การเปิดตลาดเสรีกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


การเปิดตลาดเสรี กับเหรียญ 2 ด้าน

ตลาดเสรีกับการฟอกเงิน:อาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

                 เมื่อประเทศเข้าเป็นสมาชิกของ WTO ประเทศไทยจึงมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันของ WTO ซึ่งมีข้อผูกพันที่สำคัญคือ GATS เพื่อให้ประเทศสมาชิกเปิดตลาดเสรีในด้านการค้าและบริการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการก้าวไปสู่ตลาดเสรีของ WTO  โดยประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์มหาศาลในหลายด้านจากการเปิดตลาดเสรีตามข้อตกลงของ WTO โดยไทยจะได้รับโอกาสในการเปิดตลาดการค้าต่างๆสู่ทุกประเทศทั่วโลก การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น หน่วยทางธุรกิจและบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพิ่มจำนวนมากขึ้น และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เจริญรุดหน้าเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดเสรี  แต่อย่าลืมว่าเหรียญย่อมมี 2 ด้าน เมื่อประเทศไทยได้รับสิ่งดีๆจากระบบตลาดเสรี ก็ย่อมมีด้านร้ายของระบบตลาดเสรีตามมาด้วย โดยสิ่งที่ตามมากับระบบตลาดเสรี คือ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ               

                       อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เป็นอาชญากรรมที่เกิดจากมูลเหตุจูงใจจากผลประโยชน์ทางการเงิน  โดยผู้เป็นอาชญากรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญในด้านเกี่ยวกับธุรกิจ การค้า การเงิน หรือ ด้านอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะแตกต่างจากการอาชญากรรมทั่วๆไป ซึ่งมูลเหตุเป็นเรื่องทั่วไป และอาชญากรจะเป็นใครก็ได้ โดยการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจจะสามารถกระทำได้อย่างแพร่หลายในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี เนื่องจากสภาพตลาดที่เปิดโดยเสรี จำนวนหน่วยทางธุรกิจ บุคคลกรทางเศรษฐกิจ มีเป็นจำนวนมาก เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญจำนวนเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีก็มีอยู่อย่างมหาศาล จึงเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยอาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่กำลังเติบโตอย่างน่ากลัว คือ การฟอกเงิน               

                 การฟอกเงิน จัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจประเภทหนึ่ง เนื่องจาก การฟอกเงิน จัดเป็นความผิดอาญา โดยตาม พ.ร.บ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ ผู้ที่โอน รับโอน เปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามมูลฐาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อซุกซ่อน ปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์นั้น หรือกระทำด้วยประการใดๆเพื่อปกปิด อำพรางการได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย จ่ายโอน การได้มาซึ่งสิทธิใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เป็นผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงิน  ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายฟอกเงิน ก็เพื่อจำกัดไม่ให้ผู้กระทำความผิดโดยมีมูลเหตุจูงใจมาจากการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ได้ไปซึ่งทรัพย์สินนั้น และเพื่อลดจำนวนการกระทำความผิดนั้นๆด้วย จะเห็นได้ว่าหากมีการเปิดตลาดเสรีอย่างอิสระ ก็จะเป็นการเปิดช่องทางที่สะดวกให้แก่ผู้กระทำความผิดตามมูลฐานต่างๆตาม พ.ร.บ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 2542 ในการที่จะอาศัยกลไกของตลาดเสรีในการฟอกเงินที่ผิดกฎหมายให้กลายเป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย               

                  ตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและการบริการ GATS ทำให้ประเทศไทยต้องออกกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว คือ พ.ร.บ ว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย 2542 ซึ่งตามพ.ร.บ นี้ได้มีการสร้างข้อจำกัดในการเข้ามาประกอบธุรกิจของต่างชาติเอาไว้ แต่ก็มีข้อยกเว้นเช่นกัน โดยคนต่างชาติสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยได้หากได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามกฎหมายนี้ โดยตามบัญชีที่ 3 ท้ายพ.ร.บ จะกำหนดไว้ว่ามีธุรกิจประเภทใดบ้าง และต้องมีจำนวนเงินลงทุนเท่าใด โดยจะกำหนดเงินลงทุนเอาไว้ในจำนวนที่สูงมาก แต่นั้นไม่ใช้ปัญหาสำหรับผู้ที่ต้องการฟอกเงินเนื่องจากจำนวนเงินที่ได้มาจากการกระทำผิดกฎหมายมีจำนวนมหาศาลเช่นกัน และหากครบกำหนด 10 ปี ตามกรอบข้อตกลงของ GATS ประเทศไทยจะต้องเปิดตลาดด้านการบริการอย่างเต็มตัว ข้อจำกัดต่างๆก็จะต้องลดลงตามไปด้วย และการฟอกเงินจะสามารถกระทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น                

                สำหรับการหาแนวทางป้องกันคงไม่สามารถใช้แต่เพียงการแก้ไขกฎหมายฟอกเงิน ให้สอดคล้องกับระบบตลาดเสรีเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาถึงระบบกฎหมายเศรษฐกิจทั้งระบบด้วย เพราะกฎหมายเหล่านี้เป็นกฎหมายที่เป็นช่องทางในการนำเงินสกปรกเข้ามาทำความสะอาดในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการป้องกันหรือเตรียมการเอาไว้ก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ระบบตลาดเสรีอย่างเต็มตัว นอกจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะได้รับแล้ว ก็จะได้ของแถมเป็นการเพิ่มขึ้นของการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในอัตราก้าวหน้าตามรูปแบบของตลาดเสรีด้วย 

องค์กรการค้าโลก = World Trade Organization-WTO : ผลประโยชน์และผลกระทบต่อภาคเอกชนไทย / จัดทำโดย ฝ่ายประสานงานส่วนกลาง หอการค้าไทย. 

กฎหมายระหว่างประเทศ / จตุรนต์ ถิระวัฒน์.

พันธกรณีของไทยภายใต้องค์การการค้าโลก / กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กองการค้าพหุภาคี.

วีระพงษ์ บุญโญภาส. (พิมพ์ครั้งที่ 5), แก้ไขเพิ่มเติม-ปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2549. tha อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ = 9742033668
หมายเลขบันทึก: 35524เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2006 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

      ให้โอกาสเพิ่มเติมได้จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ค่ะ

     น่าจะมีย่อหน้าบ้างนะคะ โดยการใช้มือเคาะเอานะคะ ในแต่ละย่อหน้า ในห้องเรียนคราวหน้า จะทำให้ดู

อ่านแล้วนะ...เราว่าเข้าใจง่ายดีและสอดคล้องกับวิชาของเราด้วย...เพราะผู้กระทำผิดย่อมหาช่องทางการค้า(เสรี)ทำให้เงินสกปรกกลายเป็นเงินสะอาดเสียก่อนและกระจายเงินซึ่งเป็นทุนออกไปสู่ทั้งในบ้านเราและสังคมระหว่างประเทศ จนกลายเป็นกร่วมลงทุนในตลาดเสรีโดยใช้เงินสกปรกโดยไม่รู้ตัวก็ได้..

ขอบคุณมากค่ะสำหรับเนื้อหาดีๆ ได้ประโยชน์มากเลยจากการอ่านเรื่องนี้ แต่ครั้งหน้าขอตัวหนังสือใหญ่ๆหน่อยนะคะ รู้สึกปวดตาและตาลาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท