่แนะนำครับ ตอบคุณลูกชาวนา ถ้ารอข้าว กก.ละ 200 บาท เวลานั้น เงินเดือนวุฒิ ป.ตรี เริ่มต้นที่ 200,000 บาท คงได้ใช้เหมือนเงินกีบเงินดองกันละครับ ถ้าอยากรวย ผมไม่ให้ฝืนทำนาครับ เพราะไม่มีทางรวย แต่ถ้ามีความสุขที่ได้ทำนาเหมือนบรรพบุรุษ ก็จงทำ แต่ถ้าทำแล้วมีความทุกข์ ก็อย่าทำเลยครับ ตัดใจไปเลย

ตอนนี้เปลี่ยนจากนาเป็นสวนปาล์มแล้วพื้นที่เป็นนาต่ำมากเมื่อขุดแล้วน้ำท่วมถึงม่ทราบว่าปลูกปาล์มได้ไหมคะตอนนี้ลงทุนไปแล้วด้วย

ช่วยให้คำแนะนำหน่อยคะ

ที่ผมเห็นแถวบ้าน(ปัตตานี) เขาขุดนาข้าวที่เป็นพรุ ปกติน้ำท่วมขังทั้งปี แต่เมื่อขุดยกร่อง สามารถปลูกปาล์มได้ครับ แถมชาวบ้านบอกว่านานๆ ไป น้ำที่ท่วมน่ะ จะแห้งงวดไปเอง เพราะปาล์มต้องการใช้น้ำเยอะครับ แถวปัตตานีก็มีโครงการเปลี่ยนนาร้าง(ส่วนใหญ่เป็นพรุ)เป็นสวนปาล์ม อยู่แถวจังหวัดไหนครับ ไม่มีข้อมูลเลยครับ

-ผมเองอยากจะปลูกเหมือนกัน ปาล์มกับยางพารา ไปปรึกษากับคนปลูกปาล์มก็บอกว่าน่าจะปลูกปาล์มดีดว่า ไปพูดคุยกับคน

สวนยางก็บอกว่ายางพาราดี ไม่รู้ว่าจะตัดสินใจอย่างไรดี เรียนผู้รู้ช่วยให้คำแนะนำผมหน่อยครับว่าควรจะปลูกอะไรที่เหมาะสม ข้อมูลอยู่ด้านล่าง

- ที่นาฤดูฝนมีน้ำขังเนื่องจากมีที่นาอยู่รอบข้าง เริ่มตั้งแต่เดือน พ.ค. น้ำจะเริ่มลดประมาณเดือน พ.ย. - ธ.ค.

- ในพื้นที่นายกร่องแล้ว สามารถปลูกมะม่วงได้ จะปลูกยางได้หรือเปล่า

ช่วยแนะนำด้วยนะครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท