Nina
นางสาวอภิญญา อุดมพรเกิดผล

นิทานพื้นบ้าน...สองพี่น้อง...สุพรรณบุรี


...สองพี่น้องบ้านเรา..
  • สองพี่น้อง ได้ชื่อมาจากลำน้ำยุคโบราณ ในภาคกลางของประเทศไทย คือลำน้ำสองพี่น้องที่ไหลผ่าน จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำที่ไหลต่อมาจากลำน้ำทวน จ.กาญจนบุรี แล้วไหลไปลงแม่น้ำท่าจีน ที่ อ.สองพี่น้องจ.สุพรรณบุรี ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำท่าจีนนี้แหละที่ลำน้ำสายนี้ได้ “แยกออกเป็นสองสาย เปรียบเสมือนพี่น้อง” กันนั่นเอง
  •  
  • ที่จังหวัดสุพรรณบุรีมีคลองอยู่คลองหนึ่ง เรียกว่า “คลองสองพี่น้อง” ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอสองพี่น้อง เรื่องนี้มีนิทานเล่ากันมาแต่โบราณว่า....อดีตอำเภอสองพี่น้องมีสภาพพื้นที่ที่เป็นป่าเป็นดงพงไม้หนาแน่นได้มีช้างโขลงหนึ่งมีช้างใหญ่ ๒ เชือกพี่น้องเป็นนายโขลงได้พาโขลงช้างเดินกันมากินน้ำในลำน้ำท่าจีนอยู่เสมอ จนทางเดินกลายเป็นคลอง จึงเรียกคลองนั้นว่า"คลองสองพี่น้อง"
  •  
  • หรืออีกนัยหนึ่งมีพี่น้องสองคนได้แข่งขันกันสร้างวัดซึ่งปัจจุบันเรียกว่า"วัดท่าจัด" อยู่ที่ตำบลบางพลับและอีกวัดหนึ่ง คือ"วัดโคกเหล็ก" ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดท่าจัดและอีกนัยหนึ่งเล่าว่า..สมัยหนึ่ง มีชายสองคนพี่น้องอาศัยอยู่ที่คลองนี้ ทั้งสองมีอาชีพทำไร่ทำสวน ฐานะค่อนข้างมีอันจะกิน และรูปร่างหน้าตาก็หล่อเหลาเอาการ เป็นที่หมายปองของสาวในบ้านเดียวกัน แต่ชายหนุ่มทั้งสองหาสนใจไม่ ต่อมาไม่นานทั้งสองได้ข่าวว่ามีสาวงามสองคนอยู่ในตำบลท้องที่อำเภอบางปลาม้า หญิงทั้งสองนี้สวยงามมาก ชายทั้งสองพี่น้องจึงคิดต้องการนางมาเป็นคู่ครองทั้งสองคน ต่อมาสองพี่น้องได้จัดเถ้าแก่ไปสู่ขอ พ่อแม่ฝ่ายหญิงเมื่อได้ฟังคุณสมบัติของฝ่ายชายก็ไม่รังเกียจ และเห็นว่าลูกสาวของตนอายุสมควรที่จะมีคู่ครองได้แล้วจึงตอบตกลง “เมื่อมาสู่ขอลูกสาวของฉันไปตกไปแต่งทั้งที ก็ขอให้สมกับหน้าตา ฐานะหน่อยหนึ่งจะได้ไหม” พ่อขอฝ่ายหญิงกล่าวกับเถ้าแก่ ฝ่ายหญิงต้องการให้จัดขบวนขันหมากลงเรือสำเภาให้ใหญ่โต จะได้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวบ้านแถวนี้
  • ครั้นถึงวันกำหนดนัด ฝ่ายชายก็จัดเครื่องขันหมากและเครื่องใช้ในการแต่งงานลงเรือสำเภา มีมโหรีปี่พาทย์ครบครัน เมื่อได้ฤกษ์ขบวนขันหมากพร้อมทั้งเจ้าบ่าวทั้งสอง ก็เริ่มเคลื่อนที่จากคลองสองพี่น้องออกไปทางแม่น้ำสุพรรณขึ้นไปทางเหนือมุ่งหน้าไปบ้านเจ้าสาว
  • ขณะที่เรื่อแล่นไป นักดนตรีก็เล่นดนตรีดังไปตลอดทาง จนถึงตำบลหนึ่ง เมื่อนักดนตรีเปลี่ยนเพลงมาเล่นซอ ชาวบ้านจึงเรียกที่แห่งนี้ว่า “บางซอ” เพราะนักดนตรีไปเล่นซอที่นั่น เมื่อแล่นไปอีกไม่นานเสียงดนตรีก็ยิ่งดังครึกครื้น สนุกสนาน ผู้คนในเรือก็ร้องรำกันไม่ได้หยุดที่แห่งนี้จึงเรียกว่า “บ้านสนุก”
  • เมื่อเรือขบวนขันหมากเลยบ้านสีสนุกไปได้ไม่นาน ก็เกิดเหตุการณ์อย่างไม่คาดคิดขึ้น คือ เรือสำเภาที่บรรทุกทั้งคนทั้งเครื่องใช้ไม้สอยสำหรับงานแต่งานได้เกิดอุบัติเหตุอับปางล่มลง คนที่มากับขบวนขันหมาก และสิ่งของเครื่องใช้จมหายไปในน้ำหมด ดังนั้น ตรงที่เรือสำเภาล่มนั้นปัจจุบันจึงเรียกว่า “สำเภาทลาย” ส่วนเจ้าบ่าวสองพี่น้องจมน้ำตายทั้งคู่ ฝ่ายเจ้าสาวทั้งสองสมกับเป็นเจ้าสาวรอขบวนขันหมากด้วยใจระทึก ต่างคนก็คิดถึงเจ้าบ่าวของตนเองว่าหน้าตาหล่อเหลาแค่ไหน แต่เมื่อมีคนมาส่งข่าวว่าขบวนเรือขันหมากของสองพี่น้องล่มลงกลางแม่น้ำเสียแล้ว และเจ้าบ่าวของเธอก็จมน้ำตายด้วย หญิงทั้งสองเสียใจมาก เธอร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าเวทนา ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกบ้านทีหญิงทั้งสองอยู่ว่า “บ้านแม่หม้าย” ซึ่งปัจจุบันก็ขึ้นอยู่กับอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สองพี่น้อง ชื่อที่มักถูกนำไปทายปัญหาเชาวน์อยู่เสมอว่าตำบลอะไรที่มี ประชากรน้อยที่สุดในประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้วตำบลสองพี่น้องคือศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจ และความเจริญที่สำคัญที่สุดของอำเภอสองพี่น้องมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน ตลาด ธนาคาร และร้านค้าทุกประเภท เป็นตำบลที่มีความสำคัญ และเป็นศูนย์กลางของความเจริญทุก ๆ ด้านของอำเภอสองพี่น้อง
  • ประวัติตำบลสองพี่น้อง
    ตำบลสองพี่น้องประกอบด้วยพื้นที่ของบ้านอำเภอเก่า บ้านสองพี่น้อง บ้านบางใหญ่ บ้านไผ่หมู่ บ้านโพธิ์อ้น บ้านศรีสำราญ บ้านคลองมะดัน และบ้านบางลี่ โดยมีศูนย์กลางการค้าขายของตำบล คือ ตลาดบางลี่ ประชาชนของตำบลสองพี่น้องมีส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วที่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ แล้วผสมกลมกลืนกับชาวไทยพื้นถิ่นด้วยการแต่งงาน และคนไทยพื้นถิ่นดั้งเดิมที่อาศัยอยู่มาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายบ้างเล็กน้อย พื้นที่บริเวณตำบลสองพี่น้องสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชุมชนของชาวไทยมาตั้งแต่ยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยพื้นที่ที่ตั้งอยู่ริมคลองจึงเป็นจุดพบกันของสินค้าจากกรุงเทพฯ และของป่าจากหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ชาวบ้านบรรทุกใส่เกวียนมาขายที่บริเวณนี้ และต่อมาเมื่อชาวจีนแต้จิ๋วได้อพยพมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาตั้งรกรากที่บริเวณริมคลองสองพี่น้อง (ซึ่งน่าจะก่อนการก่อตั้งอำเภอสองพี่น้อง เมื่อปีพุทธศักราช 2439) ด้วยพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์ และมีชัยภูมิที่ดีเลิศในการทำมาหากินตามตำราจีนทำให้เกิดเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางการค้าของอำเภอสองพี่น้องตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
  •  เมื่อแรกก่อตั้งอำเภอสองพี่น้องในปีพุทธศักราช 2439 นั้น ที่ว่าการอำเภอสองพี่น้องได้ใช้บ้านพักของหลวงเทพบุรี (เอี่ยม สถาปิตานนท์) นายอำเภอท่านแรกเป็นที่ทำการ ตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านปากคอก ริมคลองสองพี่น้อง หรือในปัจจุบันคือบริเวณตลาดอำเภอเก่า ซึ่งในอดีตเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมนานถึง 6 เดือนทุกปี ทำให้ประชาชนเดินทางไปติดต่อราชการไม่สะดวก จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2507 ได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่บริเวณบ้านโพธิ์อ้น ริมถนนบางลี่-หนองวัลย์เปรียง
  • บ้านอำเภอเก่า
    บ้านอำเภอเก่าเดิมชื่อตลาดสาน ในอดีตบริเวณหมู่บ้านอำเภอเก่าเดิมเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอสองพี่น้อง ตลาดสานจึงเกิดขึ้นเพื่อรองรับข้าราชการและประชาชนที่มาติดต่อราชการที่อำเภอ จนเมื่อได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอสองพี่น้องไปอยู่บริเวณบ้านโพธิ์อ้น ริมถนนบางลี่-หนองวัลย์เปรียงตลาดสานซบเซาไป และได้เปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านอำเภอเก่าตามสถานที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอนั่นเอง
  • คำขวัญอำเภอสองพี่น้อง

    ชื่อมีคนน้อย 
    อร่อยปลาหมำ 
    เลิศล้ำพระสงฆ์ 
    หลวงพ่อโหน่งพระเครื่อง 
    รุ่งเรืองนาไร่ 
    พระใหญ่โลกรู้ 
    เสภาชั้นครู 
    อู่น้ำอู่ปลา 
    ราชินีนักร้อง 
    "สองพี่น้องบ้านเรา"

  • ขอบคุณข้อมูลดีๆและภาพในอดีตที่สวยงามมากมายจากทุกๆเวบไซท์ค่ะ
  • http://www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=110&id=5195

  • http://www.songpeenongcity.com/index.php?p=html&page_id=54

  • http://www.212cafe.com/freeguestbook/show.php?user=alfa1

  • http://www.komchadluek.net

  •  

  •     

  • ขอบคุณเพลงส่งข่าวทิดมั่น  ขับร้องโดยคุณฝนธนสุนทรมากๆค่ะ

  • ภูมิใจมากมายค่ะ กับการเป็นคนบ้านอำเภอเก่าและอยู่ในอำเภอสองพี่น้องค่ะ ปู่ย่า ตายายมักจะเล่าว่าบริเวณใกล้บ้านเราเคยเป็นที่ว่าการอำเภอสองพี่น้องมาก่อน นอกจากนี้ยังภูมิใจกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของอำเภอสองพี่น้องค่ะ

  • ขอบคุณทุกๆท่านที่มาอ่านบันทึกนะค่ะ สุข สมหวัง ดังตั้งใจทุกประการนะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 355454เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ
  • ชอบเพลงที่ประกอบมากค่ะ
  • ชอบเพลงลุกทุ่ง
  • เพราะมากๆๆ
  • เป็นกำลังใจให้คนเขียนบล็อกนะคะ

เที่ยวสองพี่น้องด้วยคน ..นะ

มีถามน้องหนุ่ย  เชียร์หนุ่มสุพรรณฯอ่ะป่าว

สวัสดีค่ะ

  • ทั้งอำเภอมีคนอยู่เพียง ๒ คนเองคือ  สองพี่น้อง
  • ขอขอบคุณค่ะ  ได้รับทราบเรื่องราวและวรรณกรรมพื้นถิ่น
  • พี่คิมยังไม่ได้ไปสัมผัสจังหวัดสุพรรณบุรีมากเท่าไร  แต่ที่ชอบมากคือต้มยำปลาม้าร้านแม่บ๊วยค่ะ  อร่อยมากค่ะ
  • ขอขอบคุณน้องหนุ่ยมากนะคะ
  • ขอบคุณPคุณpikulมากๆค่ะ
  • ชอบเพลงนี้ค่ะเลยนำมาฝาก
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจดีๆที่มีให้กัน
  • เห็นปกหนังสือของคุณpikulแล้วเจ้าของคงอ่านอย่างมีความสุขนะค่ะ
  •  รักมากมาย รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  • ขอบคุณPคุณครูป.1มากๆค่ะ
  • ที่แวะมาเที่ยวฮ่าๆๆ เราต้องช่วยกันเชียร์คนสุพรรณค่ะ สู้ๆๆๆ
  • รักครูป.1มากมายค่ะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  • ขอบคุณPครูคิมมากๆค่ะที่มาทักทายกัน
  • เป็นประวัติอำเภอสองพี่น้อง สุพรรณบุรี
  • ที่อ่านแล้วก็ได้รู้พื้นเพของเราเองค่ะ
  • เลยนำมาฝากค่ะ
  • รักมากมายรักษาสุขภาพด้วยค่ะ

อยากรู้จักมานานแล้ว พี่น้องสองคนนี้

  • ขอบคุณPคุณเลิศฤทธิ์มากๆค่ะ
  • ยินดีที่รู้จักค่ะ สองพี่น้องบ้านเรามีประวัติที่น่าสนใจ
  • ขอบคุณค่ะรักษาสุขภาพด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท