สรุปการจัดกิจกรรม COP ครั้งที่ 1


ขอเชิญทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น

          เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2549  ทีมงาน KM มรย. ได้จัดกิจกรรม COP ครั้งที่ 1  เพื่อให้ทุกท่านร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่อง การสะท้อนปัญหาในกระบวนการสรรหา บรรจุ แต่งตั้งภายใน มรย.  โดยทางทีมงานได้เชิญตัวแทนบุคลากรที่ผ่านกระบวนการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ภายใน มรย. ใน  3 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1. กลุ่มอาจารย์อัตราจ้าง (อาจารย์ตามสัญญาจ้าง)  2. กลุ่มพนักงานราชการ 3. กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว  เพื่อทราบถึงปัญหาและกระบวนการต่าง ๆ การสรรหา บรรจุ แต่งตั้งที่ผ่านมาภายใน มรย.  ในการจัดทำ COP ดังกล่าว  สามารถสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไข ได้ดังนี้ 

การสะท้อนปัญหากฎระเบียบ การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากลุ่มพนักงานราชการ

ลำดับที่

ปัญหา แนวทางแก้ไข
1. ขั้นตอนการประกาศ-  คุณวุฒิของผู้รับสมัครไม่ชัดเจน  -  ในการประกาศรับสมัครคัดเลือก ควรกำหนดคุณสมบัติตำแหน่งให้ชัดเจน โดยเฉพาะคุณวุฒิของตำแหน่งที่ต้องการสมัคร  เพราะทำให้ผู้สมัครไม่มั่นใจในตัวเองว่าตัวผู้สมัครมีคุณวุฒิตรงตามตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร หรือไม่
2. ขั้นตอนการรับสมัคร-  ใช้เวลาในการรับสมัครนาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่รับสมัครน้อยเกินไป  -  อยากให้การรับสมัคร มีการแบ่งโซน แบ่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน และควรเพิ่มจำนวนของเจ้าหน้าที่รับสมัครให้มากขึ้น เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการรับสมัคร
3. ข้อสอบ- ข้อสอบไม่ได้มาตรฐาน  - ข้อสอบต้องมีมาตรฐานทั่วไปของ ก.พ. ซึ่งข้อสอบมีลักษณะการแบ่งเป็นภาค เช่น ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป  ความรู้ความเหมาะสมเฉพาะตำแหน่ง การสอบสัมภาษณ์ ควรจัดทำเป็นระเบียบออกมาให้ได้มาตรฐาน ใช้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันในการสอบแข่งขันแต่ละครั้ง
  -  เวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบไม่สัมพันธ์กับจำนวนข้อสอบ (160 ข้อ : 2 ชั่วโมง)  อีกทั้งเป็นข้อสอบแบบฝน  และระยะเวลาในการทำข้อสอบควรสอดคล้องกับประกาศรับสมัคร -  หากข้อสอบมี 160 ข้อ และมีมาตรฐานค่อนข้างสูง ควรเพิ่มเวลาในการทำข้อสอบเป็น 2 ชั่วโมงครึ่ง ทั้งนี้ เพราะผู้สอบยังมาเสียเวลาในการฝนข้อสอบซึ่งค่อนข้างใช้เวลา
4. ขั้นตอนการบรรจุ- ไม่มีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่  -  เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการบรรจุเป็นผู้ที่ไม่เคยทำงาน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงไม่ทราบแนวทางปฏิบัติในหลาย ๆ เรื่อง ดังนั้น จึงควรมีการจัดรายงานตัว ปฐมนิเทศเพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน เช่น การลงเวลาปฏิบัติงาน สิทธิและผลประโยชน์ต่าง ๆ เป็นต้น
 แนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานกลุ่มพนักงานราชการ

ลำดับที่

แนวทางการพัฒนา
1. สนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมการอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ส่งผลให้บุคลากรนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. มีการพบปะระหว่างผู้ร่วมงานในสายงานเดียวกัน (ใน และต่างสถาบัน)  เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหา เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
3. มหาวิทยาลัยควรมีการสร้างความมั่นคง และความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากร เพื่อให้บุคลากรมีความรักในหน่วยงาน มีขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้บุคลากรมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
4. จัดให้มีกองทุนเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานราชการ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อนำทุนมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
5. มอบหมายงานให้ตรงกับความถนัด และเหมาะสมกับบุคคล  (Put the right man on the right job)  เพื่อสามารถปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
  การสะท้อนปัญหากฎระเบียบ การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากลุ่มอาจารย์อัตราจ้าง

ลำดับที่

ปัญหา แนวทางแก้ไข
1. ปัญหาการสอบบรรจุเข้า-  เรื่องของคะแนนสอบ   การสอบเน้นภาค ก มากเกินไป  ควรเน้นคะแนนในเนื้อหาวิชาที่ต้องการอาจารย์บรรจุสอนจริง ๆ โดยมีการประสานงานระหว่างผู้บริหาร และกองการเจ้าหน้าที่
  -  การไม่ให้สิทธิอาจารย์อัตราจ้างเดิม 1.  ควรมีการสรรหา บรรจุบุคลากรภายในก่อนประกาศรับสมัคร2.  ควรมีการบรรจุอาจารย์อัตราจ้างที่ทำงานภายในสถาบันแล้ว 3 ปี ขึ้นไป 
2. ปัญหาการกำหนดอัตรากำลัง การบรรจุ ไม่ตรงตามความต้องการของสาขาวิชา  1.  ฝ่ายแผนฯ  จัดอัตรากำลังตามความต้องการของคณะต่าง ๆ  ที่เสนอมา
2.  ฝ่ายแผนฯ ประชุมร่วมกับผู้ประสานสาขา คณบดี กรรมการมหาวิทยาลัย และผู้บริหารของทุกฝ่าย โดยประชุมใน คราวเดียวกันเพื่อรับทราบข้อมูลที่แท้จริงและถูกต้องตรงกัน
3. การต่อสัญญาจ้างของอาจารย์อัตราจ้าง  1.  ควรต่อสัญญาให้นานกว่าเดิมจาก 1 ปี เป็น 3 ปี
2.  ควรแจ้งให้อาจารย์อัตราจ้างทราบการยกเลิก การต่อสัญญาอย่างน้อย 1 เดือน
3. ไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารประกอบการต่อสัญญาจ้างทุกครั้ง ยกเว้นหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม    ข้อมูล เช่น เอกสารวุฒิการการศึกษา 
4. ความก้าวหน้าและสวัสดิการ  1.  ควรได้รับค่าเสี่ยงภัยและค่ายังชีพ
2.  ควรใช้ระเบียบเดียวกันในการเบิกจ่ายค่าเดินทางไปราชการ และพัฒนาอนุมัติเป็นกรณีพิเศษหากได้รับคำสั่งไป     ราชการโดยเร่งด่วน
3. ให้โอกาสในการลาศึกษาต่อได้
5. ปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน  1. ใช้ระเบียบแนวทางปฏิบัติในการลาป่วย ลากิจ และการลงชื่อปฏิบัติราชการ เช่นเดียวกับอาจารย์ประจำ
2. ควรมีบัตรประจำตัว อาจารย์อัตราจ้าง และควรทำเสร็จภายใน 30 วัน หลังการอนุมัติต่อสัญญา
3. การจัดสรรงบพัฒนาอาจารย์อัตราจ้าง ควรมีความเท่าเทียมกัน4. ควรกำหนดงานทางด้านการสอนให้อาจารย์อัตราจ้าง เช่นเดียวกับอาจารย์ประจำ
5. การนับชั่วโมงเกินภาระงานสอน ควรนับทันทีที่เกิน ไม่ควรนับเฉพาะชั่วโมงนอกเวลาราชการเท่านั้น  ควรนับเป็น    หน่วยเดียวกันกับอาจารย์ประจำ
6. ควรพิจารณาการมอบหมายงานกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะงานสอนของอาจารย์อัตราจ้าง
7. สร้างกิจกรรมส่งเสริมการทำงานร่วมกันของอาจารย์ประจำและอาจารย์อัตราจ้าง เพื่อให้เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่า    ซึ่งกันและกัน
8. เปิดโอกาสให้อาจารย์อัตราจ้างแสดงความสามารถ เพื่อสนับสนุนวิชาการและให้โอกาสพิจารณารับตำแหน่งทางด้าน  บริหาร โดยนับเป็นภาระงานสอนด้วย 
6. ปัญหาระบบข้อมูลข่าวสาร  1. ให้ฝ่ายวางแผนฯ รวบรวมปฏิทินกิจกรรมของทุกหน่วยงานและแจ้งบุคลากรทุกฝ่ายให้ทราบล่วงหน้า     เพื่อได้วางแผนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.  ทุกหน่วยงาน ควรมีการพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลที่ต้องรับผิดชอบ ดูแลทั้งโดยตรงและทางอ้อม 
7. ปัญหาระบบการทำงานที่ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน  (Work Flow และ Data Flow)                 1. ควรมีการปฐมนิเทศบุคลากรที่บรรจุงานใหม่ ทั้งเรื่องความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและความรู้เกี่ยวข้องกับงาน     และความรู้ด้าน e-office
2. ควรจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะมาดูแลรับผิดชอบ การพัฒนาทั้งบุคลากร และระบบงาน   โดยภาพรวมทั้งองค์กร
 การสะท้อนปัญหากฎระเบียบ การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ภายในมหาวิทยาลัย กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว 

ลำดับที่

ปัญหา แนวทางแก้ไข
1. บุคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานตามปริมาณงานที่มีอยู่

- ให้มหาวิทยาลัยพิจารณาในการเพิ่มอัตรากำลังบุคลากรที่มีไม่เพียงพอในหน่วยงานที่ขาดแคลนบุคลากร เพื่อให้ 

    การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อเหมาะสมกับปริมาณงานที่มีอยู่
2. การบรรจุลูกจ้างชั่วคราว เมื่อประเมินผ่านแล้วยังไม่ได้รับการบรรจุ ตามคำสั่งที่ประกาศไว้ - ควรมีการบรรจุลูกจ้างชั่วคราว โดยพิจารณาจากผลการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก และควรบรรจุแต่งตั้งบุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบันก่อน
3. การไม่เรียกใช้บัญชีสำรอง - มหาวิทยาลัยควรใช้บัญชีสำรองในการเรียกบุคลากรเข้ามาทำงาน  เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการรับสมัคร
4. ความไม่ชัดเจนในรายละเอียดของการประกาศสอบ -  ในการประกาศรับสมัครคัดเลือก ควรกำหนดคุณสมบัติตำแหน่งให้ชัดเจน โดยเฉพาะคุณวุฒิของตำแหน่งที่ต้องการสมัคร  เพราะทำให้ผู้สมัครไม่มั่นใจในตัวเองว่าตัวผู้สมัครมีคุณวุฒิตรงตามตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร หรือไม่
5. จำนวนข้อสอบไม่เหมาะสมกับเวลา - หากข้อสอบมีมากกว่า 100 ข้อ และมีมาตรฐานค่อนข้างสูง ควรเพิ่มเวลาในการทำข้อสอบเป็น 2 ชั่วโมงครึ่ง ทั้งนี้ เพราะผู้สอบยังมาเสียเวลาในการฝนข้อสอบ ซึ่งค่อนข้างใช้เวลา
6. ข้อสอบมีเกณฑ์มาตรฐานสูงเกินไป  
         แนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  (กลุ่มลูกจ้างชั่วคราว)

ลำดับที่

แนวทางการพัฒนา
1. สร้างความมั่นคงในการทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน
2. ควรเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
3. ควรเพิ่มจำนวนบุคลากรให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
4. ควรจัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน
5. ควรมีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนในแต่ละตำแหน่งงาน
6. ควรมีอุปกรณ์ที่เพียงพอ ทันสมัย และมีประสิทธิภาพต่อการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ (Tags): #ทีมงาน#km
หมายเลขบันทึก: 35355เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2006 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท