ระวัง!..นักจัดการความรู้ จะถูกความรู้จัดการเอาได้


  • ผมมีโอกาสได้ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะทำงานโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครในหลายระดับ หลายครั้ง
  • ผมได้เรียนรู้ประการหนึ่งว่า ในระยะแรกๆ คณะทำงานบางท่านไม่คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่แล้วเป็นปกติในหน้าที่นั้นเป็นการจัดการความรู้ คิดว่าจัดการความรู้มันเป็นเรื่องใหม่ ที่จะต้องศึกษาเรียนรู้กันอย่างเข้มข้น เมื่อเป็นดังนี้จึงทำให้หลายท่านเกิดความไม่มั่นใจ ต้องศึกษาอย่างเข้มข้นเสียก่อน กลัวพูดไปแล้วพลาด การทำงานจึงมีบรรยากาศเกร็งๆ ไปบ้าง ไม่ค่อยสนุก แต่ในช่วงระยะต่อไปเมื่อได้เข้าใจแล้ว ผมเชื่อว่าคงได้ทำงานกันอย่างสนุกสนานแน่นอน
  • ผมนึกถึงคำพูดของคุณธวัช หมัดเต๊ะ จาก สคส.ที่พูดไว้ในครั้งที่มา scan ภาพ km inside โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร  ที่ห้องประชุมสำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ 22 มิ.ย.49 ว่า นักจัดการความรู้ต้องระวังอย่างให้ถูกความรู้จัดการเอาได้  ผมวิเคราะห์อาการของเพื่อนฝูงที่เป็นคณะทำงานแล้ว ผมว่ามันประมาณที่คุณ ธวัช ว่าไว้เลย กำลังถูกความรู้จัดการเข้าให้แล้ว ยังไม่เห็นว่า km inside ไม่เห็นว่าการจัดการความรู้กลืนหรือว่าเนียนอยู่ในเนื้องานที่ทำอยู่ 
  • เมื่อเป็นอย่างนี้  ผมคิดว่าคณะทำงานในโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครเราอย่าคิดมาก ว่าจะต้องแม่นทฤษฎีเสียก่อน แล้วถึงค่อยทำการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่ครัวเรือนหรือคุณกิจที่เข้าร่วมโครงการ ผมว่าทำไป เรียนรู้ไป เรียนรู้เอาจากการกระทำ เรียนรู้ร่วมกันหลายๆคน เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบใคร อย่างที่โครงการฯนี้แยกวงให้แล้วว่าเป็นวงเรียนรู้ของคุณเอื้อจังหวัด /อำเภอ วงเรียนรู้คุณอำนวยกลาง / อำเภอ /ตำบล /หมู่บ้าน หรือแม้แต่วงเรียนรู้คุณกิจจากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ  เรียนรู้เอาจากการทำงานในหน้าที่ของแต่ละวงเรียนรู้นั่นแหละครับ ขนาดผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิชม ทองสงค์  CEO มีอำนาจมากที่สุดของจังหวัด ท่านยังต้องเรียนรู้จากการกระทำเลย เข้าใจ km จากการกระทำ ซึ่งกระทำกิจกรรมหลายๆอย่าง แล้วสรุปบทเรียน หรืออถอดบทเรียนเอาไว้เป็นชุดความรู้ของท่าน ท่านไปพูดเรื่องนี้ที่ไหน จึงแจ่มชัดเข้าใจง่าย เห็นภาพ ว่า km ไม่ใช่ของใหม่ มิใช่ของยากเลย แต่ถ้าไม่ทำก็จะไม่รู้
  • ผมจึงอยากร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า ให้ทำแล้วจะรู้ว่า  km คืออะไร  อย่าเกร็งจนขยาดที่จะทำ เป็นการทำงานปกตินี่เอง อย่าได้คิดว่าเป็นระเบียบวิธี (medthodology)ที่จะผิดพลาดไม่ได้ เพียงแต่ให้ตระหนักว่าในทุกขั้นตอนการทำงานต้องใช้หรืออาศัยความรู้เป็นเครื่องมือกำกับให้งานบรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่ประมาท หรือทำงานปล่อยตามยถากรรม ไม่ต้องกลัวว่าพูดเรื่อง km แล้วจะเสียหน้าใคร ไม่มีใครถูกทั้งหมด หรือผิดทั้งหมด อย่าได้ติดยึดกับระเบียบวิธีจนเกินไป คิดเสียว่าครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการแก้จนฯ ทำงานแก้จนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็เป็นพอ ส่วนความหมายของ  km ขั้นสูงกว่านี้ ค่อยเรียนรู้เอา
  • ขั้นนี้รู้เท่านี้ก็สามารถนำไปใช้งานได้แล้ว พอก่อนได้แล้วครับ
หมายเลขบันทึก: 35595เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 06:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     สนับสนุนครับ หากเราเริ่มเกร็งกับ KM เราจะเดินไปได้ยาก แต่เมื่อหลุดได้ วิ่งได้เลยครับ การจะวิ่งได้จึงเริ่มต้นด้วยคำว่า "อิสระ ไม่ติดกรอบ" ครับ

ครับอย่างที่คุณชายขอบ บอกว่า "อิสระ" ไม่ติดกรอบ

อาจมีการเกร็งบ้าง แต่ก็ดูเป้าหมาย "หัวปลา" ของการทำ KM บ่อยๆก็ดีนะครับ จะได้ไม่หลงทาง

และอย่างที่อาจารย์จำนงบอกอีกเหมือนกันครับว่า

"KM ไม่มีถูก ไม่มีผิด"

และ KM ก็ไม่เริ่มจากศูนย์

 หากเรียนรู้ว่าเป้าหมายของการทำ KM ไปเพื่ออะไร และจะใช้เครื่องมืออะไรที่ถูกจริต ตรงกับบริบทของตนเอง ไปสู้เป้าหมาย "หัวปลา" นั้นได้บ้างครับ

ป.ล. แลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอด และเรียนรู้ ก็คงไม่อะไรถูกไม่มีอะไรผิดเช่นกันนะครับ  

วันนี้ (28มิ.ย.) อาจารย์มีเวทีพูดคุยประจำเดือนของ...กศน. ด้วย หวังว่าจะได้ติดตามความเคลื่อนไหวทาง Blog อีกเช่นเคยนะครับ

ขอบคุณทั้งสองความเห็น ดีมากเลยครับ ผมจะนำมาปรับใช้ สำหรับเรื่องเล่าของการเวทีเสวนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์อำเภอเมืองฯครั้งที่ 6 วันนี้ (28 มิ.ย.)ผมจะเล่าในบันทึกต่อๆไปครับ มีเรื่องสร้างสรรค์ดีๆที่เครือข่ายจะเรียนรู้ร่วมกันหลายประเด็น หาก อ.แขก สนใจ ผมขอเรียนเชิญล่วงหน้าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท