การจัดการความรู้ของจังหวัดชุมพร


การจัดการความรู้ของจังหวัดชุมพร
                           ในฐานะทีมเลขาคณะทำงานการจัดการความรู้จังหวัดชุมพร ได้มีโอกาสจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดการจัดการความรู้ ตามแนวทางของ กพร. ในประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจน เลือกกระบวนงานพัฒนาเศรษฐกิจ การจัดการความรู้เกี่ยวกับการผลิตตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่ผลผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย และได้มีการขับเคลื่อนมาระยะหนึ่ง โดยมีหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตร 5 หน่วยงานเข้าร่วมดำเนินงาน ตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blue print for change) สำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นหน่วยงานหลัก พบว่า แนวทางเริ่มแกว่ง จึงได้ปรึกษาหารือที่ปรึกษา คุณไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานฯ ให้ช่วยวิเคราะห์เส้นทาง ท่านได้ย้อนรอย KM เกษตรชุมพร แล้วพบว่า เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้, ดูงานแต่การมุ่งไปที่ผลสำเร็จของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ด้วยกระบวนการ KM ยังไม่ชัดเจน                เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2549 คณะทำงานฯได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคนิคการถ่ายทอดความรู้แบบ KM โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับเข้ามาร่วมสัมมนา และได้เชิญท่านที่ปรึกษา คุณไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์ มาเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยมีการนำเนอประเด็นที่น่าสนใจ เช่น ย้อนรอย KM เกษตรชุมพร ยุทธศาสตร์เจ้าของหัวปลา KM เกษตรชุมพร จัดทำ Work shop กลุ่มย่อย ภายใต้ Model ปลาตะเพียน พบว่า หัวปลาของกลุ่มย่อยมีความแตกต่างกันบ้างตามบริบทของพื้นที่ การนำไปสู่เป้าหมายเป็นไปในแนวทางเดียวกัน พอสรุปเป็นประเด็นของแต่ละกลุ่ม ดังนี้                1.กลุ่มก้าวหน้า (ศูนย์วิจัยฯ,สวพ7,สถานีพัฒนาที่ดิน) หัวปลาของกลุ่ม สินค้าเกษตรประเภทไม้ผล ทุเรียน มังคุด ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยมีเหตุผลสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ดีขึ้น และยกระดับมาตรฐานของการผลิต                2. กลุ่มสนับสนุน (สำนักงานเกษตรจังหวัด) หัวปลาของกลุ่ม อำนวยการให้เกิดการจัดการความรู้ให้เป็นไปตาม  KM” โดยมีเหตุผลสำคัญ สนับสนุน กระบวนการขับเคลื่อนให้ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ใช้ Blog เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้                3. กลุ่มชนแดน(สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ) หัวปลาของกลุ่ม ส่งเสริมทุเรียนคุณภาพ (GAP) 50 % โดยมีแนวทางให้บรรลุเป้าหมาย ใช้ระบบโรงเรียนเกษตรกร มีระบบ Cluster เน้นการมีส่วนร่วม                4. กลุ่มลีลาวดี (สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชุมพร) หัวปลาของกลุ่ม ส่งเสริมการเรียนรู้แก่ชุมชนแบบพึ่งพาตนเองนำไปสู่ระบบการจัดการคุณภาพ มีแนวทางเพื่อให้บรรลุหัวปลา โดย เตรียมความพร้อมบุคลากร สร้างจิตสำนึกในการทำงานกับบุคลากร  สร้างขวัญกำลังใจให้แก่กลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ                5. กลุ่มต้มยำหัวปลา (สำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน) หัวปลาของกลุ่ม องค์กรสามารถจัดการความรู้เกี่ยวกับการผลิตตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย โดยมีแนวทางกำหนดแผนให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย ประสานหน่วยงานวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมายและปรับใช้                6. กลุ่ม Tree in One (สำนักงานเกษตรอำเภอพะโต๊ะ,ละแม,ตะโก) หัวปลาของกลุ่ม องค์กรสามารถจัดการความรู้เกี่ยวกับการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพทุเรียนโดยมีระบบการตลาดรองรับผลผลิต โดยให้มีการผลิตอย่างมีระบบ ผลผลิตได้มาตรฐานปลอดภัย มีตลาดรองรับผลผลิต                7. กลุ่มไร่กาแฟ (สำนักงานเกษตรอำเภอสวี) หัวปลาของกลุ่ม องค์กรสามารถจัดการความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดภัยโดยมีการประชุมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมฯอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งทุกวันจันทร์แรกของเดือน ประชุมเครือข่ายในพื้นที่ ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สนับสนุนทางวิชาการ                จากที่ได้ร่วมงานกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนหลายครั้ง มีการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในองค์กรและตัวบุคคล ที่พัฒนาขึ้นเป็นลำดับเพียงแต่การพัฒนาเส้นทางเกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อสู่เป้าหมายแห่งการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ก็จะดำเนินการต่อไป ในฐานะบุคคลที่หนึ่งที่สมาชิกขององค์กร ปรารถนาความสำเร็จเช่นกัน
คำสำคัญ (Tags): #km#เกษตรชุมพร
หมายเลขบันทึก: 35610เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม เป็นอย่างไรมีขอบเขตการวัดความเหมาะสมในส่วนใดบ้าง ขอความรู้ด้วยครับ

แนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice) เป็นการกำหนดวิธีการในการผลิตพืชให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม โดยมีกรอบประเด็นที่เกษตรกรต้องตระหนักในเรื่อง แหล่งน้ำ สถานที่ผลิต การปฏิบัติดูรักษา การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเก็บรักษาปัจจัยการผลิตในสถานที่ที่เหมาะสม รวมถึงการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว โดยแนวทางและวิธีการที่ได้กำหนดขึ้นนี้ เป็นผลจากการค้นคว้าวิจัยของ กรมวิชาการเกษตร และมีการกำหนดความเหมาะสมตามแต่ละชนิดพืช จัดทำเป็นคู่มือ เพื่อถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้ผลิต ในส่วนของจังหวัดชุมพร เน้นไม้ผล 2 ชนิด คือ ทุเรียน และมังคุด เนื่องจากเป็นไม้ผลที่เกษตรกรปลูกมากและมีการส่งออกทำรายได้ให้จังหวัดชุมพรค่อนข้างมาก การสนับสนุนให้เกษตรกรทำการผลิตตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดชุมพร ในอนาคตเราจะมีแบรนด์หมอนทองชุมพร 

  • ไชโย !!!
  • เราจะรอกินทุเรียนปลอดสารพิษ "Brand หมอนทองชุมพร"

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท